โรคสันนิบาต หมายถึง โรคสันนิบาต นี้ต่างกับ โรคพาร์กินสัน ไหม


3,032 ผู้ชม

โรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคพาร์กินสัน


โรคสันนิบาต หมายถึง โรคสันนิบาต นี้ต่างกับ โรคพาร์กินสัน ไหม

          โรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคพาร์กินสัน ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, โมฮัมเหม็ด อาลี, ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ยัสเซอร์ อาราฟัต, ดัดลีย์ มัวร์, จอนนี่ แคช เป็นต้น
          โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก
          ในอดีตเข้าใจผิดว่า โรคพาร์กินสันมีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิด ขึ้นที่ในเนื้อสมองส่วนลึก อาการของโรคพาร์กินสันในระยะแรก แพทย์อาจยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่ง อาการต่างๆ ถึงจะปรากฎเด่นชัดขึ้น

กลไกการเกิดโรค

โรคพาร์กินสันเกิดจากการตายของเซลล์สมองที่เรียกว่า Substantia nigra pars compacta (SNpc) สาเหตุการตายของเซลล์มีหลายทฤษฎี ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน คือทฤษฎีออกซิเดชั่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมบางอย่าง และอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด

สารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ โดปามีน และอะซิทิลโคลีน ซึ่งอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดปามีนตายไป สมดุลดังกล่าวก็เสียไป ร่างกายจึงเกิดความผิดปกติขึ้น ปรากฏเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน

อาการของโรค

โรคพาร์กินสันทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่ อาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

  1. อาการสั่น มักเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ มีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหว หรือยื่นมือทำอะไร อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง สังเกตได้จากมือสั่นเวลาผู้ป่วยเดิน
  2. อาการเกร็ง มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ปวดตามกล้ามเนื้อ
  3. อาการเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม เดินช้าและงุ่มง่าม แบบสโลว์โมชั่น สังเกตได้ว่าแขนไม่แกว่ง และผู้ป่วยมักบ่นว่าแขนขาไม่มีแรง

แนวทางการรักษา

การรักษาทางยา

ยาที่ให้แม้จะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวกลับมาหรืองอก ใหม่ทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ยาจะออกฤทธิ์โดยไปเพิ่มโดพามีนในสมองให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย แต่การใช้ยาต้องอาศัยความร่วมมือกับคนไข้ในการกินยาอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีการปรับขนาดยาไม่ให้ยามากหรือน้อยเกินไป เพราะยาเหล่านี้มักจะมีผลข้างเคียงหากใช้ในขนาดไม่เหมาะสม รายละเอียดเรื่องการใช้ยาจะได้กล่าวในตอนต่อไป

การรักษาทางกายภาพบำบัด

เราต้องการให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนมาสู่การมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงเหมือน เดิมให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การรักษาทางกายภาพบำบัดจะช่วยได้ในการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน ท่าเดิน นั่ง การทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น หลังโกง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดขา เป็นต้น

การรักษาโดยการผ่าตัด

ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางประสาทศัลยกรรม มีวิธีใหม่ๆอย่างเช่น DBS (Deep Brain Stimulation) เป็นการผ่าตัดแบบใหม่ โดยอาศัยการฝังสายเพื่อกระตุ้นทางไฟฟ้าอย่างอ่อนในสมองส่วนที่เรียกว่า Globus Pallidus หรือ Subthalamic mucleus ส่งผลให้คนไข้ที่เคยมีอาการสั่น ให้กลับมาเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการวิจัยการปลูกถ่ายเซล (Transplantation) โดยผ่าตัดสมองโดยเอาเนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต หรือปมประสาทบริเวณคอไปปลูกเลี้ยงในโพรงสมองเพื่อให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ สร้างสารเคมีโดพามีนขึ้นมาทดแทนส่วนที่สมองขาดไปได้ ผลดีของการรักษาวิธีนี้ คือ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องกินยาหรือลดขนาดยาลงได้ เพราะยาส่วนใหญ่มีราคาแพง ส่วนผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดก็มีมากเช่นกัน นิยมตัดในรายผู้ป่วยที่อายุน้อยและมีอาการไม่มากนัก และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูง

อัพเดทล่าสุด