ระยะ + อาการไข้เลือดออก


5,273 ผู้ชม


ระยะ + อาการไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกมีผื่นบนหน้า อาการไข้เลือดออก ในเด็ก

ระยะ + อาการไข้เลือดออก

การดำเนินโรคของไข้เลือดออก

แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะไข้สูง ระยะวิกฤติ/ช็อค และระยะฟื้นตัว

  1. ระยะไข้สูง
  • ลักษณะเป็นไข้สูงเฉียบพลัน 39-41 องศาเป็นเวลา 2-7 วัน ผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจจะมีอาการชักได้ หน้าจะแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอ ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร อาเจียน เลือดออก ตับโตและกดเจ็บ แต่ตัวไม่เหลือง มีผื่นตามตัว ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูไหลหรือไแทำให้แยกจากไข้หวัด
  • ในระยะไข้ อาการทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยได้แก่อาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย ในระยะแรกจะปวดทั่วไป แต่ต่อมาจะปวดชายโครงข้างขวาเนื่องจากตับโต
  • ไข้ส่วนใหญ่จะอยู่ลอย 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 70 จะมีไข้ 4-5 วัน รายที่มีอาการเร็วที่สุดคือ 2 วัน ร้อยละ 15 จะมีไข้เกิด 7 วัน
  • อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือจุดเลือดออกตามผิวหนังเนื่องจากเส้นเลือดเปราะ หรือทำ การทำ touniquet test จุดเลือดออกจะพบตามแขน ขา ลำตัว รักแร้อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
  1. ระยะวิกฤติหรือระยะช็อค

  • ระยะวิกฤติหรือระยะช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้ เริ่มจะลง เกิดจากการรั่วของพลาสม่า โดยจะร่วประมาณ 24-48 ชั่วโมง ประมาณหนึ่งในสามจะมีอาการรุนแรงมีภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากเกิดการรั่ว ของพลาสมาไปยังปอด หรือช่องท้องซึ่งจะเกิดพร้อมๆกับไข้ลง ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3-8 ของไข้ ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพขจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตลดลงมากกว่า 20 มม ปรอท ผู้ไข้เลือดออกที่อยู่ในภาวะช็อกจะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจจะบ่นกระหายน้ำบางรายอาจจะมีภาวะปวดท้อง ภาวะช็อกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว รอบปากเขียว ผิวสีม่วง ตัวเย็น วัดความดันไม่ได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง
  • ในรายที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยจะดีขึ้น บางรายอาจจะมีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพขจรเบา เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาไม่รุนแรงจึงไม่เกิดอาการช็อก

ระหว่างการเกิดภาวะช็อกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ

  1. มีการรั่วของพลาสมาทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ซึ่งมีหลักฐานคือ
  • ระดับควาเข้มของเลือด(Hematocrit Hct)เพิ่มขึ้นก่อนเกิดภาวะช็อก และขณะช็อก และยังอยู่ในระดับสูงหากยังมีการรั่วของพลาสมา
  • มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง
  • ระดับโปรตีนและไข่ขาวในเลือดต่ำเนื่องจากรั่วออกไป
  • หากเราใส่สายเข้าในหัวใจ จะพบว่าแรงดันในหัวใจต่ำซึ่งบ่งบอกว่ามีปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลง
  • ตอบสนองต่อการให้น้ำเกลือ
  1. ความต้านทาน(peripheral resisitance)ในระบบไหลเวียนเพิ่มดังจะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าความดัน โลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวแคบ เช่น 100/90(ปกติต้องต่างกันประมาณ 30 )
  1. ระยะพักฟื้น

  • ระยะพักฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อคเมื่อไข้ลดลงอาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยเริ่มอยากจะรับประทานอาหาร เริ่มปัสสาวะมากขึ้น ชีพขจรช้าลง
  • ส่วนผู้ป่วยที่ช็อก หากได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว การรั่วของพลาสมาจะหยุด ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ชีพขจรช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น ผู้ป่วยจะอยากรับประทานอาหาร ระยะฟื้นตัวใช้เวลา 2-3 วัน

รวมระยะเวลาของการเป็นไข้เลือดออกใช้เวลา 2-7 วัน

การเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ

  • เม็ดเลือดขาวจะต่ำกว่าปกติ[<5,000] แต่ในวันแรกอาจจะสูงเล็กน้อยอาจจะมีเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonucleus [PMN] ประมาณร้อยละ 70-80 เมื่อไข้ลงจะกลายเป็น lymphocyte
  • เกล็ดเลือด(platelet)ต่ำลงอย่างรวดเร็วน้อยกว่า 100,000 และต่ำอยู่3-5 วัน
  • ความเข้มของเลือด(Hemoconcentration)เพิ่มขึ้น เช่นจาก 40%เป็น 44 %
  • ในระยะช็อกเลือดจะออกง่ายเนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไป
  • การตรวจรังสีของปอดอาจจะพบว่ามีน้ำในช่องปอด
  • การตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบโดยมีการเพิ่มขึ้นของ sgot,sgpt ประมาณ2-3 เท่า 

อาการไข้เลือดออกมีผื่นบนหน้า

การติดเชื้อไข้แดงกิ่ว Denque Fever

ระยะฟักตัว(หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคแล้ว เกิดอาการ)ประมาณ 4-6 วันโดยเฉลี่ย 3-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว หลังจากนั้นจึงมีไข้สูงหนาวสั่นปวดศรีษะมาก หน้าแดง ภายใน 24 ชั่วโมงจะมีอาการปวดกระบอกตา เวลากรอกตาจะปวดเพิ่มขึ้น ไม่กล้าสู้แสง ปวดหลังปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ปวดท้อง บางคนมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย

  • ไข้สูง 39-40 องศาไข้มักจะขึ้นสูงวันละ 2 ครั้ง
  • ผื่น ในช่วงแรกๆของไข้จะมีผื่นขึ้นที่หน้า คอ หน้าอก ลักษณเป็นผื่นแดงๆ ผื่นอาจจะอยู่ 3-4
    ข้อสรุปไข้เลือดออกแดงกิ่ว
    1. ไข้เหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป หรือกลุ่มอาการไวรัสทั่วไป มักจะพบในทารกหรือเด็กเล็ก จะปรากฎอาการอาการเพียง 2-3 วัน บางครั้งอาจจะเกิดผื่นแบบเชื้อไวรัสธรรมดา
    2. ไข้แดงกิ่วมักจะเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาจจะมีอาการไม่รุนแรง คือมีเพียงาการไข้ร่วมกับปวดศีรษะ เมื่อยตามตัว เมื่อยตามตัวหรืออาจจะมีอาการแบบไข้แดงกิ่ว ผู้ที่สงสัยว่าจะมีไข้แดงกิ่วคือผู้ที่มีไขัทันที และมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
      • ปวดศีรษะ
      • ปวดกระบอกตา
      • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
      • ปวดข้อมือ
      • ผื่น
      • อาการจุดเลือดออก
      • ตรวจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
    วันหลังจากนั้นจะจางลงพร้อมมีผื่นไข้เลือดออกตามมา ซึ่งมักจะปรากฎที่หลังเท้า หลังมือ แขน
  • มีจุดเลือดออกตามผิว

การดำเนินของโรค

ความรุนแรง ระยเวลาที่เป็นโรคของแต่ละคนมีความแตกต่างกันมาก บางคนอาจจะมีอาการช่วงสั้น แต่บางคนอาจจะมีอาการนาน บางคนอาจจะมีอาการเป็นสัปดาห์

การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์

  • ผลการตรวจเลือด CBC มักจะปกติ ในช่วงไข้เม็ดเลือดขาวอาจจำต่ำ
  • เกร็ดเลือดมักจะมีจำนวนลดลง
  • ผลการทำงานของตับมักจะปกติ
  • ผู้ป่วยดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการตรวจน้ำเหลือง[HI>1280,Positive IgM/IgG Elisa test]
  • ยืนยันการติดเชื้อไวรัสแดงกิวหรือการที่มีรายงานการระบาดของเชื้อในบริเวณนั้ให้สงสัยว่าเป็นไข้แดงกิวเรียกว่า propable case

ส่วน confirmed case คือผู้ป่วยที่มีผลการตรวจแยกเชื้อไวรัส และหรือการหาแอนติบอดียืนยันการติดเชื้อแดงกี

การดูแลผู้ป่วยแดงกิ่ว Denque fever

การดูแลผู้ป่วยในระยะนี้เพียงประคับประคองเท่านั้นรักษาตามอาการ การรักษาประกอบไปด้วย

  • การดูแลในระยะไข้สูง
  • การพักผ่อนในระยะที่มีไข้
  • การเช็ดตัวหรือการให้ยาลดไข้โดยพยายามให้อุณหภูมิของ ร่างกายต่ำกว่า 40 องศา ยาลดไข้ที่ใช้ได้ผลดีคือพาราเซ็ตตามอล paracetamol ไม่ควรใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • ยาแก้ปวดสำหรับคนที่มีอาการปวด
  • การให้น้เกลือแร่ทางปากกรณีที่มีอาเจียนหรือเสียเหงื่อมาก

ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินจนกระทั่งไม่มีไข้ และผลเลือดกลับสู่ปกติ 

อาการไข้เลือดออก ในเด็ก

รู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกที่ชื่อว่า เดงกี (Dengue) ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี 1, 2, 3 และ 4 โดยมีพาหะนำโรคคือเจ้ายุงลาย พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีแต่พบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงเอื้อต่อการขยายพันธุ์ของยุงลาย


วัยใส...วัยแพ้ภัยเจ้ายุงลาย
 
จากข้อมูลสถิติพบว่าช่วงวัยของผู้ป่วยที่แพ้ภัยเจ้ายุงลายนี้ อยู่ในช่วงอายุ 5-14 ปีค่ะ โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 5-9 ปี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะพบในกลุ่มอายุที่มากขึ้น
แต่ถึงแม้ว่าร่างกายจะได้รับเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเข้าไปแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการถึงร้อยละ 85-90

 

อย่างไรก็ดี การป้องกันไว้ย่อมดีกว่าค่ะ เพราะถ้าหากว่าภูมิต้านทานของเจ้าหนูเกิดตกเป็นรองเจ้าเชื้อไวรัสไข้เลือดออกขึ้นมา ลูกน้อยก็จะเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ ดังนั้นเรามารู้ทันอาการของโรคนี้กันดีกว่า
จะรู้ได้ยังไง...ว่าลูกเป็นไข้ (เลือดออก) หรือเปล่า 
 
ในกลุ่มที่มีอาการสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
    1. อาการที่เหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วๆ ไป ซึ่งมักพบในเด็กเล็ก อาจมีอาการไข้อย่างเดียว หรืออาจมีผื่นร่วมด้วย
    2. ไข้แดงกี มักพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ และปวดกระดูก โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรง
    3. ไข้เลือดออก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด กรณีที่มีการรั่วมาก อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะ   ช็อกได้
เรามีวิธีสังเกตสัญญาณการรุกรานของไข้เลือดออกมาฝากค่ะ 
 
การดำเนินโรคของไข้เลือดออกแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 
 
ระยะที่ 1 ระยะ ไข้สูง จะมีอาการไข้สูงประมาณ 2-7 วัน สามารถสังเกตได้คือแม้จะกินยาลดไข้ยังไง ไข้ก็ไม่ยอมลด เนื้อตัวและใบหน้าจะแดงกว่าปกติ บางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ หรือมีผื่นขึ้น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจพบว่ามีจุดเลือดออกตามตัว
ระยะที่ 2 ระยะวิกฤต คือหลังจากที่มีไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว และจะมีการรั่วของพลาสมา หรือน้ำเหลืองออกนอกเส้นเลือด ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงค่ะ ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย
ในกรณีที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีการรั่วของพลาสมาเป็นจำนวนมาก และถ้าให้สารน้ำโดยการกินหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือดทดแทนไม่ทัน ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำหรือที่เรียกว่าช็อกได้ 
 
ระยะที่ 3 ระยะพักฟื้น เป็นระยะที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการโดยทั่วไปดีขึ้น โดยสังเกตได้ดังนี้

 
    - คนไข้เจริญอาหารมากขึ้น  
    - ชีพจรเต้นช้าลง
    - ในผู้ป่วยบางราย จะพบมีผื่นขึ้นตามร่างกาย เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น
    - ปัสสาวะออกมากขึ้น เมื่อเทียบกับระยะวิกฤต
หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้างต้น ก็ถือว่ากำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วล่ะค่ะ ตามปกติในช่วงระยะพักฟื้น คุณหมอจะหยุดการให้สารน้ำหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือด มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกินได้
แล้วจะให้การวินิจฉัยได้อย่างไร?  


เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาเฉพาะ การเฝ้าติดตามสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด จะได้พาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์ได้ทันเวลาและได้รับการดูแลที่เหมาะสมต่อไป
 
การวินิจฉัยโดยใช้อาการทางคลินิกร่วมกับการตรวจนับเม็ดเลือด โดยดูการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นเลือด จำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด จะช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 95 และมักจะชัดเจนขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีไข้มาแล้วโดยเฉลี่ยประมาณ 3-8 วัน 
การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเดงกี ในปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลโฆษณาและสามารถให้บริการการตรวจประเภทนี้ได้ ซึ่งเป็นการตรวจที่มีราคาแพง จะได้ผลดีถ้าตรวจในระยะที่ผู้ป่วยยังมีไข้หรือในช่วงแรกของการเจ็บป่วยนั่น เอง
 
อีกประเภทหนึ่งคือการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส  ส่วนใหญ่เป็นการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย บางวิธีต้องเจาะเลือดตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ จึงไม่ได้ช่วยในการรักษาของคุณหมอเท่าใดนัก เพราะคนไข้หายป่วยกลับบ้านไปแล้วผลการตรวจจึงจะกลับมา แต่เป็นการตรวจที่ราคาไม่แพง
 
เมื่อทราบดังนี้แล้ว ควรพิจารณาว่าการตรวจเหล่านี้ มีความจำเป็นต่อลูกน้อยที่ป่วยเป็นไข้มากน้อยเพียงใด ควรสอบถามข้อมูลจากคุณหมอให้เข้าใจ เพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ
รู้ทัน...รักษาได้ 

การรักษายังคงเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น แต่การรักษาที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่และเฝ้าระวังติดตามอาการของโรคตามที่คุณหมอแนะนำ ค่ะ
* ระยะไข้สูงลอย

เป็นระยะสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้การดูแลสุขภาพของเจ้าตัวเล็กอย่างใกล้ชิดค่ะ
    - เมื่อพบว่าลูกเป็นไข้สูงลอย ให้กินยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวให้บ่อยๆ เพื่อลดไข้ แต่มีข้อห้ามที่สำคัญคือ ห้ามกินยาแอสไพรินหรือยาในกลุ่มลดไข้สูง เนื่องจากมีผลทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
    - รับประทานอาหารตามปกติและพักผ่อนอย่างเพียงพอพยายามให้เจ้าหนูรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดูดซึมง่าย
* ระยะวิกฤต

ในช่วงท้ายของระยะไข้สูงลอยประมาณ วันที่ 3-5 หลังจากเริ่มมีไข้ ขอให้คุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตอาการให้ดี ถ้าเจ้าหนูมีอาการผิดปกติ ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วค่ะ คุณหมอจะทำการประเมินอย่างละเอียด และจะให้สารน้ำทางเส้นเลือดเพื่อทดแทนพลาสมาที่สูญเสียไป ป้องกันไม่ให้เข้าสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือช็อกค่ะ ใช่ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกรายนั้นจะมีอาการรุนแรงเช่นนี้เสมอไป เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงพบได้เป็นส่วนน้อย แต่ก็ไม่ควรประมาทนะคะ
รู้ทัน...ป้องกันได้  
    - กำจัดลูกน้ำยุงลาย บอกเจ้าหนูว่ายุงลายชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง ชวนให้เขาช่วยเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ อ่างเลี้ยงปลา ปิดฝาภาชนะใส่น้ำต่างๆ ให้มิดชิด
 
    - สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวหนู เช่น ห้องนอน ควรมีมุ้งลวดกันเจ้ายุงมาเกาะแกะ
 
    - ดูแลตัวเองและคนที่หนูรัก ตัวหนูก็ต้องคอยดูแลสุขภาพตัวเองนะคะ ต้องหม่ำอาหารที่มีประโยชน์ และนอนลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หวังว่าคงคลายกังวลถึงภัยร้ายของเจ้ายุงลาย และเตรียมตัวตั้งรับกับไข้เลือดออกได้อย่าง "รู้ทัน" แล้วนะคะ
ที่มา Kids&School

Link 
https://www.siamhealth.net
https://www.tinyzone.tv

อัพเดทล่าสุด