โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ


1,493 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ระบบประสาทวิทยา 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

อาการปวดศีรษะ เป็นอาการทางระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุด อาจกล่าวได้ว่าทุกคนต้องเคยมีอาการปวดศีรษะ โดยสาเหตุของอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่นั้นไม่ร้ายแรง แต่ถ้าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โอกาสจะมีสาเหตุที่ร้ายแรงนั้นพบได้สูงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ต่างๆได้ เช่น ตาบอด ซึ่งโรคที่เป็นสา เหตุของอาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุที่พบบ่อยโรคหนึ่งคือ “โรคหลอดเลือด (บริเวณ) ขมับอักเสบ (Temporal arteritis หรือ Giant Cell Arteritis หรือ Cranial arteritis)” โรคนี้มีลักษณะอย่างไร ลองติดตามรายละเอียดต่อไปนี้

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบคืออะไร? เกิดได้อย่างไร?

หลอดเลือดขมับอักเสบ

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบ เกิดจากร่างกายมีการสร้างสารกระตุ้นการอักเสบขึ้นมาหลายชนิด และสารเหล่านั้นก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดแดงบริเวณขมับที่เรียกว่า Temporal artery และของหลอดเลือดแดงต่างๆที่เป็นแขนงของหลอดเลือดแดงคาโรติคส่วนนอกสมอง [External carotid artery, หลอดเลือดแดงที่ให้แขนงต่างๆ (รวมทั้ง หลอดเลือดขมับ) เพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆในบริเวณศีรษะ เช่น ตา ไซนัส หู และกล้ามเนื้อใบหน้า] รวม ทั้งอาจก่อให้เกิดอาการอักเสบได้ทั่วตัว โดยการอักเสบนี้ไม่ได้เกิดจากภาวะติดเชื้อที่หลอดเลือดในสมองตามที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งสาเหตุที่แน่นอนที่ทำให้หลอดเลือดแดงเหล่านี้อักเสบ ยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ผิดปกติของหลอดเลือดเหล่านี้

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบพบบ่อยหรือไม่?

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบพบบ่อยในผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป พบในผู้หญิงและผู้ชายใกล้เคียงกัน พบในคนเชื้อชาติยุโรปมากกว่าชาวเอเชีย โรคนี้พบไม่บ่อยคือ พบประมาณ 10-20 รายต่อประชากร 100,000 คนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้หรือไม่ยังไม่ชัดเจน

อนึ่ง นอกจาก อายุ และเชื้อชาติแล้ว ยังไม่พบปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้จากสาเหตุอื่นๆ

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบมีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจทั้งสองด้านก็ได้ ซึ่งโรคนี้พบในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยประวัติไม่เคยมีอาการปวดศีรษะลักษณะแบบนี้มาก่อน นอกจากปวดศีรษะ/ขมับแล้ว เมื่อกดขมับ จะมีอาการเจ็บบริเวณขมับโดยเฉพาะตามแนวหลอดเลือดขมับ ร่วมกับเมื่อเคี้ยวอาหาร จะปวดบริเวณ กราม ลิ้น และขณะปวดยังจะมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ซึ่งอาการผิดปกติดังกล่าว มักร่วมกับมีอา การผิดปกติทั่วตัว เช่น ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตามตัว

อนึ่ง ยังไม่พบว่า อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือ กระตุ้นให้อาการเหล่านี้รุนแรงขึ้น

ผู้ป่วยปวดศีรษะแบบไหนที่ต้องรีบไปพบแพทย์?

ผู้ป่วยวัยกลางคนขึ้นไป ที่มีอาการปวดศีรษะมาก/รุนแรงบริเวณขมับ กดเจ็บร่วมกับมีอา การอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ ปวดตามตัว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันว่า สาเหตุการปวดศีรษะเกิดจากอะไร

แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดขมับอักเสบได้อย่างไร?

การวินิจฉัยที่สำคัญคือ แพทย์ต้องคิดถึงโรคนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงบริเวณขมับ โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป มีอาการปวดศีรษะบริเวณขมับข้างเดียว กดเจ็บบริเวณขมับ ร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ในหัวข้ออาการ ซึ่งเมื่อแพทย์สงสัย ก็จะส่งตรวจหาค่าการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation rate : ESR) ซึ่งจะพบว่ามีค่าสูงมากกว่า 50 มม.(มิลลิเมตร) ต่อชั่วโมง (ส่วนใหญ่จะมากกว่า 100 มม.)

นอกจากนี้ จะมีการตัดชิ้นเนื้อหลอดเลือดขมับ ความยาวของหลอดเลือดที่ตัดออกมาตรวจประมาณ 2 เซนติเมตร เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา โดยจะตรวจพบเซลล์ชนิดพิเศษที่มีขนาดใหญ่มีหลายนิวเคลียส (Nucleus, สารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ที่มักรวมกันอยู่ใจกลางเซลล์) ที่เรียกว่า Multinucleated giant cells ซึ่งให้ผลบวก (สามารถช่วยวินิจฉัยโรคได้) ประ มาณ 60% แต่เนื่องจากต้องมีการตัดหลอดเลือดมาตรวจ ในทางปฏิบัติจึงไม่ค่อยนิยมใช้เป็นวิธีวินิจฉัย

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบรักษาอย่างไร?

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบรักษาด้วยการให้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง และต้องรักษาต่อ เนื่องเป็นระยะเวลานานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี โดยแพทย์จะรักษาดูแลติดตาอาการค่าอัก เสบของหลอดเลือด โดยการตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR) เป็นระยะๆ

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบรักษาให้หายขาดได้อย่างไร?

โรคนี้รักษาให้หายขาดได้ โดยการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ กรณีโรคตอบสนองไม่ดีต่อยาสเตียรอยด์ ก็จะให้ยาสเตียรอยด์ร่วมกับยากดภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดขมับอักเสบมีหรือไม่?

ภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ ที่อาจพบได้ คือ

 

ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ตามนัดนานเท่าใด? เมื่อไหร่ต้องพบแพทย์ก่อนนัด?

โรคนี้จำเป็นต้องรับการรักษาจากแพทย์ ไม่สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยต้องทานยาสม่ำเสมอนานประมาณ 1 ปี และต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอา การของโรค และตรวจดูว่ามีผลแทรกซ้อนจากโรค หรือจากการใช้ยาหรือไม่

ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดผลแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น การติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ

โรคหลอดเลือดขมับอักเสบมีอาหารต้องห้ามหรือไม่?

เนื่องจากการรักษาต้องทานยาสเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ดังนั้น ควรงดของหวาน ของเค็ม เพื่อลดโอกาสการเกิด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และควรทานอา หารที่มีแคลเซียมสูงเป็นประจำ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน

เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดขมับอักเสบควรดูแลตนเองอย่างไร?

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคนี้ คือ

 

ป้องกันโรคหลอดเลือดขมับอักเสบได้ไหม?

ปัจจุบัน โรคนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้

สรุป

โรคปวดศีรษะจากการอักเสบของหลอดเลือดขมับเป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่เป็นโรคที่อันตราย ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติดังกล่าวในหัวข้อ อาการ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม ก็จะสามารถช่วยให้ควบคุมโรคได้
ที่มา   https://haamor.com/th/หลอดเลือดขมับอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด