หูด หรือตาปลา ( Wart) ติ่งเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง


  • หูด เป็นติ่งเนื้อ ที่งอกยื่นออกมาจากผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ human papillomavirus ภายในชั้นหนังกำพร้า ติดต่อโดยการ�
��ัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค มักพบได้บ่อยในเด็ก หรือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • หูด แบ่งได้เป็นหลายชนิด ตามลักษณะที่แตกต่างดังนี้ 
        1. Common wart -พบบ่อยในเด็ก มักเป็นที่มือและเท้า มักไม่มีอาการอะไร ยกเว้นไปแกะเกา ให้เกิดบาดแผล 
        2. Plantar wart - มักเป็นปื้นแข็ง บริเวณฝ่าเท้า แยกได้ยากจากตาปลา การจะแยกต้องใช้ใบมีดฝานตรงติ่งเนื้อ ถ้าเป็นหูดจะพบจุดเลือดออกเล็กๆ แต่ถ้าเป็นตาปลา ถ้าเฉือนไปเรื่อยๆ จะพบเนื้อดี 
        3. Fusiform wart - เป็นติ่งเนื้อขนาดเล็ก ยื่นออกมาคล้ายนิ้ว มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอพบได้บ่อยในคนสูงอายุ 
        4. Plane wart- หูดราบ - มักพบเป็นกลุ่มบริเวณ หน้า คอ หลังมือ มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล หรือ สีเนื้อ หูด เป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่มีอันตรายอะไร ไม่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งในภายหลัง
  • การรักษา มีหลักการก็คือ กำจัดเนื้อเยื่อออกไปจากร่างกาย ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้ 
        1. การจี้ด้วยไฟฟ้า 
        2. การผ่าตัด หรือตัดชิ้นเนื้อออก 
        3. เลเซอร์ ด้วย Co2 laser 
        4. การ แต้มด้วยสารเคมีลอกขุย(Kearolytic agents เช่น Salicylic acid) ให้หลุดลอกออก เช่น Collamack แต่ปัจจุบันยานี้ได้เลิกผลิตแล้ว 
        5. การแต้มด้วยยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสนี้ เช่น 5-FU (Vermumal,Duoflim) 
      จากทุกๆ วิธี แพทย์อาจจะเลือกทำวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีควบคู่กัน เพื่อจะกำจัดเชื้อไวรัสนี้ให้หมด เพราะถ้าไม่หมดอาจเกิดใหม่ได้ และถ้าทำลายมากเกินไป ก็อาจจะทำลายเนื้อดี เกิดแผลเป็นได้
  • การป้องกัน ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อหูด จากไวรัสนี้ และถ้ามีลักษณะทางคลีนิกของโรคนี้ ควรรีบกำจัดตั้งแต่เริ่มเป็น เพื่อป้องกันการลุกลามมากขึ้น เนื่องจากการสัมผัสหูดนี้บ่อยๆ แล้วไปโดนผิวหนังบริเวณอื่น อาจจะมีหูดหรือตาปลาเพิ่มขึ้นได้ ในบริเวณที่มือที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปสัมผัส 
    เรียบเรียงใหม่ โดย นพ.จรัสพล รินทระ ................. 07/08/20004

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=8&sdata=&col_id=63

อัพเดทล่าสุด