9 วิธีดูแลสมองให้แข็งแรง


989 ผู้ชม


หลังจากที่เราต้องใช้สมองมาตลอดเวลา และตลอดทั้งวัน อาจทำให้ล้าไปบ้าง ดังนั้นเราควรหาเวลาพักผ่อนสมอง เคล็ดลับง่ายๆ กับ 9 วิธีดูแลสมองเพื่อให้สมองแข็งแรงกันว่ามีอะไรบ้าง...          หลังจากที่เราต้องใช้สมองมาตลอดเวลา และตลอดทั้งวัน อาจทำให้ล้าไปบ้าง ดังนั้นเราควรหาเวลาพักผ่อนสมอง เคล็ดลับง่ายๆ กับ 9 วิธีดูแลสมองเพื่อให้สมองแข็งแรงกันว่ามีอะไรบ้าง... 
1. เสริมสร้างไขมันดีด้วยน้ำมันปลา อันที่จริงแล้วสมองของคนเรานั้นก็คือก้อนไขมัน การเสริมสร้างไขมันดีเพื่อเสริมสร้างและทดแทนส่วนที่สึกหรอไปจึงเป็นการบำรุงสมอง วิธีหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมกันคือการรับประทานน้ำมันปลา น้ำมันปลาแตกต่างจากน้ำมันตับปลา ตรงที่น้ำมันตับปลานั้นสกัดจากตับของปลาทะเลบางชนิด ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน A และ D เหมาะสำหรับเสริมสร้างกระดูกและสายตา ส่วนประโยชน์ของน้ำมันปลาคือ ลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะลดไตรกลีเซอไรด์ และมีฤทธิ์ในการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น บำรุงสมองและระบบประสาทเหมาะสำหรับทารก จนถึงวัยเด็กที่สมองกำลังพัฒนาสติปัญญา และการเรียนรู้ การทำงานของสมอง ป้องกันความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ต้านการอักเสบ เช่น ไขข้ออักเสบ โรคผิวหนังบางชนิด และนอกจากน้ำมันปลาแล้ว สารสกัดใบแปะก๊วย นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรส ส่วนวิตามินซี ก็นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสมองและร่างกายอย่างยิ่ง 2. ดื่มน้ำให้มาก เนื่องจากสมองคนเราประกอบไปด้วยน้ำถึง 85 % เซลล์สมองเปรียบเสมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นถ้าดื่มน้ำไม่เพียงพอเซลล์สมองก็จะเหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อยๆ โดยทั่วไปแล้ว เรามักได้ยินกันว่า คนเราควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น คือควรดื่มวันละ 10 แก้ว ได้แก่ 1. เวลาตื่นนอนให้ดื่มน้ำอุ่น 4 แก้ว 2. ก่อนอาหารทุกมื้อ มื้อละ 1 แก้ว 3. หลังอาหารทุกมื้อ มื้อละ 1 แก้ว 4. ในเวลา 10.00, 14.00, 16.00 นาฬิกา เวลาละ 1 แก้ว 5. ก่อนนอนดื่มน้ำอุ่น 1 แก้ว รวม 10 แก้ว ซึ่งน้ำที่เหมาะแก่การดื่มคือ น้ำอุณหภูมิปกติไม่ร้อนหรือเย็นจัดจนเกินไป ถ้าเป็นน้ำอุ่นควรดื่มตอนเช้าเพื่อช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด และช่วยการขับถ่ายของเสีย ส่วนข้อควรจำเกี่ยวกับการดื่มน้ำนั้นคือ ไม่ควรดื่มน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะ อาหารเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนการรับประทานอาหารพร้อมกับดื่มน้ำตลอดเวลาเป็นนิสัยที่ควรเลิก ทางที่ดีควรซดน้ำแกงกลั้วคอจะดีกว่า 3. ใส่ใจและตั้งใจ ไม่ว่าจะทำอะไร หากคนเรามีความตั้งใจที่จะทำ มันเปรียบเสมือนเป็นโจทย์ที่ทำให้เราต้องก้าวไปให้ถึงสิ่งที่ต้องการ เป็นการใช้สมอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สมองจะปรับพฤติกรรมทำเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นๆ ดังนั้นหากอยากฝึกสมองให้มีการพัฒนาทุกวัน ควรใส่ความตั้งใจทุกครั้งที่ทำงาน 4. ฝึกจิต ฝึกสมาธิ การฝึกจิตและสมาธินับเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งเพราะการที่คนเราได้ทำสมาธินั้น สมองจะเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายที่สุด จึงทำให้สมองมี Mental Imagery ที่สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้การฝึกสมาธิ ฝึกจิต รวมไปถึงการเจริญสติอยู่ทุกเมื่อนั้น ยังเป็นการบรรเทาอาการสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 5. บริหารกายใจด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ในทุกๆครั้งที่คนเราได้ยิ้มหรือหัวเราะ สารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็น สารแห่งความสุขจะหลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดี ต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ และทำให้คนเรามองโลกในแง่บวกมากขึ้นอีกต่างหาก 6. รู้จักอภัยตนเอง การที่คนเราไม่รู้จักให้อภัยตนเอง นั่นหมายถึงว่าเราก็จะไม่สามารถให้อภัยผู้อื่นได้เช่นกัน ซึ่งการไม่รู้จักให้อภัยนี้เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่อารมณ์อันขุ่นมัวทำให้เปลืองพลังงานสมอง ดังนั้นการให้อภัยตัวเองเป็นการลดภาระของสมอง 7. เปิดใจเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้อยู่เสมอนั้น แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครสายเกินเรียน ซึ่งการเรียนรู้ในที่นี้อาจรวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงาน และเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามีความสุข ซึ่งความสุขจะทำให้เราสร้างสรรค์ในที่สุด 8. เขียนเรื่องราว ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุด บันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดีๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์ 9. หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง เราควรนั่งหลังตรงเพื่อ ให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือ เดินยืดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกซิเจนเข้าปอดได้ เพิ่มขึ้นอีก 20% เพียงเท่านี้ สมองของเราก็จะไม่ถูกทำลายแล้วครับ 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=266&sub_id=83&ref_main_id=12

อัพเดทล่าสุด