สายตายาว


1,129 ผู้ชม

สายตายาว คนสายตายาว คือ คนที่มีระบบการหักเหอ่อนเกินไป แสงที่มาจากวัตถุ หรือภาพที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามองจะตกไปอยู่หลังจอตา


สายตายาว คนสายตายาว คือ คนที่มีระบบการหักเหอ่อนเกินไป แสงที่มาจากวัตถุ หรือภาพที่เกิดขึ้นจากวัตถุที่เรามองจะตกไปอยู่หลังจอตา 

ถ้าวัตถุที่เราดูนั้น ยิ่งอยู่ใกล้ตาเรามากเท่าใด ภาพที่จะเกิดขึ้นก็จะยิ่งตกลงหลังจอตาไกลมากออกไปอีกเท่านั้น จะทำให้มองสิ่งที่อยู่ใกล้ไม่ชัด เพราะฉะนั้น บุคคลพวกนี้ถ้าสังเกตตัวเองมักพบว่า ถ้ามองอะไรก็ตามที่อยู่ไกลๆ ออกไป พอจะมองเห็นได้ว่าเป็นอะไร แม้จะไม่ค่อยชัดก็ตาม แต่พอจะดูอะไรที่ใกล้เข้ามาพบว่าจะพร่ามัวต้องพยายามเพ่งมอง คนที่มีสายตายาว มองเห็นวัตถุได้ชัดระยะใกล้ตามีระยะเกินกว่า 25 เซนติเมตร และระยะไกลตามองได้ไกลถึงระยะอนันต์ อาจแก้ไขโดยใช้เลนส์นูนช่วยให้แสงไปตกที่เรตินาพอดี มีผลให้มองเห็นวัตถุจุดใกล้ได้ชัดที่ระยะ 25 เซนติเมตร จักษุแพทย์บอกขนาดของแว่นตาเป็นกำลังไดออปเตอร์ (diopter power) หรือเรียกว่ากำลังของเลนส์

ดวงตาถือเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกายของคนเรามาก คงไม่มีใครต้องการที่จะอยากอยู่ในโลกมืด และไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นไปรอบๆ ตัวเรา ดังนั้น ก่อนเราจะตัดสินใจทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ หมั่นดูแลใส่ใจสุขภาพตาของเราควบคู่กับสุขภาพกาย และจิตไปพร้อมๆ กันด้วย ตาเป็นอวัยวะรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น มีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลมโดยส่วนประกอบของตามี 2 ส่วน คือ ส่วนรวมแสง และส่วนไวแสง โดยส่วนรวมแสง ประกอบด้วยกระจกตา เป็นเยื่อเหนียวใสอยู่ตอนหน้าจะนูนออกมามีสีขาวทึบแสง ส่วนที่เป็นตาขาว กระจกตาช่วยให้การหักเหแสงที่ตามีกำลังสูงขึ้น ม่านตา เป็นกล้ามเนื้อทึบแสงมีสีต่างๆ ตามเชื้อชาติ รูม่านตา เป็นช่องเปิดตรงกลางม่านตาจะปรับให้เล็กลงได้เมื่อมีแสงมาเข้าตามากขึ้น และจะปรับให้เปิดกว้างเมื่อแสงลดน้อยลง

เมื่อแสงจากวัตถุเข้าสู่นัยน์ตา แสงจะผ่านคอร์เนีย ผ่านเลนส์ตา และสารน้ำในตา ไปเกิดภาพบนเรตินา ส่วนไวแสงประกอบด้วยส่วนของเซลล์รับแสง ซึ่งแบ่งแยกเป็น 2 พวก คือ เซลล์ชนิดแท่ง และเซลล์ชนิดโคน และมีไยประสาทเชื่อมโยงการส่งกระแสประสาท เซลล์ชนิดแท่งจะไวต่อการรับแสงโดยมีแสงเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้ ส่วนเซลล์ชนิดโคนจะไวต่อการรับแสงสีของวัตถุ โฟเวียเป็นตำแหน่งหนึ่งในเรตินาจะมีเซลล์ชนิดโคนประมาณ 34,000 เซลล์ มีเส้นประสาทติดต่อโดยตรงถึงสมอง ตรงบริเวณนี้จะใช้สำหรับเพ่งดูรายละเอียดของภาพให้เห็นชัดที่สุด และใช้แยกความแตกต่างของสีต่างๆ สำหรับจุดบอดของนัยน์ตา เป็นบริเวณที่ไม่มีเซลล์ชนิดแท่ง และเซลล์ชนิดโคนอยู่ ดังนั้นถ้าส่วนใดของภาพที่เกิดบนเรตินา ไปตกลงที่ ตำแหน่งตาจะมองไม่เห็นภาพส่วนนั้น

การเกิดภาพนั้นเกิดจากการหักเหของแสงที่คอร์เนีย และที่เลนส์ตา ส่วนเลนส์ตานั้นปรับความยาวโฟกัสได้ เพื่อให้ภาพของวัตถุ ที่อยู่ในระยะต่างๆ กันเกิดภาพชัดบนเรตินา ความยาวโฟกัสของเลนส์ตาเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเลนส์ตา รอบๆ เลนส์ตามีกล้ามเนื้อวงกลมล้อมรอบเรียกว่า กล้ามเนื้อซิลิอารี เมื่อกล้ามเนื้อนี้คลายตัว เลนส์ตาจะถูกเส้นใยซิลิอารี ดึงให้แฟบลง ในระยะนี้ตาคนปกติจะมองเห็นชัดที่ระยะอนันต์ เพื่อที่จะดูวัตถุที่อยู่ใกล้เข้ามา เลนส์ตา จะต้องมีความยาวโฟกัสสั้นเข้าจึงจะได้ภาพชัดบนเรตินา กล้ามเนื้อซิลิอารีจะหดตัวทำให้เส้นใยซิลิลารีหย่อนเลนส์ตาก็จะโป่งออกทำให้ความยาวโฟกัสสั้นเข้า สำหรับเซลล์เรียงรายกันอยู่บนเรตินาจะนำสัญญาณไฟฟ้าผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 ไปสู่สมองทำให้เกิดการแปรภาพที่มองเห็น

Hyperopia

  1. เป็นสายตายาวที่เกิดมาจากการหักเหของแสงมาโฟกัสหลังจอรับภาพ คือถ้าสายตาปกติจะตกตรงจอรับภาพพอดี เวลาอ่านหนังสือ คนสายตายาวจะเมื่อยตา จะมองไม่ชัดทั้งไกล และใกล้ เมื่อยล้า ปวดตา น้ำตาไหล และแพ้แสง
  2. ในเด็กบางคน อาจมีปัญหาเรื่องสายตายาว ซึ่งจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเจริญเติบโตเป็นวัยรุ่น แต่บางรายก็ทำให้มีปัญหาเรื่องตาเหล่ได้ เพราะสายตาจะล้าเพราะเวลามองของใกล้ๆ จะต้องเพ่ง ในเด็กบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ และไม่สนใจในการอ่านหนังสือ เชื่อกันว่ากรรมพันธ์อาจมีส่วนในการเกิดสายตายาว
  3. สำหรับการรักษาสายตายาวเหล่านี้ได้แก่การใส่แว่น ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้

Presbyopia

  1. สายตายาวแบบสูงวัย เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาที่ยึดเลนส์นัยน์ตาเริ่มเสื่อมจากที่เคยยืดหยุ่นดีๆ เริ่มเสื่อมลง ความยืดหยุ่นก็น้อย การปรับโฟกัสในตาของเราให้ได้ระยะชัดจึงยากขึ้น โดยเฉพาะการมองในระยะใกล้ๆ ประมาณ 1 ฟุต
  2. ท่าทางในการอ่านหนังสือของคนสายตายาวแบบนี้มักถือห่างออกไปไกลๆ เมื่อใช้สายตากับการมองสิ่งใกล้ๆ นานๆ จะรู้สึกว่าดวงตาเมื่อยล้า นอกจากนี้ยังรู้สึกว่า อ่านหนังสือตอนเช้าสบายตากว่าช่วงตอนเย็น
  3. ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดขึ้นกับคนในวัย 38-40 ปี เกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าใช้สายตามากน้อยแค่ไหน

Near Vision CK

  1. วิธีการรักษาสายตายาววิธีแรกที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาก็คือ การรักษาสายตาด้วยคลื่นวิทยุ หรือ Near Vision CK (Conductive Keratoplasty)
  2. การรักษาวิธีนี้แพทย์จะใช้คลื่นวิทยุไปปรับความโค้งของกระจกตาให้สามารถกลับมามองเห็นในระยะใกล้ได้ โดยไม่มีความเจ็บปวดและใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น และสามารถเห็นผลการรักษาได้ทันที ซึ่งโดยมากผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้จะได้รับการรักษาเพียงข้างเดียวเท่านั้น
  3. เป็นการรักษาโดยอาศัยหลักการของ Blended Vision ซึ่งหมายถึง การใช้ดวงตาทั้ง 2 ข้างในการมอง โดยแม้จะเป็นการรักษาเพียงข้างเดียวแต่หากเราใช้ดวงตาทั้ง 2 ข้างก็จะสามารถมองเห็นทั้งใกล้และไกลได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นตา

NV LASIK

  1. ผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามอายุบางรายอาจจะเลือกการรักษาแบบ NV LASIK ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นในระยะไกลได้ชัดในตาข้างหนึ่ง และมองเห็นใกล้ได้ชัดในตาอีกข้างหนึ่ง
  2. ดวงตาแต่ละข้างจะมองเห็นวัตถุชัดเจนในระยะที่แตกต่างกันออกไป แต่ด้วยหลักการของ Blended Vision ผู้เข้ารับการรักษาจะสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งไกล และใกล้เมื่อใช้ตาทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน

Presby LASIK

  1. วิธีการรักษาสายตายาวตามอายุวิธีล่าสุด เรียกว่า Presby LASIK ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษาสายตายาวตามอายุที่สมบูรณ์แบบ สามารถรักษาสายตาสั้น ยาวโดยกำเนิด เอียง และสายตายาวตามอายุได้พร้อมๆ กัน
  2. การรักษานี้จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า PAC Software (Pseudo Accommodative Cornea) ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นมาใช้ในการรักษา ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งใกล้ และไกลในดวงตาข้างเดียวกัน

วิธีการถนอมรักษาสายตา

  1. บำรุงสายตาด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอเป็นประจำ เช่น ในตับ ไข่แดง นม เนย ปูทะเล น้ำมันสกัดจากตับปลา ผักใบเขียวจัด ผักผลไม้สีส้ม และสีเหลือง เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง ผักตำลึง ผักโขม ผักคะน้า บร็อกโคลี่ แครอต ใบยอ ใบโหระพา ใบบัวบก ชะอม กระถิน พริกขี้หนู มะละกอ มะม่วงสุก
  2. พักสายตาหลังจากคร่ำเคร่งกับการใช้สายตาเป็นเวลานาน ควรพักด้วยการทอดสายตามองไปที่ไกลๆ สักระยะ
  3. ควรสวมแว่นกันแดดป้องกันรังสียูวี และแสงเข้าตา
  4. เวลาเมื่อยล้า หรือรู้สึกปวดตา ใช้ปลายนิ้วคลึงวนรอบคิ้ว และรอบดวงตา ไม่คลึงกดตรงเปลือกตา
  5. เลือกหนังสือที่พิมพ์จากกระดาษสะท้อนแสงน้อย เพื่อการถนอมดวงตา และไม่อ่านหนังสือขณะนั่งรถ เพราะว่าต้องมาปรับระยะโฟกัสอยู่ตลอดเวลาที่รถเคลื่อนไป
  6. นั่งดูโทรทัศน์ห่างจากจอ 4-5 เท่าของความกว้างโทรทัศน์
  7. สวมแว่นว่ายน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันคลอรีนในสระว่ายน้ำ
  8. การทำงานที่ต้องใช้สายตา ควรอยู่ในจุดที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อสายตาจะได้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
  9. ตรวจวัดสายตาปีละครั้ง เพื่อดูว่าสายตาเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างแล้ว หากสายตาเปลี่ยนจะได้เปลี่ยนเลนส์แว่นตาที่เหมาะสมกับสายตาต่อไป

วิธีดูแลใส่ใจสุขภาพตา

  1. ครอบดวงตา ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉยๆ นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย อยู่ในท่านี้สักประมาณ 10 นาที
  2. สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่างๆ ชัดเจน สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริงๆ ของเราได้เป็นอย่างดี
  3. กวาดสายตา มองแบบไม่ต้องจ้อง กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกลๆ เพื่อทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย
  4. กะพริบตา กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที จะช่วยให้แก้วตาสะอาด และมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยง
  5. โฟกัสภาพที่ใกล้และไกล เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวา ให้ห่างจากใบหน้า สัก 3 นิ้ว โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา
  6. หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่น 20 ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดี
  7. แกว่งตัว ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ แต่ไม่ต้องจ้อง ปล่อยให้จุดที่เรามอง แกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พัก และมีการปรับตัวดีขึ้น

แว่นสายตา

  1. แว่นที่มีเลนส์ระดับเดียว จะใช้สำหรับการมองใกล้ๆ เช่น การอ่านหนังสือได้ แต่ไม่เหมาะกับการมองไกลหรือลุกเดินไปไหนมาไหน เวลาเดินควรถอดออก สำหรับคนที่มีสายตาสั้นอยู่ก่อน แล้วมาสายตายาวเอาเมื่อเวลานี้ ถ้าใช้แว่นเลนส์ชั้นเดียว ก็ต้องเปลี่ยนเป็นแว่นสายตาสั้นเพื่อทำกิจกรรมอื่น คนที่ไม่ต้องใช้สายตามองดูระยะใกล้บ่อยๆ ก็สามารถใช้แว่นแบบนี้ได้
  2. แว่นที่มีเลนส์สองระดับ ใช้ทั้งการดูระยะใกล้ให้ชัดเจน และดูระยะไกลได้ด้วย เวลามองภาพไกลๆ ก็มองส่วนบนของ 

อัพเดทล่าสุด