ไข้อีดำอีแดง


หลายครั้งที่ไข้ออกผื่นเป็นโรคที่ไม่ค่อยพบบ่อย ไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever ก้เช่นกัน ข้อมูลจากthaihealth encyclopedia
อีดำอีแดง (Scarlet fever)
   อีดำอีแดง (ไข้อีดำอีแดง ก็เรียก) เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เคยพบการระบาดของโรคนี้ในกลุ่มเด็กนักเรียนเป็นครั้งคราว
 โรคนี้เกิดจากเชื้อบีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (beta streptococcus group A)  ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดทอนซิลอักเสบ  ดังนั้นจึงมีอาการโรคแทรกซ้อน และการรักษาเช่นเดียวกับทอนซิลอักเสบ
สาเหตุ
 เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บีตาสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ
 ติดต่อโดยการหายใจ
อาการ
 มีไข้สูง เจ็บคอ บางครั้งอาจมีอาการอาเจียน 
 ในวันที่ 2 หลังมีไข้ จะมีผื่นแดงเรื่อๆ ขึ้นที่หน้า (ยกเว้นบริเวณรอบๆปาก) ในวันต่อมาผื่นจะกระจายไปตามลำตัวและแขนขาอย่างรวดเร็ว บางรายอาจรู้สึกคัน
 ในวันที่ 6 หลังมีไข้ ผื่นจะเริ่มจาง ผิวหนังและลิ้นจะเริ่มลอก อาการหนังลอกอาจเป็นอยู่ 2 สัปดาห์
สิ่งตรวจพบ
 ทอนซิลบวมแดงหรือมีจุดหนอง, ลิ้นเป็นฝ้า, ลิ้น อาจมีลักษณะหนาขึ้นและออกเป็นสีชมพูคล้ายผลสตรอเบอรี่ เรียกว่าลิ้นสตรอเบอรี่ (strawberry tongue) ผื่นแดงตามผิวหนัง
อาการแทรกซ้อน
 เช่นเดียวกับทอนซิลอักเสบ 
การรักษา
 เช่นเดียวกับทอนซิลอักเสบ

ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article514.html

อัพเดทล่าสุด