สาวเอย..ตรวจภายในกันหรือยัง?


1,049 ผู้ชม


ขอกู่ร้องดังๆ เพื่อเชิญชวนคุณผู้หญิงที่รักทุกคน ให้หันมาสนใจและไปรับการ          ขอกู่ร้องดังๆ เพื่อเชิญชวนคุณผู้หญิงที่รักทุกคน ให้หันมาสนใจและไปรับการ "ตรวจภายในประจำปี" กันค่ะ เพราะนี่คือเรื่องส่วนตั๊วส่วนตัวอันแสนสำคัญของชีวิตเลยล่ะค่ะ... 
เจาะลึกเรื่อง "ตรวจภายใน"
ผู้หญิงทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่าสุขภาพกายที่ดีนำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดีและความ สามารถในการทำงานในชีวิตประจำวันหลายๆอย่าง จากรายงานทางการแพทย์ในทุกยุคทุกสมัยพบว่าหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง เป็นอันดับ 1 ของอวัยวะสืบพันธุ์ แต่หมอเองก็แปลกใจที่หญิงไทยส่วนใหญ่กลับให้ความสนใจต่อ "การตรวจภายในประจำปี" กันน้อยมาก กว่าจะมาหาหมออีกทีก็ตอนที่มีปัญหามาก เป็นมะเร็งระยะลุกลาม ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ทันเวลาซะแล้ว
การตรวจภายในจัดเป็นการตรวจพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งมักจะตรวจโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวช ผู้หญิงที่จะรับบริการการตรวจภายในจะต้องยินยอมให้แพทย์ใช้อุปกรณ์พิเศษและ มือตรวจทางช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติที่บริเวณปากมดลูก ตัวมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ โดยอาศัยการสัมผัสของมือทั้งสองผ่านทางหน้าท้องและทางช่องคลอดพร้อมกัน ก็จะสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในได้
วิธีตรวจเริ่มจากต้องถอดกางเกงชั้นในออก ปัสสาวะทิ้งให้หมด สวมใส่แต่กระโปรงหรือผ้าถุงเท่านั้น จากนั้นจึงขึ้นนอนบนเตียงพิเศษ โดยเตียงจะมีเบาะรองรับบริเวณศีรษะ หลัง ไปจนถึงสะโพก บริเวณปลายเตียงจะมีขาตั้งไว้รองรับบริเวณส้นเท้า เมื่อขึ้นนอนจะต้องแยกขาออกแล้วเอาส้นเท้ายันไว้ที่ปลายเตียง พยายามเลื่อนบริเวณก้นให้มาอยู่ที่ขอบเตียงด้านล่างให้มากที่สุดเพื่อความ สะดวกในการตรวจภายในของแพทย์ นอกจากนี้ ควรทำร่างกายให้ผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สบาย หย่อนกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องให้มากที่สุดในช่วงที่แพทย์ทำการตรวจภายใน ทั้งนี้เพื่อที่แพทย์จะได้ให้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป
อุปกรณ์พิเศษที่แพทย์ใช้จะมีลักษณะคล้าย "ปากเป็ด" สามารถเปิดอ้าขยายและหุบได้ตามความต้องการ เรียกทางการแพทย์ว่า "Speculum" มีหลายขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซ็นติ-เมตร ไปจนถึง4 เซ็นติเมตร โดยแพทย์จะเลือกใช้ขนาดตามความเหมาะสมของผู้รับบริการ ถ้าเป็นคุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้วแพทย์จะเลือกขนาดใหญ่สักเล็กน้อยเพื่อ ให้เห็นปากมดลูกได้ชัดเจน แต่ในรายที่ยังโสดแพทย์จะเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลง และทาครีมหล่อลื่นที่ปลายของเครื่องมือแพทย์จะสอดใส่อุปกรณ์ชนิดนี้เข้าไปทางช่องคลอดและจะปรับขยับให้ปลายปากเป็ด นี้อ้าออกจนกระทั่งเห็นปากมดลูกชัดเจน ผู้รับบริการอาจจะรู้สึกตึงๆ แน่นๆ ในช่องคลอดเล็กน้อย ในรายที่ยังโสดอาจจะรู้สึกตึงมากกว่าปกติได้ ซึ่งแพทย์จะสามารถให้การวินิจฉัยความผิดปกติของช่องคลอดและปากมดลูก ตลอดจนการนำเอาตกขาวที่ผิดปกติไปตรวจโดยใช้อุปกรณ์นี้
ปากมดลูกปกติจะมีลักษณะหยุ่นๆคล้ายปลายดั้งจมูกคน มีรูปากมดลูกตรงกลาง ถ้าเคยผ่านการคลอดทางช่องคลอดมาแล้วรูนี้จะมีการฉีกขาดออกเป็นแนวขวาง แต่ถ้ายังไม่เคยเลยรูปากมดลูกจะมีลักษณะกลมเล็ก ในขั้นตอนการใส่ Speculum นี้ ถ้าผู้มารับบริการไม่มีข้อห้ามต่อการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก เช่นมีเลือดออกมากผิดปกติ หรือตกขาวผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกให้ด้วย
อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกได้แก่ ไม้ตรวจแพ็บสเมียร์ (Ayre's spatula) ซึ่งมีลักษณะคล้ายไม้พายขนาดเล็ก ปลายด้านหนึ่งมีลักษณะโค้งคล้ายใบพาย อีกด้านที่เหลือมีลักษณะปลายหยัก แพทย์จะใช้ไม้นี้เข้าไปสะกิดเอาเซลล์ที่บริเวณปากมดลูกมาตรวจ นอกจากนี้ แพทย์ยังใช้ไม้พันปลายสำลีขนาดยาวชุบน้ำเกลือก่อนเข้าไปถูเอาเซลล์บริเวณปาก มดลูกด้านใน (ซึ่งจะลึกจากปากมดลูกด้านนอกเข้าไปประมาณ 2 เซ็นติเมตร) จากการใช้อุปกรณ์พิเศษดังที่กล่าวมาแพทย์ก็จะสามารถตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก ได้โดยใช้เวลาไม่นานเลยค่ะ
เมื่อแพทย์ตรวจโดยใช้อุปกรณ์พิเศษดังที่กล่าวมาเสร็จแล้ว ก็จะค่อยๆ เอา "ปากเป็ด" ออกจากช่องคลอด และทำการตรวจภายในโดยใช้มือของแพทย์เองคลำหาความผิดปกติต่อไป ผู้หญิงบางคนคิดว่าพอแพทย์เอาเครื่องมือตรวจหรือปากเป็ดออกก็แปลว่าตรวจ เสร็จแล้ว ด้วยความอายก็จะรีบหุบขาและลงจากเตียงตรวจจนแพทย์ต้องหลบจากการถูกเข่าหนีบ ศีรษะหรือแข้งพาดก้านคอกันจ้าละหวั่น เพราะฉะนั้นขอให้ใจเย็นๆ นอนให้แพทย์ตรวจต่ออีกนิดนะคะ อย่าเพิ่งรีบลุกขึ้นมา
ช่วงนี้แพทย์จะสอดนิ้วมือที่ถนัดเข้าไปในช่องคลอด และใช้มืออีกข้างคลำบริเวณท้องน้อยเพื่อตรวจหาความผิดปกติของตัวมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ถ้ามีก้อนเนื้องอกหรือถุงน้ำ (Cysts) บริเวณรังไข่ แพทย์ก็จะสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจภายในด้วยมือนี่แหละค่ะ ส่วนใหญ่แพทย์จะถามด้วยว่าคุณมีความเจ็บปวดส่วนใดในระหว่างการตรวจภายในหรือ ไม่ ถ้ามีความเจ็บปวดเมื่อแพทย์ตรวจคลำบริเวณใดก็ตาม ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพื่อที่แพทย์จะได้ให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป
ตรวจภายใน..ต้องเมื่อไร อย่างไรดี

มาถึงตอนนี้แล้วผู้หญิงทุกคนคงทราบแล้วว่าการตรวจภายในมีความสำคัญมากเพียงใด
* ในกรณีปกติ

ผู้หญิงทุกคนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการตรวจภายใน โดยทั่วไปอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่แต่งงานเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 15-16 ปี ก็ควรได้รับการตรวจภายในประจำปีเร็วขึ้นด้วย ถ้าแพทย์ตรวจพบความผิดปกติ อาจจะต้องมาตรวจภายในทุก 3-6 เดือนด้วยซ้ำ เพราะความผิดปกติบางอย่าง เช่น ถุงน้ำที่รังไข่อาจจะโตเร็วและกลายเป็นเนื้อที่ผิดปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ถ้าผลการตรวจปกติดีทุกอย่าง แพทย์จะนัดให้มาตรวจภายในปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
การตรวจนี้จะช่วยให้ทราบว่าอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานของคุณยังปกติดี ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอก เพราะจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกที่ปกติไปเป็น เซลล์ผิดปกติ จะใช้เวลานานประมาณ 1 ปี ซึ่งนับเป็นเวลาที่เหมาะสมที่แพทย์นัดมาทำการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
* ในกรณีผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก่อนจะถึงเวลาตรวจประจำปี ก็ควรมารับบริการตรวจภายในเร็วกว่ากำหนด ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่
- มีเลือดออกผิดปกติ
- มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
- มีตกขาวผิดปกติ
- คลำได้ก้อนในท้องน้อย หรือปวดท้องน้อย เป็นต้น
...ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจภายในก่อนการนัด ประจำปี เพราะอาการดังกล่าวอาจเป็นอาการที่สัมพันธ์กับเนื้องอกหรือมะเร็งของอวัยวะ ใดอวัยวะหนึ่งภายในอุ้งเชิงกรานก็ได้
* กรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีแผลบริเวณปากมดลูกหรือมีเลือดออกผิดปกติในระยะแรกของ การตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์ตรวจแล้วคิดว่าเป็นเลือดที่ออกจากบริเวณปากมดลูก ควรได้รับการตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูกอีกครั้ง
คุณแม่ที่มีอาการผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มีตกขาวผิดปกติ คันช่องคลอด หรือมีเลือดออกผิดปกติแพทย์อาจจะต้องทำการตรวจภายในเพื่อตรวจวินิจฉัยหา สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกตินั้น ยิ่งถ้าคุณแม่มีประวัติแท้งบ่อยๆ ในช่วงอายุครรภ์ 4-5 เดือน แพทย์คงต้องตรวจภายในเพื่อดูลักษณะของปากมดลูกว่ามีปัญหาเรื่องปากมดลูกแข็ง แรงน้อยกว่าปกติ (Cervical incompetence) หรือไม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุของการแท้งซ้ำบ่อยๆ คุณแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเย็บปาก มดลูกเพื่อให้ปากมดลูกแข็งแรง สามารถพยุงทารกในครรภ์ไว้ได้จนกว่าจะเข้าสู่ระยะการคลอด
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไปที่ได้รับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ แพทย์อาจจะยังไม่ตรวจภายในถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ ส่วนใหญ่จะรอจนกว่าคุณแม่จะเข้าสู่ระยะการเจ็บครรภ์คลอดจึงค่อยตรวจค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรวิตกกังวลเกินไปเมื่อแพทย์ต้องการตรวจภายในเพื่อ หาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุให้คุณแม่มีเลือดออกหรือน้ำเดินในระหว่างการตั้ง ครรภ์ สูติแพทย์จะมีความระมัดระวังในการตรวจอย่างเต็มที่อยู่แล้วค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแม่มีปัญหาเรื่องเลือดออกมาในช่วงการตั้งครรภ์ระยะ 6-7 เดือน แพทย์จะตรวจโดยใช้ "ปากเป็ด" เพียงอย่างเดียว แต่จะไม่ใส่นิ้วเข้าไปตรวจเลย เพราะอาการเลือดออกอาจเกิดจากการที่รกเกาะต่ำขวางทางคลอดอยู่ เมื่อมีการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณที่รกเกาะจะทำให้มีเลือดออกมากได้ เมื่อคุณแม่มีเลือดออกมากในช่วงการตั้งครรภ์ 6-7 เดือน ควรนอนพักให้มากที่สุด อย่าเดินมากและควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ

* กรณีของคุณแม่หลังคลอด

สำหรับคุณแม่หลังคลอด แพทย์จะนัดให้มารับการตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็งปากมดลูกและตรวจดูมดลูกว่า เข้าอู่ (เข้าสู่ขนาดปกติ) เรียบร้อยดีหรือไม่ในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด พร้อมกับให้คำแนะนำในเรื่องการคุมกำเนิดในช่วงนั้นเลย คุณแม่ที่ได้รับการตรวจหลังคลอดแล้วควรที่จะมารับการตรวจภายในหลังจากนั้น เป็นประจำทุกปี เพื่อความไม่ประมาทนะคะ...อย่าลืมว่าอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอาจมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ยิ่งเป็นส่วนที่เราไม่สามารถมองเห็นได้แล้วยิ่งน่ากลัว อย่าอายหรือลังเลที่จะไปให้คุณหมอสูติตรวจดูเลยค่ะ ปีละหนเดียวเท่านั้นเอง หมอคิดว่าไม่มากเลยนะคะ
หยุดกลัว หยุดอาย คือหัวใจสำคัญ
ปัญหาสำคัญของผู้หญิงเราส่วนใหญ่น่าจะเป็นเรื่องของความอาย ความกลัวเจ็บซะมากกว่า ยิ่งถ้าเป็นโสดด้วยแล้วการไปรับการตรวจภายในถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเลย กว่าจะตัดสินใจไปตรวจได้ก็ต้องถูกเพื่อนๆ ญาติๆ ทั้งลากทั้งจูง หรือจนกว่าจะมีคนใกล้ชิดมีโรคหรือความผิดปกติขึ้นจึงกลัวว่าเราจะเป็นแบบ นั้นบ้าง และยอมไปตรวจทั้งๆที่ใจก็ไม่อยากไปเท่าไหร่ อายก็อาย กลัวเจ็บก็กลัว แต่ก็กลัวมะเร็งด้วย สารพันความสับสนและยุ่งยากใจจริงๆ หมอเข้าใจค่ะ
ลองตัดใจสักนิด...การเลือกพบสูติแพทย์ที่เป็นผู้หญิงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่ยังอายหมออยู่ ตอนนี้มีสูติแพทย์สตรีมากมายประจำตามโรงพยาบาลต่างๆ และก็เป็นสิทธิของเราที่จะขอเลือกพบคุณหมอผู้หญิงได้ด
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=840&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด