มะเร็งกระดูก (Bone cancer)


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กระดูก  ทั้งตัว  ระบบมะเร็งวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ก้อนเนื้อ 

บทนำ

โรคมะเร็งกระดูก (Bone cancer หรือ Malignant bone tumor) เป็นโรคของเด็กโต วัย รุ่น และวัยหนุ่มสาว ช่วงอายุประมาณ 10-20 ปี แต่อาจพบในช่วงอายุอื่นๆได้บ้างทั้งในเด็กเล็กจนถึงในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคมะเร็งกระดูกพบได้เพียงประมาณ 6% ของโรคมะเร็งในเด็กทั้งหมด ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยใหม่โรคนี้เพียงประมาณปีละ 650-700 ราย ทั้งนี้พบในเด็กชายได้บ่อยกว่าเด็กหญิงประมาณ 2-3 เท่า ส่วนในประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2544-2546 พบโรคนี้ในเพศหญิง 0.8 รายต่อประชากรหญิง 100,000 คนต่อปี และพบในเพศชาย 1.1 รายต่อประชากรชาย 100,000 คนต่อปี

โรคมะเร็งกระดูกมีกี่ชนิด?

มะเร็งกระดูก

โรคมะเร็งกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ (Primary bone cancer หรือ Primary bone tumor) และโรคมะเร็งกระดูกทุติยภูมิ (Secondary bone cancer หรือ Secondary bone tumor)

โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ หรือโรคมะเร็งกระดูก มีหลากหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ ชนิด ออสตีโอซาร์โคมา(Osteosarcoma) และชนิด อีวิง บางคนเรียกว่า ยูวิง (Ewing’s sarcoma) โดยพบเป็นประมาณ 60% และ 35% ของโรคมะเร็งกระดูกทั้งหมด ตามลำดับ ดัง นั้นโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งกระดูก จึงหมายถึงโรคมะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้ ซึ่งรวมทั้งในบท ความนี้ด้วย

โรคมะเร็งกระดูกเกิดกับกระดูกส่วนไหนบ้าง?

โรคมะเร็งกระดูกเกิดได้กับกระดูกทุกชิ้นในร่างกาย แต่มักเกิดกับกระดูกเพียงชิ้นเดียว แต่สามารถแพร่กระจายทางกระแสโลหิต (เลือด) สู่กระดูกชิ้นอื่นๆได้ในลักษณะเดียวกับโรคมะ เร็งชนิดอื่นๆ ทั้งนี้โอกาสเกิดในด้านซ้าย และด้านขวาใกล้เคียงกัน

โรคมะเร็งออสตีโอซาร์โคมา มักเกิดกับกระดูกขาและแขน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ๆกับข้อกระดูก โดยพบเกิดกับ

 

โรคมะเร็งอีวิง พบเกิดกับกระดูกขา และแขนได้สูงกว่ากระดูกชิ้นอื่นๆเช่นเดียวกับโรคมะ เร็งออสติโอซาร์โคมา แต่มักเกิดตรงกลางของท่อนกระดูก นอกจากนั้น พบเกิดกับกระดูกของลำตัวได้สูง ทั้งนี้พบเกิดกับ

 

โรคมะเร็งกระดูกเกิดจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคมะเร็งกระดูกที่ชัดเจน แต่พบมีปัจจัยเสี่ยง คือ

 

โรคมะเร็งกระดูกมีอาการอย่างไร?

อาการสำคัญของโรคมะเร็งกระดูก คือ ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็น ต่อเมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จึงอาจคลำได้ก้อนเนื้อตรงกระดูกส่วนที่เกิดโรค หรือในบริเวณนั้นบวม อาจปวดเจ็บ และเป็นสา เหตุให้กระดูกหักได้ (กระดูกหัก เป็นผลสืบเนื่องจากโรค ไม่ใช่สาเหตุ แต่คนทั่วไปมักเชื่อว่า กระดูกหักเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระดูก)

ถ้าโรคเกิดใกล้บริเวณข้อ จะส่งผลให้เกิดการติดขัดของการใช้ข้อ หรือข้อยึดติด

เมื่อโรคลุกลาม อาจส่งผลให้ก้อนเนื้อแตกเป็นแผลเลือดออกเรื้อรัง หรือโรคแพร่กระจายเข้าไขกระดูก ก่อให้เกิดภาวะ ซีดและอ่อนเพลีย บางครั้งอาจมีไข้ต่ำ

เมื่อโรคลุกลาม อีกอาการที่อาจตรวจพบได้ คือ คลำพบต่อมน้ำเหลืองตามข้อพับที่ใกล้กับกระดูกที่เกิดโรค โต คลำได้ ไม่เจ็บเช่น ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบโต เมื่อโรคเกิดกับกระดูกต้นขา เป็นต้น

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งกระดูกได้จาก ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจกระดูกส่วนเกิดโรค และการตรวจภาพกระดูกด้วยเอกซเรย์ธรรมดา หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในกระดูกเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

นอกจากนั้น คือการตรวจเพื่อจัดระยะโรคมะเร็งและเพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ดูการทำงานของไขกระดูก ตรวจปัสสาวะดูการทำงานของไต ตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไต ตรวจภาพปอด ด้วยเอกซเรย์เพื่อดูโรค ปอด หัวใจ และโรค มะเร็งแพร่กระจายสู่ปอด รวมทั้งอาจมีการตรวจไขกระดูก ภาพตับ และการสะแกนภาพกระดูกทั้งตัว (การสะแกนกระดูก) เพื่อหาการแพร่กระจายของโรคเข้าสู่อวัยวะต่างๆเหล่านั้น ทั้งนี้ขึ้น กับ ระยะโรค ชนิดของเซลล์มะเร็งและดุลพินิจของแพทย์

โรคมะเร็งกระดูกมีกี่ระยะ?

โรคมะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 4 ระยะเช่นเดียวกับโรคมะเร็งอื่นๆ และบางระยะยังแบ่งย่อยได้อีกเพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยในการรักษาและในการศึกษา แต่ที่แตกต่างจากโรคมะเร็งชนิดอื่น คือ ระยะโรคยังขึ้นกับการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เซลล์มะเร็งแบ่ง ตัวต่ำ และเซลล์มะเร็งแบ่งตัวสูง ซึ่งทั้ง 4 ระยะของโรค คือ

 

โรคมะเร็งกระดูกรักษาอย่างไร?

การรักษาหลักของโรคมะเร็งกระดูก คือการผ่าตัดและยาเคมีบำบัด ส่วนรังสีรักษาจะใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือเมื่อมีโรคแพร่กระจายแล้ว และการใช้ยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา

มีผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งกระดูกอย่างไร?

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งกระดูก ขึ้นกับวิธีรักษา ซึ่งผลข้างเคียงจะสูงขึ้นเมื่อใช้วิธีรักษาหลายวิธีร่วมกัน ในเด็กเล็กผู้สูงอายุ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูงและโรคที่ก่อการอักเสบของเนื้อ เยื่อเกี่ยวพัน เช่น โรคภูมิต้านตนเอง/โรคออโตอิมูน

 

โรคมะเร็งกระดูกรุนแรงไหม?

โรคมะเร็งกระดูกจัดเป็นโรคมีความรุนแรง โอกาสรักษาได้หายนอกจากขึ้นกับระยะโรคแล้ว ยังขึ้นกับการผ่าตัด (ถ้าผ่าตัดไม่ได้ เช่น จากสุขภาพ หรือจากตำแหน่งของโรค ความรุน แรงโรคจะสูงขึ้น) การตอบสนองของโรคต่อยาเคมีบำบัด ชนิดของเซลล์มะเร็ง (ชนิดอีวิง มีอัตรารอดที่ 5 ปีต่ำกว่า) ขนาดของก้อนเนื้อ (ยิ่งก้อนโต ความรุนแรงโรคยิ่งสูง) อายุ และสุข ภาพของผู้ป่วย

ในโรคมะเร็งชนิดออสตีโอซาร์โคมา

  • ระยะที่ 1   อัตรารอดที่ 5 ปี ประมาณ 75-80%
  • ระยะที่ 2   ประมาณ 60-75%
  • ระยะที่ 3   ประมาณ 30-50%
  • ระยะที่ 4   อัตรารอดที่ 2 ปี ประมาณ 0-10%
 

ในโรคมะเร็งอีวิง

  • ระยะที่ 1   อัตรารอดที่ 5 ปีประมาณ 70%
  • ระยะที่ 2   ประมาณ 60-70%
  • ระยะที่ 3   ประมาณ 20-40 %
  • ระยะที่ 4   อัตรารอดที่ 2 ปีประมาณ 0-5%
 

มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระดูกไหม? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระดูกตั้งแต่ยังไม่มีอาการ และปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคมักเป็นปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นที่ดีที่สุด คือ การเอาใจใส่ของผู้ปกครองและในผู้ใหญ่ คือ การสังเกตตนเอง เมื่อพบมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคแต่เนิ่นๆ

ป้องกันโรคมะเร็งกระดูกอย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งกระดูก ดังนั้นจึงเช่นเดียวกับในหัวข้อการตรวจคัดกรอง คือ การรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆดังกล่าวแล้ว เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคแต่เนิ่นๆ

ดูแลตนเองอย่างไร? ดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็งและการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อ่านเพิ่มเติมใน การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคมะเร็ง และการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และบทความเรื่อง การดูแลตนเอง การดูแลผู้ป่วยเคมีบำบัด
ที่มา   https://haamor.com/th/มะเร็งกระดูก/

อัพเดทล่าสุด