โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาหารสำหรับโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน


842 ผู้ชม


โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน อาหารสำหรับโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เรียกว่า acute pancreatitis ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจากนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการภายหลังอาหารมื้อหนักๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องขึ้นมาอย่างรุนแรง และทันทีทันใด อาการปวดท้องตอนแรกจะเป็นที่ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา ปวดมาก ร่วมกับอาการอาเจียน คลื่นไส้ อาการปวดอาจร้าวไปหลัง และต่อมาอาการปวดอาจลามไปทั่วท้อง ผู้ป่วยอาจมีไข้ด้วย

อาการปวดท้องจะไม่ค่อยเหมือนอาการปวดของแผลเป็บติก ซึ่งจะปวดแบบรำคาญ มากกว่ารุนแรง ไม่นานเท่า ไม่มีไข้ ไม่ค่อยอาเจียน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินน้ำดี แต่ไม่เป็นถึงโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดท้องที่รุนแรงเหมือนกัน แต่อาจปวด 3 ชั่วโมงแล้วดีขึ้น แล้วปวดใหม่ ส่วนโรคตับอ่อนอักเสบจะปวดตลอดเวลาจนหายซึ่งอาจใช้เวลา 3-7 วัน แล้วแต่เป็นมากน้อย และอาการปวดอาจลามไปหลังได้ ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันอาจสบายขึ้น ถ้าผู้ป่วยนั่งบนเตียงแทนที่จะนอนราบ

อาการปวดท้องรุนแรงตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด บางคนอาจมีประวัติดื่มเหล้าจัด หรือกินเลี้ยงมาก่อนสัก 12-24 ชั่วโมง และปวดตลอดเวลา มักปวดร้าวไปที่หลังเวลานอนหงายหรือเคลื่อนไหว มักทำให้ปวดมากขึ้น แต่จะรู้สึกสบายขึ้นเวลานั่งโก้งโค้ง ผู้ป่วยมักมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการอ่อนเพลียมาก มีจ้ำเขียวขึ้นที่หน้าท้อง หรือรอบ ๆ สะดือ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มือเท้าเกร็ง และอาจมีภาวะช็อก กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยอาศัยลักษณะอาการดังกล่าว ร่วมกับผลการตรวจเลือด พบระดับของเอ็นซัยม์อะมัยเลส (amylase) และ ไลเปส (lipase) สูงกว่าปกติอย่างน้อยสามเท่า การตรวจเลือดช่วยวินิจฉัยได้เป็นอย่างมาก แต่ก็ยังต้องนึกถึงภาวะอื่นๆ ประกอบด้วยเสมอ นอกจากตรวจเลือดแล้ว การตรวจอัลตร้าซาวน์และเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ ก็ช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติมเช่นกัน โดยผลอัลตร้าซาวน์อาจพบนิ่วในถุงน้ำดี ในขณะที่ผลการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ อาจพบถุงน้ำเทียมภายในเนื้อตับอ่อน การเลือกส่งตรวจเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของผู้ป่วย และข้อบ่งชี้เป็นสำคัญ

แนวทางการรักษา


การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปถ้าไม่เกิดภาวะไตล้อมเหลว หรือปอดล้มเหลว โรคนี้มักทุเลาหายได้เอง หลักสำคัญอยู่ที่รักษาสมดุลของร่างกาย ความดันโลหิต ปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อประเมินความรุนแรง ติดตามความเปลี่ยนแปลงของอาการ และทดแทนสารน้ำทางหลอดเลือดให้ทันท่วงที การรักษาขึ้นอยู่กับการอดอาหารทางปาก การใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อดูดน้ำย่อยกระเพาะอาหารออกมา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโอ้กอ้าก การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะโรคนี้ ตับอ่อนจะมีลักษณะคล้ายถูกไฟไหม้ จะมีซีรั่มเลือดออกจากตับอ่อนอย่างน้อย 2 ลิตรขึ้นไป และถ้าปวดมากอาจต้องให้ยาระงับอาการปวด

ในกรณีที่เกิดถุงน้ำเทียม (pseudocyst) แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดรักษา หากพบนิ่วในถุงน้ำดี ก็อาจต้องพิจารณาผ่าตัดเช่นกัน ส่วนจะผ่าตัดเมื่อใดขึ้นกับความรุนแรงของภาวะตับอ่อนอักเสบ ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องงดเหล้าอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นอาการอักเสบจะกลับมากำเริบได้อีก ถ้าผู้ป่วยกลายเป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มีอาการปวดท้องตรงใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงด้านซ้าย และปวดร้าวไปที่บั้นเอวด้านซ้าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก มีลมในท้อง น้ำหนักลด อาจปวดอยู่นาน ไม่กี่ชั่วโมง หรือเป็นสัปดาห์ อาจทำให้กลายเป็นเบาหวานได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้ ควรติดต่อรักษากับแพทย์ตามนัดอย่าได้ขาด หากกลายเป็นเรื้อรัง หรือมีเบาหวานแทรกซ้อนจะได้รักษาเสียแต่เนิ่นๆ

อาการแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ปอดบวมน้ำ ฝีของตับอ่อน ถุงน้ำในช่องท้อง ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคตับอ่อนอักเสบทั้งสองชนิด สามารถก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ในรายที่รุนแรงอาจพบปัญหาเลือดออก เนื้อตับอ่อนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก และอาจเกิดภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนได้ บางครั้งภายในเนื้อตับอ่อน เกิดมีน้ำและเนื้อที่ตายแล้วสะสมรวมตัวกันเป็นถุงน้ำเทียม (pseudocysts) ก่อให้เกิดความเสียหาย นอกจากนี้พบว่า เอ็นซัยม์ น้ำย่อย สารพิษ บางส่วนที่เข้าสู่กระแสเลือด ยังก่อให้เกิดอันตรายแก่อวัยวะสำคัญ หัวใจ ปอด ไต และอวัยวะอื่นๆ ได้เช่นกัน

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง บางคนเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบได้หลายครั้ง แต่ละครั้งเวลาหายจะหายสนิท แต่ในรายที่รุนแรง พบภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยหนึ่งในห้ารายจ 




แหล่งที่มา : 108health.com

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

อัพเดทล่าสุด