ไข้เลือดออก …เพชฌฆาตหน้าฝน


หน้าที่ 1 - วิกฤติของโรคร้าย ไข้เลือดออก

เรียกได้ว่าเมื่อถึงหน้าฝน ยิ่งมีน้ำท่วมขังด้วยแล้ว สารพัดโรคมีมาให้เลือกเป็นกันได้มากมาย ใครอยากเป็นเป็นได้ไม่ต้องแย่งกัน บางโรคนั้นเป็นแล้วยังสบายๆ บางโรคอาจถึงตาย ยังมีบางโรคกลัวตายเดี่ยว เลยแพร่กระจายชวนกันตายหมู่
เมื่อมีโอกาสเป็นกันได้หลากโรคขนาดนี้ เห็นทีวิชาการคงต้องออกมาเตือนเพื่อนๆกันซะหน่อย ไม่ห่วงใย เดี๋ยวหาว่าไม่รักกันจริง อย่างโรค “น้ำกัดเท้า” ...ขึ้นต้นซะหวาดผวาขนาดนี้ มาเตือนภัยกันด้วยโรคน้ำกัดเท้า กัดลิ้นตัวเองตายดีกว่า
โรคที่ร้ายแรง เป็นแล้วอาจตายได้ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีความรุนแรงชนิดที่กระทรวงสาธารณะสุขยังออกมาประกาศเตือนภัยให้ระวังโดยเฉพาะในหน้าฝนพรำอย่างนี้ก็คือ “ไข้เลือดออก” อันเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส 2 ชนิดที่สำคัญคือ เชื้อ เดงกี่(dengue) และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) สำหรับในบ้านเราก็จะคุ้นกันกับเจ้าเชื้อตัวแรกมากกว่า เดงกี่นั้นยังแบ่งออกเป็น 4 สายพันธ์ ซึ่งจะติดต่อกันเมื่อ ยุ่งลายไปกัดคนที่มีเชื้อเดงกี่ แล้วแพร่ไปสู่คนปกติ


ที่เรียกกันว่า “ไข้เลือดออก” ก็เพราะว่า เมื่อเราเป็นโรคนี้แล้วจะมีอาการการรั่วของพลาสมาหรือน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือด ซึ่งทำให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง ส่วนอาการเลือดออก ที่พบกก็จะมีเลือดกำเดาออก เลือดออกใต้ชั้นเยื่อบุตา ตามเหงือก สำหรับอาการเลือดออกที่รุนแรงคือ เลือดออกในกระเพาะและลำไส้ มีการอาเจียนเป็นเลือด 
โดยเฉพาะจะมีอาการรุ่นแรงมากเมื่อเกิดจากการติดเชื่อในครั้งที่ 2 สาเหตุก็เพราะ ตามที่ได้บอกไปแล้วว่า เจ้าเชื่อแดงกี่นี้ มี อยู่ 4 สายพันธ์ เมื่อเกิดการติดเชื่อครั้งที่ 2 โดยไวรัสสายพันธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ภูมิคุ้มกันจึงไม่เพียงพอในการป้องกันโรค แล้วยังจะกระตุ้นร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคไข้เลือดออกที่รุนแรง มากกว่าการติดเชื้อในครั้งแรก
แต่เพื่อนๆรู้ไหมว่าที่จริงแล้วการติดเชื้อแดงกี่ ไม่ใช่ว่าจะเรียกว่าไข้เลือดออกเสมอไป เพราะ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีส่วนใหญ่นั้นจะไม่ได้แสดงอาการใด ๆ รึบางคนอาจพบแค่เพียงอาการไข้และปวดศีรษะเท่านั้น จะเห็นได้ว่าความหนักเบาของผู้ป่วยจะแตกต่างกัน บางรายก็มีอาการอ่อนเพลียเพียงเล็กน้อย บางรายอาการหนัก ซึ่งในบางบางรายเท่านั้น ที่จะถึงขั้นช็อคและเสียชีวิต เพราะฉะนั้นหากไม่มีอาการของโรคไข้เลือดออก ที่ถูกแล้วจึงเรียกว่าเป็นเพียงการติดเชื้อไวรัสเดงกี่เท่านั้น
ถ้าหากตามข่าวของการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะพบว่าการระบาดของโรคนี้จะมีการระบาดในรอบ 2- 3 ปี และแต่เดิมนั้น อายุของผู้ป่วยมักจะอยู่ในช่วง 5-15 ปี แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ามีผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปีเพิ่มมากขึ้น แถมอัตราผู้ป่วยที่เสียชีวิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่ก็เพิ่มขึ้นมากอีกด้วย จึงนับว่าเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะจะมองว่าเป็นโรคของเด็กๆหรือผู้ที่อ่อนแออย่างแต่ก่อนไม่ได้เสียแล้ว 
หน้าที่ 2 - ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เป็นโรคไข้เลือดออก

ยุงลายตัวเมียจะกัดและดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งมีไวรัสไว้ แล้วเชื้อจะเข้าไปฟักตัวในยุง ซึ่งจะทำให้ยุงมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) และจะแพร่เชื่อไปสู่คนอื่นๆเมื่อถูกมันกัด


ถ้าอยากรู้ว่าคุณเป็นไข้เลือดออกได้หรือไม่ โปรดตรวจสอบคุณสมบัติเหล่านี้

1.ใครๆก็เป็นได้ไม่ลำเอียง เพราะโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
2. มีอาการไข้สูงลอย 2-7 วัน อันที่จริงถ้ามัวรอดูอาการถึง 7 วัน มีความเป็นไปได้สูงที่ชีวิตนี้คุณอาจไม่มีวันที่ 8 ทางที่ควร ให้พบแพทย์เสียตั้งแต่วันที่ 2-3 
3. มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยอาการนี้ ทำให้หลายคนเดินทางผิดด้วยการกินยาลดไข้ ถ้าอ่านกันต่อไป จะรู้ว่านี่เป็นการรักษาที่มีผลร้ายตามมา บอกตอนนี้ไม่ได้ เดี๋ยวไม่มีใครอ่านจนจบ
4. หน้าแดง และพบจุดแดงๆตามลำตัวแขน ขา
5. ถ้ามีไข้ได้ 3 วันแล้วยังไม่ได้ไปหาหมอ จะพบว่าเมื่อไข้ลดกลับมีอาการซึม อ่อนเพลีย ไม่อยากรับประทานอาหารบาง อาการอาเจียนออกสาสังเกตดูว่าจะมีสีน้ำตาล บางรายที่มีอาการรุนแรงจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ยิ่งหากดเจ็บบริเวณลิ้นปี่ให้สงสัยว่าป่วยป็นโรคไข้เลือดออก
6. หากไม่ได้รับการรักษาอีกไม่นานจะเข้าสู่สภาวะช็อค และอาจเสียชีวิตได้หลังมีอาการช็อค 12-24 ชั่วโมง
เพราะฉะนั้นหากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อย่านิ่งนอนใจ ให้ไปพบแพทย์ทันที 
หน้าที่ 3 - ถ้าอยากหายต้องทำอย่างนี้ ...
เมื่อแน่ใจได้ว่าเป็นไข้เลือดออกแล้ว ควรปฏิบัติตามกฎกติกา มารยาทดังนี้
1.ดื่มน้ำผลไม้และน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย
2.ถ้าผู้ป่วยมีไข้ ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
3.หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ ควรกินตามแพทย์สั่ง ให้ใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย และเป็นอันตรายต่อตับได้ กินยาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ถ้าไข้ลดลงต่ำกว่า 39 องศาเซลเซียส ไม่ต้องกินซ้ำ
4.ควรงดอาหารที่มีสีแดง ดำ เพราะถ้าหากอาเจียนออกมาอาจเข้าใจผิดได้ว่าเป็นเลือด
5.พาไปพบแพทย์เพื่อติดตามดูอาการ และตรวจเลือด(เกร็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด) แพทย์จะบอกได้ว่า เมื่อไรจำเป็นต้องเข้าอยู่โรงพยาบาล 

การดูแลเด็กที่มีอาการไข้แล้วชัก

เมื่อเด็กมีอาการการชัก ให้จับเด็กนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่งหรือตะแคงเฉพาะศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อที่ว่าหากเด็กอาเจียน สิ่งที่อาเจียนออกมาจะสามารถไหลออกมาได้ ไม่ทำให้สำลักเศษอาหารลงไปในหลอดลมและปอด จากนั้นต้องรีบทำให้ไข้ลดลงให้เร็วที่สุด โดยใช้น้ำอุ่นเช็ดให้ทั่วตัว โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ ให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอลทันที เมื่อไข้ลดลงอาการชักหายไป ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที 
เวลาที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย
สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือคิดว่าจะรู้ตัวว่าเป็นไข้เลือดออกก็ต่อเมื่อเริ่มพบผื่นแดงตามแขนขาและลำตัว นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ผู้ป่วยมาพบแพทย์ช้า เพราะอันที่จริงแล้วอาการผื่นแดงที่พบนั้นมักจะพบในระยะฟื้นตัว หรือเรียกว่าใกล้จะหายแล้วนั้นเอง ซึ่งจะพบหลังระยะมีไข้และระยะวิกฤติ นอกจากอาการผื่นแดงที่ส่งสัญญาณดีแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น กำลังวังชาตามา ปัสสาวะมากขึ้น ดื่มน้ำกินอาหารได้มากขึ้น ในบางรายจะมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลง
ในระยะนี้แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่ว่าจำนวนเกร็ดเลือดนั้นจะเพิ่มขึ้นสู่สภาวะปกติ ต้องใช้เวลา 3-7 วัน จึงยังต้องระวังภาวะเลือดออกต่อไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ควรระมัดระวังไม่ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่ออาการเลือดออกอย่างเช่นการแคะจมูก การแปรงฟัน และการเล่นกีฬาที่อาจกระทบกระเทือนตับซึ่งอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวา 

สัญญาณอันตราย
ใครจะคิดว่าเมื่อมีอาการไข้ลดลงจะเป็นสัญญาณอันตรายได้ ระยะที่ต้องให้ความสำคัญและสังเกตอาการใฝกล้ชิดคือ ระยะที่ไข้ลด เพราะเป็นระยะที่จะชี้ให้เห็นว่าจะเป็นโรคนี้หนักหนาสาหัส มากน้อยเพียงใด หากมีเมื่อไข้ลด อาการเลวลง ซึม หรือปวดท้องกะทันหัน กระสับกระส่าย ร้องกวน กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
ส่วนใครที่ผ่านระยะนี้ไปได้ หรือมีความรุนแรงไม่มากนักก็นับว่าโชคดี เพราะทุกคนไม่จำเป็นต้องผ่านระยะวิกฤตินี่น่ากลัวเสมอไป

หน้าที่ 4 - ถึงน่ากลัว แต่ป้องกันได้
การป้องกันง่ายๆ มีอยู่ 2 แนวทางคือ
อย่างแรก “ถ้าไม่มียุงลาย ก็ไม่มีโรคไข้เลือดออก” เพราะคนที่เป็นไข้เลือดออกไม่สามารถมากัดเพื่อแพร่เชื้อสู่เราได้
การกำจัดลูกน้ำยุงลายนั้น กำจัดในช่วงที่เป็นลูกน้ำจะทำได้ง่ายกว่าการวิ่งไล่ตบตัวยุงกว่าเป็นไหนๆ ซึ่งยุงลายนั้นจะไข่ในน้ำใสค่อนข้างสะอาด(ไม่ไข่ในน้ำเน่า) ที่ขังนิ่ง เพียงแค่ทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆบ้านทุก 7 วัน ก็จะสามารถป้องกันโรคไขเลือดออกได้แล้ว 

ข้อแนะนำในการกำจัดแหล่งเพราะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
•ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
•ตรวจดูแจกัน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
•ใส่ปลาที่กินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยู.ลงในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
•เก็บหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขังที่ไม่ใช้แล้ว
•คว่ำภาชนะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง
•ใส่เกลือ น้ำส้มสายชูหรือผงซักฟอกลงในน้ำจานรองตู้กับข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข
•อีกวิธีที่นิยมและสะดวกอีกแบบก็คือ ใส่ทรายอะเบต(abate) ชนิด 1% ลงในภาชนะ ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร และควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน 

ส่วนการป้องกันอีกทางหนึ่งนั้นก็คือ “ไม่โดนยุงลายกัด ก็ไม่เป็น”
อย่างที่รู้กันว่ายุงลายจะหากินในตอนกลางวัน อย่างนั้นแล้วเมื่อเราหรือเด็กๆต้องนอนกลางวันจึงควรกางมุ้งหรือจะหาอะไรครอบคลุมก็ตามแต่ อย่าให้ยุงกัดได้ และควรอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทสะดวก
ฟังดูแล้วน่าเป็นกังวลมาก ขอตบท้ายด้วยเรื่องดีๆเสียหน่อย เอาเป็นว่าถึงโรคนี้จะอันตรายและติดต่อกันง่าย แต่อย่างน้อยๆ โชคดีก็คือโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ซ้ำซากนั้นมีน้อย เพราะ การติดเชื้อครั้งในครั้งแรกและครั้งต่อๆมา จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในสายพันธ์อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น จนถึงระดับที่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เราจึงมักพบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกไม่เกินสองครั้ง
ที่มา   https://vcharkarn.com/varticle/370

อัพเดทล่าสุด