ประวัติโรคลําไส้อักเสบ


ประวัติโรคลําไส้อักเสบ การรักษาโรคลําไส้อักเสบ โรคลําไส้บิด

รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดท้อง

ลำไส้เล็กอักเสบ และแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ (Health Plus)
          โรคลำไส้อักเสบส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติต่อไปนี้ช่วยได้
          โรคลำไส้เกิดได้กับคนทุกวัย และนับวันจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น จากรายงานของ the National Association for Colitis and Crohn’s Disease (NACC) ระบุว่า คนอังกฤษทุก 1,000 คนจะป่วยเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบ 1 คน ขณะที่มีคนนับแสนป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          โรคลำ ไส้อักเสบทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-40 ปี แม้จะมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาด้วยการแพทย์แผนใหม่จะใช้วิธีลดการอักเสบ นั่นคือแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวม ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และยาลดอาการท้องเสียและโลหิตจาง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะ บางส่วนที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารออก อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยได้เช่นกัน
โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          เกิดจากการอักเสบในระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ปกติมักพบในลำไส้เล็ก
          ผู้ ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งท้องผูก มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และมักเป็นโลหิตจาง เนื่องจากลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร
          โรคลำไส้เล็กอักเสบพบมากในเพศหญิงและคนที่สูบบุหรี่ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          เกิดจากการที่ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และกลายเป็นแผลเล็ก ๆ
          อาการ บวมหมายถึงการที่ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซึมน้ำจากอุจจาระ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาการบวมยังเกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถเก็บของเสียได้มากเหมือนปกติ คุณจึงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย อุจจาระอาจมีเลือดและเมือกปนออกมา
          โรคนี้เกิดได้ทั้งหญิงและชาย หลักฐานระบุว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท
บำบัดด้วยธรรมชาติ
1.ฝังเข็ม
          จาการวิจัยพบว่า การฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอย่างได้ผล ทำให้สุขภาพดีขึ้น "การฝังเข็มช่วยแก้ปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ" ริชาร์ด แบล็กเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มกล่าว "เพราะ การฝังเข็มช่วยแก้ไขความไม่สมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว อาการจะดีขึ้นหลังผ่านการฝังเข็ม 6 ครั้ง แต่อาจจำเป็นต้องบำบัดหลายครั้งและใช้เวลาเป็นเดือน"
2.โภชนาการ
          "การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินช่วยได้" เอียน มาร์เบอร์ นักโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารบางชนิดทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดการอักเสบ อย่าทำให้โรคลำอักเสบทั้งสองชนิดนี้มีอาการรุนแรงขึ้น โดยการกินให้น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะร่างกายสามารถย่อยอาหารปริมาณน้อย ๆ ได้ง่ายกว่า อาหารโพรไบโอติกมีประโยชน์ แต่ควรกินในรูปของอาหารเสริมมากกว่าในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน"
          โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          หลีกเลี่ยง ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารที่มีรสเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          รับประทาน มันฝรั่งปอกเปลือก ปลานึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีน้ำมัน เป็ดไก่ ไข่ ผักเช่น ผักโขมหรือถั่วที่มีเมล็ดกลม (peas)
          โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          หลีกเลี่ยง โฮ ลเกรน ไฟเบอร์ ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูงเช่น พาร์สนิป (parsnip) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง (ruts) และเมล็ดพืชต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น บิสะกิด พาสต้า และขนมปัง
          รับประทาน ไฟเบอร์ละลายน้ำ เช่น ผักใบเขียว อโรวคาโด แยม น้ำมันปลาที่อุดมด้วยไขมัน โอเมก้า 3 ข้าวขัดขาวกระเทียม
3.สมุนไพร
          "มีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบและโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ ลดการพึ่งยาสเตียรอยด์" ดี แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพร "คอมเฟรย์ (comfrey) ช่วยรักษาและบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ชะเอมช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติของตัวเอง โกลเด้นซีล (goldenseal) ซึ่งมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิด้านทาน แพลนทิน (plantain-กล้วยแอฟริกาชนิดหนึ่ง) ช่วยลดการผลิตน้ำเมือก ก่อนใช้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อให้ตรวจวินิจฉัย" ดีแนะให้ใช้ผง slippery elm 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเย็น คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปชงกับน้ำร้อนประมาณครึ่งลิตรผสมกับผงลูกจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน
          "สมุนไพรช่วยรักษาแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่"
          แจ็กกี้ ฟอร์เรสต์ วัย 43 ปี จากเบอร์วิคเชียร์ ป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่มานาน 10 เดือน เธอพึ่งสมุนไพรในการรักษา
          "ฉันมีอาการท้องเสียและปวดตะคริวที่ท้องมานานกว่าหนึ่งปี ก่อนจะมารู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ หมอให้ยาแก้อักเสบและสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาทำให้ฉันมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาหารไม่ย่อย พอไปตรวจก็พบว่ายามีผลกระทบกับตับของฉัน ฉันเลยต้องหยุดทานยาต่อมาฉันได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร เขาแนะให้ฉันทานผง slippery elm ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ กระเทียม คาโมไมล์ ชะเอม และยาร์โรว์ (yarrow) ซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่อก่อนฉันเคยชอบกินขนมปังและพาสต้า แต่ตอนนี้ฉันหันมากินอาหารปลอดแป้งสาลี และเปลี่ยนนิสัยการกิน โดยกินน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีกแล้ว แถมอาการก็ไม่กำเริบเวลากินอะไรที่ไม่ควรกิน"
4.อาหารเสริม
          "อาหารเสริมช่วยรักษาโรคลำไส้ทั้งสองชนิดได้" พอ ล แชมเบอร์เลน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว ทานอาหารเสริมประเภทวิติมนรวม และเกลือแร่เป็นประจำ เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดไปเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา (ไม่นับน้ำมันตับปลา) วันละ 1,000-2,500 มิลลิกรัมทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
          การขาดสังกะสีก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ควรทานอาหารเสริมจำพวก zinc picolinate วันละ 25 มิลลิกรัม จะช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน psyllium husks เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ควรวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้อควรระวังคือ psyllium husks ดูดซึมน้ำในปริมาณมาก ดังนั้นเวลาทานจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อาหารเสริมชนิดเม็ดที่มีเอนไซม์ย่อยอาหาร จะช่วยให้ตับอ่อนสามารถย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตได้ดี 
          เบทาอีนไฮโดรคลอไรด์ (betaine hydrochloride) ชนิดเม็ดช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งจะทำให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานหนักน้อยลง
5.นวดกดจุดฝ่าเท้า
          "การนวดกระตุ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ได้" เรเน่ แทนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้ากล่าว ให้หาส่วนที่เป็นเนื้อนุ่ม ๆ ของฝ่าเท้า ตั้งอยู่ระหว่างส่วนโค้งและส้นเท้า วางนิ้วมือสองนิ้วบนจุดดังกล่าว จากนั้นให้ใช้นิ้วดังกล่าวเดินไต่ข้ามไปยังนิ้วหัวแม่เท้า ต่อไปยังนิ้วก้อย จากนั้นยกนิ้วข้างหนึ่งขึ้นชั่วครู่ และเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ให้ใช้นิ้วเดินไต่จากด้านหลังไปด้านหน้า โดยเริ่มจากฝ่าเท้าไปยังหลังเท้า ระหว่างจุดกลม ๆ ใต้นิ้วหัวแม่เท้าและส่วนโค้งของฝ่าเท้า ทำท่าละ 3 ครั้ง วันละ 2 เวลา หากอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้น ให้ลดเหลือวันละครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ลำไส้เล็กเล็กบิดขั้ว (midgut volvulus)ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติโดยกำเนิด แล้วทำให้เกิดลำไส้อุดตันและขาดเลือด

ลำไส้บิดขั้ว เกิดขึ้นมาจากลำไส้มีการบิดขั้วครับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดในช่องท้องก็ได้ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่ 

แสดงลักษณะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงที่ลำไส้ (เลือดจะถูกส่งไปเลี้ยงลำไส้ แตกแขนงคล้ายพัดครับ) ถ้ามีการบิดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้ได้น้อยลง

แสดงลำไส้ที่เกิดการบิดขั้ว

ตามปกติแล้วลำไส้จะมีส่วนที่เป็นขั้วต่อกับหลอดเลือดแดงใหญ่  แล้วแตกแขนงไปเลี้ยงตลอดความยาวของลำไส้ คล้ายพัดครับ เมื่อลำไส้บิดตัวจะทำให้หลอดเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงลำไส้ที่เกิดการบิดขั้ว ได้ครับ

จากความรู้ในเรื่องการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของมนุษย์ในครรภ์จะทำให้เรา เข้าใจกลไกของการเกิดโรคลำไส้เล็กบิดขั้วได้มากขึ้นครับ  ที่อายุครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์  ลำไส้จะเป็นท่อกลวงตรงๆ ตรงกลางท้องครับ และในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 8 สัปดาห์ ลำไส้จะเกิดการเลือ่นตำแหน่งและจะถูกตรึงไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ได้  แต่ถ้าเกิดความผิดปกติในการเลื่อนตำแหน่ง (ซึ่งจะแสดงต่อไป) ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ลำไส้จะบิดขั้วแล้วพันกัน

ภาพแสดงการเลื่อนตำแหน่งที่เป็นปกติของลำไส้เล็กในระยะตัวอ่อน ถ้ามีความผิดปกติในการเลื่อนตำแหน่งก็จะทำให้เกิดลำไส้บิดขั้วได้ครับ

1.กระเพาะอาหาร 2.ขั้วลำไส้  3.ผนังช่องท้องด้านหลัง 4.ลำไส้เล็ก 6.ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น

ลักษณะความผิดปกติ

มีอยู่ 2 แบบครับ
แบบที่ 1 ไม่เกิดการหมุน  ซึ่งไม่มีอาการครับ  แต่อาจจะพบโดยบังเอิญโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (จากการตรวจหาสาเหตุของอาการป่วยที่มาด้วยโรคที่ไม่เกี่ยวข้อง แล้วบังเอิญพบ) ซึ่งปกติแล้วลำไส้ควรจะหมุน
แบบที่ 2 หมุนผิดทิศ  ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ครับ  อาการจะแตกต่างกัน ขึ้นกับอายุ   โดยปกติอาการคือ อาเจียนมีสีเขียวหรือสีเหลือง (ซึ่งเป็นสีของน้ำดี ) ในเด็กที่มีอายุ 24 ชั่วโมงหลังคลอด  ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นสีเขียว ก็ควรจะสงสัยภาวะลำไส้บิดขั้วครับ  และมีแนวโน้มที่จะเกิดลำไส้อุดตันรุนแรงได้  ถ้าในเด็กอายุมากกว่า 2 เดือน อาจมีอาการอาเจียนบ่อยๆ เลี้ยงไม่โต ท้องผูก ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ

การหมุนของลำไส้แบบต่างๆ

แสดงการหมุนของลำไส้แบบต่างๆ  ภาพซ้ายคือภาพปกติครับ  ปกติแล้วในระยะตัวอ่อนลำไส้ควรเลื่อนให้ลำไส้ใหญ่ส่วนต้นอยู่ในตำแหน่ง Y

ภาพกลางคือเลื่อนตำแหน่งผิด เป็นความเสี่ยงที่ลำไส้เล็กจะบิดเป็นเกลียวครับ

ภาพขวามือ คือลำไส้จะไม่มีการเลื่อนตำแหน่ง แต่ไม่มีอาการ

ในเด็กโตก็อาจจะมีอาการอาเจียนเรื้อรัง  ปวดท้องเรื้อรัง  ขาดสารอาหาร ภูมิคุ้มกันต่ำ  และถ้าเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด เมื่อนั้นก็จะเป็นรุนแรงครับ

การท้องอาจจะปกติในระยะเริ่มแรก หลังจากนั้นก็จะเริ่มมีอาการท้องอืดเกิดขึ้น และอาจคลำได้ก้อนที่หน้าท้องในผู้ป่วยบางราย   แต่ถ้าลำไส้ขาดเลือดอาจจะมีอาการปวดท้องทันทีร่วมกับท้องอืด และมีอาการของการอักเสบและติดเชื้อในช่องท้องครับ  หัวใจบีบตัวเร็ว  และติดเชื้อในกระแสเลือดได้ในเวลาต่อมา

การตรวจวินิจฉัย

โรคนี้วินิจฉัยจากอาการเป็นส่วนใหญ่  แพทย์จะซักประวัติอาการปวดท้อง และตรวจหน้าท้องครับ โดยที่แพทย์จะสงสัยถ้ามีอาการของลำไส้อุดตัน และควรได้รับการรักษาโดยทันทีครับ  การเจาะเลือดก็จะช่วยให้ทราบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่  มีการเสียเลือดหรือขาดน้ำหรือไม่  หรือประเมินภาวะการทำงานของระบบอื่นๆ

การเอกซเรย์ มักจะปกติครับ  แต่ว่าก็จะช่วยถ้าเอกซเรย์สามารถบอกได้ว่ามีลำไส้อุดตัน  ลำไส้จะมีขนาดโตมากขึ้นครับ

การใช้สารทึบรังสี  คุณจะได้รับสารทึบรังสีทางปาก หรือทางสายทางจมูกครับ ซึ่งจะช่วยดูว่ามีการอุดตันในทางเดินอาหาร ในลำไส้เล็กหรือไม่ ซึ่งจะเห็นสารทึบรังหมุนวนเป็นเกลียวตามลักษณะของลำไส้ที่ถูกบิดเป็นเกลียว

จากภาพให้ผู้ป่วยรับประทานสารทึบรังสี ถ้ามีการบิดขั้วก็จะทำให้เห็นสารทึบรังสีหมุนเป็นเกลียวคล้ายสปริง

อัลตราซาวน์หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อาจจะเห็นก้อนในท้องที่สงสัยลำไส้ที่บิดขั้วครับ

การรักษา
มีการผ่าตัดที่เรียกว่า Ladd procedure ครับ ซึ่งศัลยแพทย์จะหมุนลำไส้เล็กในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาครับ และตรึงไว้  หลังจากนั้นแพทย์อาจทำการส่องกล้องเข้าไปในท้องซ้ำอีกเพื่อให้แน่ใจว่าลำไส้ จะอยู่ที่เดิม

ถ้าไม่ผ่าตัดจะใช้ในผู้ป่วยที่อายุมากที่ไม่มีอาการครับ  แต่ว่าก็จะได้รับการเตือนครับว่าลำไส้สามารถเกิดการบิดขั้วขึ้นเมื่อไหร่ก็ ได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนคือ ลำไส้จะขาดเลือดครับ และทำให้เกิดลำไส้ตาย ติดเชื้อ  ลำไส้ทะลุ  ติดเชื้อในช่องท้อง และเสียชีวิตครับ

แต่ถ้ามีลำไส้บิดขั้วเป็นพักๆ ก็อาจทำให้มีความผิดปกติของระบบดูดซึมอาหาร  ท้องผูก หรือถ่ายเหลวได้

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ถ้าลำไส้ตาย ต้องตัดลำไส้ส่วนที่ตายออกครับ ทำให้ลำไส้สั้นลง  ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร  และโตช้าครับ ซึ่งจำเป็นต้องมาให้อาหารทางสายเลือดที่โรงพยาบาลครับ

ภาวะลำไส้บิดขั้วมีอัตราการเสียชีวิต 3-15% ครับ  ขึ้นกับว่าลำไส้ตายมากน้อยเพียงใด  และระยะเวลาที่ผ่านไปตั้งแต่เริ่มมีอาการจนไปถึงขั้นตอนของการรักษาครับ

การป้องกัน

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดครับ  การป้องกันคือให้ทำการผ่าตัด Ladd procedure ในเด็กเล็กที่มีความผิดปกติความเสี่ยงที่จะเกิดลำไส้บิดขั้วครับ ซึ่งจะให้ผลดี  แต่ไม่มีหลักฐานครับว่าจะได้ประโยชน์ในผู้ใหญ่ครับ

Link      https://thaifittips.com

อัพเดทล่าสุด