กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

กรวยไต  ไต  ระบบโรคไต 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  ปัสสาวะเป็นเลือด 

บทนำ

กรวยไต (Renal pelvis) เป็นส่วนของไตที่มีลักษณะเป็นโพรง เป็นส่วนที่ต่อกับท่อไต (Ureter) มีหน้าที่ในการเก็บกักปัสสาวะที่กรองแล้วจากเซลล์ของไตก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้บ่อยในเด็กเล็กผู้หญิงวัยสาว และผู้สูงอายุ ทั้งนี้พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4-5 เท่า

กรวยไตอักเสบ จัดเป็นการอักเสบของทางเดินปัสสาวะที่แพทย์มักเรียกย่อว่า ยูทีไอ (UTI หรือ Urinary tract infection) หรือบางคนเรียกเจาะจงลงไปอีกว่า การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract infection) มักเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิด อีโคไล (E. Coli) แต่พบติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆได้เช่นกัน เช่น เชื้อ สแตฟ (Staphylococcus) และเชื้อ สูโดโมแนส (Pseudomonas) แต่ในคนมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ อาจเกิดจากติดเชื้อราได้

กรวยไตอักเสบ อาจเกิดเพียงข้างเดียวข้างใดข้างหนึ่ง (โอกาสเกิดในข้างซ้ายและข้างขวาใกล้เคียงกัน) หรือ เกิดพร้อมกันทั้งสองข้าง ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

กรวยไตอักเสบ พบเกิดได้ทั้งการอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งอาการเกิดทันที และรุนแรง แต่เมื่อได้รับการรักษา จะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ และการอักเสบเรื้อรัง คือ การอักเสบไม่รุนแรง แต่เป็นๆหายๆ เรื้อรัง มักเกิดจากรักษาควบคุมสาเหตุของโรคไม่ได้ เช่น ยังมีนิ่วในไตเรื้อรัง หรือ มีต่อมลูกหมากโต

โรคกรวยไตอักเสบเกิดได้อย่างไร? มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง?

โรคกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย โดยการติดเชื้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นได้ทั้งการเป็นสาเหตุและการเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค ทั้ง นี้สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย คือ

กรวยไตอักเสบมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของกรวยไตอักเสบเป็นอาการไม่จำเพาะ พบได้คล้ายคลึงกับอาการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะในระบบทางเดินปัสสาวะ (ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ) ซึ่งที่พบบ่อย คือ

แพทย์วินิจฉัยกรวยไตอักเสบได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยกรวยไตอักเสบได้จาก ประวัติอาการ ประวัติทางเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และในรายรุนแรงอาจมีการตรวจเชื้อ และ/หรือการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ และ/หรือจากเลือด นอกจากนั้นอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพไตด้วยเอกซเรย์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรืออัลตราซาวด์ หรือ การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

รักษากรวยไตอักเสบอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคกรวยไตอักเสบ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งในรายที่รุนแรงอาจเป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำโดยรับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล แต่รายที่อาการไม่มาก การรักษาจะเป็นผู้ป่วยนอก

นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคต่อมลูกหมากโต เมื่อมีสาเหตุจากต่อมลูกหมากโต เป็นต้น และ

การรักษาประคับประคองตาอาการ เช่น การพักผ่อน ยาลดไข้ ยาแก้ปวด การดื่มน้ำสะอาดมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม และการไม่กลั้นปัสสาวะนาน

กรวยไตอักเสบมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง?

ผลข้างเคียงจากกรวยไตอักเสบ คือ เมื่อได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีการรักษาสาเหตุด้วย จะกลายเป็นโรคเรื้อรัง ที่อาจก่อให้เกิดโรคไตอักเสบเรื้อรัง (โรคไตเรื้อรัง) จนกลายเป็นไตวายเรื้อรัง และเสียชีวิตได้

กรวยไตอักเสบรุนแรงไหม?

โดยทั่วไป โรคกรวยไตอักเสบ ไม่รุนแรง รักษาได้เสมอเมื่อพบแพทย์ตั้งแต่แรกมีอาการ แต่ในเด็กเล็ก ในผู้สูงอายุ และในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ โรคอาจรุนแรงเป็นการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ /ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ หรือเมื่อรักษาควบคุมสาเหตุไม่ได้ อาจกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดไตวายเรื้อรัง (โรคไตเรื้อรัง) และเสียชีวิตได้เช่นกัน

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง/การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคกรวยไตอักเสบ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เสมอ ไม่ควรดูแลตนเองด้วยการซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะเป็นโรคไม่หายจากการดูแลตนเอง อาจดูว่าอาการดีขึ้น แต่แท้ที่จริง จะกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง ทั้งนี้เพราะยาปฏิชีวนะมีหลากหลายชนิด การจะรักษาโรคได้ ต้องขึ้นกับชนิดของโรค อายุผู้ป่วย ชนิดและขนาดของยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

ภายหลังจากพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเอง คือ

ป้องกันกรวยไตอักเสบได้อย่างไร?

สามารถป้องกันโรคกรวยไตอักเสบได้โดย


ที่มา    https://haamor.com/th/กรวยไตอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด