วิธีรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจโต


วิธีรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจโต วิธีรักษาโรคหัวใจโต ข้อครวระวังโรคหัวใจโต


วิธีรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจโต

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจ


รวบรวมโดย: เต็มจิต ฉั่วริยะกุล
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีขั้นตอนดังต่อไป นี้
1. ทำจิตใจให้เบิกบาน คือ ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วควรทำจิตใจให้เบิกบานเพื่อทำให้เลือดไปหล่อ เลี้ยงสมองได้ดีขึ้นและป้องกันการเกิดความเครียดซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ หัวใจล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิตได้
2. ต้องการความสุขและความสบายใจให้กับจิตใจ คือ จากข้อมูลการศึกษาค้นพบว่าผู้ป่วยทุกคนล้วนแต่ต้องการความสุขและความสบายใจ จากบุคคลทั้งในครอบครัวและสังคม เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักขาดกำลังใจที่จะอยู่ต่อไป แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ได้รับความสุขและความสบายใจจากคนในครอบครัวหรือสังคม แล้วผู้ป่วยจะมีกำลังใจและมีความสุขซึ่งถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อตนเอง มากขึ้น
3. ควรรับประทานยาให้ตรงต่อเวลาตามที่แพทย์สั่ง เพราะจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
4. ควรเข้ารับการรักษาเป็นประจำ ถึงแม้ค่าใช้จ่ายจะดูสูงเกินไปแต่ผู้ป่วยไม่ควรหยุดการรักษาเพียงเท่านั้น แต่ควรเข้ารับการรักษาเป็นประจำทุกเดือนหรือทุกครั้งที่มีอาการของโรคเกิด ขึ้น
5. ผู้ป่วยควรมีคนคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด เผื่อว่าหากมีอาการของโรคเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยเอง คนที่คอยดูแลผู้ป่วยอยู่จะได้รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อให้คณะแพทย์ทำการ รักษาได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ผู้ป่วยควรมองโลกในแง่ที่ดีเอาไว้ไม่ควรมองโลกในแง่ร้าย มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของท่านเองมากขึ้น และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไม่ควรจะทำให้ผู้ป่วยเสียงใจ แต่ควรให้กำลังใจ คำปรึกษา แก่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด.

วิธีรักษาโรคหัวใจโต

วิธีรักษาหัวใจโต
ไม่มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจ เลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocardiography) หลัก การคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร จึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)
ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ 

หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆ ค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรโรคหัวใจโตจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมธัยรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

โรคแทรกซ้อนของหัวใจโต

โรคแทรกว้อนของหัวใจโตขึ้นกับว่าหัวใจโตมากน้อยแค่ไหน การทำงานของหัวใจว่ายังทำงานปกติหรือเริ่มมีอาการหัวใจวาย และขึ้นกับโรคพื้นฐาน โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • หัวใจวาย หัวใจที่โตและไม่สามารถบีบตัวไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • มีลิ่มเลือดในหัวใจซึ่งอาจจะลอยไปอุกหลอดเลือดในสมอง ซึ่งหากมีลิ่มเลือดจะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
  • ลิ้วหัวใจรั่ว หัวใจที่โตมากๆจะมีลิ้นหัวใจรั่วซึ่งจะทำให้โรคกำเริบเร็วขึ้น
  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ผู้ที่หัวใจโตจะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

เมื่อจะไปพบแพทย์จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

คนทั่วไปเมื่อแพทย์บอกว่าเป็นหัวใจโตจะเกิดความกังวล แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยกล้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ มักจะไปพูดคุยหรือขอข้อมูลกับคนที่เคยเป็นโรคนี้มากก่อนทำให้ได้ข้อมูลที่ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทำให้การดูแลรักาาไม่ได้ผลดี การเตรียมตัวพบแพทย์ควรจะวางแผนดังนี้

เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์

ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมก่อนพบแพทย์จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการรักษาท่าต้องเตรียมข้อมูลดังนี้

  • อาการของท่านเกิดเมื่อไร ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดอาการ ความถี่ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ทำอย่างไรอาการถึงจะหาย
  • ประวัติโรคที่ท่านเป็นอยู่ มีทั้งหมดกี่โรค แต่ละโรคเป็นมานานแค่ไหน และมีโรคแทรกว้อนอะไรบ้าง ประวัติโรคในครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ เสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
  • ประวัติการรับประทานยา ยาที่รับประทานปัจจุบัน ยาที่เคยรับประทาน หากมีการเปลี่ยนยาก็ระบุสาเหตุของการเปลี่ยนยา
  • ควรจะมีญาติหรือเพื่อนไปด้วยจะได้จำข้อมูล
  • ปรึกษาเรื่องการดูแลตัวเอง เช่นการออกกำลังกาย อาหาร น้ำหนัก

เตรียมข้อมูลสำหรับถามแพทย์

  • สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดหัวใจโต
  • การตรวจหาสาเหตุของโรคต้องตรวจอะไรบ้าง
  • การรักษามีกี่วิธี ข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธี
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง
  • การออกกำลังกายมีข้อจำกัดหรือไม่ ออกกำลังกายอะไรได้บ้าง ไม่ควรออกกำลังกายอะไร
  • จะต้องตรวจหาเบาหวาน หรือไขมันในเลือดหรือไม่
  • จะต้องมาตรวจหัวใจบ่อยแค่ไหน
  • หากมีโรคประจำตัวอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะรับประทานยาร่วมกันได้หรือไม่
  • ต้องพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่
  • โรคดังกล่าวเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่

Link   
https://siamhealth.net
https://www.ngthai.com
https://www.marinerthai.com

อัพเดทล่าสุด