สมองฝ่อในผู้สูงอายุ


1,016 ผู้ชม


สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ...         สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ... 

 

 ( 24 Votes )

ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม

ความเสื่อมของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่เพียงแต่สมองเท่านั้นที่เสื่อมลง อวัยวะอื่นๆ ก็เสื่อมด้วย เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ผมร่วง ฟันโยกคลอน ตาฝ้าฟาง หูตึง เป็นต้น "สมองฝ่อ" หมายถึงการที่เนื้อสมองสูญหายไปจำนวนหนึ่ง มักเกิดกับคนชรา ที่จริงแล้วไม่ใช่โรคแต่เป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย คนแก่บางคนอายุมากแล้วสมองยังไม่ฝ่อก็มี

สมองมนุษย์

สมองมนุษย์มีเซลล์ที่พัฒนามาอย่างวิเศษ เรียกว่า เซลล์ประสาท (neurons) ประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีกิ่งก้านสาขาเชื่อมติดกับเซลล์ประสาทอื่นๆ ถึง 15,000 จุดเชื่อมต่อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความสลับซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ที่ว่ายุ่งยากสุดๆ แล้วเสียอีก เซลล์ประสาทจะสร้างสัญญาณไฟฟ้า และสารเคมีเพื่อส่งสัญญาณข้อมูลต่อจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง และระบบประสาท นอกจากนี้เซลล์ประสาทยังสร้างสารเคมีพิเศษ (neurotransmitter) ซึ่งเอื้ออำนวย ต่อการส่งสัญญาณประสาทโดยสารนี้จะไหลออกไปช่วยเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท 2 ตัว

อาการ

  1. สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ จะเริ่มต้นจากการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ต่อมาจะเกี่ยวข้องกับสมองในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และการมีเหตุผล ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง และถ้าเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป
  2. บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
  3. กรณีที่เกิดสมองฝ่อแล้วไม่มีอาการอะไรก็ไม่ต้องไปวิตกกังวล ยกเว้นว่าจะมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม เชาวน์ปัญญาลดลง อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงเหมือนถอยหลังกลับไปเป็นเด็ก อย่างนี้ถึงจะจัดว่าเป็นโรคทางสมอง
  4. ส่วนอาการ "ขี้หลงขี้ลืม" นั้น ต้องแยกแยะให้ดี เพราะเกิดขึ้นกับคนแก่เกือบทุกคนหรือแม้แต่วัยกลางคน ส่วนมากมักไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นเรื่องปกติของคนที่มีเรื่องราวสะสมในหัวมาก เมื่อเรื่องมากก็ต้องลืมง่ายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะคนแก่มักลืมเหตุการณ์ใหม่ๆ แต่ไม่ยอมลืมความหลังครั้งเก่า ซึ่งอาการขี้ลืมนี้จะยังไม่มากถึงขั้น "หลงลืม " จนทำให้คนอื่นผิดสังเกต เช่น กินข้าวแล้วแต่บอกว่ายังไม่ได้กิน สติปัญญาลดลงจนผิดสังเกต รวมทั้งมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

การรักษา

  1. สำหรับการรักษาโรคสมองฝ่อนั้น จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลงในระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อได้ หรือการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ก็อาจมีส่วนทำให้มีอาการโรคสมองฝ่อได้
  2. ส่วนโรคสมองฝ่อที่เกิดขึ้นแล้วไม่ทราบสาเหตุ การรักษาคงเป็นการรักษาตามอาการ
  3. สำหรับวิธีการชะลอความเสื่อมที่เป็นที่ยอมรับและ ได้ผลดีตามวิถีธรรมชาติ ก็คือหลัก 5 อ ได้แก่ อาหารดี อากาศดี ออกกำลังกายดี อุจจาระ (ขับถ่ายดี) และอารมณ์ (จิตใจ) ดี

การพยากรณ์โรค

โดยปรกติการทำนายภาวะ หรือพยากรณ์โรคสมองเสื่อมนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคในผู้ป่วยกลุ่มที่เกิดจากโรค ที่สามารถรักษาต้นเหตุได้ จะมีการพยากรณ์โรคดีมาก ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ป่วยที่เกิดจากโรคที่รักษาไม่หาย ในปัจจุบันมักจะมีการดำเนินต่อไปของโรคโดยจะมีอาการของโรคลดลงเรื่อยๆ การรักษาทางยามักจะเพียงช่วยประทังอาการของโรคเท่านั้น แต่การรักษาตามอาการของโรคจะมีบทบาทสำคัญยิ่ง การดูแลผู้ป่วย และยอมรับของญาติ เป็นปัจจัยที่มีส่วนอย่างมากในการพยากรณ์ของโรคในระยะยาว เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอายุยืนนานใกล้เคียงกับคนปรกติทั่วไป ส่วนสาเหตุการสูญเสียชีวิตในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การอักเสบของปอด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่แผลนอนทับ และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

แนวทางการปรับตัวสำหรับผู้สูงวัย

ผู้ที่กำลังเข้าสู่สภาวะผู้สูงวัย คืออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป ต้องเข้าใจ และยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง รวมถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกับร่างกาย สิ่งสำคัญที่ผู้ที่กำลังจะเป็นผู้สูงวัย หรือที่เป็นผู้สูงวัยแล้ว ต้องเข้าใจตนเอง สามารถจำแนกได้หลายประการคือ

  1. การยอมรับสภาพร่างกายของตนเอง ว่าไม่ทัดเทียมกับคนอายุน้อยกว่า หรือคนรุ่นหลัง ดังนั้นการทำงานที่ต้องอาศัยสมรรถนะของร่างกายด้านกายภาพ จึงด้อยกว่าโดยสภาพ ไม่ควรแข่งขันหรือพยายามต้องให้ทัดเทียมกับคนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว
  2. พยายามใช้สมองให้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ ติดตามข้อมูลข่าวสารตามความเหมาะสม เพื่อยังคงมีกระบวนการทำงานของสมองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะได้เรียนรู้เรื่องราวสังคมของเยาวชนรุ่นลูก-หลาน เพื่อให้ตัวเราเข้าใจความเป็นไปพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว และสามารถปรับตัวเข้าหากันได้
  3. สร้างรูปแบบการปฏิบัติตัวในแต่ละวัน เพื่อให้มีกิจกรรมที่เราปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ (นาฬิกาชีวิต) ซึ่งจะมีผลต่อสภาวะจิตใจของผู้สูงวัย ว่าเรายังมีประโยชน์ มีคุณค่าและยังช่วยเหลือผู้อื่นได้ ยังมีคนอื่นต้องพึ่งเราอยู่ ซึ่งตัวผู้สูงวัยก็จะเกิดความกระตือรือล้น มุ่งมั่นที่จะรักษาความเข้มแข็งไว้ให้เป็นที่พึ่งพาของคนอื่นๆได้
  4. ทำจิตใจให้มีแต่ความสุข ไม่ควรกักตัวเองไว้กับความหดหู่ เศร้าซึม หรือแยกตัวเองไปอยู่โดดเดี่ยว ควรตั้งใจที่จะนำประสบการณ์ที่ตัวเรามีไปถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลังให้เป็นประโยชน์ หรือประยุกต์ใช้ในสังคมต่อไป รวมถึงการพัฒนา EQ/IQ3 ให้แก่เด็กในครอบครัว ฯลฯ
  5. ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกาย ไม่จำเป็นต้องฝึกหรือออกกำลังให้แข็งแรงแบบวัยหนุ่มสาว เนื่องจากความทนทาน ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ไขข้อ แตกต่างกัน

ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=754&sub_id=6&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด