ปวดท้องเมนส์ กันดีกว่าแก้


เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก...อาจเป็น คำพังเพยโบร่ำโบราณแต่ยังไม่เชยตกยุคนะคะ เพราะคำคำนี้มักจะวาบขึ้นมาในความคิดเสมอ เวลาผู้หญิงเราต้องเผชิญภาวะเจ็บปวดทางร่างกาย         เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก...อาจเป็น คำพังเพยโบร่ำโบราณแต่ยังไม่เชยตกยุคนะคะ เพราะคำคำนี้มักจะวาบขึ้นมาในความคิดเสมอ เวลาผู้หญิงเราต้องเผชิญภาวะเจ็บปวดทางร่างกาย 

ที่เห็นชัดๆก็เวลาปวดท้องเมนส์นี่ละค่ะ แล้วลองคิดดู...เวลาสาวน้อยใน บ้านเรา นั่งเอามือกุมท้อง ร้องโอดโอย หน้าตาซีดเซียว กินข้าวไม่ลง บางรายถึงขนาดไปโรงเรียนไม่ได้ จะน่าเห็นใจสักแค่ไหน...คงต้องเป็นหน้าที่ของคุณแม่แล้วละค่ะที่ต้องช่วย แบ่งเบา และจัดการกับอาการเจ็บปวดจากภัยธรรมชาติ(ทางร่างกาย)ของลูก คุณหมอเสาวคนธ์ อัจจิมากร สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ท่านช่วยไขข้อข้องใจให้ว่า สาเหตุของการปวดท้องเมนนี้มี 2 แบบ คือ แบบปฐมภูมิ เป็นการปวดที่ไม่มีสาเหตุ มักเกิดกับเด็กในวัยเริ่มมีประจำเดือน จนถึงวัยรุ่น แบบทุติยภูมิ เป็นการปวดที่มีสาเหตุ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ เป็นเนื้องอก ฯลฯ มักเกิดกับคนที่เลยวัยรุ่นหรือมีอายุเกิน20ปีไปแล้ว วิธีตั้งข้อสังเกตง่ายๆของอาการ 2 แบบ นี้ก็คือ ถ้าอาการปวดหายไปพร้อมการหมดรอบเดือนคือการปวดแบบปฐมภูมิ แต่ถ้ารอบเดือนหมดแล้วยังมีอาการปวดต่อไปอีกระยะหนึ่ง จะเป็นแบบทุติยภูมิ และอย่านิ่งนอนใจ ควรพาตัวเองไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรคค่ะ สำหรับการการปวดท้องเมนส์ของเด็กวัยแรกสาว และสาวรุ่นนั้น ส่วนใหญ่จึงมักเป็นการปวดแบบไม่มีสาเหตุ คือปวดเพราะมดลูกมีการบีบ หรือเกร็งตัวเพื่อช่วยในการหลั่งเลือดประจำเดือน รวมทั้งเวลามีรอบเดือนร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนprostaglandins ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวด ดังนั้นคุณหมอจึงแนะนำว่า ถ้ารู้ว่าเด็กจะปวดท้องเวลามีรอบเดือน ก็ควรจะหาวิธีป้องกัน โดยก่อนมีรอบเดือนแต่ละครั้งควรให้เด็กทานยาที่มีฤทธิ์ต้านprostaglandins เสียก่อน เขาจะได้ไม่ต้องนั่งเจ็บปวด และทนทรมานจากภาวะธรรมชาติในตัวแทบทุกเดือน "เมื่อก่อนเราอาจจะใช้แก้ปวดธรรมดา เช่น พาราเซตตามอล แอสไพริน หรือถ้าปวดมากๆ ก็กินยาคลายกล้ามเนื้อ แต่เมื่อเราค้นพบว่ามีฮอร์โมนprostaglandins เป็น ตัวก่อให้เกิดอาการปวดท้องเวลามีเมนส์ ซึ่งในบางคนใช้ยาแก้ปวดธรรมดา หรือยาคลายกล้ามเนื้ออาจไม่ได้ผล เขาจึงจำเป็นต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้าน prostaglandins หรือในชื่อยาที่คนรู้จักคือ Ponstan ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านสารตัวนี้ " คุณหมอยังบอกด้วยว่า การป้องกันโดยใช้วิธีทานยาป้องกันนี้ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ อาจแค่ระคายเคืองกระเพาะนิดหน่อย แต่ถ้าทานน้ำตามมากๆหลังทานยาจะช่วยได้ แต่ถ้าไม่อยากให้ทานยา และลูกมีอาการปวดไม่มาก การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบที่หน้าท้อง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยได้เช่นกัน เลือกบำบัดกันได้ตามอัธยาศัยค่ะ แต่คุณหมอก็ยังทิ้งท้ายว่า การป้องกันด้วยการทานยาน่าจะดีกว่ารอให้ปวดก่อนแล้วค่อยแก้ไขทีหลัง
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=15&sub_id=3&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด