พยาธิสภาพโรคไข้เลือดออก


2,396 ผู้ชม


พยาธิสภาพโรคไข้เลือดออก ภาพไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกระบาด

 เชื้อ Dengue virus มีสารพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยว สายบวก มีขนาด 40-60 nm อยู่ใน genus Flavivirus, Family Flaviviridae ซึ่งใน Family Flaviviridae ประกอบด้วย 3 genus คือ

1. Genus Flavivirus
        - Dengue virus ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
        - Japanese Encephalitis(JE) virus ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบ
        - Yellow fever(YF) virus ทำให้เกิดโรคไข้เหลือง

2. Genus Pestivirus ได้แก่เชื้อ Bovine viral diarrhea virus

3. Genus Hepacivirus ได้แก่เชื้อ Hepatitis C virus


        เชื้อไข้เลือดออกประกอบด้วย 4 serotype คือ DEN1,DEN2,DEN3 และ DEN4 โดยทั้ง 4 serotype มี antigen บางชนิดร่วมกัน ทำให้เกิด cross-reaction ได้แต่ไม่ถาวร เมื่อติดเชื้อ serotype หนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อ serotype นั้นตลอดชีวิต แต่จะไม่ป้องกัน serotype อื่นได้

        นอกจากนี้ antibody ของเชื้อ Dengue virus ยังมีคุณสมบัติเป็น Enhancing antibody คือ เมื่อเราติดเชื้อครั้งแรกแล้ว การติดเชื้อครั้งต่อไป antibody ในร่างกายเราจะส่งเสริมการติดเชื้อได้มากขึ้นด้วย เกิดขบวนการ Antibody-dependent enhancement โดย antiody ที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสจะจับกับอนุภาคของไวรัสเข้าสู่เซลล์ผ่านตัวรับของ antobody(Immunoglobulin receptor/FC receptor)

การติดต่อ

        ติดต่อกันโดยมียุงลายบ้านตัวเมีย(Aedes spp.) เป็นพาหะ โดยผู้ป่วยจะถูกกัดโดยยุงลายที่มีเชื้อ


อาการ

        dengue

         การติดเชื้อ dengue virus จะพบอาการทางคลินิคได้ดังนี้

1. ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ

2. มีอาการไข้แยกจากสาเหตุอื่นได้ยาก(undifferentiated viral syndrome)
        มีอาการคล้ายคลึงกับการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการทางคลินิคได้ จะมีไข้ 2-3 วัน บางครั้งอาจมีผื่นแบบ macrolopapula rash

3. ไข้แดงกี่ (Dengue fever,DF)
        มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ อาจมีเพียงไข้หรือ มีอาการแดงกี่ชัดเจนคือ ปวดศรีษะ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดกล้านเนื้อตามตัว ปวดข้อ ปวดเบ้าตา บางรายอาจมีเลือดออกที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ บางรายอาจพบเกล็ดเลือดต่ำ เมื่อทำการทดสอบ touniquet test จะให้ผลบวกที่ชัดเจน

4. ไข้เลือดออก(dengue haemorrhagic fever,DHF)
        ไข้เลือดออก(DHF) ต่างจากไข้แดงกี่(DF) คือมีการรั่วของพลาสม่า(leakage of plasma) อาการเริ่มจากมีไข้สูงทันที ไข้มักสูงลอย เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ปวดศรีษะ อาการ 2-3 วันแรกจะคล้ายกับไข้แดงกี่(DF) อาการจะรุนแรงที่สุดในช่วงวันที่ 2-7 พบจุดมีเลือดออกเล็กๆ กระจายตามลำตัว และใบหน้า บางรายอาจมีเลือดำเดาออกอาเจียนเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นเลือด เมื่อทำ touniquet test จะให้ผลบวกที่ชัดเจน ลักษณะอาการที่เด่นชัด 4 ประการ คือ ไข้สูงเฉียบพลัน เลือดออก ตับโต และมีอาการช็อค(Dengue Shock Syndrome,DSS)
        ในรายที่มีอาการช็อคเกิดจากระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลว เนื่องจากมีการรั่วของพลาสม่า โดยพบว่าผนังของหลอดเลือดฝอยมี permeability เพิ่มขึ้น เกิดการรั่วของพลาสม่าเข้าสู่ serous space พบ albumin ต่ำ ปริมาตรเลือดของผู้ป่วยลดลง เกิด hypovolumic shock สามารถดูได้จากค่า Hct ที่สูงขึ้น
        จากการศึกษาพบว่า DHF ส่วนใหญ่จะเป็น secondary infection เพราะผู้ป่วยจะมี antibody จากการติดเชื้อครั้งแรก(primary infection) ทำให้เกิดการส่งเสริมการติดเชื้อได้มากขึ้น(antibody-dependent enhancement) ส่วนการติดเชื้อครั้งแรก(primary infection) จะมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่จะหายเอง ในทำนองเดียวกันในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี จะมี antibody IgG ของเชื้อ dendue virus ที่ผ่านรกจากแม่มาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็น passive dengue IgG antibody แต่มีปริมาณน้อยไมาสามารถป้องกันโรคได้แต่สามารถทำให้เกิด antibody-dependent enhancement ได้เช่นกัน


พยาธิสภาพของ DHF

        จากรูปภาพข้างบนสามารถสรุปพยาธิสภาพโดยรวมของ DHF คือ

1. มีไข้สูงลอยตลอดเวลา

2. เมื่อทำ tourniquet test จะ positive โดยพบเป็นจุดเลือดออก ตามตัว แขนขา และใบหน้า

3. มีการเพิ่มขึ้นของ permeability ของผนังหลอดเลือด เกิดการรั่วของพลาสม่า ทำให้ปริมาตรเลือดลดลงเกิด hypovolaemia ซึ่งจะทำให้อาการช็อค และอาจเสียชีวิตได้

4. มีตับโต(hepatomegaly) จะคล่ำได้ในวันที่ 3-4 ของโรค แต่ไม่พบ jaudice

5. มีเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia) เกิดความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด(coagulopathy) ทำให้เกิดการแข็งตัวในหลอดเลือด(Dessiminated Intravascular Coaglulation,DIC)

ระดับความรุนแรงของ DHF สามารถแบ่งได้เป็น 4 grade คือ

- Grade I    มีไข้และมีอาการร่วมอื่นๆแต่ไม่จำเพาะ แต่เมื่อทำ tourniquet test จะให้ผล positive

- Grade II    อาการเหมือน grade I แต่ที่เพิ่มเติมคือ พบเลือดออกเป็นจุดเลือดใต้ผิวหนัง

- Grade III    ระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มล้มเหลวเกิดอาการช็อค ชีพจรเร็ว เบา pulse pressure แคบ ความดันโลหิตต่ำ ริมฝีปากเขียว ตัวเย็น กระสับกระส่าย

- Grade IV    แสดงอาการช็อครุนแรง ความดันโลหิตและชีพจรวัดไม่ได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. การตรวจ tourniquet test(TT)
      คือ วิธีการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดที่มีขนาด cuff พอเหมาะ กับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วย  คือครอบคลุมประมาณ 2 ใน 3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ ที่กึ่งกลางระหว่าง systolic คือ ความดันระยะหัวใจบีบตัว ความดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงร่างกาย   และ diastolic pressure คือ ความดันระยะหัวใจคลายตัว ความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว หลังจากที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงร่างกายแล้ว ความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวมีค่าน้อยกว่าความดันเลือดระยะหัวใจบีบตัว   รัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นจึง คลายดัน  รอ  1 นาทีหลังคลาย ความดันจึงอ่านผลการทดสอบ ถ้าตรวจพบจุดเลือดออก เท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้วถือว่า ให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวน จุด ต่อตารางนิ้ว ทั้งรายที่ให้ผลบวกและรายที่มีน้อยกว่า 10 จุด

        พบว่า sensitivity ของ tourniquet test อยู่ที่ 53%, 91% และ 99% ของวันที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ และมีความจำเพาะ specipicity อยู่ที่ประมาณ 75% ทั้งนี้ tourniquet test สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม(false positive) ได้เช่นกัน โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตัวอื่น

2. Complete Blood Count(CBC)

2.1 White Blood Cell(WBC)
      ส่วนใหญ่จะพบเม็ดเลือดขาวปกติหรือต่ำลง ซึ่งเกิดจากภาวะ active hemophagocytosisโดยระยะ 1-3 วันแรกจะพบว่า lymphocyte ต่ำลง ทำให้เกิดภาวะ relative neutrophilia และ absolute lymphopenia แต่หลังจากนี้เม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte จะต่ำลงในช่วงวันที่ 3-8 จะพบภาวะ relative lymphocytosis และ absolute neutropenia และจะพบ atypical lymphocyte ประมาณร้อยละ 15-35%

รูปแสดง atyphical lymphocyte

2.2 Hematocite(Hct) และ Hemoglobin(Hb)
      ค่า Hct มักสูงเกินกว่า 40% บางรายอาจพบสูงถึง 50-60% ส่วนค่า Hb จะพบว่าสูงมากกว่า 14 g/dl ซึ่งค่า Hb และ Hct ที่สูงขึ้นเกิดจากการรั่วของพลาสม่า การตรวจ Hct เป็นระยะสามารถเฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยได้

2.3 Platelet
      ผู้ป่วยจะมีเกล็ดเลือดต่ำลงประมาณวันที่ 3 โดยส่วนใหญ่จะต่ำกว่า 100,000/cu.mm เกล็ดเลือดจะสูงขึ้นหลังจากวันที่ 7 ไปแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9-10 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำลงคือ
      - มีการกดไขกระดูก ทำให้เซลล์ในไขกระดูกมีจำนวนน้อยและการเจริญเติบโตหยุดอยู่ชั่ว ขณะ(maturation arrest) ที่สำคัญคือ มี maturation arrest ของ megakaryocyte
      - ในไขกระดูกมีการสร้าง small lymphocyte,monocyte, reticulum cell และ histocyte เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเซลล์เหล่านี้มีการจับกิน platelat มากขึ้น
      - ระบบ immune complex ที่เกิดขึ้นอย่างมากในผู้ป่วย DHF อาจทำให้ platelet มีการ absorb เอา antibody ไว้ผนังของ platelet ไว้มาก ซึ่งทำให้ platelet ถูกจับกินโดยตับและม้าม

3. การตรวจ chemistry

3.1 Albumin ในกระแสเลือดมีปริมาณลดลง เนื่องมาจากมีการรั่วของพลาสม่า ในรายที่รุนแรงจะมีค่า albumin ต่ำมาก อัตราส่วน A:G (albumin:globulin) น้อยกว่า 1

3.3 SGOT,SGPT สูงขึ้น และจะสูงมากในรายที่รายแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก anoxia และมีการทำลายเซลล์ตับ

3.4 ALP, GGT และ bilirubin ปกติ

3.5 Electrolyte พบว่ามีภาวะ hyponatremia คือ มีระดับ sodium(Na+) และ chloride(Cl-) ต่ำ และจะมีความรุนแรงอย่างมากในภาวะช็อค ซึ่งมีสาเหตุมาจาก มีการอาเจียน เหงื่อออกมาก และเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังพบว่ามีระดับ ของ CO2 ในกระแสเลือดต่ำลงมาก 

4. การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ dengue virus

      4.1 Primary infection ในการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อไวรัส โดยพบ
            - IgM จะถูกสร้างประมาณวันที่ 5 หลังจากมีอาการ และสูงนานประมาณ 1-3 สัปดาห์ บางครั้งอาจจะอยู่ได้นานถึง 60 วัน
            - IgG จะตรวจพบประมาณวันที่ 14 และจะอยู่นานตลอดชีวิต

      4.2 Secondary infection
            - IgM จะถูกสร้างหลังจากติดเชื้อประมาณ 20 วัน จะพบในปริมาณต่ำ หรือบางครั้งไม่สามารถวัดได้ หรืมีระยะเวลาที่อยู่ในกระแสเลือดน้อยกว่า primary infection
            - IgG จะสูงขึ้นภายในวันที่ 1-2 หลังจากที่มีอาการและจะพบในปริมาณสูงกว่า primary infection และจะอยู่สูงนาน 30-40 วัน

5. การตรวจ Dengue NS1 antigen

            Dengue NS1 antigen จะถูกสร้างตั้งแต่วันแรกหลังจากมีอาการไข้และจะสูงนานประมาณ 9 วัน โดยจะพบได้ทั้ง primary และ secondary infection ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ตรวจหาเชื้อ dengue virus ในวันแรกๆ

รูปแสดงการเกิด immune response ต่อเชื้อ dengue virus

ภาพไข้เลือดออก

ประกวดวาดภาพไข้เลือดออก

เด็กหญิงแสนนรินทร์  แซ่ลิ้ม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางกะพ้อม (คงลาภยิ่งประชานุสรณ์) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับมัธยมศึกษา จากการประกวดวาดภาพไข้เลือดออก "บ้านเพาะรักไม่เพาะยุง"  ระดับประเทศ จัดโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ หอศิลปวัฒนธรรมแ่ห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 

โรคไข้เลือดออกระบาด

ระวัง!! "ไข้เลือดออก" ระบาดหนักแล้ว

สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          เว็บไซต์ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์ แจ้งว่า สัปดาห์ที่แล้วสัปดาห์เดียว สิงคโปร์พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 401 คน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในปีนี้ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งไว้ ว่าหากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ 378 คน ขึ้นไปในสัปดาห์เดียวจะประกาศว่าเกิดการระบาด

          ทั้งนี้ นอกจากสิงคโปร์แล้ว ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ไทย มาเลเซียและกัมพูชา ก็กำลังมีปัญหาไข้เลือดออกระบาดเช่นกัน สาเหตุเกิดจากอากาศที่ร้อนขึ้น และฝนตกเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่า ปีนี้อาจเป็นปีที่ไข้เลือดออกระบาดหนักที่สุด

          อย่างไรก็ตาม ผศ.เหลียว หยีซิน ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ศูนย์โรคติดต่อในสิงคโปร์เตือนว่า ช่วงกลางเดือนสิงหาคมและกันยายนอาจเป็นช่วงที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่ สุด เพราะเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ด้านฝ่ายสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมจึงขอให้ประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุง เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาไข้เลือดออกระบาด


ไข้เลือดออก

          สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ เด็งกิ่ว โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ

          อาการ พบมากช่วงอายุ 5 – 9 ปี  อาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

         1. ระยะไข้สูง (2 - 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นอย่างเฉียบพลัน เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ คอแดงเล็กน้อย ปวดบริเวณลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มีอาการซึม หน้าแดง ผิวหนังแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้น และจุดเลือดออกเล็กๆ ตามผิวหนัง บางรายอาจมีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน

          2. ระยะวิกฤต/ช็อก (1 - 2 วัน) ระยะเลือดออก ไข้ลดลงเร็ว กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว เบื่ออาหารมากขึ้น ไม่รับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ เมื่อเข้าสู่ระยะช็อค ชีพจรจะเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่ายมากขึ้น เหงื่อออก ปัสสาวะน้อย บางรายมีอาการอาเจียนเป็นเลือด อาจเสียชีวิตได้ ระยะช็อคจะอยู่ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง ถ้าไม่เสียชีวิตจะเข้าสู่ระยะที่ 3

          3. ระยะฟื้นตัว (2 - 3 วัน) เมื่อพ้นจากระยะที่ 2 จะเข้าสู่ระยะปรกติ คือ ผู้ป่วยจะสบายขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการต่างๆ จะหายไปภายใน 2 - 3 วัน และเริ่มรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้

การดูแลรักษา

          รักษาตามอาการ และความรุนแรง ถ้าอาการไม่รุนแรง อาจหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ในรายที่รุนแรง รักษาตามอาการ หรือรักษาประคับประคองไม่ให้ทรุดหนัก โดยให้อาหารอ่อนย่อยง่าย นม น้ำผลไม้ และน้ำในรูปเกลือทดแทนถ้าอาเจียนมาก น้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยหรือบ่อยๆ ให้ยาแก้อาเจียน

 ข้อห้าม 

          ไม่ควรให้ยาแอสไพริน ลดไข้รับประทานถ้าไม่จำเป็น เพราะฤทธิ์ยาจะทำให้เส้นเลือดเปราะและแตกง่าย หรืออาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดได้ เนื่องจากสับสนกับอาการเหงื่อออกจากฤทธิ์ยาลดไข้ กับอาการตัวเย็นชื้นที่จะเข้าสู่ภาวะช็อค

ข้อควรปฏิบัติ

          ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ หรือให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการลดไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง

 ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

          Ø  มีอาการซึมลง เมื่อไข้ลด

          Ø  มีเลือดออกผิดปกติ

          Ø  ปวดท้อง อาเจียนมาก กระหายน้ำตลอดเวลา

          Ø    มีอาการช็อก: กระสับกระส่าย เอะอะ โวยวาย มือเท้าเย็น ตัวเย็น   เหงื่อออก ตัวลาย ปัสสาวะน้อย

          Ø  ร้องกวนในเด็กเล็ก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ 

การป้องกัน

          ยุงลายกัดเวลากลางวัน พบในบ้านและรอบๆ บ้าน สามารถบินในระยะไม่เกิน 50 เมตร ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ควรปฏิบัติดังนี้

          1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัด ให้เด็กนอนกางมุ้งเวลานอนกลางวัน

          2. ทำลายยุงตัวแก่ โดยการพ่นหมอกควัน และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่ไปพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย

          3. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ทั้งในบ้านและนอกบ้าน

           ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด

           หมั่นตรวจดูแจกัน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 7 วัน

           ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้

           ใส่ทรายอะเบทลงในจานรองกระถางต้นไม้ และภาชนะที่มีน้ำขัง

           เก็บทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้ว เช่น กลบ ฝัง เผา หรือ ทำสิ่งปกคลุมให้มิดชิด

           คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง

           ใส่ เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองตู้กับข้าว ข้างละ 1 ช้อนโต๊ะ เทน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชันยาเรือ ขี้เถ้าโดยไม่ต้องใส่น้ำ

           หมั่น ตรวจดูลูกน้ำยุงลาย ในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในและนอกบ้านทุก 7 วัน ถ้าพบทำลายทันที โดยอาจเทน้ำทิ้ง และ ขัดถูภาชนะ หรือ ช้อนลูกน้ำทิ้ง

           ยางรถยนต์เก่า ใส่ดินให้เต็ม ทำเป็นที่ปลูกต้นไม้ เก็บไว้ในที่ร่ม หรือเจาะรูยางรถก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันน้ำขัง

ข้อมูลจาก

และ กรมอนามัย

Link
https://www.medtechzone.com
https://www.bkp-ssk.ac.th
https://hilight.kapook.com

อัพเดทล่าสุด