วิธีการรักษาโรคไอบีเอส สาเหตุโรคไอบีเอส โรคไอบีเอส


1,116 ผู้ชม


วิธีการรักษาโรคไอบีเอส สาเหตุโรคไอบีเอส โรคไอบีเอส


แม้โรคไอบีเอส จะเป็นโรคที่พบบ่อย และมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้อย่างมากมานานแล้วก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน จากหบักฐานที่มีอยู่เชื่อว่ามีเหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไอบีเอสซึ่ง 3ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
  • 1. การบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติซึ่งเป็นผลจากการหลั่งสารฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติ นำไปสู่อาการ ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • 2. ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหารซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากผิดปกติ มีการบีบตัวและเคลื่อนที่ของลำไส้มากขึ้นจนมีอาการปวดท้องและท้องเสียหรือท้องผูก เป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญคือความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนหนุนเสริมให้มีอาการมากขึ้น
  • 3.  มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของแกนที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก,ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง (brain-gutaxis) โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน

โรคไอบีเอสไม่ใช่โรคมะเร็งและจะไม่กลายเป็นโรคมะเร็งแม้จะมีประวัติเป็นๆหายๆมานาน ยิ่งผู้ป่วยมีอาการมานานเป็นปีๆโอกาสเป็นโรคมะเร็งยิ่งน้อยมาก ที่ต้องระวังคือในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการเปลี่ยนแปงไปจากเดิม หรือเพิ่งมามีอาการท้องเสียหรือท้องผูกหลังอายุ 40-50ปี อาจมีโอกาสที่จะมีสาเหตุจากโรคมะเร็งลำไส้สูงขึ้นคือมีโรคมะเร็งลำไส้มาเกิดร่วมกับโรคไอบีเอส ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจและสืบค้นโดยแพทย์ให้รู้สาเหตุที่แน่นอน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคไอบีเอส จึงไม่มียาที่ดีเฉพาะโรคนี้หรือการรักษาที่ได้ร้อยเปอร์เซนต์แพทย์จะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผู้เป็นอาการเด่น หรือให้ยากแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น ให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องดังนั้นการรักษาจึงยังไม่ได้ผลดี ผู้ป่วย จึงมีอาการเป็นๆหายๆมักไม่หายขาด
 
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการหลังมื้ออาหารหรือเมื่อเครียด ซึ่งมีการศึกษาว่ามีหลักฐานยืนยันในเรื่องดังกล่าวปกติการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 30นาทีถึง 1ชม. หลังอาหารแต่ในผู้ป่วยไอบีเอสจะมีการกระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้เร็วขึ้นและรุ่นแรงมากขึ้นจนมีอาการปวดท้องเกร็งและมีท้องเสียเกิดขึ้น ส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่ ไขมัน ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์ หรือพืช จะเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการบีบตัวของลำไส้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ทุกชนิด หนังเป็ดหนังไก่ นม ครีม เนย น้ำมันพืช และอะโวคาโด อาหารที่มีกากหรือเส้นใย (fiber) จะช่วยลดอาการของไอบีเอสได้โดยจะทให้การบีบตัวหรือเกร็งตัวของลำไส้ลดลง นอกจากนี้กากหรือเส้นใยยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้อุจจาระไม่แข็งและถ่ายได้ง่ายขึ้น อาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูง เช่น ขนมปังชนิด whole-grain cereal ถั่ว ผลไม้ และผัก เป็นต้น การกินอาหารที่มีกากหรือเส้นใยมาก จะทำให้มีท้องอืดมีแก๊สในท้องได้ แต่จะเป็นเฉพาะช่วง 1-2สัปดาห์แรก ต่อไปร่างกายจะปรับตัวได้เอง การกินอาหารควรกินทีละน้อยแต่กินให้บ่อยขึ้น ไม่ควรกินจนอิ่ม เพราะจะกระตุ้นให้มีอาการปวดท้องและท้องเสียได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน โดยกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาลให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด กาแฟ ของดอง น้ำอัดลมและยาบางชนิด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นด้วย ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตั้นให้มีอาการเกร็งตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบาย และพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ ถือเป็นส่วนสำคตัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยไอบีเอสด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากโรคไอบีเอสมักมีแนวโน้มจะกลับมามีอาการอีกเมื่อได้รักษาให้ดีขึ้นแล้ว การปรับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตัวดังกล่าวแล้วควรทำไปตลอด ซึ่งนอกจากจะทำให้อาการลดลงแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นใหม่และจะได้ไม่ต้องกินยามากอีกด้วย
  โรคไอบีเอสเป็นโรคเรื้อรังเป็นๆหายๆจากการศึกษาติดตามผู้ป่วยประมาณ 4600คน เป็นเวลา 5-8ปี พบว่าร้อยละ 74-95ยังคงมีอาการอยู่เช่นเดิม จะเห็นได้ว่าโรคไอบีเอสเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและไม่ทำให้ผู้ป่วยตาย ดังนั้นเมื่อท่านได้ไปพบแพทย์และได้รับการตรวจและทำการสืบค้นต่างๆแล้วว่า ปกติแล้วแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอบีเอส ท่านควรมีความมั่นใจและเลิกวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง แต่โรคนี้จะเรื้อรัง บางรายอาจเป็นๆหายๆไปตลอดชีวิต ซึ่งควรได้รับการติดตามโดยแพทย์เป็นระยะๆตลอดไป



แหล่งที่มา : 108health.com , 

อัพเดทล่าสุด