ไวรัสเมอร์ส โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส อาการ วิธีการแพร่ การป้องกัน ที่ควรรู้


1,672 ผู้ชม

โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV)...


ไวรัสเมอร์ส โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส อาการ วิธีการแพร่ การป้องกัน ที่ควรรู้

โรคติดเชื้อไวรัสเมอร์ส หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV)

รายงานเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 58 สำหรับข่าวการระบาดของโรคร้ายที่มีอันตรายถึงชีวิต จากการติดเชื้อไวรัส เมอร์ส ที่เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เสียชีวิตไปแล้วจำนวน 2 คน

ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์ส :
ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

อาการของการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส :
ผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยทั่วไปจะมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ค่อนข้างรุนแรงและเฉียบพลัน มีอาการไข้ ไอ หายใจหอบและหายใจลําบาก ซึ่งผู้ป่วยเกือบทุกราย จะมีภาวะปวดบวม นอกจากนี้ ในผู้ป่วยอีกจํานวนมาก จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วยผู้ป่วยบางรายมีภาวะไตวาย ซึ่งในจํานวนครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมดจะเสียชีวิต ส่วนในผู้ที่มีโรคประจําตัวซึ่งทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป

ระยะฟักตัวของการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส :
โดยมีระยะฟักตัวเฉลี่ย ประมาณ 14 วัน

วิธีการแพร่การติดเชื้อไวรัสเมอร์ส :
ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุได้ว่า คนติดเชื้อไวรัสนี้ได้อย่างไร ขณะนี้ยังคงดําเนินการสอบสวนโรค
เพื่อหาแหล่งที่มาของเชื้อไวรัส ลักษณะของการสัมผัสที่จะนําโรคที่จะนําไปสู่การติดเชื้อ ช่องทางการติดต่อของโรค ลักษณะอาการทางคลินิก และสาเหตุของการเกิดโรค

การรักษาการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส :
เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีนและยารักษาที่จําเพาะ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเมอร์ส :
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน
- ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย
- ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจํานวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค
- แนะนําให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม
- ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย

ขอบคุณข้อมูลจาก med.mod.go.th
sanook.com

อัพเดทล่าสุด