เอสแอลอี ประสบการณ์ผู้ป่วย


เอสแอลอี ประสบการณ์ผู้ป่วย ประสบการณ์โรคเอสแอลอี เกิดจาก สถานรักษาโรคเอสแอลอี

ประสบการณ์ผู้ป่วย SLE
 

         โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปัส เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาทำร้ายตนเอง ภูมิต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ในผู้ป่วยโรคลูปัสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยโรคลูปัสเอง ขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อก็จะเกิดข้ออักเสบขึ้น จัดเป็น

โรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง นางสาวประภาศวี อินคล้าย อายุ 36 ปี ป่วยเป็นโรค SLE เคยป่วยเป็นมาลาเรียเรื้อรังถึง 17 ปี คือตั้งแต่อายุ 14-31 ปี คิดเป็นจำนวนครั้งถึง 20 ครั้ง เนื่องจากมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้อยู่แล้วจึงได้รับยาเป็นจำนวนมากทั้งที่เกี่ยวกับภูมิแพ้และมาลาเรีย อาการแรกที่เป็นคือ บวม ปวดตามข้อ หมดแรง เหนื่อย และปวดหลังอย่างรุนแรง จากอาการปวดหลังอย่างรุนแรงนี้ แพทย์วินิจฉัยว่าไตมี

ปัญหาคือมีปัญหาบกพร่องที่ไตสูง รับประทานยารักษไต 1 เดือนอาการบวมไม่ลดลง ตรวจเพิ่มเติมจึงพบว่าเป็น SLE ที่เนื้อเยื่อในข้อ คือร่างกายทำลายเนื้อเยื่อในข้อของตัวเอง แพทย์รักษาโดยการให้กิน STEROID PREDNISOLONE วันละ 6 เม็ดเป็นเวลา 4 เดือน แต่ตัวกลับบวมมากขึ้น ผมร่วง เสียวฟัน ปวดตามกระดูกอย่างรุนแรง จึงตัดสินใจเปลี่ยนหมอและเปลี่ยนกลุ่มยารักษาโดยให้กินยากดภูมิ รักษาอยู่ 1 ปี 8 เดือนร่วมกับยาแก้อักเสบ ข้อ - กระดูก ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ร่างกายอ่อนเพลียมาก ไม่มีแรง หมอบอกว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้และจะมีอายุอยู่ได้แค่ 40 ปี จึงเปลี่ยนไปรักษาหมอธิเบตใช้ยาจีนอยู่ 15 เดือนอาการดีขึ้น อาการบวมและปวดทุเลาลงแต่อาการปวดยังมีอยู่ คุณหมอบอกว่าคงไม่สามารถรักษาให้ดีไปกว่านี้ได้แล้ว ต่อมาได้ทราบถึงคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบีบเย็นที่

สามารถใช้ทำ ออยล์พูลลิ่ง เพื่อรักษาโรคได้ จึงทดลองทำดูโดยทำวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เดือนแรกที่ทำมีอาการเหมือนร่างกายขับพิษที่ตกค้างออกมา ใน 2 อาทิตย์แรกมีอาการปวดหนักขึ้นกว่าเดิมและบวมไปทั้งตัว หลังจาก 2 อาทิตย์ไปแล้วอาการปวดและบวมดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับ เดือนที่ 2 เริ่มรับประทานน้ำมันมะพร้าวด้วยและหยุดยาทุกชนิด รับประทานวันละ 3 ครั้ง เช้า - กลางวัน - เย็น ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทำออยล์พูลลิ่ง 5 เวลาแต่ยังมีอาการไล่พิษอยู่ หนาวมาก แต่พอผ่านไปอีก 2 อาทิตย์อาการดีขึ้นเป็นลำดับ เดือนที่ 3 มีอาการปวดแสบปวดร้อน แต่พอหลัง 2 อาทิตย์ไปแล้วอาการก็ดีขึ้นเช่นเดิม ทุกกวันนี้สุขภาพดีขึ้นมาก มีกำลังดี อ่อนเพลียน้อยลง ฝ้าที่เคยเป็นอย่างหนักเป็นรูปปีกผีเสื้อดำหนาก็จางไปเกือบหมด ไม่มีอาการปวดเหลืออยู่ อาการบวมตามข้อลดลงเรื่อยๆจนเกือบเป็นปกติ ไม่มี

ความทุกข์ทรมานอย่างที่เคยเป็นมาแต่ระวังเข้มงวดเรื่องอาหาร นอกจากทานน้ำมันมะพร้าวแล้วจะรับประทานผักผลไม้มากๆ ทำจิตใจให้ผ่องใสมีกำลังใจดี และไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นไข้หวัดจะรับประทานน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ 2 ชั่วโมง ถึงแม้เป็นไข้หวัดใหญ่ก็หายภายใน 1 วัน ชื่อผู้ป่วย : นางสาวประภาศวี อินคล้าย อายุ 36 ปี โทร. 085 195 2606สะดวกให้ติดต่อสอบถามได้เวลา : 18.00 - 20.00 น.  การรักษาโรค “SLE” ด้วยวิถีทางโภชนาการ (ฉบับสมบูรณ์)
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง


        - อาหารรสหวาน,ผลไม้รสหวานมาก,เลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว       

        - แป้งขาว เช่น ขนมปัง,เส้นก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซาลาเปา,ปาท่องโก๋       

        - อาหารรสจัด,เค็มจัด,เผ็ดจัด,เปรี้ยวจัดและมีรสมันจัด       

        - อาหารที่มีกลูเตนสูง,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ด,ข้าวบาร์เลย์,ข้าวไรน์       

        - แอลกอฮอล์,คาเฟอีน (ชา,กาแฟ) ของหมักดอง       

        - อาหารทะเล กุ้ง ปู และหอย (ควรงดเด็ดขาด)       

        - เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว ให้เน้นทานเนื้อปลา       

        - ลดในสิ่งที่ตัวเองแพ้ เช่น น้ำผึ้ง,ข้าวโพด       

        - อาหารที่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี น้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย รำข้าว (น้ำมันพวกนี้มี OMEGA 6 สูงทำให้เกิดการอักเสบ) และไขมันทรานส์ (ตัวร้ายที่สุด)       

        - ผู้ป่วยราว 20 % จะแพ้อาหาร (NIGHT SHADE) เช่น มะเขือเทศ,มะเขือ,มันฝรั่ง,พริกไทย,พริกใบยาสูบ(บุหรี่),ถั่ว,ข้าวโพด,งา       

        - อาหารที่มีนมวัวผสม นมวัวมีโปรตีนเคซีน ร่างกายย่อยยาก       

        - หลีกเลี่ยงสารเคมีโดยการสัมผัส,สูดดม และงดทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส,วัตถุกันเสียอาหารที่ควรรับประทาน

        - น้ำมันมะพร้าว+กระเทียมเป็น SUPER ANTIOXIDANT ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูงเรียกว่ากรดอัลฟ่าไลไปอิด ดูรายละเอียด   

        - การดื่มน้ำให้ถูกต้องและพอสำหรับร่างกาย คลิกเพื่อดูรายละเอียด   

        - น้ำเอนไซม์มี 2 ชนิด 1.ได้จากผักสด+ผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยย่อยอาหาร    

        - ข้าวกล้อง มีอิโนซิตอส ลดการอักเสบ (เลี่ยงข้าวขาว)   

        - ผักตำลึง,ใบบัวบก,ย่านาง คั้นเป็นเครื่องดี่มมีฤทธิ์เย็นและมีเอนไซม์ย่อยแป้ง   

         - มะละกอดิบ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน    - ผักสด+ผลไม้ ทานสดมีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต   

         - เน้นอาหารจากธรรมชาติ RAW FOOD ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด   

         - วิตามินและเกลือแร่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ    

         - อาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น   

         - สาหร่ายทะเลช่วยส่งเสริมการทำงานไทรอยด์ (เพิ่มภูมิต้านทาน)
         การรักษา SLE ด้วยโภชนาการและการปฏิบัติตอนเช้าและก่อนนอน1) ตื่นเช้าทำ OIL PULLING 15-20 นาที2) ตามด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว3) รับประทานสิ่งต่างๆเหล่านี้วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร   

         - น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เพราะมีสารเคมี)     

         - กระเทียมสด หรือกระเทียมอัดเม็ด (อิมมิวนีท็อป 2000)             

         - เลซิติน (ไวทัล-เอ็ม)                                                                                 

         - น้ำมันตับปลา                                                                            

         - บริวเวอร์ยีสต์                                                                           

         - ขมิ้นชัน                                                                                  

         - N-ACETYLCYSTEIN (NAC LONG),(MUCIL)   

         - Evening Primrose Oil (EPO)4) อาหารแต่ละมื้อให้ดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และทานอาหารที่ควรรับประทาน อย่าลืมการดื่มน้ำที่ถูกต้อง5) ออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง6) พักผ่อนให้สบาย ฝึกมองโลกในแง่บวก จิตแจ่มใส ผ่อนคลาย7) เพิ่มอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักผลไม้, แตงกวา, ฟัก, ถั่วต้ม+เห็ดหูหนูขาว หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำใบบัวบก, ย่านาง, เก็กฮวย, จับเลี้ยง, น้ำถั่วเขียว เพื่อดับร้อนในร่างกาย ดื่มแทนน้ำทุกวันจะดีมาก ไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อยบทความที่เกี่ยวข้อง :ออยล์พูลลิ่ง ภาค1: แบคทีเรียในช่องปากและวิธีการทำออยล์พูลลิ่ง

 ‘ชีวีมีสุขอย่างไร ถ้ามีโรคเอส แอล อี’
SLE - Systemic Lupus Erythrematosus


       อันแสงแดด แผดกล้า ฝ่าไม่ได้ แม้นมีไข้ มีเครียด เกลียดหนักหนา
มีติดเชื้อ เนื้อหนัง พังเชียวนา เสี่ยงกินยา นอกระบบ พบเคราะห์กรรม
เอส แอล อี มีชีวิต คิดเป็นสุข ควรไร้ทุกข์ ไร้โศก วิโยคหนา
ออกกำลัง เป็นอาจิณ และกินยา ไม่ลืมมา ตามแพทย์นัด พิพัฒน์เอย.

Health care for SLE disease No sunshine, No serious, No flu , No disease, No worry

Be happy, need exercise , need have medicine the doctor order and need see the doctor

 อาการปวดตามข้อ

อาการตัวร้อนเป็นไข้

 

           ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ส่วนมากเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นโรค เอส แอล อี จะมีความกังวลใจ ไม่ทราบว่าตัวเองจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมีครอบครัวมีบุตรได้หรือไม่ จะเรียนหนังสือจบไหม จะทำงานที่ตัวเองตั้งใจเอาไว้ได้หรือไม่ โรค เอส แอล อี จะถึงกับทำให้เสียชีวิตหรือไม่ จะมีอายุสั้นลงหรือไม่ คำตอบสำหรับปัญหาเหล่านี้คงอยู่ที่ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค เอส แอล อี หลังจากที่ได้รับการรักษาแล้ว อาการของโรคดีขึ้น โรคสงบลงแค่ไหน ถ้าโรค เอส แอล อี สงบลงจนผู้ป่วยเป็นปกติก็สามารถมีบุตรได้ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไปจะเรียนหนังสือหรือทำการงานต่าง ๆ ได้ตามปกติ อายุขัยก็ไม่สั้นกว่าคนปกติ แต่การจะทำให้โรค เอส แอล อี สงบลง ไม่สามารถทำได้ด้วยการรักษาจากแพทย์ หรือจากโรงพยาบาลอย่างเดียวเท่านั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยที่จะปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ไม่ให้โรคกำเริบและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเพื่อให้ภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเปลี่ยนแปลงกลับสู่สภาพเดิมให้มากที่สุดเพื่อให้โรคสงบลง การใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติดังนี้
 
            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กิตติ โตเต็มโชคชัยการ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แนะนำเรื่องนี้ไว้อย่างดีคือ
 
            แสงแดด-ศัตรูตัวร้าย สำหรับคนทั่วไปแสงแดดช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดี มีประโยชน์ แต่สำหรับผู้ป่วยโรค เอส แอล อี แสงแดดเป็นศัตรูตัวร้ายเพราะพลังงานจากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับเซลล์ที่ผิวหนัง ทำให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ให้กำเริบ ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังและอวัยวะอื่นตามมา นอกจากแสงแดดโดยตรงแล้วไอร้อนจากแสงแดดก็สามารถทำให้โรค เอส แอล อี กำเริบได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงเวลา 10.00-16.00 น. ถ้าจำเป็นต้องออกแดดควรสวมเสื้อผ้าแขนยาว-ใส่หมวก (ยิ่งมีปีกกว้างยิ่งดี) และกางร่ม นอกจากนี้ควรใช้ยาทากันแดดที่ป้องกันแสงอัลตราไวโอเลตได้ดี
 
            การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ควรมีการนอนหลับพักผ่อนวันละ 6-8 ชั่วโมง การนอนหลับนี้ควรเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพ ไม่ใช่นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ การอดนอน นอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิทติดต่อกันหลายวันอาจทำให้โรคกำเริบได้ หรือทำให้โรค เอส แอล อี ไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร
 
            ความเครียด-เพชฌฆาตเงียบ ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลงได้ ทำให้โรค เอส แอล อี กำเริบได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังมีความเครียดอยู่ก็ได้ แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างโรค เอส แอล อี ก็เป็นความเครียดอย่างหนึ่ง แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายว่าจะคิดได้หรือทำใจได้อย่างไร ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จึงควรพยายามฝึกจิตใจให้ปล่อยวาง ไม่หมกมุ่นหรือวิตกกังวล  พยายามทำใจให้ยอมรับโรคและปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น  ทำจิตใจให้สงบและค่อย ๆ แก้ปัญหาต่าง ๆ ไปตามลำดับ
 
            การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ช่วยปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันให้ทำงานดีขึ้น กลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้จิตใจสบาย สงบและเข้มแข็งขึ้น ทำให้สามารถปรับตัวกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  จึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรค เอส แอล อี แต่การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป จะทำให้เป็นการเพิ่มความเครียดทางร่างกายทำให้โรคกำเริบได้เช่นเดียวกัน
 
            ความสะอาด ปราศจากการติดเชื้อ-กุญแจสู่โรคสงบ โรค เอส แอล อี ถึงแม้เป็นโรคที่รุนแรงและเรื้อรังแต่ด้วยความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถรักษาให้โรคสงบลงและปราศจากภาวะแทรกซ้อนได้ไม่ยาก แต่ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่มีปัญหาต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลเพราะอาการหนัก หรือถึงขนาดเสียชีวิตส่วนใหญ่แล้วเกิดจากมีการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน เช่น เป็นปอดบวม ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อไทฟอยด์ ติดเชื้อราต่าง ๆ ทำให้การรักษาโรคยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นมาก เนื่องจากการรักษาโรค เอส แอล อี ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันหรือยาสเตียรอยด์ซึ่งการใช้ยาเหล่านี้ก็จะทำให้การกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วยด้วยยาปฏิชีวนะต่าง ๆ ได้ผลไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ วิธีที่ดีที่สุดคือพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในระหว่างที่รักษาโรค เอส แอล อี อยู่ ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จึงควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดที่มีคนหนาแน่น อากาศไม่บริสุทธิ์ เพราะจะทำให้เข้าใกล้คนที่กำลังเป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดหรือวัณโรค จะมีโอกาสติดเชื้อจากทางเดินหายใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องความสะอาดของอาหารที่รับประทาน   ไม่รับประทานอาหารที่ไม่สุกหรือไม่สะอาด เพราะจะมีโอกาสติดเชื้อโรคแบคทีเรียหรือเชื้อพยาธิต่าง ๆ ที่มากับอาหาร โดยเฉพาะเชื้อไทฟอยด์ ถ้ามีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น มีตุ่มฝีหนองตามผิวหนัง หรือไอมีเสมหะสีเหลือง สีเขียว หรือมีปัสสาวะ แสบขัด ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยโรค เอส แอล อี กำลังได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันเช่น ยาอิมูเรน (imuran) หรือยาเอ็นด๊อกแซน (endoxan) ให้หยุดยานี้ชั่วคราวในระหว่างที่มีการติดเชื้อ
 
             ยานอกระบบ-คบไม่ได้ ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ไม่ควรรับประทานยาเองโดยไม่จำเป็น เพราะยาบางอย่างอาจทำให้โรคกำเริบได้ โดยเฉพาะยาคุมกำเนิด  ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาอื่นที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง นอกจากยาแล้วอาหารเสริมหรือยาสมุนไพรบำรุงร่างกายบางอย่างก็ทำให้โรคกำเริบรุนแรงได้
เช่น โสม เพราะอาจจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กำเริบได้ ดังนั้นการจะรับประทานยาบำรุงหรืออาหารเสริมจึงควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรค เอส แอล อี ก่อนว่ารับประทานได้หรือไม่
 
             มีบุตรได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในระหว่างที่โรค เอส แอล อี ยังไม่สงบ ผู้ป่วยยังได้รับการรักษาและติดตามการรักษาอยู่ ควรมีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังได้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เพราะการตั้งครรภ์อาจทำให้โรคกำเริบได้ การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดทั้งชนิดกินและฉีดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ เพราะอาจทำให้โรคกำเริบได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรใช้วิธีใส่ห่วงเพราะอาจเกิดการติดเชื้อโรคในช่องคลอดหรือมดลูกได้มากกว่าคนปกติ วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ที่แนะนำคือ การใช้ถุงยางอนามัยและการนับวันไข่ตก เมื่อโรค เอส แอล อี อยู่ในระยะสงบแล้วเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน สามารถตั้งครรภ์ได้แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และ ขณะตั้งครรภ์ ควรมีการติดตามโรคอย่างใกล้ชิดมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะบางครั้งโรคอาจกำเริบขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ช่วงคลอดบุตรและหลังคลอดบุตรระยะแรกก็ยังต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
 
              มาตามนัด-ขจัดกำเริบและแทรกซ้อน ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ควรมาตรวจตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะของโรคและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสมกับตัวโรคในขณะนั้น ในระยะที่โรคกำลังกำเริบรุนแรงหรืออยู่ในช่วงปรับยา จำเป็นต้องมาบ่อย แต่ถ้าโรคสงบลงแล้ว อยู่ในช่วงกำลังปรับลดยาลง  แพทย์ก็จะนัดห่างออกไป ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ เป็น ๆ หาย ๆ  มีบวมตามตัว มีผื่นขึ้น มีปวดข้อมากขึ้น ให้ไปพบแพทย์ก่อนนัด ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี พึงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
 
              ดื่มนมสดและอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มักจะได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ผลข้างเคียงอันหนึ่งที่สำคัญของยาสเตียรอยด์เมื่อรับประทานไปเป็นเวลานาน ๆ คือ ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จึงควรดื่มนมสด และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ๆ เช่น ปลากรอบ ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ก้อนแข็งสี่เหลี่ยม ให้ได้แร่ธาตุแคลเซียมในปริมาณที่มากพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน นอกจากนี้การออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนอีกด้วย
 
             ถ้าต้องการทำฟันหรือถอนฟัน ควรปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มีภูมิคุ้มกันที่ไม่ปกติ  รวมทั้งมีการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย การทำฟันหรือถอนฟันทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากมีโอกาสผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว เชื้อเหล่านี้อาจไม่ถูกกำจัดแล้วไปก่อให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ ดังนั้นก่อนทำฟันหรือถอนฟัน จึงควรปรึกษาแพทย์  เพื่อแพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยงและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อมารับประทานก่อนทำฟันและหลังทำฟันต่อไป

     โรคเอส แอล อี

โรคเอส แอล อี   (Systemic Lupus Erythematosus ,SLE )

เป็นโรคในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีการ อักเสบของอวัยวะต่างๆเกือบทุกที่ในร่างกาย   ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติมีผลต่อต้านเซลล์และเนื้อเยื่อตัวเอง   เกิดการทำลายเนื้อเยื่อจนทำให้เกิดอาการต่างๆ

สาเหตุ  
ยังไม่ทราบ แน่ชัด   น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นมากกว่าเพศชายประมาณ 10 เท่า   โรคนี้กำเริบได้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด   แสดงว่าฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนมีบทบาท   ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ แสงอัลตร้าไวโอเลต, สารเคมีบางชนิด เช่นน้ำยาย้อมผม, ยาลดความดันบางตัวเช่น hydralazine เป็นต้น  เชื้อโรคบางชนิดก็กระตุ้นให้เกิดโรคได้เช่นกัน

อาการ  
อาจมีอาการ เล็กน้อยจนถึงรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้  แต่สามารถรักษาให้สงบได้ ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและใกล้ชิดจากแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรค ไขข้อ( Rheumatologist )   และอาจเกิดอาการทีละอย่าง หรือเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้

-   อาการทั่วไป :  ไข้, เบื่ออาหาร, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด, ผมร่วง
-   ผิวหนัง :  ผื่นแดงที่แก้มรูปคล้ายผีเสื้อ,  ผื่นแพ้แดด, จ้ำเลือด
-   ช่องปาก :  แผลในปากเป็นๆหายๆ มักไม่เจ็บ
-   ข้อ :  ข้อปวดบวมแดงที่แขนขาจำนวน 2 ข้อหรือมากกว่า
-   อวัยวะภายใน :       
       1.  เจ็บหน้าอกจากเยื้อหุ้มปอดหรือหัวใจอักเสบ
       2.  ไตอักเสบ มักไม่มีอาการจนกว่าเป็นมากๆ ขาและหน้าจะบวม
       3.  ระบบประสาท เช่น ชัก อาการทางจิต
       4.  ระบบโลหิต เช่น ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ, เกร็ดเลือดต่ำ และพบสารภูมิต้านทานที่ผิดปกติในเลือด ( Anti-DNA, Antiphospholipid, Antinuclear antibody [ANA] )
       5.  อาการอื่นที่พบไม่บ่อย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองโต, ตับม้ามโต      

การรักษา 

1.  การใช้ยา  มีหลายชนิดขึ้นกับอวัยวะที่ผิดปกติและความรุนแรงของโรค
       -  โรคที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้  ข้ออักเสบ  เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจอักเสบเล็กน้อย  ผื่นผิวหนัง  ปวดศีรษะ  เม็ดเลือดขาวต่ำ  ใช้ยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบ, ยาต้านมาเลเรีย
       -  โรคที่รุนแรง เช่น โรคไต ซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย จ้ำเลือดจากเกร็ดเลือดต่ำ น้ำในช่องเยื่อหุ้ม - ปอดหรือหัวใจจำนวนมาก  อาการทางระบบประสาท ปอดและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  ใช้ยาสเตียรอยด์, ยากดภูมิคุ้มกัน
2.  การให้ความรู้และคำแนะนำ  แก่ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัวดังนี้
       -  โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ   รักษาไม่หายขาด เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่รักษาให้โรคสงบได้โดยรับประทานยาอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ และไม่พลาดนัด
       -  หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด ใช้ครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไป
       -  หลีกเลี่ยงการติดเชื้อโดยไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อ, รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ, พักผ่อนให้เพียงพอ
       -  หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
       -  เวลาไม่สบาย ห้ามซื้อยารับประทานเอง ให้พบแพทย์และบอกว่าเป็นโรคลูปัส เพื่อเลี่ยงยาที่อาจทำให้โรคกำเริบเช่น ยาคุมกำเนิด, ยาลดความดันโลหิตบางตัว
       -  สามารถมีบุตรได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ เพราะต้องรอให้โรคสงบอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่ต้องใช้ยามาก เนื่องจากโรคอาจกำเริบได้   และอาจต้องงดยาบางอย่างก่อน
       -  การคุมกำเนิด เลี่ยงยาคุมที่มีเอสโตรเจนและการใส่ห่วงซึ่งมีโอกาสติดเชื้อสูง

โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล

Link  
https://www.naturalmind.co.th
https://www.csjoy.com
https://www.cgh.co.th

อัพเดทล่าสุด