ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (SLEEP APNEA)


1,060 ผู้ชม


ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นความผิดปกติที่ผู้ป่วยจะมีการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับอยู่ อาจเป็นได้ถึงร้อยๆ ครั้งในหนึ่งคืน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่         ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นความผิดปกติที่ผู้ป่วยจะมีการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับอยู่ อาจเป็นได้ถึงร้อยๆ ครั้งในหนึ่งคืน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) เป็นความผิดปกติที่ผู้ป่วยจะมีการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับอยู่ อาจเป็นได้ถึงร้อยๆ ครั้งในหนึ่งคืน ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ในตอนนอนกลางคืน ส่งผลให้มีอาการง่วงเหงาหาวนอนในตอนกลางวัน

จากข้อมูลในปัจจุบัน พบว่าภาวะนี้พบได้บ่อยทั้งในชาย หญิงและเด็ก เพียงแต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาเชื่อว่ามีผู้ป่วยประมาณ 10 ล้านคน ที่ไม่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้อยู่ ทั้งๆที่ผลร้ายที่ตามมาจากภาวะนี้มีค่อนข้างมาก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถแบ่งออกง่ายๆ ได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน (obstructive sleep apnea) และที่เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่กระตุ้นการหายใจ (central sleep apnea)  โดยส่วนใหญ่จะพบเป็นแบบแรกมากกว่า เมื่อมีการหยุดหายใจเกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งกินเวลาเป็นนาที สมองของผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นเพื่อให้การหายใจกลับมา ส่งผลให้การนอนหลับของผู้ป่วยขาดตอนเป็นช่วงๆ และหลับได้ไม่ลึก ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเองว่าตื่นบ่อยในตอนกลางคืน แต่จะรู้สึกง่วงมากในตอนกลางวันแทน อย่างไรก็ตามคนร่วมห้องนอนของผู้ป่วยอาจสังเกตว่าผู้ป่วยกรนเสียงดัง และมีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือมีการสะดุ้งเฮือกขึ้นมา หลังจากหยุดหายใจเป็นเวลานาน (choking) ซึ่งเป็นลักษณะที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้

  หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง อาทิ โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจอื่นๆ รวมทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าผล็อยหลับง่าย ปวดศีรษะตอนเช้าๆ ความจำไม่ดี ใจคอหดหู่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนหรือมีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพการทำงานแย่ลงหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ง่ายขึ้นอันเนื่องมาจากการหลับใน
  คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้, ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก คอใหญ่ คางเล็ก เพศชาย มีความผิดปกติทางโครงสร้างบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราเป็นประจำ อย่างไรก็ตามพบว่าภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งเพศหญิงและชาย รวมทั้งในเด็กหรือคนที่มีน้ำหนักตัวปกติก็มีโอกาสมีภาวะนี้ไม่น้อย
ถ้าท่านตอบว่า”ใช่”ในข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่าน หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจ

อัพเดทล่าสุด