โรคหัวใจโตจะกับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม


โรคหัวใจโตจะกับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม อาหารสําหรับโรคหัวใจโต สถิติโรคหัวใจโต

โรคหัวใจโตจะกับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม

โรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด  
   
โรค หัวใจที่เป็นมาตั้งแต่เกิด ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน แต่พบในแม่ที่รับประทานยา หรือสารบางอย่างในขณะตั้งครรภ์ รวมถึงการติดเชื้อของแม่ เช่น หัดเยอรมัน ระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ โรคหัวใจแต่กำเนิด ยังพบได้บ่อยในบางครอบครัวซึ่งสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์
อุบัติการณ์ พบในเด็ก 1 คน ต่อเด็กคลอด มีชีวิต 1,000 คน
ส่วน ใหญ่ผู้ป่วยที่มาหาแพทย์ มักไม่มีอาการอะไร แต่มาหาแพทย์เนื่องจากมีอาการหวัด หรือฉีดวัคซีน แล้วตรวจหัวใจ ฟังได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ
กลุ่มที่ 1 เด็กเล็ก จะดูดนมช้ากว่าเด็กที่มีอายุเท่าๆ กัน หายใจเร็ว น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้า และเป็นหวัด หรือปอดบวมบ่อย
กลุ่มที่ 2 เด็กโต จะเหนื่อยง่ายเวลาเล่น ถ้าพ่อ-แม่เอามือวางตรงหน้าอกจะรู้สึกหัวใจเต้นเร็ว ถ้าเป็นมานาน หน้าอกข้างซ้ายจะโตกว่าข้างขวา
กลุ่มที่ 3 เด็กที่มีริมฝีปาก และเล็บมือ เล็บเท้าเขียว เวลาร้องไห้ หรือเล่นมากๆ จะเห็นว่าเขียวมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นช้า และมีอาการคล้ายกับกลุ่มที่ 2

การตรวจวินิจฉัยโรค จะทำโดยการเอกซเรย์ปอด และหัวใจ เพื่อดูขนาดของหัวใจ และดูว่า มีปอดบวมร่วมด้วยหรือไม่ ในกลุ่มที่ 2 ที่มีอาการเหนื่อยง่าย และไม่มีอาการเล็บมือเล็บเท้าเขียว จะมีหัวใจโต และเงาของเส้นเลือดในปอดเพิ่มขึ้น ส่วนในกลุ่มที่ 3 ที่มีเล็บมือเล็บเท้าเขียว จะเห็นเงาของหัวใจปกติ และปอดค่อนข้างดำ คือเงาของเส้นเลือดในปอดลดลง
การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G.) เพื่อดูว่า มีหัวใจห้องไหนโต และหัวใจเต้นสม่ำเสมอหรือไม่
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและเส้นเลือด อาจพบผนังหัวใจรั่ว หรือเส้นเลือดตีบ
ส่วนการรักษาขึ้นกับความผิดปกติของหัวใจ จะรักษาโดย
- รักษาด้วยยา ในรายที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มาก และหายเองได้ เช่น ผนังหัวใจห้องล่างรั่ว หรือในพวกที่ยังไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด อาจจะรักษาด้วยยาไปก่อน รวมถึงการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม
- รักษาด้วยการผ่าตัด จะผ่าตัดในรายที่เป็นมาก รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ส่วนผลของการผ่าตัดจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของหัวใจ ถ้ามีความผิดปกติมากก็จะเสี่ยง ขนาดของผู้ป่วย ถึงน้ำหนักตัวน้อยก็เสี่ยงมากกว่า

อาหารสําหรับโรคหัวใจโต

  อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

พลังงานที่ร่างกายต่อวัน | ปริมาณโปรตีนที่ต้องการ | ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องการ | ปริมาณไขมันที่ต้องการ | โซเดียม | เส้นใยอาหาร

 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน | เลือกบริโภคอาหารโปรตีนไขมันต่ำ | รับประทานผักและผลไม้ | เลือกรับประทานwhole grain |
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

      ในแต่ละวัน ร่างกายคนเราต้องการพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และไม่มีอาหารชนิดใดที่มีสารอาหารครบถ้วนทุกประเภทตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้น เราจึงต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นต่อร่างกาย

 พลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ประมาณ 1600-2800 คาลอรี่ต่อวัน
          มีหน่วยวัดเป็นคาลอรี่ ร่างกายต้องการพลังงานในแต่ละวันแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับกิจกรรม งานที่ทำ, ขนาดร่างกาย, อายุ, เพศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราสามารถประมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ดังนี้
     1,600 คาลอรี่ สำหรับเด็กอายุ 2-6 ขวบ,ในผู้หญิงปกติ, ในผู้สูงอายุ
     2,000 คาลอรี่ สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป
     2,200 คาลอรี่ สำหรับเด็กโต, วัยรุ่นผู้หญิง, ผู้หญิงที่ทำงาน และในผู้ชายส่วนใหญ่
     2,800 คาลอรี่ สำหรับวัยรุ่นผู้ชาย, ในผู้ชายที่มีกิจกรรมหรือการทำงานหนัก
 ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งเนื่อเยื่อต่างๆมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้โปรตีนยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเลือด, ฮอร์โมน, เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย    ; โปรตีน พบได้ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากนม, อาหารประเภทถั่ว
         ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ต่อวัน
 ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
         ร่างกายต้องการคาร์โบโฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ คาร์โบโฮเดรตพบได้ในอาหารประเภทแป้ง(เช่น ข้าว, ขนมปัง, ธัญพืช )และน้ำตาล
         ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน หรือประมาณ 130 กรัม
         เราควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างเชิงซับซ้อน เช่น จากอาหารประเภทแป้ง มากกว่าน้ำตาลธรรมดาซึ่งได้จากขนมหวาน, สารให้ความหวาน เพราะร่างกายจะดูดซึมคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้ช้ากว่า น้ำตาลธรรมดา ทำให้ร่างกายเรา มีพลังงานที่ได้ใน ระยะเวลานานขึ้น และนอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อน จะให้สารอาหารหลายอย่าง รวมทั้งเส้นใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกายด้วย
 ปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง(ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 คาลอรี่ เทียบกับโปรตีนและ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 คาลอรี่) และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน ที่ต้องละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ , ดี, อี, เค (vitamin A, D, E, K)
          ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ และยังช่วยในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากสารที่จำเป็นในระบบภูมิคุ้มกัน จะมีไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารควบคุมร่างกายที่เราเรียกว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุม ความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, การหดตัวของเส้นเลือด, การแข็งตัวของเลือด และการทำงาน ของระบบประสาท
          แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ, เพิ่มความเสี่ยง การเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน และมะเร็งบางชนิด
          อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน จะมีไขมันที่สามารถแบ่งประเภทได้ ทั้งหมด 4 ประเภทคือ
   -ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) พบได้ในอาหารประเภท เนย, นม, ครีม, ไข่, เนื้อ, สัตว์ปีก, ช็อกโกแลต, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ได้แก่ น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันเมล็ดฝ้าย
   -ไขมันชนิด trans fat มักพบในอาหารประเภท เนยเทียม(margarine), สารประเภท shortening, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated มักพบในอาหารประเภท อโวคาโด, ถั่วลิสง, เกาลัด, มะกอก

           ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ซึ่งเราสามารถลดปริมาณไขมันในอาหารได้ โดยเลือกบริโภคอาหารจำพวกที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา, สัตว์ปีกไม่ติดหนัง, ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำตามธรรมชาติ เช่น ผักผลไม้, ธัญพืช เป็นต้น
 ไขมันอิ่มตัว ไม่ควรเกิน 10% ของพลังงานคาลอรี่ทั้งหมดที่บริโภคต่อวัน
ไขมันอิ่มตัว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โดยการจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์, เนย, เนยแข็ง, นมสด, ครีม, ไข่ รวมทั้งอาหารที่ทำมาจากช็อคโกแลต, สารพวกshortening, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันหมู
      อาหารที่มาจากสัตว์ทั้งหมด จะมีโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์, ไข่แดง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมสด
      การจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอล ควรทำร่วมกับการจำกัดอาหารที่มี่ไขมันอิ่มตัวสูงด้วย ทั้งนี้เพราะ  ตัวการสำคัญที่ทำให้ ระดับ   โคเลสเตอรอล ในเลือดสูง คือ ไขมันอิ่มตัว นั่นเอง

 ไขมันชนิด trans fat
มีผลเหมือนกับไขมันอิ่มตัวคือทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ไขมันชนิด trans fat มีส่วนประกอบเป็น กรดไขมันชนิด trans-fatty acid เกิดจากกระบวนการทางเคมี โดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช กระบวนการนี้เรียกว่า Hydrogenation ผลที่ได้คือ ทำให้ไขมันมีสถานะเป็นก้อนอยู่ได้ คงรูปร่างได้ ดีขึ้น และไม่เหม็นหืน เหมือนน้ำมันปกติ ประโยชน์ นำเอามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารจำพวก ขนมเค๊ก, คุกกี้, แครกเกอร์, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์, สารshortenings, มาการีนบางชนิด
           ดังนั้น ทุกครั้งที่เลือกอาหารที่มีฉลากแสดงสารอาหาร ให้ดูว่ามีคำว่า Hydrogenated หรือ Partially hydrogenated หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการมีไขมันชนิด trans fat อยู่ ให้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะบริโภค

 ไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งชนิด Polyunsaturated และ Monounsaturated สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

 โซเดียม
ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปี, คนผิวดำ, คนที่โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวาน ควรจำกัดการบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน
ส่วนใหญ่ของโซเดียมในอาหาร มาจากกระบวนการเตรียมและปรุงอาหาร, ซุปกระป๋อง, ผักกระป๋อง, อาหารกระป๋อง, อาหารแช่เข็ง, อาหารประเภทเบคอน, ไส้กรอก, แฮม
  เส้นใยอาหาร
          ควรบริโภคในปริมาณ 21-38กรัมต่อวัน
          เส้นใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายไม่ย่อยและดูดซึม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ พวกเส้นใยประเภท soluble กับ เส้นใยประเภท insoluble
 เส้นใยประเภท insoluble จะช่วยเพิ่มกากอุจจาระ และป้องกันท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้ในอาหารประเภท ผัก รำข้าว เมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
 เส้นใยประเภท soluble อาจช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดได้ พบได้ในอาหารประเภท ข้าวโอ๊ต, ฝักถั่ว, แอปเปิ้ล, ส้ม, สตรอเบอรี่, องุ่น
          ปริมาณเส้นใยอาหารที่แนะนำต่อวันคือ
              38 กรัมในผู้ชาย 25 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
              30 กรัมในผู้ชาย 21 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50ปี
สรุปคำแนะนำในการบริโภคอาหาร..................................................................
ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันอิ่มตัว บวก ไขมัน trans fat 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดPolyunsaturated 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดMonounsaturated 10- 15 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน


อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

         โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
         ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น ดังนี้
1. จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
2. เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
3. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
4. เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
5. บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

 จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
          การจำกัดการบริโภคอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวและไขมัน ชนิด trans fat ร่วมกับจำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ และเนื่องจากโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมของ plaque(ส่วนของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด) ทำให้รูของเส้นเลือดแดงเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ
.......คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารประเภทไขมัน
ไขมันอิ่มตัวและ trans fat ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated ควรบริโภค 10%-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
โคเลสเตอรอล ควรบริโภคน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน

          ดังนั้นจึงควรงดบริโภคอาหารประเภท เนย, มาการีนชนิดที่เป็น hydrogenated, สารที่ทำให้แป้งกรอบ,หลีกเลี่ยงการรับประทาน ครีม, เกรวี่ รวมทั้งในการประกอบอาหารก็ควรงดการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว แต่เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
          อาหารหลายประเภทเช่น เนื้อสัตว์, เป็ดไก่, ปลา, นม, ไข่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้โปรตีน แต่บางชนิดจะมีปริมาณ ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารโปรตีน ควรเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล
          ตัวอย่างเช่น ถ้าจะรับประทานนมก็ควรเลือกนมพร่องมันเนย, นมสูตรไขมันต่ำ(low fat) มากกว่าที่จะทานนมสด, การรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานในส่วนที่ไม่ติดมัน, งดรับประทานในส่วนที่เป็นหนัง,งดการรับประทานเครื่องในสัตว์ เพราะมีปริมาณ โคเลสเตอรอลสูง การรับประทานไข่ก็ควรเลือกเฉพาะไข่ขาว งดรับประทานไข่แดงเนื่องจากมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง
          นอกจากนี้อาจเลือกรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เช่น อาหารประเภทถั่ว, ถั่วเหลือง, การรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ยังมีไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และป้องกันภาวะหัวใจวายได้ด้วย
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่เป็นแหล่งของวิตามิน, เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่เรียกว่า phytochemicals ซึ่งพบในพืช และช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
       แนะนำบริโภค
– ผักผลไม้สดหรือแช่เย็น
- ผักกระป๋องชนิดที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่อยู่ในน้ำผลไม้
      งดบริโภค
- มะพร้าว
- ผักที่ผ่านกระบวนการทอด
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่แช่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น
เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
whole grain จะเป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหาร และยังมีวิตามินเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ thiamine, riboflavin, niacin, folate, selenium, zinc, iron
      แนะนำบริโภค
– แป้งข้าวเจ้าที่ไม่ได้เอารำออก (whole wheat)
- ขนมปังชนิดที่ทำจาก whole grain หรือ whole wheat
- ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง
- พาสต้าชนิด whole grain
- ข้าวโอ๊ตบดหยาบ
       งดบริโภค
- มัฟฟิน
- วาฟเฟิล
- โดนัท บิสกิต ขนมเค็ก พาย เส้นหมี่ที่ทำจากไข่
- ข้าวโพดอบเนย
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน
การบริโภคที่ไม่มากเกินไป ให้พอเหมาะและสมดุลกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินพอในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

สถิติโรคหัวใจโต

“คุณหมอครับ วันนี้ผมพาคุณแม่มารักษาโรคหัวใจโตครับ”
“หมอคะ...หัวใจโตไหมคะ เคยมีคุณหมอบอกว่าโตกว่าปกติ ต้องระวังตัว”
“ผมเป็นโรคหลายโรคครับ ทั้งความดัน เบาหวาน หัวใจโต”

           คำถามเหล่านี้ได้ยินกันเสมอในหมู่อายุรแพทย์ และ แพทย์โรคหัวใจ เป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มี “โรคหัวใจโต” มีแต่ “ภาวะหัวใจโต” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ หัวใจก็เป็นอวัยวะเช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ เมื่อต้องทำงาน หนักมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาอื่นๆ ก็อาจทำให้ขนาดหัวใจโตขึ้น ดังนั้น หัวใจที่โตขึ้นจึงไม่ใช่ “โรค” แต่เป็นผลตามมา เนื่องจากโรคอื่นๆ

หัวใจโต โตจากอะไร
          
ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน
รู้ได้อย่างไรว่าหัวใจโต
           ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และ อาการจาก หัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย 
          
ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

ตรวจวิธีไหน ดีที่สุด
           ไม่มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่ (echocardiography) หลักการคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการ สะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความ สามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)

ใคร? ควรได้รับการตรวจ “เอคโค่”
          
ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้ม เหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถ    ในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ

เป็นแล้วรักษาอย่างไร
           การรักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้

โรคหัวใจสำคัญที่คนควรรู้จัก

การดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยในปัจจุบันมีความเคร่งเครียด ใน เรื่องเศรษฐกิจกันมากขึ้น ความเป็นอยู่ที่ต้องเร่งรีบ พฤติกรรมกการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป โดยรับประทานผักกันน้อยลง และหันมาทานอาหารจานด่วนกันมากขึ้น ทำให้สถิติการเสียชีวิตจากการเกิดโรคหัวใจในประเทศไทยโดยเฉพาะการเสียชีวิต จากเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการตายของคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบเป็นอันดับ หนึ่ง โดยเสียชีวิตชั่วโมงละ 4 คน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงมาก ดังนั้นเรามารู้จักกับโรคหัวใจกันเถอะ เพื่อที่จะได้รู้จักใจเรามากขึ้น

โรคหัวใจที่สำคัญ แบ่งได้ดังนี้คือ

1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เกิด จากการตีบตันแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่ แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ถ้าท่านเจ็บหน้าอกและมีอาการร่วมอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น และหรือเจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยเร่งด่วน เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที

2. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เกิด เนื่องจากมีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของหัวใจในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการมีรูโหว่ที่ผนังภายในหัวใจลิ้นหัวใจ ตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดผิดจากตำแหน่งปกติ

3. โรคหัวใจรูห์มาติค

พบ ในเด็กอายุ 7-15 ปี เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเบต้าฮีโมไลติคสเตร็ปโตคอคคัส ทำให้คออักเสบ ไข้สูง ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนี้ ถ้าได้รับเชื้อโรคนี้ซ้ำอีกจะเกิดอาการอักเสบที่ข้อเข่า ข้อศอก และสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อบุหัวใจ และลิ้นหัวใจ ถ้ามีอาการอักเสบซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะเกิดพังผืดขึ้นที่ลิ้นหัวใจจนเปิดไม่เต็มที่และหรือปิดไม่สนิท ทำให้ลิ้นหัวใจจะตีบแคบลงหรือรั่ว

4. โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง

ค่า ความดันที่เกิน 140/90 มม.ปรอท ถือว่าสูงผิดปกติ ถ้าความดันสูงเกิน 160/95 มม. ปรอท ผิดปกตินานๆ หัวใจต้องทำงานหนักและทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น ขนาดหัวใจโตขึ้นเกิดภาวะหัวใจวาย มีอาการเหนื่อยง่าย หอบ เท้าบวม นอนราบไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง

ผู้ชาย มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง โดยอาการที่ส่อให้รู้ว่ากำลังถูกโรคหัวใจคุกคามคือ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะช่วงออกกำลังกาย หากสังเกตพบอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางโดยด่วนเพื่อรับการ วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง หันมาดูแลหัวใจคุณสักนิด ก่อนที่จะเสียใจไปตลอดชีวิต

ที่มา : ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

โรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)

  1. โรค หัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่มีขนาดโตขึ้น ทำให้ผนังของหัวใจหนาตัวขึ้น และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
  2. โรค หัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย ตัวเลขในสหรัฐอเมริกาพบได้ประมาณร้อยละ 0.2 ของประชากร พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงทุกช่วงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นโรคนี้โดยไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรค
  3. ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ในรายที่มีอาการในระยะแรกเริ่มก็ แตกต่างกันได้มาก การเปลี่ยนแปลงของอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว ส่วนหนึ่งอาการจะคงที่ บางรายอาการอาจดีขึ้นได้เอง
  4. ในรายที่อาการแย่ลงจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการเหนื่อยที่ส่งผลต่อการทำงาน และกิจวัตรประจำวัน อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายหรือหัวใจทำงานล้มเหลวได้
  5. ผู้ ป่วยโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ โดยเกิดขึ้นทันทีทันใด ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยมักไม่มีอาการมาก่อน ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิด ปกติเพียงร้อยละ 50 เท่านั้นที่มีอาการ

สาเหตุของโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ

  1. โดย ปกติกล้ามเนื้อหัวใจสามารถปรับขนาดได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจจะทำให้กล้าม เนื้อหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น สาเหตุสำคัญได้แก่ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และโรคความดันโลหิตสูงที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป
  2. กล้าม เนื้อหัวใจที่โตขึ้นช่วยเพิ่มแรงบีบของหัวใจในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงทั่ว ร่างกาย ในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อหัวใจที่โตอาจมีผลขัดขวางการไหลเวียนของเลือดภายใน ห้องหัวใจ ในกรณีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการบำบัดรักษา จนความดันโลหิตกลับเป็นปกติ พบว่าขนาดของหัวใจจะกลับเป็นปกติด้วยเช่นกัน
  3. ความ สามารถของกล้ามเนื้อหัวใจที่ควบคุมความหนาของผนังหัวใจถูกควบคุมโดยยีนที่ จำเพาะเจาะจง การเกิดมิวเตชันของยีนเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต โดยไม่มีสาเหตุอื่นๆมาเกี่ยวข้อง เรียกภาวะดังกล่าวว่า hypertrophic cardiomyopathy

ปัจจัยทางพันธุกรรมทีเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติ

  1. ร้อย ละ 60-70 ของโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้แบบแผนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นแบบ autosomal dominant
  2. ผู้ป่วยโรค หัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติอาจแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เกิดจากปัจจัยพันธุกรรม และกลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพันธุกรรม
  3. กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพันธุกรรม เรียกว่า sporadic case of hypertrophic cardiomyopathy สาเหตุการเกิดไม่ได้มาจากมิวเตชันของยีนที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อแม่
  4. กลุ่ม ที่เกิดจากปัจจัยพันธุกรรมได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อแม่ ลักษณะการถ่ายทอดยีนเป็นแบบ autosomal dominant พบได้มากถึงร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วยผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโตผิดปกติทั้งหมด
  5. นัก วิจัยได้ทำการศึกษายีนผิดปกติที่เกี่ยวกับการเกิดโรคหัวใจชนิดเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจโตผิดปกติ พบว่ามีอยู่ด้วยกันหลายยีน ยีนที่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดแน่ชัดแล้วมีจำนวน 4 ยีนด้วยกัน ส่วนยีนชนิดที่ 5 ยังไม่ได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียด แต่พบว่าอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 7

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็น โรคที่พบบ่อยมากถึงร้อยละ 10-15 ของประชากรที่อายุเกินกว่า 40 ปี โรคความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัมพาต หัวใจวาย และไตวาย

ระดับใดของความดันโลหิตถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ปกติ ความดันโลหิตประกอบด้วยค่า 2 ค่า คือ ค่าความดันโลหิตตัวบนที่เรียกว่า ความดันซิสโตลี และค่าความดันโลหิตตัวล่างที่เรียกว่า ความดันไดแอสโตลี ในคนปกติจะมีความดันโลหิตซิสโตลี 120-130 มิลลิเมตรปรอท ขณะที่ความดันไดแอสโตลี 80 มิลลิเมตรปรอท

ความ ดันโลหิตสูง โดยทั่วไปถือเมื่อระดับความดันซิสโตลีมากว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือเมื่อระดับความดันไดแอสโตลีมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท อะไรเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

พบ ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของโรคความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจพบว่ามีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน การรับประทานอาหารเค็ม การไม่ได้ออกกำลังกาย และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูง

สาเหตุอื่นที่พบว่าทำให้เกิดความดันโลหิตสูง คือ โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมหมวกไต ไทรอยด์ การตั้งครรภ์เป็นพิษ โรคระบบประสาท โรคหลอดเลือดแดง และภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร

ใน ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยทีเป็นความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการอะไร ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีอาการปวดศีรษะได้บ้าง

ดังนั้นการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำทุกปี จึงมีความสำคัญ เพื่อให้ทราบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่

อาการ มักเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ อาการอ่อนแรงจากการเป็นอัมพาต หรือมีเลือดออกในสมอง และการเหนื่อยง่ายเมื่อมีอาการหัวใจวาย เป็นต้น

ความดันโลหิตสูงมีผลเสียอย่างไร

การมีความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ได้รับการควบคุม หรือควบคุมไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียกับอวัยวะต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

  1. หัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น ขนาดหัวใจใหญ่ขึ้น ระยะต่อมาจะทำให้การทำงานของหัวใจลดลง เกิดภาวะหัวใจวายได้
  2. หลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ และเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย
  3. สมอง และระบบประสาท ทำให้มีเลือดออกในสมองเกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต หมดสติ หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน หรืออาจทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันเกิดอัมพาต
  4. หลอด เลือดแดงใหญ่ ทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือหลังอย่างรุนแรง พร้อมกับมีการตกเลือด และอาจทำให้เสียชีวิต
  5. ไตวาย ความดันโลหิตสูงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดแดงขนาดเล็กของไตทำให้การทำงานของไตลดลงจนถึงขั้นเป็นไตวาย

มีวิธีรักษาอย่างไร หายได้หรือไม่

เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง จึงยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมด้วยยาให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ และสามารถลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมาแล้วได้

เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่หายขาด จึงต้องรับการรักษาตลอดชีวิต มีวิธีการป้องกัน หรือดูแลรักษาตัวอย่างไร

วิธีการป้องกัน หรือการดูแลรักษาตัวประกอบด้วย

  • การลดอาหารเค็ม รับประทานผัก และผลไม้เพิ่มขึ้น
  • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหยุดสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด

ในกรณีที่ความดันโลหิตสูง และจำเป็นต้องรับประทานยาควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

Link   
https://women.sanook.com
https://www.thaiheartclinic.com
https://guru.sanook.com/
https://www.djingmarket.com

อัพเดทล่าสุด