การค้นพบสำคัญ ที่อาจรักษาเบาหวาน เอสแอลอี และโรคภูมิคุ้มกันเกินให้หายขาด!


1,456 ผู้ชม


ผลการวิจัยที่นำความหวัง และจุดประกายการรักษาใหม่ จากโรงพยาบาล เมสซาจูเซตต์ (MGH) ตีพิมพ์ลงในวารสาร science เมื่อ 14 พย. นี้ ก่อให้เกิดความประหลาดใจ และสร้างความหวังในการรักษาเบาหวาน โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเกิน เอสแอลอี ลำไส้อักเสบcrohn's โรคข้อรูมาตอยด์ หรือแม้กระทั่งธัยรอยด์

คณะผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยปลูกถ่ายเซลตัวต้นกำเนิดของเซลต่าง ๆ ที่อยู่ในม้าม ไปยังหนูที่เป็นเบาหวาน พบว่า เกิดการสร้างอินสุลินจากเซลจากตับอ่อน ขึ้นมาได้เอง โดยที่ยังไม่ได้ปลูกถ่ายเซลตับอ่อนลงไป นั่นแสดงว่า อาจเกิดการสร้างเซลตับอ่อนจากกลไกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่ามาจากเซลต้นกำเนิด (precurser cell)

นพ.เดวิด นาธาน จาก ศูนย์เบาหวาน MGH กล่าวว่า จากการค้นพบที่น่าประหลาดใจนี้ ทำให้เชื่อว่า คนไข้เบาหวานชนิดพร่องอินสุลิน (ชนิด 1) สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติ และมีเซลที่สร้างอินสุลินได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากกลไกภฺมิคุ้มกันของร่างกายเรา ที่ไม่สามารถจดจำเซลในตับอ่อนที่เป็นตัวสร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ จึงมีการทำลายเซลเหล่านี้ ผลคือทำให้คนไข้ไม่มีอินสุลินพอ คนไข้พวกนี้มักอายุน้อย ผอม ต่างจากชนิดที่ 2 ที่เกิดในผู้อายุมากกว่า เกิดจากการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินสุลิน ซึ่งพวกนี้มักมีการสร้างอินสุลินปกติ และมักอ้วน  

อินสุลินคือฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างมาจากเซลที่เรียกว่า islet cells จากตับอ่อน เพื่อนำน้ำตาล หรือพลังงาน ในกระแสเลือด มาเผาผลาญ หรือเก็บสะสมในเซล

การวิจัยนี้ จริง ๆ แล้วมีจุดประสงค์แรกสุด เพื่อปลูกถ่ายเซลของตับอ่อน โดยนำหนูที่เป็นเบาหวาน ให้มารับโปรตีนชื่อว่า TNF-alpha คล้าย ๆ กับบอมบ์ ให้ภูมิคุ้มกันที่กำลังทำลายเซลตับอยู่ หายไป และนำเซลตัวอ่อนที่เป็นตัวต้นกำเนิดเซลสร้างภูมิชนิดใหม่ ซึ่งดูดมาจากม้าม มาถ่ายให้ โดยหวังว่า เซลลูกที่สร้างมาจะสามารถจำได้ว่าตับอ่อนเป็นของร่างกายตนเอง และเตรียมการที่จะเอาเซลตับอ่อนมาปลูกถ่ายในขั้นต่อไป แต่คณะผู้วิจัยกับค้นพบด้วยความประหลาดใจว่า ในขณะที่ยังไม่ได้ปลูกถ่ายเซลตับอ่อน หนูเหล่านั้นมีอาการดีขึ้น และการสร้างอินสุลินมากขึ้น และมีการสร้างเซลตับอ่อนขึ้นมาใหม่

คณะผู้วิจัยหวังว่า การค้นพบครั้งนี้ น่าจะเอามาประยุกต์ใช้ได้ กับโรคออโต้อิมมูน(โรคภูมิคุ้มกันเกินและทำลายตัวเอง) อื่น ๆ เช่น เอสแอลอี และโครน(ลำไส้อักเสบ chrohn's disease) 
ที่มา https://www.thaihealth.net/h/article308.html

อัพเดทล่าสุด