เพทสะแกน หรือ เพท-ซีทีสะแกน (PET scan หรือ PET-CT Scan)


เพทสะแกนคืออะไร? เพท-ซีทีสะแกนคืออะไร?

เทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ด้านรังสีวิทยา (รังสีที่ใช้ตรวจและรักษาโรค) ที่เข้ามามีบทบาทในการวินิจฉัยโรคสักระยะหนึ่งแล้ว คือ การตรวจโรคด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (สาขาการแพทย์สาขาหนึ่งด้านรังสีวิทยาที่เกี่ยวกับการนำกัมมันตรังสีที่อยู่ในภาวะของเหลวเพื่อการตรวจและรักษาโรค) ที่เรียกว่า “เพทสะแกน (PET scan,Positron Emission Tomo graphy)”

เพทสะแกนนี้ เป็นการถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมี (Metabolism imaging) ในเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย โดยการให้น้ำตาลกลูโคส (Glucose) ชนิดพิเศษ ที่มีกัมมันตรังสีในตัวเอง ที่เราเรียกว่า เอฟดีจี(FDG,Fluorodeoxyglucose) ฉีดเข้าสู่ร่างกาย น้ำตาลชนิดมีกัมมันตรังสีนี้จะซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยเฉพาะเนื้อเยื่อที่มีกิจกรรมการทำ งาน หรือการแบ่งตัวมาก (เช่น เนื้อเยื่อมะเร็งหลายๆชนิด และเนื้อเยื่อสมอง) จะจับน้ำตาลนี้ไว้ในปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อปกติ และเปล่งรังสีออกมาในปริมาณสูง จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่อง ตรวจเพทสะแกน ซึ่งเป็นเครื่องถ่ายภาพรังสี ถ่ายภาพออกมา ซึ่งภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการมีอยู่หรือไม่ของเนื้อเยื่อมะเร็ง/โรคต่างๆ

แต่เนื่องจากภาพเนื้อเยื่อที่ตรวจได้จาก เพทสะแกน นี้ มีลักษณะลอยๆอยู่ ดูเหมือนหมอกควัน เนื่องจากขาดจุดอ้างอิงทางกายภาพ (Anatomical landmark) ทำให้แพทย์ไม่สา มารถกำหนดตำแหน่งของรอยโรค/ตำแหน่งที่เกิดโรคได้อย่างชัดเจน จึงได้มีการนำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสะแกน(CT Scan,Computerized axial tomography) ซึ่งเป็นเครื่อง ตรวจที่ให้ภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะในร่างกายได้ชัดเจน เข้ามารวมไว้เป็นเครื่องมือชิ้นเดียวกันเรียก ว่า “เพท-ซีที สะแกน (PET-CT Scan)” และเครื่องนี้จะนำภาพทั้ง 2 ชุด คือจากทั้ง เพทสะแกน และ จาก ซีทีสะแกน มารวมไว้ในภาพเดียวกันได้ ทำให้แพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งที่เกิดโรคได้แม่นยำกว่าการตรวจเพทสะแกนอย่างเดียวมาก

เพท-ซีทีสะแกนมีประโยชน์อย่างไร?

เพทสะแกน

ดังได้กล่าวแล้วว่า เพท-ซีทีสะแกน เป็นการถ่ายภาพความเปลี่ยนแปลงทางชีวะเคมีภาย ในเนื้อเยื่อ จึงมีความไว (Sensitivity) สูง ซึ่งทำให้สามารถตรวจพบดวามผิดปกติที่ไม่คาดคิด หรือตรวจไม่พบในการตรวจอื่นได้ เช่น จากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือจากเอมอาร์ไอ

เราใช้ประโยชน์การตรวจ เพท-ซีทีสะแกน นี้ใน 3 โรคหลักได้แก่ โรคมะเร็ง โรคทางสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ทั้งนี้กว่า 90%เป็นการตรวจด้านโรคมะเร็ง

 

ข้อจำกัดและข้อห้ามในการตรวจเพท-ซีทีมีอะไรบ้าง?

ข้อจำกัดในการตรวจด้วย เพท-ซีทีสะแกน ได้แก่

ข้อห้ามในการตรวจ เพท-ซีทีสะแกน คือ ห้ามตรวจในหญิงตั้งครรภ์ เพราะสารกัมมันต รังสีจากเพท-สะแกน และรังสีจากการตรวจซีทีสะแกน (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) อาจส่งผลถึงทารกในครรภ์จนอาจเป็นสาเหตุให้ทารกพิการ หรือเกิดการแท้งได้ (รังสีจากการตรวจโรค)

นอกจากนั้น ถ้าจำเป็นต้องตรวจในหญิงให้นมบุตร ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า ไอเออีเอ (IAEA,International Atomic Energy Agency) แนะนำว่า ต้องหยุดให้นมบุตรอย่างน้อย ประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังการตรวจ เนื่องจากจะมีสารกัมมันตรังสีปนมากับน้ำนมได้ ซึ่งอาจก่ออันตรายในระยะยาวต่อทารก คือ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเมื่อทารกโตขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องตรวจด้วย เพท-ซีทีสะแกน แพทย์จะแนะนำให้มารดาเก็บน้ำนมไว้ก่อนล่วงหน้า และสามารถให้นมบุตรได้ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงหลังการตรวจเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้เพราะสารกัมมันตรังสีที่ใช้ตรวจ เป็นชนิดที่สลายตัวหมดคุณสมบัติให้รังสี หรือที่เรียก ว่า ช่วงระยะครึ่งชีวิต (Half life) สั้นมากๆ ประมาณเป็นนาทีขึ้นกับชนิดของสารกัมมันตรังสี ดัง นั้นช่วงระยะเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังตรวจ ให้มารดาดูดน้ำนมออกทิ้งไป และเริ่มให้นมได้ตามปกติ 2-3 ชั่วโมงหลังการตรวจ

อย่างไรก็ตาม แพทย์มักแนะนำให้หยุดให้นมบุตรประมาณ 1 วัน โดยระหว่างนั้นให้ดูดน้ำนมทิ้ง

มีผลข้างเคียงจากการตรวจเพท-ซีทีสะแกนไหม?

การตรวจ เพท-ซีทีสะแกน เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง การแพ้สาร FDG แทบไม่พบเลย และสารนี้ไม่เป็นอันตรายต่อตับหรือ ต่อไต โดยสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม การตรวจเพท-ซีทีสะแกน มีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นการตรวจที่ต้องใช้รังสี ดังนั้น จึงมีข้อห้ามการตรวจในหญิงตั้งครรภ์ ข้อจำกัดถ้าจำเป็นต้องตรวจในหญิงให้นมบุตร และข้อจำกัดใน 24 ชั่วโมงแรกหลังตรวจ เมื่อต้องคลุกคลีกับหญิงตั้งครรภ์ และ/หรือเด็กอ่อน (รังสีจากการตรวจโรค) ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ข้อจำกัด และข้อห้ามในการตรวจ

เพท-ซีทีสะแกนต่างจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเอมอาร์ไออย่างไร?

ดังได้กล่าวแล้วว่า การตรวจด้วย เพท-ซีทีสะแกน เป็นการตรวจโดยใช้หลักของชีวะเคมี จึงเป็นการตรวจทางด้านสรีรวิทยา จากนั้นจึงนำมาแปลงเป็นภาพ แต่การตรวจเอกซเรย์คอมพิว เตอร์ และเอมอาร์ไอ เป็นการตรวจภาพทางกายวิภาค ดังนั้นจึงเป็นการตรวจที่มีข้อบ่งชี้ในการตรวจที่แตกต่างกัน ไม่สามารถทดแทนกันได้ แต่ใช้เป็นการตรวจที่เสริมซึ่งกันและกัน (Comple mentary test) เพื่อเพิ่มความแม่นยำของการตรวจ ให้สามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น

เตรียมตัวก่อนตรวจเพท-ซีทีสะแกนอย่างไร?

ผู้รับการตรวจ เพท-ซีทีสะแกน ควรต้องงดอาหารก่อนการตรวจ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ควรบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้น้อยในวันก่อนวันตรวจ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องแจ้งแพทย์ผู้ตรวจล่วงหน้าก่อนวันตรวจ เพื่อได้รับคำแนะ นำพิเศษในการใช้ยาโรคเบาหวาน

วิธีการตรวจ เพท-ซีทีสะแกนเป็นอย่างไร? ขณะตรวจปฏิบัติตนอย่างไร?

ผู้รับการตรวจ เพท-ซีทีสะแกน จะได้รับการฉีด FDG เข้าทางหลอดเลือดดำ และจะต้องพักในห้องแยกโดยลำพัง ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงเข้าเครื่องตรวจ เพท-ซีทีสะแกน ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที ในบางสถาบัน อาจมีการฉีดสารทึบแสง/ฉีดสี (Contrast media) ร่วมด้วย เช่นเดียวกับในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การปฏิบัติตนในการตรวจ เพท-ซีทีสะแกน คือ ช่วงแรก หลังฉีด FDG ผู้รับการตรวจต้องนอนพักอย่างสงบในห้องแยกนาน 1 ชั่วโมง ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีกิจกรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยโทรศัพท์ หรืออ่านหนังสือ

ช่วงที่สองเป็นช่วงการถ่ายภาพสะแกน ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ผู้รับการตรวจควรนอนนิ่งๆ หายใจตามปกติ และผ่อนคลาย แต่ต้องไม่ขยับตัว ทั้งนี้ จะมีเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคผู้ควบคุมการตรวจ/เครื่องตรวจ แนะนำเพิ่มเติมแล้วแต่เทคนิคของแต่ละสถาบันที่ให้การตรวจ

หลังตรวจเพท-ซีทีสะแกนดูแลตนเองอย่างไร?

หลังการตรวจ เพท-ซีทีสะแกน ผู้รับการตรวจสามารถเดินทางกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะสารกัมมันตรังสีในร่างกายจะสลายอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระยะครึ่งชีวิตที่สั้นมากดังได้กล่าวแล้ว

แต่เมื่อต้องสัมผัสคลุกคลีกับเด็กอ่อน หรือหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความไวต่อรังสีเป็นพิเศษ ถึง แม้รังสีจากการตรวจเพท-ซีทีสะแกน จะน้อยมากๆ และยังไม่เคยมีรายงานเป็นสาเหตุก่อความ ผิดปกติต่อทารกในครรภ์ หรือต่อเด็กอ่อน แพทย์มักแนะนำให้ระมัดระวังในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังตรวจ โดยให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการสัมผัสคลุกคลีคนกลุ่มนี้

ทราบผลตรวจเพท-ซีทีสะแกนเมื่อไร?

การทราบผลตรวจ เพท-ซีที่สะแกน ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละสถาบันที่ให้การตรวจ ซึ่งขึ้นกับสัดส่วนระหว่างจำนวนผู้ป่วยและจำนวนแพทย์ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยทั่ว ไป ประมาณ 1-3 วันขึ้นไปสำหรับโรงพยาบาลรัฐ และภายใน 24 ชั่วโมงสำหรับโรงพยาบาลเอกชน
ที่มา   https://haamor.com/th/PET-scan/

อัพเดทล่าสุด