แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)


1,458 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งตัว  ระบบโรคติดเชื้อ 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

แบคทีเรียคืออะไร?

แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (microorganism) มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม แบคทีเรียบางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ในขณะเดียวกันก็มีแบคทีเรียบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง แบคทีเรียส่วนใหญ่สามารถอยู่เป็นอิสระนอกร่างกายมนุษย์ได้ มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่ในเซลล์ของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิต

แบคทีเรียมีรูปร่างอย่างไร?

การจะมองเห็นตัวแบคทีเรียนั้น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงอย่างน้อย 400 ถึง 1,000 เท่า รูปร่างของแบคทีเรียที่มองเห็นได้นั้นมีหลายรูป แบบ เช่น รูปร่างกลม ซึ่งเรียกว่า คอคคัส (Coccus) และ รูปร่างเป็นแท่ง เรียกว่า บาซิลลัส (Bacillus) มีได้ทั้งเป็นแท่งสั้น และเป็นแท่งยาว อยู่รวมเป็นกลุ่ม อยู่เดี่ยวๆ หรือเรียงตัวต่อกันเป็นสายคล้ายสายสร้อย เป็นต้น ซึ่งรูปร่างของแบคทีเรียเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ใช้บอกชนิดของแบคทีเรียเบื้องต้นได้ นอกจากนั้น การที่จะมอง เห็นตัวเชื้อแบคทีเรียได้ ยังจำเป็นต้องย้อมสีแบคทีเรียเสียก่อน

วิธีย้อมสีแบคทีเรียทางการแพทย์ เรียกว่าการย้อมสีแกรม (Gram stain) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิดจะติดสีแกรมแตกต่างกันไป ถ้าติดสีน้ำเงิน เรียกว่าติดสีแกรมบวก (Gram positive) ถ้าย้อมแล้วแบคทีเรียติดสีแดง เรียกว่าติดสีแกรมลบ (Gram negative) การติดสีแกรมที่แตกต่างกันนี้ สามารถนำมาใช้บอกชนิดของแบคทีเรียเบื้องต้นได้เช่นกัน

แบคทีเรียมีกี่ชนิด? แต่ละชนิดมีผลต่อการเกิดโรค อาการ ความรุนแรง การใช้ยาอย่างไร?

การแบ่งชนิดของแบคทีเรียสามารถแบ่งได้หลายแบบ เช่น

ทั้งนี้ชนิดต่างๆของแบคทีเรียทำให้มีความแตกต่างในด้านต่างๆ เช่น

แบคทีเรียก่อโรคได้อย่างไร?

แบคทีเรียก่อโรค หรือ อาจเรียกว่า การติดเชื้อ หรือ การอักเสบติดเชื้อ (Infection) ให้แก่มนุษย์ได้ด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น

  • สร้างสารพิษ (Toxin) ออกมาจากตัวแบคทีเรีย และสารพิษนั้นจะทำลายเซลล์ของมนุษย์ หรือทำให้เซลล์ของมนุษย์ทำหน้าที่ผิดไป เช่น เชื้อสแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) จะสร้างสารโคแอกูเลส (Coagulase) คอยขัดขวางการแข็งตัวของเลือด หรือ เชิ้ออีโคไล (E. coli หรือ Escherichia coli) สร้างสาร พิษเอ็นโดท็อกซิน (Endotoxin) ทำให้เกิดภาวะช็อก
  • กระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองด้วยการอักเสบ เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่มีการติดเชื้อ และผลของการอักเสบส่วนหนึ่งจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ใกล้เคียง และเกิดอาการไข้ตัวร้อน
  • แบคทีเรียบางชนิดจะเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ของมนุษย์ แย่งอาหารของเซลล์ และทำให้เกิดการตายของเซลล์

อนึ่งแบคทีเรียจะแบ่งตัวเพิ่มปริมาณในร่างกายมนุษย์ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายได้ โดยไปทางหลอดน้ำเหลือง และหลอดเลือด เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด) หรือ ภาวะเลือดเป็นพิษเหตุติดเชื้อ (Septicemia) ก่อให้ เกิดการอักเสบและการทำลายอวัยวะอื่นๆเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) และเสียชีวิตได้

โรคจากแบคทีเรียติดต่อได้ไหม? ติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

โรคจากแบคทีเรียเป็นโรคติดต่อ ทั้งนี้ เราสามารถติดเชื้อแบคทีเรีย ได้หลายวิธี โดยวิธีที่พบบ่อย ได้แก่

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียมีอะไรบ้าง?

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียมีเป็นจำนวนมากมาย ที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่

เมื่อติดเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยจากติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

  1. ไข้ (Fever) เป็นอาการสำคัญที่สุด ที่มักจะเกิดขึ้นในการติดเชื้อแบคที เรียเกือบทุกชนิด ลักษณะการเกิดไข้จะแตกต่างกันไปในแต่ละโรคและแต่ละชนิดของเชื้อแบคทีเรีย
  2. หนอง (Pus) มักเกิดในการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ลักษณะของหนอง อาจเกิดที่แผลมีหนองไหลออกมา หรือเป็นฝี หรือมีน้ำมูก หรือเสมหะสีเขียวข้น หรือเหลือง ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแล้วทั้งสิ้น ตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง ได้แก่ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) และ สแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) เป็นต้น
  3. อาการปวดเจ็บไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น (Pain) ในบริเวณที่มีการติดเชื้อ เช่น ปวดท้องน้อยด้าน ขวาในโรค
  4. อาการบวม (Edema) จากการติดเชื้อ เกิดได้ทั้งอวัยวะภายนอก เช่น ผิว หนังบวมและปวด หรือ อวัยวะภายในบวมเช่น ปอดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะบวมใหญ่เรียกว่าโรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นต้น

แพทย์มีวิธีวินิจฉัยโรคจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างไร?

การวินิจฉัยของแพทย์ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียใช้วิธีต่างๆดังนี้ คือ

  1. การซักประวัติอาการของการเจ็บป่วย
  2. การตรวจร่างกาย
  3. การตรวจเลือด โดยเฉพาะการตรวจ ซีบีซี (CBC) เพื่อดูจำนวนของเม็ดเลือดขาวในเลือด ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาว โดย เฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (Neutrophil) เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมาก หรือการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิต้านทาน หรือ ภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อแบคทีเรียที่สงสัย ว่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่ ก็ช่วยในการวินิจฉัยได้ เป็นต้น
  4. การเพาะเชื้อแบคทีเรีย วิธีนี้ใช้สิ่งที่คาดว่าน่าจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่งไปเพาะเชื้อที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เช่น หนอง เสมหะ เลือด และ/หรือเนื้อเยื่อที่ตัดออกมาจากผู้ป่วยตรงที่มีการติดเชื้อ การเพาะเชื้อนี้ เป็นวิธีมีประโยชน์มากที่สุดในการบอกชนิดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค และยังสามารถนำเชื้อที่เพาะนั้นไปทดสอบต่อได้อีกว่า ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดไหน หรือสามารถถูกทำลายโดยยาปฏิชีวนะชนิดไหน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการให้ยาที่ถูก ต้องในการรักษาโรคติดเชื้อให้หายต่อไป
  5. การตรวจทางเอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าเอมอาร์ไอ (MRI) เป็นวิธีที่ทำให้เห็นภาพของ เนื้อเยื่อ และ/หรือ อวัยวะภายใน ที่มีการติดเชื้อได้ เช่น โรคปอดบวมจากติดเชื้อแบคทีเรีย (Pneu monia) จะพบเงาสีขาวเป็นจุดๆในเนื้อปอดเมื่อดูจากฟิล์มเอ็กซเรย์ เป็นต้น
  6. การตรวจพิเศษเฉพาะโรคบางชนิด เช่น การตรวจทูเบอร์คูลินเพื่อวินิจฉัยวัณโรค เป็นต้น

รักษาโรคจากติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

วิธีรักษาโรคจากติดเชื้อแบคทีเรีย มี 4 วิธี ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะ การผ่าตัด การรักษาโดยการให้ภูมิคุ้มกันต้านทาน และการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • ยาปฏิชีวนะ การรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าทำลายเชื้อโรคเป็นวิธีสำคัญที่สุด โดยต้องดูชนิดของยาที่จะใช้ว่าตรงกับชนิดของแบคทีเรียหรือไม่ การเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด หรือ หนอง หรือสารคัดหลั่งต่างๆของผู้ป่วยในห้องปฏิบัติการ นอกจากจะทราบชนิดของแบค ทีเรียแล้ว ยังมีการทดสอบแบคทีเรียที่เพาะขึ้น ว่าสามารถถูกทำลายหรือยับยั้งด้วยยาชนิดใด ซึ่งเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า Drug sensitivity test ทั้งนี้ แพทย์จะนำข้อมูลที่ได้ ใช้เพื่อเลือกยาปฏิชีวนะให้ตรงกับชนิดยาที่สามารถรักษาโรคติดเชื้อในผู้ป่วยแต่ละคนได้
  • การรักษาโดยการผ่าตัด เช่น กรณีเกิดฝี (Abscess) การรักษาจำเป็นต้องผ่าฝีด้วย
  • การรักษาโดยการให้ภูมิคุ้มกันต้านทาน เช่น โรคบาดทะยัก เมื่อผู้ป่วยเป็นบาดทะยักแล้วการให้น้ำเหลืองที่มีภูมิคุ้มกันต้านทาน ที่เรียกว่าเซรุ่ม (Serum) ซึ่งอาจผลิตจากสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคนั้นๆ หรือโดยวิธีทางการเพาะเลี้ยงเซลล์ จะสามารถยับยั้งพิษของเชื้อโรคบาดทะยักต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ รวมทั้งการฉึดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักที่เรียกว่า Tetanus toxoid ก็เป็นวิธีกระตุ้นให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานที่เรียกว่า แอนติบอดี (Anti body) ต่อเชื้อบาดทะยักได้ด้วยตนเองอีกทางหนึ่ง
  • การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น รักษาอาการไข้ด้วยยาลดไข้ พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดเมื่อผู้ป่วยกินได้น้อย เป็นต้น

โรคจากติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรงไหม?

โรคติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคจากแบคทีเรีย ถือว่าเป็นโรครุนแรง เพราะมีความสามารถที่จะแพร่กระจายทางหลอดน้ำเหลืองและทางหลอดเลือดไปในอวัยวะอื่นๆหรือทั่วร่างกายได้ จนเมื่อรุนแรงที่สุด สามารถทำให้เสียชีวิตได้

สิ่งที่จะกำหนดความรุนแรงในการติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยแต่ละคนขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ชนิดของเชื้อแบคทีเรียว่า เป็นชนิดใด มีความสามารถในการสร้างสารพิษหรือไม่ ถ้าเป็นแบคทีเรียที่สร้างสารพิษได้โรคจะรุนแรงมากกว่า อีกกรณีหนึ่งถ้าเชื้อพัฒนาตนเองจนสามารถทนต่อยาปฎิชีวนะได้หรือที่เรียกว่า เชื้อดื้อยา จะรักษายากกว่าเชื้อที่ไม่ดื้อยา โรคจะลุกลามรุนแรงได้
  2. ติดเชื้อที่อวัยวะใด ถ้าเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ลิ้นหัวใจ ปอด ไต ตับ ตา และ/หรือกระดูก โรคมักจะรุนแรงและทำให้เกิดความเสียหาย หรือความพิการของอวัยวะนั้นๆมากกว่าอวัยวะอื่นๆ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังฟัน ช่องปาก ต่อมทอนซิล อาการจะไม่รุนแรงมาก และสามารถรักษาให้หายได้ง่ายกว่า
  3. การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immune system) ของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ถ้าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อเชื้อนั้นอยู่แล้ว จะทำให้ทำลายเชื้อโรคได้เร็วขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้าน ทานไม่ดี หรือบกพร่อง เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคติดเชื้อเอชไอวีหรือ โรคเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันต้านทาน เช่น ยาพวกสเตียรอยด์ ยาสารเคมีรักษาโรค มะเร็ง ในเด็กอ่อน หรือในผู้สูงอายุ เหล่านี้ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทาน หรือต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดี โรคจึงรุนแรงมากกว่าคนปกติ

เมื่อสงสัยติดเชื้อแบคทีเรียควรดูแลตัวเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อใด?

เมื่อสงสัยติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น แผลที่มีหนองไหล น้ำมูก หรือเสมหะมีสีเขียวข้น มีไข้ตัวร้อน ต่อมทอนซิลเจ็บ บวมโตและมีหนองปกคลุม มีอาการอักเสบบวมแดงตามผิวหนัง ตาอักเสบมีขี้ตาสีเขียว มีหนองไหลออกมาจากรูหู ฟันผุ เหงือกบวมปวด ปัสสาวะแสบขัด สีขุ่นหรือมีเลือดปนกับปัสสาวะ ท้องเสีย หรืออุจจาระมีมูกเลือดปน ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอักเสบร่วมกับมีไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่น่าสงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เราอาจดูแลตนเองเบื้องต้นได้ เช่น

  • ถ้ามีแผลที่ติดเชื้อ เราอาจจะทำแผลด้วยตัวเองได้โดยใช้น้ำยาทำแผลน้ำ เกลือ จะสามารถลดการติดเชื้อได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะการติดเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการไข้ร่วมด้วย ซึ่งทำให้ร่างกายเสียน้ำมากกว่าปกติ (ภาวะขาดน้ำ) การดื่มน้ำให้เพียงพอจะทำให้ไข้ลดลง ปัสสาวะมากขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การดื่มน้ำเพียงพอจะช่วยขับเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะให้ออกไปจากร่างกายพร้อมกับน้ำปัสสาวะได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรีบพบแพทย์ภายใน 2-3 วัน เมื่ออาการผิดปกติต่างๆไม่หายไป หรืออาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไข้สูงขึ้น แผลลุกลามปวดบวมมากขึ้น ไอมากขึ้น
  • ควรพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน เมื่อมีอาการหอบเหนื่อย ซึมลง ถ่ายเหลวไม่หยุด มีอาการหน้ามืด ชัก และ/หรือ อาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้น

ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรียได้อย่างไร?

ป้องกันติดเชื้อแบคทีเรียได้โดย

  1. รักษาความสะอาดส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง จะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ติดจากมือที่สกปรกเข้าทางปากได้ ล้างมือหลังอุจจาระและปัสสาวะทุกครั้ง อาบน้ำให้ร่างกายสะอาดทุกวัน เลือกดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกแล้ว เพราะอาหารที่ปรุงไม่สุกอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียปะปนมาได้ (รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน หรือ สุขบัญญัติแห่งชาติ)
  2. รู้จักป้องกันตนเองจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เช่น ใช้หน้ากากอนามัย ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
  3. รักษาสิ่งแวดล้อม บ้านเรือนให้สะอาด อย่าให้เป็นที่สะสม และเพาะเชื้อแบคทีเรียได้
  4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่น ไม่กลั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะไม่กินยากดภูมิต้านทานโดยไม่จำเป็น เช่น ยาพวกสเตียรอยด์ที่ผสมในยาชุด หรือ ยาลูกกลอน เป็นต้น ถ้ามีโรคประจำ ตัวที่ทำให้ติดเชื้อง่าย เช่น โรคเบาหวาน ก็ควรทานยาควบคุมน้ำตาลอย่าให้ขาด เพราะการมีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย
  5. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่มีวัคซีนป้องกัน ตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และกระทรวงสาธารณสุข เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก เป็นต้น (เมื่อสนใจในเรื่องวัคซีน ควรสอบถามจาก แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขในสถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลใกล้บ้าน)

ที่มา   https://haamor.com/th/แบคทีเรีย/

อัพเดทล่าสุด