ครรภ์แฝด (Multiple pregnancy)


1,002 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

มดลูก  ระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ครรภ์ใหญ่กว่าอายุครรภ์ปกติ 

การตั้งครรภ์แฝดคืออะไร?

การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป มักเรียกรวมๆว่าเป็นการตั้งครรภ์แฝด (Multiple pregnancy) ซึ่งอาจมีทารก2 คน เรียก แฝดสอง หรือ มีมากกว่านั้น ก็จะเรียกเป็น แฝดสาม แฝดสี่ แฝดห้า แฝดหก ตามแต่จำนวนทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์แฝดสอง (Twin pregnancy) พบได้บ่อยที่สุด และทารกมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด ยิ่งจำนวนทารกในครรภ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น น้ำหนักตัวทารกจะลดลงไปเรื่อยๆ และโอกาสรอดชีวิตก็จะน้อยลงด้วย

ในบทความนี้ จะกล่าวเน้นเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝดสองเป็นหลัก ทั้งนี้การตั้งครรภ์แฝดถือเป็นความปกติอย่างหนึ่งในทางสูติกรรม เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะ แทรกซ้อน/ผลข้างเคียงต่างๆ ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ก่อนคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

การตั้งครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในทางการแพทย์จะแบ่งการตั้งครรภ์แฝดเป็น 2 ประเภท คือ

  1. แฝดร่วมไข่ (Monozygotic หรือ Identical twins) เกิดจากการที่ เชื้ออสุจิ 1 ตัว เข้าไปปฏิสนธิกับไข่ใบเดียว ต่อมาจึงมีการมาแยกเป็นครรภ์แฝด ซึ่งจะมีหลายลักษณะขึ้น อยู่กับระยะเวลา ที่มีสิ่งผิดปกติมากระตุ้นให้เกิดการแบ่งแยกเซลล์ตัวอ่อน
    • หากมีสิ่งมากระตุ้นให้แบ่งเซลล์ตัวอ่อนภายใน 7-12 วันหลังปฏิสนธิ จะได้ทารก 2 คน แฝดกลุ่มนี้จะเป็นแฝดเหมือน เหมือนกันทั้งเพศ หน้าตา หมู่เลือด
    • แต่หากหลังวันที่ 13 ของการปฏิสนธิไปแล้ว มีสิ่งมากระตุ้นให้แบ่งเซลล์ตัวอ่อน จะเกิดปัญหาแฝดที่มีร่างกายติดกัน (Conjoined twins) เช่น ลำตัว หรือ ศีรษะ ติดกัน
    แฝดต่างไข่ (Dizygotic หรือ Fraternal twins) เป็นการตั้งครรภ์แฝดที่เกิดจาก เชื้ออสุจิ 2 ตัวหรือมากกว่า เข้าไปผสมกับไข่ 2 ใบ หรือมากกว่า แฝดกลุ่มนี้เพศอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ หน้าตา กลุ่มเลือด อาจไม่เหมือนกัน ปัจจุบันพบแฝดต่างไข่มากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ การกระตุ้นให้ไข่โตและตกไข่ครั้งละหลายๆฟอง จึงมีโอกาสเป็นแฝดสาม แฝดสี่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ตั้งครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แฝด คือ

  1. กรรมพันธุ์ คือ การมีประวัติตั้งครรภ์แฝดในครอบครัว
  2. เชื้อชาติ พบว่าชนชาติแอฟริกันมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากกว่าคนผิวขาว
  3. อายุมารดามากขณะตั้งครรภ์ พบว่าการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น
  4. การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือการใช้ยากระตุ้นให้มีไข่สุกและตกไข่ครั้งละหลายๆฟอง

เราจะสงสัยว่าตั้งครรภ์แฝดเมื่อไหร่?

เราจะสงสัยว่าตั้งครรภ์แฝดเมื่อ

การวินิจฉัยว่าตั้งครรภ์แฝดทำได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยการตั้งครรภ์แฝดได้โดย การซักถามประวัติทางการแพทย์กับผู้ป่วย การตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ ตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง และเมื่อตรวจครรภ์ได้โตกว่าอายุครรภ์จริง ก็จะส่งตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง?

เมื่อสตรีรู้ว่าตั้งครรภ์แฝด คนในครอบครัวทุกคนจะดีใจ ถือว่าเป็นเรื่องของความโชคดีที่ตั้งครรภ์ครั้งเดียวได้ลูกพร้อมกัน 2 คน แต่ในทางการแพทย์แล้วการตั้งครรภ์แฝดถือเป็นความซับซ้อนอย่างหนึ่ง เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ ได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว ทั้งในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ระยะคลอด และระยะหลังคลอด

ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะฝากครรภ์/ก่อนคลอด ได้แก่

  1. คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่าปกติ เหนื่อยเพลียมาก
  2. การแท้งบุตร อาจแท้งออกมา 1 คนแล้วตั้งครรภ์ต่ออีก 1 คน หรือ แท้งทั้ง 2 คน
  3. มารดามักมีภาวะซีด ได้ง่าย
  4. มีโอกาสมีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าครรภ์ปกติ
  5. เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงกว่าครรภ์ปกติ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง เบาหวานกับการตั้งครรภ์)
  6. รกเกาะต่ำ ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เพิ่มโอกาสการแท้งบุตรและการคลอดก่อนกำหนด
  7. เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
  8. ทารกน้ำหนักตัวน้อย
  9. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการคลอดปกติ อาจต้องผ่าท้องคลอด
  10. สายสะดือทารกพันกัน ในกรณีอยู่ในถุงการตั้งครรภ์เดียวกัน เป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือ ระหว่างคลอดได้สูง
  11. ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ
  12. ทารกในครรภ์เจริญเติบโตผิดสัดส่วนกัน แต่ละคนเจริญเติบโตได้ไม่เท่ากัน คนที่เจริญเติบโตได้ไม่ดี จึงอาจเสียชีวิต หรือมีความพิการ
  13. ทารกมีการถ่ายเทเลือดให้กัน (Twin-to-twin transfusion syndrome ) คือทา รกใช้รกอันเดียวกัน เลือดของคนหนึ่งจึงสามารถไหลสู่ร่างกายของอีกคนได้ ส่งผลให้ทารกเกิดภาวะขาดเลือด เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติ พิการ หรือเจริญเติบโตด้อยกว่าเกณฑ์ จึงเพิ่มโอกาสมารดาเกิดการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และ/หรือความพิ การแต่กำเนิดของทารกได้
  14. ทารกเสียชีวิตในครรภ์ 1 คน หรืออาจเสียชีวิตทั้งหมด

ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะคลอด ได้แก่

  1. การดำเนินการคลอดผิดปกติ ล่าช้า อาจต้องผ่าท้องคลอด
  2. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ต้องผ่าท้องคลอด
  3. รกลอกตัวก่อนกำหนด จึงส่งผลให้เกิดทารกคลอดก่อนกำหนดได้สูง

ภาวะแทรกซ้อนของครรภ์แฝดในระยะหลังคลอด ได้แก่

  1. ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกขยายตัวมากเกินไป ทำให้การหดรัดตัวไม่ดี แผลในมดลูกจากการหลุดลอกของรกจึงติดได้ไม่ดี เลือดจึงออกจากแผลได้มาก
  2. ติดเชื้อหลังคลอดได้สูง

ควรดูแลตนเองอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์แฝด?

การดูแลตนเองเมื่อมีครรภ์แฝด ที่สำคัญ คือ

- ด้านทั่วๆไป

  1. เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ต้องรีบไปฝากครรภ์
  2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลที่ดูแลให้ถูกต้อง ครบถ้วน
  3. น้ำหนักมารดาควรเพิ่มขึ้น 15-20 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ (ในสตรีที่ไม่อ้วนผิดปกติ)
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรพักผ่อนให้มากกว่าปกติเพื่อลดโอกาสคลอดก่อนกำหนด
  5. งดการทำงานหนักเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  6. เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องจะขยายมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวมาก การเคลื่อนไหวจะลำ บาก จึงต้องระวังเกี่ยวกับอุบัติเหตุ

- อาหารและการบริโภคอื่นๆ

เนื่องจากการตั้งครรภ์แฝดอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย การดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์จึงสำคัญมาก เรื่องอาหารต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นกว่าปกติ (ควรได้อาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ประมาณ 600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน) เนื่อง จากความต้องการของลูกมีมากขึ้น

งด สูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนเครื่องดื่มกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม) ให้ปฏิบัติตามที่สูติแพทย์ที่ดูแลแนะนำ

- เพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้งดในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากกลัวการแท้งบุตร ส่วนในช่วง 7-8 เดือน ท้องจะใหญ่มาก แนะนำให้งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้เช่นกัน เนื่องจากเกรงจะทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นหากระหว่างตั้งครรภ์ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามที่กล่าวในหัวข้อ ภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ ช่วงตั้งครรภ์ตอน 4-5 เดือนได้ แต่หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ก็ต้องงดการมีเพศสัมพันธ์

การฝากครรภ์เมื่อตั้งครรภ์แฝดแตกต่างจากการฝากครรภ์ปกติหรือไม่?

สตรีที่ตั้งครรภ์แฝด ต้องได้รับการดูแลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรก ซ้อนได้บ่อยกว่าสตรีที่ตั้งครรภ์เดี่ยว ในช่วงแรกหากมีคลื่นไส้อาเจียนมากผิดปกติ ควรนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แพทย์จะให้น้ำเกลือ แต่หากไม่มีอาการผิดปกติจะมีการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ ทุก 1 เดือน เพื่อติดตามความเจริญเติบโตของทารก และค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับทารก

แพทย์จะแนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าปกติ จะมีการให้ยาวิตามินบำ รุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล ในช่วงระยะหลังของการตั้งครรภ์ แพทย์อาจนัดมาตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติ มีการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วย เช่น Non stress test (ตรวจการทำงานของหัวใจของทารก) เพื่อแพทย์พิจารณาการดูแลรักษาทั้งมารดาและทารก

เมื่อตั้งครรภ์แฝดควรคลอดเองหรือให้แพทย์ผ่าท้องคลอดดี?

การตั้งครรภ์แฝด ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการผ่าท้องคลอดเสมอไป ในกรณีที่เป็นการตั้งครรภ์แฝดสอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (เช่น ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ) หากทารกทั้ง 2 คน อยู่ในท่าศีรษะ มีศีรษะเป็นส่วนนำ สามารถชักนำให้คลอดทางช่องคลอดได้ ควรมีทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแล 2 ทีม (ดูแม่ และดูลูก) แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการเตรียม พร้อมสำหรับการผ่าท้องคลอดฉุกเฉินเสมอ เนื่องจากมีบางครั้งที่ทารกคนแรกคลอดไปแล้ว แต่ทารกคนที่ 2 มีการหมุนเปลี่ยนท่าเอง เช่น กลายเป็นท่าขวาง แพทย์ผู้ทำคลอดอาจต้องรีบไปผ่าท้องคลอด แต่หากทารกคนแรกมีส่วนนำ (ส่วนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับช่องเชิงกรานมารดา) ไม่อยู่ในท่าศีรษะ มีคำแนะนำว่าควรต้องวางแผนผ่าท้องคลอด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์แฝดสามแฝดสี่ ควรต้องผ่าท้องคลอดเลย เพื่อความปลอดภัยของลูก

หลังคลอด ดูแลตนเองอย่างไร?

การดูแลตนเองหลังคลอด ที่สำคัญ คือ

อัพเดทล่าสุด