สุขภาพจิตกับความรุนแรงในช่วงวัยรุ่น


1,102 ผู้ชม


สุขภาพจิตในช่วงวัยรุ่น หรือเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ สังคม ความคิด หรือแม้นกระทั่งครอบครัว จนไปถึงสภาพแวดล้อม อาจส่งผลให้เด็กวัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาโดยที่ขาดความยั้งคิดที่ดี         สุขภาพจิตในช่วงวัยรุ่น หรือเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ สังคม ความคิด หรือแม้นกระทั่งครอบครัว จนไปถึงสภาพแวดล้อม อาจส่งผลให้เด็กวัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาโดยที่ขาดความยั้งคิดที่ดี 
สุขภาพจิตกับความรุนแรงในช่วงวัยรุ่น

สุขภาพจิตกับความรุนแรงในช่วงวัยรุ่น

ปัญหาสังคมในยุคปัจจุบันนั้นต้องยอมรับเลยว่า เด็กวันรุ่น หรือวัยที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความคิด นั้นส่งผลให้สังคมบ้านเราได้รับผลกระทบมากเลยทีเดียว

โดยส่วนใหญ่เด็กวัยรุ่นนั้นอาจขาดความยั้งคิดที่ดี ตามเพื่อน หรือกลายเป็นค่านิยมที่หาทางออกไม่ได้ เลยหันมาใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ซึ่งแพทย์หญิงเรขา กลลดาเรืองไกร จิตแพทย์ แผนกประกันสัง รพ.กล้วยน้ำไท ได้ออกมาเผยถึงวิธีการดูแลสุขภาพจิตสำหรับเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ให้ห่างไกลจากการใช้ความรุนแรง เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ทราบ และใช้เป็นแนวทางในการดูแลบุตรหลาน ว่าก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง จากฮอร์โมนที่มากขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย และสภาพของจิตใจความรู้สึกนึกคิด ที่เริ่มจะเป็นผู้ใหญ่แต่ก็ยังลังเลสงสัย และบางครั้งก็เอาแต่อารมณ์เป็นหลักแบบเด็ก มีการรวมกลุ่มอยู่กันเป็นสังคม ติดเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ เป็นวัยแห่งการค้นหาอัตลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะของตัวเองว่าอยากจะเป็นเช่นไร
ดังนั้น แนะนำให้ผู้ปกครองดูแลสุขภาพจิตให้แก่ลูกๆ ที่อยู่ในวัยรุ่นวัยเรียนโดยการให้เวลา และร่วมกันแก้ปัญหาแบบเพื่อน ยอมรับข้อคิดเห็น เป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเมื่อเขาต้องการ ให้ความรักความเข้าใจ แสดงถึงการเอาใจใส่ และควรหาโอกาสพบกับเพื่อนของลูกบ้าง แต่อย่าทำให้ลูกรู้สึกว่าถูกควบคุมมากเกินไป
ขณะเดียวกัน เด็กวัยรุ่นช่วงอายุที่นิยมใช้ความรุนแรงมากที่สุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นช่วงวัยรุ่นตอนกลาง เด็กผู้หญิงอยู่ในช่วง 14-18 ปี ส่วนเด็กผู้ชายในช่วงอายุ 16-20 ปี ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ เริ่มสนใจเพศตรงข้าม และเพื่อนมีอิทธิพลค่อนข้างสูง มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเริ่มสมบูรณ์เต็มที่ เป็นระยะที่ดื้อรั้น โมโหง่าย มักจะมีความขัดแย้งกับพ่อแม่สูง และยังคงมีความคิดเพ้อฝันแบบเด็กๆ อยู่มาก วัยรุ่นระยะนี้จึงมีปัญหามากและบ่อยที่สุด
    
ในกรณีที่ลูกกระทำผิดพลาดโดยใช้ความรุนแรงไปแล้ว คุณหมอก็ได้แนะนำวิธีให้ความช่วยเหลือแก่ลูก ให้ผู้ปกครองทราบว่า ต้องเปิดให้มีการเจรจาและให้วัยรุ่นได้มีส่วนร่วมในการช่วยคิดวิธีการแก้ปัญหาและแก้ปัญหาด้วยการฝึกความมีวินัยที่จะควบคุมตนเอง ถ้าต้องมีการลงโทษควรได้มีการอธิบายเหตุและผลให้เข้าใจ นอกจากนี้ ควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดเองว่า ในอนาคตจะทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกลงโทษอีกที่สำคัญ เมื่อวัยรุ่นมีความประพฤติที่ดีขึ้นแล้ว ควรได้รับการชมเชยเป็นกำลังใจในการทำความดีต่อๆ ไป
    
พร้อมกันนี้ คุณหมอก็ได้เผยว่า ความรักความอบอุ่นในครอบครัวสามารถยุติความรุนแรงได้เป็นอย่างมาก เพราะครอบครัวจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่วัยรุ่น ในการเสพสื่อและแบบอย่างจากผู้ใหญ่ในสังคมว่าอะไรดีหรือไม่ดี รวมทั้งการได้รับความรักความอบอุ่นเพียงพอ ทำให้เขาไม่ต้องเรียกร้องความสนใจจากการกระทำที่รุนแรง ทั้งนี้ ครอบครัวก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี คือไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัวเองด้วย
    
ส่วนแนวโน้มการใช้ความรุนแรงของวัยรุ่นในอนาคต คุณหมอเผยว่า ไม่สามารถบอกได้ เพราะปัญหานี้จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และความร่วมมือจากหลายๆ ด้านทั้งเรื่องของสื่อที่ถ้าจะนำเสนอความรุนแรง ก็ต้องนำเสนอด้วยว่าผลของการใช้ความรุนแรงนั้นเป็นอย่างไร การเป็นตัวอย่างที่ดีของพ่อแม่ การเป็นสังคมที่ไม่ส่งเสริมความรุนแรง การมีบทลงโทษที่เหมาะสมและนำมาใช้จริงๆ อย่างเท่าเทียมโรงเรียนและเพื่อนที่ช่วยกันสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง สร้างค่านิยมที่ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่นได้
พร้อมกันนี้ คุณหมอยังได้สรุปเกี่ยวกับวิธีดูแลลูกๆ ที่อยู่ในวัยรุ่นวัยเรียนให้ห่างไกลจากการใช้ความรุนแรง เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับทราบ และใช้เป็นแนวทางในการดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลจากการใช้ความรุนแรงว่า
  1. การให้เวลากับลูก ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะผู้ปกครองบางท่านอาจเห็นว่าลูกโตแล้ว (ตัวโต) ไม่ต้องให้เวลามากก็น่าจะไม่มีปัญหา หรือบางท่านรอให้เกิดปัญหาก่อน แล้วจึงจะให้เวลาและความสนใจ
  2. ร่วมกันแก้ไขปัญหาแบบเพื่อน คือ ยอมรับฟังความคิดเห็นโดยไม่ตำหนิ แต่ชี้ชวนไปในทางที่ดี เช่น การใช้ประโยคที่ว่า "ก็ดีนะ แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้า..." เป็นต้น                                             
  3. พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจ
  4. พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อเขา ต้องการ

ที่มา   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=3073&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด