ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant)


1,127 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ยาฝังคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาฝังคุมกำเนิด หรือยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆเข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สะดวกสบาย มีใช้มานานนับ 10 ปี ในระยะแรกจะเป็นฮอร์โมนที่บรรจุในแท่งพลาสติกเล็กๆจำนวน 6 แท่ง ขนาดแท่งละ 3.4 x 0.24 เซนติเมตร(ซม) เช่น ยา Norplant® สามารถใช้ได้คุมกำเนิดได้ 5 ปี ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สะดวกขึ้นเหลือเพียงชนิดแบบ 1 แท่ง (Implanon®) ขนาดแท่งละ 4.0 x 0.20 ซม. คุมกำเนิดได้ 3 ปี และแบบ 2 แท่ง (Jadelle®) ขนาดแท่งละ 4.3 x 0.25 ซม. คุมกำเนิดได้ 5 ปี

ยาฝังคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

ยาฝังคุมกำเนิด จะประกอบด้วย ฮอร์โมนเพศหญิงโปรเจสติน (Progestin,ฮอร์โมนเพศหญิงสังเคราะห์)) เพียงชนิดเดียว จึงไม่มีผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เหมือนในยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม

กลไกการป้องกันการคุมกำเนิด คือ ฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝัง จะไปมีผลทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนา จึงไม่สามารถโตต่อไปจนตกไข่ได้ ทำให้ไม่มีไข่ที่จะรอผสมกับเชื้ออสุจิ จึงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปได้ยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่

ยาฝังคุมกำเนิด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีมาก โอกาสการตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 ใน 100 ของสตรีที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง?

ข้อดีของยาคุมกำเนิดแบบฝัง คือ

ผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง?

ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด คือ อาจมีผลข้างเคียงจากยาได้ โดยผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ

หลังใช้ยาฝังคุมกำเนิด เมื่อไรต้องพบแพทย์ก่อนนัด?

เมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิด ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ

  1. ปวดแขนที่ฝังยาผิดปกติ หรือ อักเสบ (แผลบวม แดง ร้อน) หรือ เป็นหนอง
  2. หายใจลำบาก แน่นหน้าอก (อาการของการแพ้ยา)
  3. ปวดศีรษะมากผิดปกติ
  4. แขน ขา อ่อนแรง (อาจเป็นอาการของ ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หรือโรคทางสมอง )

ใครคือสตรีที่เหมาะที่จะใช้ยาฝังคุมกำเนิด?

สตรีที่เหมาะที่จะใช้ยาฝังคุมกำเนิด คือ

  1. ผู้ที่ลืมรับประทานยาบ่อยๆ รวมทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด
  2. ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี
  3. มีข้อห้ามในการใช้การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น กำลังให้นมบุตร

ใครคือสตรีที่ห้ามใช้ยาฝังคุมกำเนิด?

สตรีที่ห้ามใช้ยาฝังคุมกำเนิด คือ

  1. โรคตับ เพราะผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด อาจส่งผลให้เกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
  2. มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจาย
  3. มีเลือดออกตาอวัยวะต่างๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
  4. มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออก

ประโยชน์อย่างอื่นของยาฝังคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง?

ประโยชน์อย่างอื่นของยาฝังคุมกำเนิด นอกจากการคุมกำเนิด คือ

  1. ลดอาการปวดประจำเดือน
  2. ป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  3. ลดโอกาสเกิดอาการซีดจากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ จากมีการหนาตัวมากของเยื่อบุโพรงมดลูก

รับการฝังยาคุมกำเนิดได้ที่ไหน? และการฝังยาต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่?

หากสตรีท่านใดตัดสินใจที่จะใช้การคุมกำเนิดโดยใช้ยาฝังคุมกำเนิด สามารถไปขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอที่มีขนาดใหญ่ หรือสามารถสอบถามตามคลินิกสูตินรีเวช ทั้งนี้การฝังยาสามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ใช้เวลาเพียงประมาณ 10-20 นาที โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล

การฝังยาฝังคุมกำเนิดต้องดมยาสลบหรือไม่?

การฝังยาคุมกำเนิดไม่ต้องดมยาสลบ แพทย์จะใช้วิธีฉีดยาชาเข้าที่ใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด จากนั้นจะใช้เข็มนำเปิดแผลขนาด 0.3 ซม. ที่ท้องแขนด้านนั้น แล้วสอดใส่แท่งตัวนำหลอดยาที่มียาบรรจุอยู่ เข้าไปในเข็มนำนี้ หลังจากใส่หลอดยาเข้าไปเรียบร้อยแล้ว (1 หรือ 2 แท่งตามแต่ชนิดของยา) ก็จะถอนแท่งนำยาและเข็มนำออก ทำการปิดปากแผลโดยไม่ต้องเย็บแผล จากนั้นพันแผลด้วยผ้าพันแผล และพันทับด้วยผ้าอิลาสติค (Elastic bandage) อีกชั้น ก็เสร็จเรียบร้อย โดยพันทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อช่วยหยุดจุดเลือดออกต่างๆ และแพทย์จะให้ยาแก้ปวดไปรับประทานหากมีอาการปวดแผล ในวันรุ่งขึ้นอาจพบมีรอยช้ำที่แขนได้เล็กน้อยซึ่งจะค่อยๆหายไปเอง

ค่าใช้จ่ายยาฝังคุมกำเนิดมากน้อยเพียงใด?

ราคาของยาฝังคุมกำเนิดในโรงพยาบาลของรัฐ ประมาณ 2,500-3,000 บาท หากทำในโรงพยาบาลเอกชน หรือ คลินิกก็จะมีค่าบริการเพิ่มเติมขึ้น

หากไม่ต้องการคุมกำเนิดแล้ว จะทำอย่างไร?

หากต้องการมีบุตรหรือฝังยาคุมกำเนิดมาครบตามจำนวนเวลาที่ระบุแล้ว (3 หรือ 5 ปี) สามารถไปถอดยาฝังได้ตาโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งแผลที่เกิดจากการถอดหลอดยา จะใหญ่กว่าตอนใส่เล็กน้อย และอาจได้รับการเย็บด้วยไหม 1 เข็ม ซึ่งก็มีการฉีดยาชาก่อนเสมอ ทั้งนี้การถอดยาฝังใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที และทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลเช่นเดียวกับตอนใส่หลอดยาเช่นกัน

โอกาสตั้งครรภ์หลังเอายาฝังคุมกำเนิดออกแล้ว เป็นอย่างไร?

ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาฝังคุมกำเนิดดีมากดังได้กล่าวแล้วในตอน ต้น และเมื่อถอดยาออก ภาวะการเจริญพันธุ์ก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายในระยะเวลาประ มาณ 1-12 เดือนขึ้นกับความแข็งแรงและอายุของสตรีท่านนั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการคุม กำเนิดก่อนหน้านี้ด้วย

หากถอดยาฝังคุมกำเนิดออกแล้ว สามารถฝังใหม่ได้อีกหรือไม่?

สามารถฝังยาชุดใหม่ได้เลย หากต้องการคุมกำเนิดต่อ
ที่มา   https://haamor.com/th/ยาฝังคุมกำเนิด/

อัพเดทล่าสุด