โรคสันนิบาต อาการ (รายละเอียด โรคสั่น ทั้งตัว)


1,568 ผู้ชม

ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคพาร์กินสัน คือ อาการแต่ละอาการจะค่อยๆปรากฏ เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแบ่งอาการออกได้เป็น


โรคพาร์กินสันมีอาการอย่างไร?

โรคพาร์กินสัน


ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคพาร์กินสัน คือ อาการแต่ละอาการจะค่อยๆปรากฏ เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที เมื่อเวลาผ่านไปอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแบ่งอาการออกได้เป็น
    อาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ เป็นอาการหลักที่จะต้องพบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ได้แก่
        อาการสั่นขณะช่วงการพัก (Resting tremor) มักเป็นอาการแรกที่ปรากฏขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่นิ้วมือก่อน แล้วตามด้วยข้อมือและแขน โดยจะเป็นแค่ข้างใดข้างหนึ่ง ไม่เกิดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง เมื่อผ่านไปหลายๆเดือน ขาและเท้าอีกข้างก็จะเริ่มมีอาการสั่นตามมา และในที่สุดก็จะเกิดอาการทั่วร่างกาย รวมทั้งบริเวณ คาง ริมฝีปาก และลิ้น ยกเว้นแต่บริเวณศีรษะและลำคอที่จะไม่เกิดอาการสั่น อาการสั่นจะเกิดขณะที่ร่างกายไม่ได้ใช้งาน เช่น ขณะนั่งพัก เมื่อเกิดอาการเครียดอาการสั่นจะแรงขึ้น (แต่ความถี่จะคงที่คือ 4-6 ครั้งต่อวินาที) เมื่อนอนหลับอาการจะหายไป นิ้วมือที่มีอาการสั่นจะมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า Pill-rolling คือเหมือนกำลังปั้นยาลูกกลอนอยู่
        การสั่นของโรคพาร์กินสันนี้จะไม่เหมือนอาการสั่นชนิดไม่มีสาเหตุที่มักพบในคนสูงอายุ (Essential tremor) ซึ่งจะมีอาการสั่นขณะที่ใช้ร่างกายทำงาน เช่น จับปาก กาเขียนหนังสือ อาการสั่นจะเป็นพร้อมๆกันทั้งซีกซ้ายและซีกขวา มีความถี่อยู่ที่ 8-10 ครั้งต่อวินาที และที่สำคัญคือหากให้แอลกอฮอล์ดื่ม อาการสั่นจะดีขึ้นชั่วคราว
        เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง (Bradykinesia) การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่าง ๆ จะเกิดน้อยลงและช้าลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ใบหน้าลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีการกระพริบตาน้อยลง การแสดงสีหน้าต่างๆลดลง ผู้ป่วยจะมีหน้าตายเหมือนใส่หน้ากากอยู่ เสียงพูดเบาลง พูดไม่มีจังหวะสูงต่ำ เมื่ออาการเป็นมากขึ้นคำพูดจะไม่ชัดเจนจนอาจฟังไม่รู้เรื่อง บางคนอาจมีน้ำลายไหลออกจากมุมปาก การเคลื่อนไหวของลำตัวและขาช้าลง ทำให้ลุกจากเก้าอี้ได้ยาก ล้มตัวลงนอนได้ลำบาก เดินช้าลง ก้าวขาสั้นลง เหมือนกำลังเดินซอยเท้า และเท้าไม่ค่อยยกจากพื้น เหมือนเดินลากเท้าอยู่ แขนไม่ค่อยแกว่ง เมื่ออาการเป็นรุนแรงขึ้น หากจะเริ่มต้นก้าวเดินอาจจะทำไม่ได้ชั่วคราว เหมือนเท้าถูกตรึงเอาไว้กับพื้น โดยเฉพาะเวลาจะเดินผ่านประตู นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของมือและแขนที่ลดลง ทำให้ลายมือที่เขียนหนังสือเปลี่ยนไป ตัว หนังสือจะเล็กลง การใช้งานในชีวิตประจำวันอื่นๆก็ทำได้ลำบากขึ้น เช่นการไขกุญแจ การใช้ช้อนส้อมกินอาหาร การแต่งตัว นอกจากนี้อาการของ Bradykinesia ยังรวมถึง อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรงด้วย
        ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง (Rigidity) คือหากผู้อื่นจับแขนหรือขาของผู้ป่วยแล้วขยับไปมา จะรู้สึกมีแรงต้านทานเกิดขึ้น ขยับไม่ได้ง่ายเหมือนคนปกติ
        การทรงตัวขาดความสมดุล (Postural instability) ส่วนใหญ่จะพบเมื่อโรคเป็นมานานแล้ว โดยเวลาที่ผู้ป่วยยืน ช่วงลำตัวจะเอนไปด้านหน้า ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของลำตัวเอนไปด้านหน้าเช่นกัน ผู้ป่วยจึงเสี่ยงต่อการล้มได้ง่ายโดยเฉพาะเวลาเดิน
    อาการทางจิตประสาท ผู้ป่วยอาจจะเกิดภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
        ภาวะซึมเศร้า พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย อาจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ หรือในระยะหลังๆของโรคก็ได้
        อาการวิตกกังวล มีความรู้สึกกระวนกระวายใจ ไม่มีความสุข
        อาการทางจิต/โรคจิต เช่น จิตเภท (เห็นภาพหลอน หลงผิด)
        การนอนหลับผิดปกติ โดยจะรู้สึกเฉื่อยชาและง่วงนอนในช่วงกลางวัน ในเวลากลางคืนจะนอนไม่ค่อยหลับ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอาการตัวแข็งและการเคลื่อนไหวร่าง กายที่ช้าลงที่อาจเป็นมากในช่วงกลางคืน และทำให้การขยับตัวขณะนอนหลับเป็นไปได้ลำบาก ผู้ป่วยจึงสะดุ้งตื่นเรื่อยๆ
        การเรียนรู้ถดถอยลง จะพบในระยะหลังๆของการเป็นโรค ผู้ป่วยจะจดจำเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆได้ยากขึ้น สมาธิในการทำงานลดลง ทำงานที่มีความซับซ้อนได้ยากกว่าปกติ เช่น การจัดทำแผนงานเพื่อทำโครงการต่างๆ การบริหารงาน แต่ทักษะในการคำนวณตัวเลข และการใช้ภาษาต่างๆยังคงทำได้ดีเหมือนเดิม
        อาการหลงลืม ความจำเสื่อม ส่วนใหญ่จะพบในระยะหลังๆของการเป็นโรค ซึ่งจะแตกต่างจากโรค Alzheimer’s disease ที่มีอาการพาร์กินสันร่วม ซึ่งจะมีอาการหลงลืมเป็นอาการเด่นนำมาก่อนตั้งแต่ต้น ส่วนอาการของระบบประสาทสั่งการจะไม่เด่นชัดและจะปรากฏในช่วงหลังของโรค
    อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งเป็นยืน ทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ แต่จะไม่ถึงกับเป็นลมหมดสติ ท้องผูก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เหงื่อออกมาก เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด