ยารักษาโรคลําไส้แปรปรวน


3,433 ผู้ชม


ยารักษาโรคลําไส้แปรปรวน ยารักษาโรคลําไส้อักเสบ โรคลําไส้แปรปรวน อาการ

เช็คโรคจากอาการปวดท้อง

ใครที่มักจะปวดท้องบ่อย ๆ แต่ไม่รู้ว่าปวดท้องเพราะอะไร เรามีวิธีการเช็คโรคจากอาการปวดท้องมาบอก... ปวดท้อง - ปวดท้องด้านขวาตอนบน ความเจ็บปวดในบริเวณด้านขวาตอนบนของช่องท้อง มักเกิด จากโรคตับและถุงน้ำดี - ปวดท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร แอ่งกระเพาะอาหาร คือ บริเวณที่อยู่ใต้ซี่โครงลงมา การเจ็บปวดบริเวณนี้มักเกิดจากการแสบกระเพาะอาหารและอาการไม่ย่อย โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอาจเกิดขึ้นในบริเวณนี้ได้เช่นเดียวกัน บางครั้งโรคต่างๆที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นในบริเวณส่วนท้องที่ เป็นแอ่งได้ - ปวดท้องส่วนกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุมาจากโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้อาการปวดท้องที่บริเวณนี้อาจเกิดจากไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักเริ่มขึ้นที่บริเวณนี้ก่อนเสมอ แล้วจึงเลื่อนมาเป็นส่วนล่าง - ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร นั่นหมายถึงอาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ - ปวดท้องด้านขวาตอนล่าง อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน อาการอักเสบของลำไส้ - ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง อาการปวดที่เป็นลักษณะปวดและคลายสลับกันพร้อมกับ อาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Diverticulitis) ครั้งหน้าปวดท้อง อย่าลืมตรวจดูว่าอาการปวดท้องนั้นเกิดจากอะไร จะได้รักษาได้ถูกอาการ.

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) การรักษาและยาที่ใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

 

มาถึงตอนสุดท้ายของโรค IBS ผม จะได้สาธยายถึงการรักษาโรคนี้ที่จะได้ผลดี คนไข้สบายกายและจิตใจต้อง ก้อต่อเมื่อต้องอาศัยการรักษาอย่างเป็นทีมทั้งผู้ป่วยและญาติๆ เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงผู้ทำการรักษา จึงจะได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจของคุณๆผู้ป่วยเอง ลองมาติดตามกันนะครับ 

โรคนี้รักษาได้ แต่อันดับแรกต้องวินิจฉัยให้ได้แน่ชัดเสียก่อน 

หาก คุณได้ทำแบบทดสอบและไปพบแพทย์มาแล้ว ต่อไปเมื่อถึงเวลาจ่ายยา วิธีการรักษาและ ยาที่เลือกนำมารักษาจะมีมากหลายตัว บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก้อแตกต่างกัน บางครั้งคุณอาจต้องได้รับการปรับยาหลายครั้ง พอคนไข้กลับไปบ้านมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นในคนไข้ทีเข้าใจโรคอย่างดี มีการติดตามการรักษาและมีการอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วยและทีมผู้ให้การรักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น  

หลักการเลือกใช้ยา 

เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ อาการโรคมักจะเรื้อรัง โดนที่บางช่วงที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ เลย ดังนั้น ผลสำเร็จในการรักษา IBS ช่วย บรรเทาอาการจะช่วยยืดระยะเวลาของช่วงที่ไม่มีอาการออกไปได้ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง ซึ่งให้ผลตอบสนองที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้นหรือหายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจาก IBS มีสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นหลายด้าน ดังนั้นการรักษาที่เป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพดี คือการใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ในแง่การให้ยา จะให้ยารักษาตามความเด่นของอาการ ได้แก่

1.    ท้องผูกเป็นอาการเด่น: ใช้วิธีเพิ่มอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย เช่นผัก ผลไม้ หรือยาช่วยระบายกลุ่มเพิ่มกากใยอาหาร (Ispaghula husk, psyllium seed ) หรือให้ยาระบายเช่น polyethylene glycol (PEG), sorbitol, lactulose เพื่อกระตุ้นการถ่ายให้สม่ำเสมอ ลดอาการอึดอัดหรือปวดในช่องท้องที่เกิดร่วมกับท้องผูก Lubiprostone (Amitiza) ช่วยเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้ เนื่องจากเป็น prostaglandin analog นอก จากนี้ยังทำให้เกิดการขับน้ำจากผนังลำไส้ ซึ่งช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเนื่องจากไม่มีผลต่อสมดุลเกลือแร่ Tegaserod (Zelmorm) เป็นสารกระตุ้นตัวรับชนิดย่อยที่ 4 ของเซโรโทนิน (5HT-4 agonist) ซึ่งมีผลเพิ่มจังหวะการบีบเคลื่อนตัวของทางเดินอาหาร จึงช่วยแก้ไข IBS ชนิดท้องผูก

2.    ท้องเสียเป็นอาการเด่น: เริ่ม จากการวิเคราะห์ว่าอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น มีปัจจัยกระตุ้นจากอาหาร ยา หรือพฤติกรรมบางอย่างหรือไม่ ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่นนมโค ซึ่งทำให้ท้องเสียได้ ในรายที่ร่างกายขาดน้ำย่อย lactase ซึ่งใช้ย่อยน้ำตาล lactose ซึ่งมีอยู่ในนม ผู้ป่วยเหล่านี้จึงต้องเลี่ยงดื่มนมโค หรือในผู้ที่มีอาการท้องเสียจากการใช้หมากฝรั่ง อาจเนื่องจากน้ำตาล sorbitol ที่ใช้เป็นสารให้ความหวานในหมากฝรั่ง ในรายที่อาการท้องเสียเป็นมาก และรบกวน อาจใช้ยาซึ่งลดความถี่ในการถ่าย (anti-motility) เช่น diphenoxylate หรือ loperamide

3.    ปวดท้องหรือท้องอืดเป็นอาการเด่น: ควรเริ่มด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่นปริมาณอาหารแต่ละมื้อ พฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร ชนิดและสัดส่วนของอาหารประเภทต่างๆ อาหารที่มีความมันมาก อาหารรสจัด หรือมีแก๊สมาก เช่นโปรตีน เนื้อสัตว์ หรือพืชตระกูลถั่ว อาจทำให้อาการเป็นรุนแรงขึ้น มักจะเลือกใช้ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (anti-spasmodics) เช่น mebeverine, dicyclomine, hyoscine Nbutylbromide, peppermint oil, Magesto-F อาจ ช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งลงได้ และในรายที่มีท้องเสียร่วมด้วย ยาในกลุ่มนี้อาจช่วยลดความถี่ในการถ่าย ข้อควรระวังของการใช้ยากลุ่มนี้ คืออาการท้องผูก ปากคอแห้ง มองภาพเบลอ ปัสสาวะขัด และอาการต้อหินกำเริบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้peppermint oil ในผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย เนื่องจาก peppermint oil มีผลคลายกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ทำให้เกิดการกำเริบของกรดไหลย้อนได้

ยากระตุ้นการทำงานของลำไส้ (prokinetics) เช่น domperidone, metoclopramide, itopride (Ganaton) อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืดซึ่งพบร่วมกับ IBS ได้ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วย ถ้าเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมด้วย ต้องระวังไม่ให้ไปตีกันกับ anti-spamodics ทำให้ เพราะจะทำให้ prokinetics ออกฤทธิ์ได้ลดลง หากต้องใช้ร่วมกัน นิยมให้ anti-spasmodics ก่อนอย่างน้อยครึ่ง-1 ชั่วโมง

ในรายที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าร่วมด้วย  

ผู้ ป่วยหลายรายมักจะความเครียดและกังวลใจ ทำให้โรคนี้มีอาการมากขึ้นทำให้เสียคุณภาพชีวิตได้ เรามักแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา โดยคุณๆอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ยารักษาควบคุ่ไปด้วย กลุ่มของยาที่เลือกใช้ได้แก่ Antidepressant ซึ่งมีผลดีเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้อง และอาจช่วยให้ IBS แบบท้องเสียเด่นมีอาการลดลง ตัวอย่าง TCA ที่มีการใช้ใน IBS เช่น imipramine, amitriptyline, nortriptyine, desipramine

การรักษาที่ไม่ใช้ยา 

IBS ไม่ ได้เกิดจากโรคทางจิตโดยตรง แต่อารมณ์ก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือเลวลง การลดความเครียดจึงช่วยให้การรักษาหรือควบคุมอาการของ IBS เกิด ได้ดีขึ้น โดยมาตรการผ่อนคลายความเครียด มีหลายวิธี เช่น การออกกำลังกาย โยคะ การหายใจหรือนั่งสมาธิ รวมไปถึงการสะกดจิต และจิตบำบัด เพื่อเพิ่มการเรียนรู้พร้อมปรับพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy)

ที่เด่นๆในช่วงหลังก้อมีการ นำ Probiotics ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเชื้อ Lactobacillus plantarum, Bifidobacteria infantis หรือเชื้อตระกูลอื่นๆ ในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว จากการศึกษาในผู้ป่วย IBS ที่ เกิดอาการหลังการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งมีภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดีและชนิดอันตราย ดังนั้นการรับประทานโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจึงอาจช่วยบรรเทาอาการ ลดความรุนแรงของผู้ป่วย IBS บางรายได้

จบ ตอนการรักษาของดรคนี้ไปแล้ว อาจจะดูยุ่งยาก แต่หากคุณๆทำความเข้าใจกลไกของโรค ก้อจะยังคงชีพมีความสุขอยู่กับโรคนี้ไปอย่างมีความสุขครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมก้อส่งมาได้มาได้ทางอีเมล์เลยนะครับ

แหล่งข้อมูล 

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 สค. 2553

ห้าม นำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้าง สรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การ นำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address https://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บท ความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท

  • ·         Mayer EA. , Clinical practice. Irritable bowel syndrome. Center for Neurobiology of Stress, Division of Digestive Diseases, Department of Medicine, David Geffen School of Medicine at UCLA, Los Angeles, CA 90095-6949, USA, N Engl J Med. 2008 Apr 17;358(16):1692-9., https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18420501 
  • ·          Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care, National Collaborating Centre for Nursing and Supportive Care. Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2008 Feb. 27 p. (Clinical guideline; no. 61), https://www.guideline.gov/content.aspx?id=13703 
  • ·         ภก.กิติยศ ยศสมบัติ,โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS), สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ·         Linn WD, Wofford MR, O’keefe ME, et al. Pharmacotherapy in primary care. USA: McGraw-Hill; 2009

         อาการของโรคลำไส้แปรปรวน

อาการ ปวดท้อง ร่วมกับความผิดปกติของการย่อยอาหารเป็นอาการหลัก ซึ่งจะแปรผันในแต่ละคน ในบางคนมีอาการท้องผูก แต่บางคนกลับกัน คือท้องเสีย รู้สึกอยากถ่าย เข้าห้องน้ำแล้วเข้าอีก ในบางคนสลับกันคือ ท้องผูกสลับท้องเสีย บางคนมีอาการท้อง
อืดจากแก๊สในกระเพาะ หลาย ๆ คนจะปวดท้องอยากถ่าย แต่ปรากฏว่าไม่ออก พร้อมกับมี
แก๊ส และถ่ายเหลวเล็กน้อยออกมา
             จำไว้ว่า ถ้ามีเลือดออก น้ำหนักลด ไข้ ปวดท้องหรือต้องถ่ายกลางคืน ไม่ใช่อาการของโรคนี้ และต้องหาสาเหตุโดยด่วน 

การวินิจฉัย

การ วินิจฉัยขึ้นอยู่กับประวัติ การตรวจร่างกายอย่างรอบคอบ ไม่มีการทดลองที่เฉพาะ แต่มีเพื่อการแยกโรคอื่นออกไป เช่น การตรวจอุจจาระ เอกซเรย์ หรือแม้กระทั่งการส่องกล้อง ดูในกระเพาะ ลำไส้ และลำไส้ใหญ่ เมื่อทุกจุด ไม่มีอะไรผิดปกติแล้วนั่นแหละ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าลำไส้แปรปรวน

เกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐานของโรค

-    ปวดท้อง แน่นท้องอย่างน้อย 12 สัปดาห์ จากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน
-    ปวดท้อง และมีอาการสองในสามของ
-    อาการดีขึ้นเมื่อถ่าย
-     เมื่อมีอาการทำให้ความถี่ของการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป
-    เมื่อมีอาการ ทำให้ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป

การรักษา

ไม่ มีการรักษาเฉพาะ และไม่รับประกันว่าจะหายขาด แต่มีการรักษาที่ทำให้อาการดีขึ้น เช่น ยาแก้อาการปวด การรับประทานกากใยเยอะ ๆ หรือแม้กระทั่งยาระบาย ถ้าท้องผูก ยาคลายกังวล ยาอื่น ๆ ที่เฉพาะมีดังนี้

  • Alosetron หรือ Lotronex ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ให้ใช้ในสตรีที่รักษาด้วยยาอื่น ๆ ไม่ได้ผล
  • Tegaserod maleate หรือ Zelnorm ใช้รักษาในระยะสั้น ในกรณีท้องผูก

ความ เครียด เกี่ยวข้องกับอาการโรคนี้ เนื่องจากลำไส้ มีระบบประสาทมาเกี่ยวพันมาก ในบางคน เครียดแล้วจะมีปวดเกร็ง ดังนั้น จึงอาจจะต้องมีการรักษาเรื่องความเครียดด้วยวิธี

  • คลายเครียดโดยแพทย์ ยา หรือ การบำบัดอื่น ๆ
  • ออกกำลัง โยคะ
  • เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

Link  
https://www.oknation.net
https://www.surachetclinic.com
https://www.praram9.com
https://health.kapook.com
https://women.sanook.com

อัพเดทล่าสุด