โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงในเด็ก


โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

              โรคอุจจาระร่วง

โรคอุจจาระร่วง

  อาการอุจจาระร่วง 

ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องเสีย หรือลงท้องคือ มีการถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนมากกว่าปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากหรือเป็นมูกเลือด แม้เพียง 1 ครั้งต่อวัน จึงได้แบ่งอาการท้องร่วงไว้ 2 ชนิด

     1. อาการท้องร่วงอย่างเฉียบพลัน หมายถึง อาการท้องร่วงที่เป็นทันทีทันใด แต่เป็นระยะสั้นๆ ไม่เกินสองสัปดาห์

     2. อาการท้องร่วงชนิดเรื้อรัง หมายถึง อาการท้องร่วงที่เป็นติดต่อกันนานกว่าสองสัปดาห์และบางรายอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือนติดต่อกัน หรือมีอาการเป็นพักๆ

    
 อาการแสดงของโรค

ที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงมีได้กว้างขวางมากมายตามสาเหตุของโรคแต่เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

     1. ท้องร่วงจากการติดเชื้อ ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย จะมีลักษณะอาการและลักษณะอุจจาระที่ออกมาแตกต่างกันที่น่ารับรู้และ ให้สังเกตไว้ ได้แก่ อหิวาตกโรค จะมีลักษณะอุจจาระคล้ายน้ำซาวข้าว ผู้ป่วยจะมีการอาเจียน อ่อนเพลีย และซึมร่วมด้วย ท้องร่วงจากเชื้อบิดมักจะถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดร่วมกับมีอาการอาเจียน มีไข้สูง อ่อนเพลีย

     2. ท้องร่วงชนิดไม่มีการติดเชื้อ โรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา ได้แก่ การขาดเอ็นไซม์แลคเตส ที่ทำการย่อยน้ำตาลนม จากการศึกษาเรื่องแลคเตสในเยื่อบุของเซลล์ลำไส้ของคนไทยพบว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ขากเอ็นไซม์ตัวนี้ อาการของผู้ป่วยโรคนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ดื่มนมสดไปแล้วประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง คือ รู้สึกโครกครากในท้อง ปวดท้องแบบปวดบิดๆ และมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำ 1-2 ครั้งแล้วค่อยหายไป

    
  การป้องกันตนเองจากโรคอุจจาระร่วง

     1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำทุกครั้ง ก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังจากถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

     2. ดื่มน้ำที่สะอาด โดยน้ำต้มสุกจะดีที่สุด

     3. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และสะอาด

     4. กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงวัน

     5. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

    
ข้อควรปฏิบัติในการรักษาโรคอุจจาระร่วงเบื้องต้น

     1. ให้ของเหลวหรือสารน้ำเพิ่มขึ้น เช่น สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โอ อาร์ เอส หรือสารละลายเกลือและน้ำตาลที่เตรียมเองโดยผสมเกลือครึ่งช้อนชาและน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำต้มสุกเย็น 1 ขวดน้ำปลากลม (750 cc)

     2. สำหรับเด็กที่ยังกินนมแม่ให้กินต่อไปไม่ต้องหยุด และเด็กที่กินนมผสมให้แบ่งกินครึ่งหนึ่งสลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่

     3. ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หากอาการไม่ดีขึ้น  เมื่อป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง ควรหลักเลี่ยงการใช้ยาหยุดถ่าย เพราะกินยาหยุดถ่ายทำให้ลำไส้ต้องเก็บกักเชื้อโรคไว้นานขึ้น

Link     https://www.nurse.cmu.ac.th

...................................................................................................................................................................................


          โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis)


โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis)
โรคนี้ เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและยืนยันถึงภัยอันตราย เนื่องจาก อัตราการเสียชีวิตของเด็กยังมีอัตราที่สูง โดยคร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละสามหมื่นถึงห้าหมื่นคน
อาการ : ท้องเสียอย่างรุนแรง และมักมีอาการไข้ และอาเจียน บางรายที่เสียน้ำมากอาจช็อค และเสียชีวิต เป็นเชื้อต้นเหตุของลำไส้อักเสบรุนแรงในเด็กอ่อน และเด็กที่มีอายุ 1–3 ขวบ
สาเหตุ : โรตาไวรัส (Rota virus) มักระบาดในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ ของทุกปี
การติดเชื้อ : เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายทางปาก และลงไปที่กระเพาะอาหาร และแบ่งตัวที่ลำไส้ เด็กที่ติดเชื้อ นอกจากสูญเสียน้ำ แล้วยังสูญเสียสารสำคัญที่ช่วยลำไส้ดูดซึมอาหาร
การรักษา : แพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง คือให้ยาตามอาการ เช่นให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไข้ และน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่จากการถ่ายและอาเจียน หากร่างกายมีภาวะเครียด แพทย์จะรักษาให้ความดันลดลง
การป้องกันตนเองจากโรคอุจจาระร่วง
1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ และน้ำทุกครั้ง ก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังจากถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
2. ดื่มน้ำที่สะอาด โดยน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
3. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และสะอาด
4. กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงวัน
5. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/372183
 
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=
 

              โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

รคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรค อุจจาระร่วง เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีอาการอุจจาระร่วง 5-6 ครั้งต่อปี สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส 50-60% และเชื้อแบคทีเรีย 30% ที่เหลือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น อาหารเป็นพิษลักษณะของอุจจาระในเด็กท้องเสีย สามารถบ่งชี้ถึงสาเหตุได้และหากมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการก็จะ สามารถบอกถึงเชื้อที่ก่อโรคได้ ทำให้การรักษาในขั้นตอนต่อไปถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น

phyathaihospital_kid002

 โรคอุจจาระร่วงคืออะไร?

โรค อุจจาระร่วง หมายถึงการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งใน 1 วัน นอกจากนั้น ถ้าถ่ายอุจจาระมีมูกหรือปนเลือด 1 ครั้ง ก็ถือว่าเป็น โรคอุจจาระร่วงด้วย

 โรคอุจจาระร่วงเกิดได้อย่างไร?

โรคอุจจาระร่วงเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป การปนเปื้อนนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก
   1. ไม่ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หลังจากใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม ก่อนปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหาร
   2. เด็กที่ชอบดูดหรืออมนิ้วมือและหยิบของที่ตกพื้นเข้าปาก
   3. รับเชื้อจากการผสมนม โดยใช้น้ำที่ไม่ได้ต้มเดือดหรือขวดนมที่ไม่ต้มให้สะอาดหรือไม่ได้ล้างมือ
   4. ทานอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน หรือมีแมลงวันตอม
   5. ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดไม่ได้ผ่านการกรองหรือต้ม
   6. ทานผักสด หรือผลไม้ที่ไม่ล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน

 เด็กที่กินนมแม่ ถ่ายวันละ 5-6 ครั้ง นับว่าเป็นโรคอุจจาระร่วงหรือไม่?

เด็ก ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวมักจะถ่ายอุจจาระเหลวสีเหลืองทองมีฟอง มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแต่ไม่มีมูกเลือด ถึงแม้จะถ่ายหลายครั้ง กินนมทีถ่ายที แต่หากน้ำหนักตัวขึ้นดีก็ไม่นับว่าเด็กเป็นโรคอุจจาระร่วง

 การดูแลเมื่อบุตรมีอาการอุจจาระร่วง
เมื่อ เด็กมีอาการท้องร่วง หรือมีอาเจียน เด็กจะมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ผู้ที่ดูแลต้องพยายามให้เด็กได้รับน้ำเพียงพอระยะแรกควรให้ดื่ม ORS หรือสารละลายเกลือแร่ทีละน้อย บ่อยๆ ถ้าผู้ป่วยดื่มได้ดีไม่อาเจียน หลังดื่ม ORS ประมาณ 4 ชั่วโมง ก็เริ่มให้นมมารดาหรือนมผสมครั้งละน้อยหรืออาหารพวกข้ามต้มเปล่าหรือโจ๊ก เปล่า ถ้าเด็กรับได้และดีขึ้น ก็ค่อยเพิ่มชนิดอาหารและปริมาณมากขึ้น ถ้าเด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ถ่ายเป็นน้ำครั้งละมากๆ อ่อนเพลีย หรือมีไข้สูง ปัสสาวะน้อย อุจจาระเป็นมูกเลือด ควรนำเด็กมาพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 ยาหยุดถ่ายควรให้เด็กกินหรือไม่?

ใน เด็กไม่ควรรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะเมื่อกินแล้วการถ่ายจะหยุดไป แต่อาการอุจจาระร่วงไม่ได้หายอย่างแท้จริง จะมีน้ำอุจจาระขังในลำไส้ ถ้ากินมากท้องจะอืด และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี

 

เราจะป้องกันโรคอุจจาระร่วงได้อย่างไร?
   1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่สะอาดและมีภูมิคุ้มกันโรคอุจจาระร่วง
   2. ล้างมือให้สะอาดด้วนสบู่หลังจากใช้ห้องน้ำหรือห้องส้วมและก่อนปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารทุกครั้ง
   3. รับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ และดื่มน้ำที่สะอาด
   4. กำจัดแหล่งเพาะแมลงวัน ขยะในบ้านควรเก็บทิ้งในถังมีฝาปิดมิดชิดทุกวัน
   5. เท หรือ ถ่ายอุจจาระลงส้วมทุกครั้ง
   6. เก็บอาหารไม่ให้แมลงวันตอมหรือเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อจะทำให้เชื้อโรคแบ่งตัวช้าลง

Link          https://www.phyathai.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด