นานาสาระเรื่องโรคอ้วน


1,041 ผู้ชม


  • ภาวะน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ในปัจจุบันถ้ามากเกินไป จนเกิด โรคอ้วน นอกจากจะไม่ทำให้ดูสวยงามแล้ว ยังถือว่าเป็นปัญ
หาสุขภาพอย่างหนึ่งที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจอุดตัน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
  • เรามาทบทวนหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่า จากน้ำหนักตัวของเราเมื่อเทียบกันส่วนสูง จะเข้าข่ายของโรคอ้วนหรือไม่ แพทย์จะคิดคำนวณจากค่า ดัชนีความหนาของร่างกาย (Body mass index=BMI) ดังนี้ 
    เราสามารถจะคำนวณค่า BMI ได้ด้วยตัวของเราเอง โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้ 
    BMI = น้ำหนัก(กิโล) / ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง เมื่อได้ตัวเลขแล้ว จะนำมาประเมินภาวะอ้วนผอมได้ดังนี้ 
    20.0-24.9 บ่งว่า BMI มีค่าปกติ 
    18.5-19.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 1 
    17.0-18.4 บ่งว่า BMI อยู่ในผอมระดับ 2 
    16.0-16.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 3 
    < 16 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะผอมระดับ 4 
    25.0-29.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 
    30.0-39.9 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 
    > 40 บ่งว่า BMI อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 3
  • ทำไมคนเราจึงอ้วนมากและง่ายขึ้นในปัจจุบัน : ภาวะอ้วนในปัจจุบัน เกิดได้จากหลักการใหญ่ๆ ดังนี้ 
    1. การได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป อาจจะเกิดขึ้นจากการมีการเปลี่ยนแปลง ชนิดและประเภทของอาหาร ซึ่งพบว่าในปัจจุบันมีอาหารแปลกใหม่ รสชาดน่าลิ้มลองมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้มีการรับประทานมากขึ้น ซึ่งมักจะเกิดในบรรดากลุ่มชอบชวนชิมทั้งหลาย 
    2. มีการใช้พลังงานที่ได้จากกิจกรรมต่างๆ ลดลง อาจจะเกิดจากในยุคนี้ คนเราจะนั่งทำงานอยู่กับที่มากขึ้น มีความอำนวยความสะดวกขึ้น มีเครื่องจักรกลช่วยทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน การมีรถยนต์ หรือมีการดูโทรทัศน์มากขึ้น แทนที่จะใช้เวลาในการออกกำลังกาย และอีกเหตุผลก็คือ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้คนเราต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาว่างในการคิดถึงสุขภาพตนเอง
  • ปัจจัยของการลดน้ำหนักได้ยาก : พอจะกล่าวได้เป็นข้อๆ ดังนี้ 
    1. สาเหตุของกรรมพันธุ์ ทำให้อ้วนง่ายอยู่แล้ว ซึ่งเป็นผลของยีนที่ได้รับจากพ่อแม่ 
    2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่อลดน้ำหนักได้แล้ว กลับมาอ้วนได้ใหม่และง่ายขึ่น คือ เมื่อน้ำหนักลดลง ทำให้อัตราการเผาผลาญลดลง สาร leptin ในร่างกายที่เป็นตัวทำให้อิ่มก็ลดลงไปด้วย จึงทำให้หิวได้ง่ายขึ้น รับประทานมากขึ้น ซึ่งพบได้ในคนที่เคยลดน้ำหนักบ่อยๆ แล้วในระยะหลังจะลดได้ยากขึ้น ซึ่งมักเข้าใจว่าเกิดการดื้อยา ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนหมอบ่อยๆ หรือต้องการยาลดน้ำหนักที่มีฤทธิ์มากขึ้นและแรงขึ้น 
    3. มีความรู้สึกท้อแท้ เมื่อตั้งความหวังไว้สูงมากๆ ว่าจะลดได้มากๆ เมื่อทำไม่ได้ จึงหมดความพยายาม 
    4. ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เครียดหงุดหงิด จึงหาทางออกด้วยการกินๆๆๆๆๆๆ โดยไม่ได้มีเวลาออกกำลังกาย
  • แนวทางในการปฏิบัติตนเมื่อเข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก 
    1. ต้องทราบว่าเมื่อคนเราอายุมากขึ้น น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉลี่ยทุก 0.5-1 กิโลกรัมต่อปี เมื่ออายุมากกว่า 25 ปี แม้จะรับประทานอาหาร ในปริมาณเท่าเดิมและออกกำลังมากขึ้น ดังนั้นจะต้องลดปริมาณอาหารและออกกำลังกายมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น 
    2. การออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือเดินระยะทางนานๆ ถึอว่าเป็นการลดน้ำหนักที่ดีที่สุด และผลข้างเคียงน้อยที่สุดในปัจจุบัน 
    3. กรณีที่รับประทานยาลดน้ำหนัก ควรจะทานจนน้ำหนักลดลงได้ระดับหนึ่งแล้ว ควรควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ไม่แนะนำให้รับประทานยาลดน้ำหนักไปเรื่อยๆ แบบไม่สิ้นสุด เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 
    4. การใช้ยาลดน้ำหนักประเภทกระตุ้นให้อิ่มเร็วขึ้น จะทำให้ไม่อยากทานอาหาร จึงต้องระวังปัญหาโรคกระเพาะอาหารอักเสบด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงยา บางตัวที่อาจจะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบรุนแรงขึ้น เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID หรืออาหารประเภทรสจัด อัลกอฮอล์ คาเฟอีนหรือการสูบบุหรี่ 
    5. การลดน้ำหนักด้วยยารับประทานนานๆ ทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่และวิตามินที่สำคัญ ดังนั้นอาจจะต้องรับประทานอาหารเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่ โดยนพ.จรัสพล รินทระ .......ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด.....6 September 2005

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=5&sdata=&col_id=219

อัพเดทล่าสุด