การรักษาอาการโรคลําไส้อักเสบในคน


2,595 ผู้ชม


การรักษาอาการโรคลําไส้อักเสบในคน โรคลําไส้ อักเสบ โรคลําไส้ตีบ

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) การรักษาและยาที่ใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

มาถึงตอนสุดท้ายของโรค IBS ผมจะได้สาธยายถึงการรักษาโรคนี้ที่จะได้ผลดี คนไข้สบายกายและจิตใจต้อง ก้อต่อเมื่อต้องอาศัยการรักษาอย่างเป็นทีมทั้งผู้ป่วยและญาติๆ เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงผู้ทำการรักษา จึงจะได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจของคุณๆผู้ป่วยเอง ลองมาติดตามกันนะครับ 


โรคนี้รักษาได้ แต่อันดับแรกต้องวินิจฉัยให้ได้แน่ชัดเสียก่อน 
หากคุณได้ทำแบบทดสอบและไปพบแพทย์มาแล้ว ต่อไปเมื่อถึงเวลาจ่ายยา วิธีการรักษาและ ยาที่เลือกนำมารักษาจะมีมากหลายตัว บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก้อแตกต่างกัน บางครั้งคุณอาจต้องได้รับการปรับยาหลายครั้ง พอคนไข้กลับไปบ้านมีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นในคนไข้ทีเข้าใจโรคอย่างดี มีการติดตามการรักษาและมีการอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วยและทีมผู้ให้การรักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น


     หลักการเลือกใช้ยา
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ อาการโรคมักจะเรื้อรัง โดนที่บางช่วงที่ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ เลย ดังนั้น ผลสำเร็จในการรักษา IBS ช่วยบรรเทาอาการจะช่วยยืดระยะเวลาของช่วงที่ไม่มีอาการออกไปได้ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง ซึ่งให้ผลตอบสนองที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้นหรือหายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจาก IBS มีสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นหลายด้าน ดังนั้นการรักษาที่เป็นที่ยอมรับและมีประสิทธิภาพดี คือการใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ในแง่การให้ยา จะให้ยารักษาตามความเด่นของอาการ ได้แก่
1.    ท้องผูกเป็นอาการเด่น: ใช้วิธีเพิ่มอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย เช่นผัก ผลไม้ หรือยาช่วยระบายกลุ่มเพิ่มกากใยอาหาร (Ispaghula husk, psyllium seed ) หรือให้ยาระบายเช่น polyethylene glycol (PEG), sorbitol, lactulose เพื่อกระตุ้นการถ่ายให้สม่ำเสมอ ลดอาการอึดอัดหรือปวดในช่องท้องที่เกิดร่วมกับท้องผูก Lubiprostone (Amitiza) ช่วยเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้ เนื่องจากเป็น prostaglandin analog นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการขับน้ำจากผนังลำไส้ ซึ่งช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเนื่องจากไม่มีผลต่อสมดุลเกลือแร่ Tegaserod (Zelmorm) เป็นสารกระตุ้นตัวรับชนิดย่อยที่ 4 ของเซโรโทนิน (5HT-4 agonist) ซึ่งมีผลเพิ่มจังหวะการบีบเคลื่อนตัวของทางเดินอาหาร จึงช่วยแก้ไข IBS ชนิดท้องผูก
2.    ท้องเสียเป็นอาการเด่น: เริ่มจากการวิเคราะห์ว่าอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น มีปัจจัยกระตุ้นจากอาหาร ยา หรือพฤติกรรมบางอย่างหรือไม่ ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่นนมโค ซึ่งทำให้ท้องเสียได้ ในรายที่ร่างกายขาดน้ำย่อย lactase ซึ่งใช้ย่อยน้ำตาล lactose ซึ่งมีอยู่ในนม ผู้ป่วยเหล่านี้จึงต้องเลี่ยงดื่มนมโค หรือในผู้ที่มีอาการท้องเสียจากการใช้หมากฝรั่ง อาจเนื่องจากน้ำตาล sorbitol ที่ใช้เป็นสารให้ความหวานในหมากฝรั่ง ในรายที่อาการท้องเสียเป็นมาก และรบกวน อาจใช้ยาซึ่งลดความถี่ในการถ่าย (anti-motility) เช่น diphenoxylate หรือ loperamide
3.    ปวดท้องหรือท้องอืดเป็นอาการเด่น: ควรเริ่มด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่นปริมาณอาหารแต่ละมื้อ พฤติกรรมการเคี้ยวอาหาร ชนิดและสัดส่วนของอาหารประเภทต่างๆ อาหารที่มีความมันมาก อาหารรสจัด หรือมีแก๊สมาก เช่นโปรตีน เนื้อสัตว์ หรือพืชตระกูลถั่ว อาจทำให้อาการเป็นรุนแรงขึ้น มักจะเลือกใช้ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (anti-spasmodics) เช่น mebeverine, dicyclomine, hyoscine Nbutylbromide, peppermint oil, Magesto-F อาจช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งลงได้ และในรายที่มีท้องเสียร่วมด้วย ยาในกลุ่มนี้อาจช่วยลดความถี่ในการถ่าย ข้อควรระวังของการใช้ยากลุ่มนี้ คืออาการท้องผูก ปากคอแห้ง มองภาพเบลอ ปัสสาวะขัด และอาการต้อหินกำเริบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้peppermint oil ในผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย เนื่องจาก peppermint oil มีผลคลายกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ทำให้เกิดการกำเริบของกรดไหลย้อนได้
ยากระตุ้นการทำงานของลำไส้ (prokinetics) เช่น domperidone, metoclopramide, itopride (Ganaton) อาจช่วยบรรเทาอาการท้องอืดซึ่งพบร่วมกับ IBS ได้ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนร่วมด้วย ถ้าเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมด้วย ต้องระวังไม่ให้ไปตีกันกับ anti-spamodics ทำให้ เพราะจะทำให้ prokinetics ออกฤทธิ์ได้ลดลง หากต้องใช้ร่วมกัน นิยมให้ anti-spasmodics ก่อนอย่างน้อยครึ่ง-1 ชั่วโมง
ในรายที่มีอาการเครียดหรือซึมเศร้าร่วมด้วย

ผู้ป่วยหลายรายมักจะความเครียดและกังวลใจ ทำให้โรคนี้มีอาการมากขึ้นทำให้เสียคุณภาพชีวิตได้ เรามักแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา โดยคุณๆอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ยารักษาควบคุ่ไปด้วย กลุ่มของยาที่เลือกใช้ได้แก่ Antidepressant ซึ่งมีผลดีเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้อง และอาจช่วยให้ IBS แบบท้องเสียเด่นมีอาการลดลง ตัวอย่าง TCA ที่มีการใช้ใน IBS เช่น imipramine, amitriptyline, nortriptyine, desipramine


การรักษาที่ไม่ใช้ยา
IBS ไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตโดยตรง แต่อารมณ์ก็มีส่วนอย่างมากที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือเลวลง การลดความเครียดจึงช่วยให้การรักษาหรือควบคุมอาการของ IBS เกิดได้ดีขึ้น โดยมาตรการผ่อนคลายความเครียด มีหลายวิธี เช่น การออกกำลังกาย โยคะ การหายใจหรือนั่งสมาธิ รวมไปถึงการสะกดจิต และจิตบำบัด เพื่อเพิ่มการเรียนรู้พร้อมปรับพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy)
ที่เด่นๆในช่วงหลังก้อมีการ นำ Probiotics ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเชื้อ Lactobacillus plantarum, Bifidobacteria infantis หรือเชื้อตระกูลอื่นๆ ในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว จากการศึกษาในผู้ป่วย IBS ที่เกิดอาการหลังการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งมีภาวะที่ไม่สมดุลระหว่างจุลินทรีย์ชนิดดีและชนิดอันตราย ดังนั้นการรับประทานโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวจึงอาจช่วยบรรเทาอาการ ลดความรุนแรงของผู้ป่วย IBS บางรายได้
จบตอนการรักษาของดรคนี้ไปแล้ว อาจจะดูยุ่งยาก แต่หากคุณๆทำความเข้าใจกลไกของโรค ก้อจะยังคงชีพมีความสุขอยู่กับโรคนี้ไปอย่างมีความสุขครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมก้อส่งมาได้มาได้ทางอีเมล์เลยนะครับ


แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 สค. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address https://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
·         Irritable Bowel Syndrome, National Digestive Diseases Information Clearinghouse, Bethesda, https://digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/ibs/index.htm
·         Mayer EA. , Clinical practice. Irritable bowel syndrome. Center for Neurobiology of Stress, Division of Digestive Diseases, Department of Medicine, David Geffen School of Medicine at UCLA, Los Angeles, CA 90095-6949, USA, N Engl J Med. 2008 Apr 17;358(16):1692-9., https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18420501
·          Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care, National Collaborating Centre for Nursing and Supportive Care. Irritable bowel syndrome in adults. Diagnosis and management of irritable bowel syndrome in primary care. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2008 Feb. 27 p. (Clinical guideline; no. 61), https://www.guideline.gov/content.aspx?id=13703
·         Irritable bowel syndrome: full guideline. Page 1 of 554. Clinical practice guideline. Irritable bowel syndrome in adults: Diagnosis and management of www.nice.org.uk/nicemedia/pdf/IBSFullGuideline.pdf
·         irritable bowel syndrome Medications, https://www.irritable-bowel-syndrome.ws/ibs-medications.htm
·         โรคลำไส้แปรปรวน(IBS=Irritable bowel syndrome),Thai Health, https://www.thaihealth.net/h/article302.html , https://www.thaihealth.net/h/article321.html
·         Irritable Bowel Syndrome Medications and Drugs, IBS Self Help and Support Group , https://www.ibsgroup.org/medications
·         โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome : IBS)  ,Vejthani Hospital International Medical & Health Care Services,https://www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/Irritable-Bowel-Syndrome.php
·         ภก.กิติยศ ยศสมบัติ,โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS), สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
·         Linn WD, Wofford MR, O’keefe ME, et al. Pharmacotherapy in primary care. USA: McGraw-Hill; 2009

ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)

บทนำ

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือ เรียกย่อว่าโรคยูซี (Ulcerative colitis หรือ UC) เป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โรคครอน (Crohn’s disease) และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบไม่แน่นอน (Indeterminate colitis)

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่ชัด เจน โรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ โดยจะมีอาการเกี่ยวกับการอุจจาระที่ผิดปกติ ความสำคัญคือ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงกว่าคนทั่วไป

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย โดยประเทศที่พบบ่อย คือ อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย และประเทศในแถบยุโรปเหนือ อย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.2-14.3 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ใน ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 0.34 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี สำหรับในประเทศไทยก็พบได้น้อยเช่นกัน นอกจากนี้พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและมีเศรษฐานะที่ดี มีอัตราการเกิดโรคบ่อยกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและมีเศรษฐานะต่ำ

อนึ่ง ช่วงอายุที่พบบ่อยของโรคนี้มี 2 ช่วง คือ 15-30 ปี และ 60-80 ปี ผู้ ชายและผู้หญิงพบได้เท่าๆ กัน

อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลที่ชัดเจน แต่เป็นที่ยอมรับว่า น่าเกิดจากผู้ป่วยบางคนมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด

สารพันธุกรรมที่พบว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และโรคอื่นๆในกลุ่มลำไส้อักเสบ มีอยู่หลายตัว และเกี่ยวข้องกับหลายโครโมโซม (Chromosome, หน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คนปกติจะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่) เช่น โครโมโซมคู่ที่ 1, 5, 12, 19 เป็นต้น และพบว่าอาจส่งทอดทางพันธุกรรมได้ โดยถ้ามีพ่อ หรือแม่ หรือพี่น้องคนใดคนหนึ่งเป็นโรคในกลุ่มลำไส้อักเสบ โอกาสที่จะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วยมีประมาณ 10% แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคในกลุ่มนี้ โอกาสที่ลูกแต่ละคนจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วย มีถึง 36% การศึกษาในคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน พบ ว่า ถ้ามีแฝดคนหนึ่งเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ประมาณ 6% จะพบแฝดอีกคนเป็นโรคนี้เช่นกัน

โดยปกติเมื่อเรากินอาหาร หรือสิ่งต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของลำไส้จะไม่ตอบสนองต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น (แต่ถ้านำเอาอาหารเหล่านั้นมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้น/หลอดเลือด จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรง) รวมทั้งไม่ต่อต้านกับเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้เราด้วย แต่ในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานนี้ขึ้น โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันต้านทาน จะตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้น โดยการหลั่งสารเคมีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบแบบเรื้อรัง และทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรังตามมานั่นเอง

มีการศึกษาที่สันนิษฐานว่า การติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรคบางชนิด เช่น Samonella sp, Shigella sp. อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังขึ้นมาได้ แต่ก็ยังขาดหลักฐาน เนื่อง จากเมื่อเพาะเชื้อจากลำไส้ของผู้ป่วย ก็ไม่พบเชื้อดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงยังสันนิษฐานว่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้ (Normal flora) เช่น Bacteroides sp., Escherichia sp. น่าจะเป็นสาเหตุมากกว่า เพราะการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อไปฆ่าเชื้อเหล่านี้ ทำให้อาการของผู้ป่วยบางคนดีขึ้น

ในผู้ที่สูบบุหรี่ จะพบอัตราการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งตรงข้ามกับโรคลำไส้อักเสบชนิดที่เรียกว่า โรคครอน ที่การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค) แต่ในกรณีที่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแล้วหยุดสูบ กลับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล มากกว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่

พบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง มีประวัติการใช้ยาแก้ปวดใน กลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) เช่น Voltaren มากกว่าคนปกติ จึงมีการสันนิษฐานว่า ยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุได้ นอกจากนี้ ในผู้ที่ป่วยอยู่แล้ว การใช้ยาในกลุ่มนี้จะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้

ความเครียด หรือมีภาวะกระทบกระเทือนจิตใจรุนแรง เช่น มีคนในครอบ ครัวเสียชีวิต การหย่าร้าง มีหลักฐานว่าทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้

มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบมา ก่อน มีอัตราการเป็น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง น้อยกว่าคนที่ไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน หรือผ่าตัดไส้ติ่งออกจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากไส้ติ่งอักเสบ

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีอาการอย่างไร?

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะพบการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่างจาก โรคครอน ที่จะเกิดการอักเสบได้ทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก หรือแม้ แต่หลอดอาหารและปากก็มีการอักเสบได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบ พลัน และอาการจะกำเริบขึ้นเป็นพักๆ มีช่วงที่ปกติ สลับกับช่วงที่มีอาการ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระบ่อย/ท้องเสีย หรือ ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก อุจจาระอาจเหลวเป็นน้ำ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด การที่ผู้ป่วยจะมีอาการใดเด่นชัด ขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบ กล่าวคือ

  • ถ้ามีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง (Proctitis) จะถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดปนมูก อาจเห็นเคลือบอยู่บนผิวของก้อนอุจจาระ หรือปนเปไปกับอุจจาระที่เป็นก้อนปกติ มีอาการปวดเบ่ง คือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่จริงๆแล้ว ไม่ ได้มีอุจจาระอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วยังรู้สึกถ่ายไม่สุด บางครั้งเวลาปวดถ่ายอุจจาระ อาจกลั้นไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้อง การที่ลำไส้ตรงมีการอักเสบ จะทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากลำไส้ตรง เคลื่อนตัวบีบขับก้อนอุจจาระช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการท้องผูก
  • ถ้าการอักเสบเป็นตั้งแต่เหนือลำไส้ตรงขึ้นไป จะถ่ายเป็นเลือดสดที่ปน เปไปกับก้อนอุจจาระ ในรายที่อาการรุนแรง จะถ่ายเป็นน้ำที่มีทั้งเลือด มูก และเนื้ออุจจาระปนกันออกมา การที่ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือลำไส้ตรงอักเสบ จะทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบ่อย โดยมักจะเป็นช่วงกลางคืน หรือหลังกินอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดท้องบริเวณส่วน กลางท้อง เป็นแบบปวดบีบได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะแบ่งย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของอาการ คือ
    1. อาการเล็กน้อย: ถ่ายน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระเล็ก น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีหัวใจเต้นเร็ว มีโลหิตจางเล็กน้อย มีค่าการตกตะกอนของเลือด (ESR) ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    2. อาการปานกลาง: ถ่าย 4-6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระปานกลาง มีไข้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วแต่น้อยกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางปานกลาง มีค่า ESR ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    3. อาการรุนแรง: ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระมาก มีไข้ต่ำ หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางมาก มีค่า ESR สูงเกิน 30

อนึ่ง นอกจากผู้ป่วยจะมีลำไส้ใหญ่อักเสบแล้ว อวัยวะอื่นๆ อาจเกิดการอักเสบร่วมได้ด้วย เช่น

  • การอักเสบของเนื้อเยื่อผนังลูกตาชั้นกลาง (Uveitis) พบได้ประมาณ 3.8% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการปวดตา ตากลัวแสง มองภาพไม่ชัด และอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้
  • การอักเสบของท่อทางเดินน้ำดีภายในและภายนอกตับ (Primary sclerosing cholangitis) พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะนี้อยู่นานประมาณ 5-10 ปี จะลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้ประมาณ 10% จะกลายเป็นโรคมะเร็งของท่อทางเดินน้ำดี
  • การอักเสบของกระดูกสันหลัง (Ankylosing spondylitis) พบได้ประมาณ 2.7% ของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงเอวและก้น มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า และอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปได้
  • การอักเสบของผิวหนัง ที่เรียกว่า Erythema nodosum โดยผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนแดง ปวดตาม แขน และขา และอีกชนิดเรียกว่า Pyoderma nodosum โดยผู้ ป่วยจะมีตุ่มหนอง และแตกออกเป็นแผล บางครั้งมีขนาดใหญ่และหลายๆแผล ยากต่อการรักษา พบภาวะเหล่านี้ได้ประมาณ 1-2%

แพทย์วินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยมีอาการของอุจจาระผิดปกติเรื้อรังดังกล่าว จะต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้และแยกโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้ โดยเฉพาะการแยกจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคด้วย การตรวจต่างๆ ได้แก่

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
    • การตรวจหาสารภูมิต้านทาน/แอนติบอดี/Antibody ชนิดที่เรียกว่า Antineutrophil cytoplasmic antibodies (ANCA) ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะตรวจพบได้ประมาณ 60-80% จึงอาจช่วยแยกจากโรคอื่นๆได้
    • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ และเพื่อการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรค (ที่ปกติแล้วไม่ได้อยู่ในลำไส้เรา) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อเหล่านี้
    • การตรวจหาค่าการตกตะกอนของเลือด
    • การตรวจเลือด ดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด (ตรวจซีบีซี/CBC) และเกลือแร่ต่างๆในเลือดเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
  2. การตรวจทางรังสีวินิจฉัย การสวนแป้งทางทวารหนักและเอ๊กซเรย์ (Barium enema) สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรก ซ้อน เกิดการพองตัวของลำไส้ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องธรรมดาก็สามารถให้การวินิจฉัยได้
  3. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และตัดชิ้นเนื้อลำไส้ส่วนผิดปกติเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เมื่อการตรวจเบื้องต้นต่างๆดังกล่าวข้างต้นให้ผลว่า ผู้ ป่วยน่าจะเป็นโรคนี้ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะช่วยในการแยกโรคที่สำคัญออกไป คือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คือ

  1. การให้ยารักษาอาการอักเสบของลำไส้ ยาที่ใช้ คือ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) และยากลุ่มต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory agents) อื่นๆที่ไม่ ใช่ยาในกลุ่มเอนเสดส์ ยาสเตียรอยด์ มีทั้งรูปแบบสวนผ่านทางทวารหนัก รูปแบบกิน และรูปแบบฉีด การให้ยาในรูปแบบใดขึ้นกับความรุนแรงของอาการ สำหรับยาในกลุ่มต้านการอักเสบอื่นๆ มีในรูปแบบสวนทวาร และในรูปแบบกิน เช่น ยา Sulfa salazine และยา Mesalazine

    ในกรณีที่ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ไม่ได้ผล อาจเลือกใช้ยากดระบบภูมิ คุ้มกันต้านทานร่างกาย เช่น ยา Cyclosporine ยา Tacrolimus หรือการใช้ยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน คือ ยา Infliximab แต่ยาในกลุ่มเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ค่อน ข้างรุนแรง เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขึ้นผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ในบางครั้งแพทย์อาจเลือกรักษาโดยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนที่อักเสบออกเลยก็ได้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเหล่านี้

    สำหรับการรักษาอื่นๆ ยังไม่ถือเป็นวิธีมาตรฐาน เช่น การให้ ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ปกติในลำไส้ใหญ่ และการเปลี่ยนถ่ายเอาเม็ดเลือดขาวออกจากเลือด

  2. การให้ยาเพื่อควบคุมไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบ เมื่อรักษาอาการลำไส้อักเสบได้โดยใช้ยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบขึ้นมาอีก การจะใช้ยาตัวไหน ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยใช้ยาในกลุ่มใดได้ผล
  3. การให้ยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ถ้ามีถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ต้องให้น้ำ เกลือแร่ทดแทน อาจให้โดยการกิน หรือให้ทางหลอดเลือดดำ ถ้าถ่ายเป็นเลือดสดปริมาณมากและบ่อย ก็ต้องให้เลือดทดแทน
  4. การรักษาภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าเกิดลำไส้แตกทะลุ หรือถ่ายเป็นเลือดออกปริมาณมากจนควบคุมไม่ได้ ก็ต้องผ่าตัดลำไส้ส่วนเกิดโรคออก ถ้าเกิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็ต้องรักษาโรคมะเร็งนั้น
  5. การรักษาอาการที่เกิดกับอวัยวะอื่นๆ เช่น ถ้าเกิดการอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลางภายในลูกตา ต้องให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีผลข้างเคียงอย่างไร? รุนแรงไหม?

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่

  • ลำไส้ใหญ่เกิดการพองตัวและเน่า ซึ่งเรียกว่า ภาวะ Toxic megacolon พบได้ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรง โดยลำไส้ใหญ่จะพองตัว หยุดการเคลื่อนไหว และอาจเน่าตาย จนต้องรักษาด้วยการตัดลำไส้ส่วนนี้ทิ้ง มีส่วนน้อยที่ลำไส้ที่พองตัวนี้อาจแตกทะลุ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 15%
  • ลำไส้ใหญ่เกิดการตีบตัน พบได้ประมาณ 5-10% ของผู้ป่วย อาจเกิดจากการที่ลำไส้มีการอักเสบมากและกลายเป็นพังผืดดึงรั้งขึ้นภายในลำไส้ บางครั้งอาจเกิดจากมีก้อนมะเร็งขวางอยู่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้ประมาณ 3-5% ของผู้ป่วย ยิ่งเป็นโรคอักเสบมานาน ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

    ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โดย

    1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังแล้ว จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคและจากยาที่ใช้รักษา
    2. เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ที่ป่วยมานาน 8-10 ปี ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่พร้อมกับตัดชิ้นเนื้อจากหลายๆตำแหน่งที่ผิดปกติ ไปตรวจทุกๆ 1-2 ปี การติดตามโดยใช้อาการ และการตรวจอื่นๆเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้พลาดการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ อีกทั้งอาการของโรคนี้ก็คล้ายคลึงกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
    3. ผู้ป่วยโรคนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ ผู้ที่ดื่มนมสดแล้วไม่มีปัญหาถ่ายอุจจาระเหลวตาม มา ก็สามารถดื่มได้ปกติ อย่างไรก็ตาม ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด การรับประทานอาหารปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ และควรงดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยภาวะกำเริบของโรค และจากการรักษาไม่ได้ผล เช่น อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง เป็นต้น
    4. มีคำแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารบางอย่างที่อาจพิจารณานำไปใช้ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ได้แก่ การกินน้ำมันปลา อาจช่วยลดอาการของโรค การกินอาหารที่เรียกว่าโปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ มีชีวิตแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ยีสต์, Lactic acid bacteria, Bifidobacteria ซึ่งมีอยู่ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต มีข้อมูลว่าอาจช่วยลดอาการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย อาจช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของลำไส้ไม่ให้ทำงานผิด ปกติ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หรือการกินดอกมัสตาร์ด อาจช่วยรักษาการอักเสบในลำไส้ได้ เป็นต้น   

    Link  
    https://www.oknation.net
    https://www.surachetclinic.com
    https://www.praram9.com
    https://health.kapook.com
    https://women.sanook.com

    อัพเดทล่าสุด