วันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของไทย ปี 2555 วันสำคัญต่าง


วันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของไทย ปี 2555 วันสำคัญต่าง

 

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

               วันสำคัญทางพระ พุทธศาสนา เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชาวพุทธ การกำหนดวันสำคัญขึ้นมาก็เพื่อให้ชาวพุทธได้ตระหนักถึงความสำคัญ และได้เข้าร่วมกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมจะเกิดความสุข ความดี มีโอกาสได้บำเพ็ญบุญกุศล เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

วัน มาฆบูชา คือ การบูชาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสำคัญเพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ ที่เรียกว่า

จาตุรงคสันนิบาต เกิดขึ้น คือ

1. วันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

2. พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย

3. พระสงฆ์ที่มาประชุมล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้

4. พระสงฆ์เหล่านี้เป็นพระอรหันต์ และได้อภิญญา 6 ทั้งสิ้น                                 

ในโอกาสนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งมีหลักการและสาระสำคัญ คือ ละความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส โดยทรงแสดงเป็น 3 ส่วน คือ

1. นิพพาน คือเป้าหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา

2. ทำอย่างไรจึงไปถึงเป้าหมายโดยไม่ทำความชั่วทั้งปวง

3. พุทธบริษัทจะต้องปฏิบัติซึ่งกันและกัน                                                        

 

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา

โอวาทปาติโมกข์ถือว่าเป็นหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันมาฆบูชา และเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ในโอวาทปาฏิโมกข์นอกจากระบุหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้วข้างต้น ยังสอนให้ชาวพุทธปฏิบัติตน ดังนี้

1. มีวาจาสุภาพ พูดจาไพเราะ ไม่ว่าร้าย ไม่โจมตีผู้อื่น

2. ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งหลาย

3. สำรวม ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประเพณี

4. รู้จักประมาณตน ถือความดี อย่าฟุ้งเฟ้อ

5. อยู่ในเสนาสนะในที่เงียบ ทำสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการบำเพ็ญธรรม

6. บำเพ็ญเพียร ทำจิตใจให้ผ่องใส มีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี

          กิจกรรม ที่ปฏิบัติในวันมาฆบูชา คือ การทำบุญตักบาตรในตอนเช้าหรือจัดอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืนนำดอกไม้ ธูปเทียนไปที่วัด เพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ                  

วัน วิสาขบูชา คือ การบูชาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง คือ เป็นวัน ประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพาน

          จาก ความสำคัญดังกล่าว ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ แห่งองค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากล ของโลก                 

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องใน วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ คือ ทรงเห็นแจ้งธรรม 4 หมวดที่เรียกว่า อริยสัจ 4 คือ 1. ทุกข์ 2. สมุทัย 3. นิโรธ 4. มรรค         

          กิจกรรมที่ ปฏิบัติในวันวิสาขบูชา คือการทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือจัดอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงธรรมเทศนา ในตอนกลางคืนนำดอกไม้ ธูปเทียนไปที่วัด เพื่อชุมชุนมกันเวียนเทียนรอบอุโบสถ                   

วันอา สาฬบูชา คือ การบูชาในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกที่เรียกว่า ปฐมเทศนา ผลของการแสดงปฐมเทศนา ทำให้มีพระสาวกองค์แรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งเป็น 1 ใน พระเบญจวัคคีย์ และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์         

จากความสำคัญ ดังกล่าว เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชา ชาวพุทธควรจัดพิธีบูชาและปฏิบัติตน ดังนี้

1. รำลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เพื่อให้เกิดเป็นบุญกุศล

2. ลด ละ เลิกอบายมุขและความชั่วทั้งหลาย

3. บำเพ็ญกุศล คือ คุณความดีต่าง ๆ เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล เป็นต้น

4. ชำระล้างจิตใจให้สะอาดปราศจากสิ่งเศร้าหมองด้วยเจริญภาวนา

5. นำดอกไม้ ธูปเทียน แต่งกายให้สะเอียดเรียบร้อย ไปวัดเวียนเทียน รำลึกถึงพระรัตนตรัย เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตน

           หลัก ธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระ พุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า ธรรมจักร สาระสำคัญของธรรมจักรกล่าวถึงมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางที่จะนำไปสู่การดับทุกข์หรือความเดือดร้อน ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ            2. สัมมาสังกัปปะ  คือ ความดำริชอบ

3. สัมมาวาจา คือ การพูดชอบ         4. สัมมากัมมันตะ  คือ การกระทำชั่ว

5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ     6. สัมมาวายมะ คือ ความเพียรชอบ

7. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ            8. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งจิตมั่นชอบ                  

          กิจกรรม ที่ปฏิบัติในวันอาสาฬหบูชา  โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์

วันอัฏฐ มีบูชา   คือการบูชาใน วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า คือ เป็นวันที่มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธเจดีย์ เมืองกุสินารา

ดังนั้น เมื่อถึงวันนี้ชาวพุทธจึงได้ร่วมกันจัดพิธีบูชา โดยการละเว้นความชั่ว และทำความดีต่าง ๆ เช่นให้

ทานรักษาศีล เจริญภาวนา ฟังธรรม เป็นต้น  เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว และระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า

          หลัก ธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง จึงมีหลักธรรมที่เกี่ยวข้องมากมาย ดังตัวอย่างเช่น หลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท

          ความ ไม่ประมาท คือ ความเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา พระพุุุทธเจ้าได้ตรัสถึงคุณของความไม่ประมาทและโทษของความประมาทอยู่เสมอว่า ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางนำไปสู่ความตาย บุุคคลที่ไม่ประมาทย่อมไม่ตายส่วนผู้ที่ประมาทย่อมเป็นเสมือนผู้ที่ตายแล้ว

          วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถัดจากวันอาสาฬหบูชา 1 วัน เป็นวันที่พระภิกษุทุกรูปต้องอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เว้นแต่กิจจำเป็นจริง ๆ ช่วงจำพรรษาอยู่ระหว่างฤดูฝน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี

          ความ สำคัญของวันเข้าพรรษา

1.  พระ ภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่น ๆ แต่จะอยู่ในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ

2. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นาน ๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป

3. เป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนถือโอกาสปฏิญาณตนงดเว้นอบายมุขความชั่วต่าง ๆ  เช่น การดื่มสุรา สารเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันเข้าพรรษา

1. สัมปัตตวิรัติ

2. สมาทานวิรัติ

3. สมุจเฉทวิรัติ

กิจกรรม ที่ปฏิบัติในวันเข้าพรรษา  การทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ไปวัดฟังพระธรรมเทศนา ตามสถานที่ราชการ สถานศึกษา และที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศกาล การบรรยายธรรมเกี่ยวกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป

วันออก พรรษา คือ วันสิ้นสุดระยะการจำพรรษาหรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  วันมหาปวารณา  เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน

ความ สำคัญของวันออกพรรษา

1. พระสงฆ์ได้รับพระพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

2. พระสงฆ์นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างจำพรรษาไปเผยแผ่ แก่ประชาชน

3. ในวันนี้พระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องความประพฤติของตน เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีระหว่างสงฆ์

4. พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือน ได้ เพื่อพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

ประเพณีที่สำคัญในวันออกพรรษา คือ การตักบาตรเทโว ของที่นิยมนำไปตักบาตร คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน การตักบาตรเทโวเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธ มารดาในเทวโลก

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

หลักการปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนกันได้ในฐานะที่เคยอยู่ร่วมกัน

1. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน

2. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน

การปวารณาเป็น คุณธรรมสร้างความสามัคคี และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดแห่งพระพุทธศาสนาไว้

กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันออกพรรษา

1. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา

3. ร่วมกุศลกรรม  ตักบาตรเทโว 

4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ

          วัน ธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ  เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งบางวันก็เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า บางวันก็เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ และบางวันก็เกี่ยวข้องกับชาวพุทธทั่ว ๆ ไป ที่มีการทำกิจกรรมสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี

          วัน ธรรมสวนะ หมายถึง วันฟังธรรม ในปัจจุบันเรียกว่า วันพระ วันอุโบสถ เพราะมีการกำหนดวันไว้ 4 วัน คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ หรือ แรม 14 ค่ำ ในเดือนขาด  เป็นวันที่ทางวัดกำหนดไว้ให้ชาวบ้าน ไปประชุมสดับพระธรรมเทศนาหรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า ไป “ ฟังเทศน์วันพระ  วันนี้ทางศาสนาเรียกว่า วันอุโบสถซึ่งแปลว่า วันจำศีล ส่วนชาวบ้านเรียกว่า วันพระ      

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องใน วันธรรมสวนะ

          วันธรรมสวนะ เป็นวันที่พระสงฆ์นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเทศน์สอนประชาชนทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม เช่น ทางวิทยุกระจายเสียง ทางโทรทัศน์ เป็นต้น หลักธรรมที่ท่านนำมาเทศน์มีหลากหลาย เพราะหลักธรรมที่พระสงฆ์นำมาเทศน์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการทำความดี ได้แก่ บุญ กิริยาวัตถุ 3 (1. ทานมัย  2. ศีลมัย 3.ภาวนามัย) ไตรสิกขา (1. ศีล 2. สมาธิ 3. ปัญญา)

          กิจกรรม ที่ควรปฏิบัติในวันธรรมสวนะ

ในวันธรรมสวนะนอกจากมีการฟังธรรม แล้ว ยังมีการทำบุญตักบาตร ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อทำจิตให้สะอาด สงบ และเกิดปัญญา จึงถือวันนี้ว่าเป็นวันหลักแห่งการทำความดี                       

เทศกาล สำคัญ  หมายถึง คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อการทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น สำหรับในประเทศไทยในปีหนึ่ง ๆ มีเทศกาลสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาหลายเทศกาล เช่น เทศกาลสงกรานต์  วันสารท   ทอด กฐิน ลอยกระทง เป็นต้น สำหรับในชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเทศกาลสำคัญ 1 เทศกาล ได้แก่ ทอดกฐิน

          ประเพณีทอดกฐิน

          คำว่า ทอดกฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบัน และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณ ถ้าภิกษุทำเองก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว

          เช่น ตำนาน กล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มมาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดาก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายรูป ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือ ผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึงนั่นเอง

        เขตกำหนดกฐิน การทอดกฐิน เป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่าถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้นมีกิจจำเป็น เช่น จะต้องไปในทัพไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้จะทอดกฐินก่อนกำหนด  ดังกล่าวแล้วพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้

          การ ทอดกฐิน มีข้อปฏิบัติสำคัญ คือ

1. ระเวลาในการทอดเริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

2. การทอดกฐินเป็นกาลทาน ทำปีละครั้ง (ในช่วงเวลาตามข้อ 1 )

3. วัดที่จะถวายกฐิน จะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส  จำนวน 5 รูปขึ้นไป

4. เครื่องทอดกฐินประกอบด้วย ผ้ากฐิน (พระไตรจีวร) และเครื่องบริวารต่าง ๆ โดยมากเป็นของใช้สอยอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับพระภิกษุสงฆ์

หลัก ธรรมหรือคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องในเทศกาลสำคัญ

          เทศกาล สำคัญดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา เทศกาลวันสารท หรือเทศกาลลอยกระทง เป็นเทศกาลที่สะท้อนให้เห็นหลักธรรมหรือคติธรรมทางพระ พุทธศาสนาหลายประการ เช่น ความอดทน ความเสียสละ ความสามัคคี ความกตัญญูกตเวที ความมีน้ำใจ ความเมตตากรุณา เป็นต้น

 

แหล่งที่มา : sites.google.com

อัพเดทล่าสุด