ไข้เลือดออก ใน เด็ก


1,514 ผู้ชม


ไข้เลือดออก ใน เด็ก ไข้เลือดออกเป็ยโรคที่เกิดจ่กยุงเป็นพาหะ ไข้เลือดออก เด็ก

ไข้เลือดออก ใน เด็ก

ไข้เลือดออก ในเด็ก

ไข้เลือดออก ในเด็ก

ไข้เลือดออกในเด็กไข้เลือด ออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่มียุงลายเป็นตัวแพร่เชื้อไม่มียารักษาเฉพาะ รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ ให้น้ำเกลือในรายที่อ่อนเพลีย อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ และในรายที่เป็นรุนแรงจะมีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้มีเลือดออกและอาจต้องให้เลือดทดแทน

อาการของไข้เลือดออก
 มี ไข้สูงลอย 2-7 วัน ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามตัว การรับประทานยาลดไข้มีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ลดอาการปวดศีรษะและป้องกันการชักจากไข้สูงในเด็ก ฉะนั้นไข้จึงแค่ลดต่ำลงและจะหายตามระยะเวลาของโรค

การดูแลเบื้องต้น
 - เช็ดตัวลดไข้ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง
 - การรับประทานยาลดไข้ ควรเป็นยาในกลุ่มพาราเซตามอล เช่น เทมปร้า คาลปอล ไทลีนอล ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่ม แอสไพริน หรือบรูเฟนหรือยาลดไข้สูงอื่นๆ
 - ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด และควรงดอาหารหรือน้ำที่มีสีแดง ดำ น้ำตาล เพราะในผู้ป่วยไข้เลือดออกต้องคอยสังเกตว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือ เปล่า โดยสังเกตจากอาเจียนหรือถ่าย ถ้ารับประทานอาหารที่มีสีคล้ายเลือดจะทำให้สังเกตได้ยากว่าเห็นเลือดหรือ อาหารที่ทานเข้าไป
 - หากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ให้ดื่มนม น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้

อาการที่ควรรีบมาพบแพทย์
 - เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนมาก กินไม่ได้ ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง ง่วงซึม กระสับกระส่าย
 - มีอาการแสดงสภาวะช็อค เช่น ชีพจรเบาเร็ว มือเท้าเย็นกระสับกระส่าย
 - มีเลือดออกจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
 - ปวดท้องอย่างรุนแรง อาการทั่วไปแย่ลง

ระยะไข้ลด หมายถึง อุณหภูมิในตัวผู้ป่วยลดลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นระยะอันตรายของโรค ผู้ป่วยอาจช็อค หรือมีเลือดออกได้ เป็นระยะที่ต้องดูแลใกล้ชิด อาจต้องวัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือต้องสังเกตว่ามีเลือดออกหรือเปล่า
ระยะช็อค ในระยะไข้ลดเกิดจาก เกิดจากไข้เลือดออก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดมีผลให้น้ำที่อยู่ในเส้นเลือดรั่ว ออกจากเส้นเลือด เลือดในเส้นเลือดจึงมีความเข้มข้นสูง การไหลเวียนของเลือดไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดี จึงเกิดภาวะช็อคได้

 การเจาะเลือด เพื่อตรวจดูระดับของเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด เพื่อจะใช้เป็นตัวพิจารณาเพิ่มหรือลดอัตราเร็วของน้ำเกลือ ชนิดของน้ำเกลือหรือเลือดที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ  ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่จำเป็นทุกรายที่จะเลือดออกมาก  ผู้ป่วยที่เป็นไม่รุนแรงจะมีเลือดออกไม่มาก เช่น เลือดออกที่ผิวหนังเป็นจุดแดง หรือมีเลือดกำเดาไหล ส่วนผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงหรือมีระยะถึงช็อคอยู่นานๆ อาจมีเลือดออกมากจนต้องได้รับเลือดทดแทน

อาการปวดท้อง สาเหตุเพราะใน ระยะแรกๆ ที่มีไข้สูงผู้ป่วยอาจทานได้น้อย มีคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้น้ำย่อยทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงมีอาการเหมือนโรคกระเพาะ

อาการ แน่นท้อง ท้องอืดโต สาเหตุเพราะผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีตับและม้ามโต ทำให้มีอาการท้องอืดโตได้และผู้ป่วยไข้เลือดออกมีการรั่วของน้ำจากหลอดเลือด เข้าไปอยู่ในช่องท้องและช่องปอดทำให้ท้องอืด แน่นท้อง แน่นหน้าอกได้ เมื่อโรคหายอาการต่างๆ จะหายไปเอง

การป้องกัน
 -กำจัดยุงลาย โแหล่งน้ำที่เป็นที่เพาะพันธุ์ยุง
 - ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
 - ถ้ามีไข้ 2-3 วัน แล้วไข้ไม่ลด ควรไปพบแพทย์
 - ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เฝ้าระวังอาการผิดปกติที่ต้องนำผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์ทันที

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

ยุงลาย
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอก จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
 อาการของ ไข้เลือดออก 
          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ 
          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 
          3. ตับโต 
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก


 แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 
          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 
          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด 
          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 
          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก 

          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือ ข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือ ไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้
 การป้องกันโรค ไข้เลือดออก 

          ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง 

ไข้เลือดออก


 การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์ 
          แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่ 
          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
          ตรวจ สอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ 
          หมั่น ตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของ ยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง 
          ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง 
          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน 
          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ 
 การป้องกันส่วนบุคคล 

          ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง 
          การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี 
          การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ 
          นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง 
          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 
          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 
          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs) 
          การ ใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง 

ฉีดสารเคมี ไข้เลือดออก


 การใช้สารเคมีในการควบคุม 
          ใช้ ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ 
          การ ใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

วิธีสังเกตุ..อาการไข้เลือดออกแบบง่ายๆในเด็ก


ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร 
fever dengue ยุง mosquito , ยุงลาย petachiae

ปกติ คนที่โดนยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดครั้งแรก อย่างมากจะเกิดเป็นไข้ เดงกิ่ว(Dengue Fever ) ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่มีช้อค แต่ถ้า ในปีถัดๆ มาโดนยุงที่มีเชื้อกัดอีก อาจจะทำให้เกิดปฏิกริยาเป็นไข้เลือดออกได้ เพราะฉะนั้นเด็กเล็กๆโดยเฉพาะต่ำกว่าขวบจึงไม่ค่อยเป็นไข้เลือดออก ครับ 
อาการไข้เลือดออก จะเริ่มด้วยไข้สูงๆ มากๆๆ ประมาณ สามสี่วัน อาจจะมีตาแดงๆ ท้องอื่ด ปวดท้อง อาเจียน(มักมีปวดท้องอาเจียนร่วมด้วยเกือบทุกคน) ไข้จะสูงลอยกินยาไม่ค่อยลดง่ายๆ
 
บางคนอาจจะมีจุดเลือดออกตามตัวให้เห็นหรือ มีเลือดกำเดาออก อาเจียรเป็นเลือดสีกาแฟดำ ให้เห็น(มักจะเป็นตอนวันท้ายที่เป็นมากแล้ว)
 
ไข้จะสูงอยู่ สี่วันหลังจากนั้น จะเข้าระยะไข้ลด ระยะนี้เป็นช่วงที่น่ากลัว ความดันจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ช็อค ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้ทัน อาจจะเสียชีวิตได้
 
ที่ว่าไข้เลือดออกตัวร้อนตัวเย็น ไม่ใช่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็นนะครับ หมายถึงร้อนจัดๆๆไม่ค่อยลด สี่วันก่อน ลดลง ตอนวันที่สี่ ย่างเข้าวันที่ห้า ตอนหนักนี่แหละครับ  

Link  
https://health.kapook.com/
https://www.oknation.net
https://www.oknation.net

อัพเดทล่าสุด