ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไซนัสเรื้อรัง ยารักษาโรคไซนัส ลักษณะสิวจากโรคไซนัส


7,360 ผู้ชม


ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไซนัสเรื้อรัง ยารักษาโรคไซนัส ลักษณะสิวจากโรคไซนัส

            ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไซนัสเรื้อรัง

    ไซนัสอักเสบ…..รักษาได้    

ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำจำกัดความ

โรคไซนัสอักเสบคือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก หรือที่เราเรียกว่า “ไซนัส” ซึ่งอาจเป็นเพียงหนึ่งไซนัส หรือหลายไซนัส เป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจจะเป็นการอักเสบติดเชื้อหรือการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อก็ได้

ไซนัสคืออะไร และมีหน้าที่อะไร

ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่ภายในกระดูกบริเวณรอบๆ หรือใกล้เคียงกับจมูก ซึ่งมีอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ในแต่ละข้าง ไซนัสที่ใหญ่ที่สุดอยู่ภายในกระดูกโหนกแก้ม ( maxillary sinus) อีกกลุ่มหนึ่งมีอยู่หลายโพรง มีขนาดเล็ก และอยู่ระหว่างบริเวณโคนจมูก และหัวตาแต่ละข้าง (ethmoidal sinuses) ในกระดูกหน้าผากก็มีไซนัสภายใน (frontal sinus) นอกจากนั้นยังมีไซนัสที่อยู่ใต้ฐานกะโหลกศีรษะ (sphenoidal sinus) ด้วย หน้าที่ของไซนัสนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจช่วยทำให้เสียงที่เราเปล่งออกมา กังวานขึ้น, ช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเบาขึ้น และช่วยรักษาสมดุลของศีรษะ, ช่วยในการปรับความดันของอากาศภายในโพรงจมูก ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของความดัน และสร้างสารคัดหลั่งที่ป้องกันการติดเชื้อของโพรงจมูกและไซนัส

ความสำคัญของโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง โรคไซนัสอักเสบนั้นมักไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการของโรคไซนัสอักเสบมักไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้แยกได้ยากจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเช่น จมูกอักเสบหรือหวัด โรคไซนัสอักเสบมีตั้งแต่หายได้เองโดยไม่ต้องรักษา เช่น ไซนัสอักเสบตามหลังหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสและเป็นไม่มาก ไปจนถึงไซนัสอักเสบที่ต้องรับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่นไซนัสอักเสบที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ตาและสมอง

โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเกิดไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นๆ หายๆ หรือเกิดไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น เยื่อบุหูชั้นกลางอักเสบ , ริดสีดวงจมูก, ท่อยูสเตเชียน (ที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติ, ภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือสมอง เช่นฝีในลูกตาหรือสมอง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ได้รับการวินิจฉัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมในระยะเริ่มแรก จะช่วยลดอุบัติการของการกลับเป็นซ้ำหรือ การเป็นเรื้อรัง และลดอุบัติการของภาวะแทรกซ้อนและการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาได้

อุบัติการ

โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ ประมาณกันว่าประชากรทั่วไป 1 ใน 8 คน จะเป็นโรคไซนัสอักเสบในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต อุบัติการของการเกิดไซนัสอักเสบ มีแนวโน้มที่เกิดมากขึ้นในฤดูกาลที่มีคนเป็นไข้หวัดหรือมีการอักเสบติดเชื้อ ในทางเดินหายใจมาก อุบัติการของไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียใน ผู้ใหญ่ที่เกิดตามหลังไข้หวัดพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-2 และในเด็กพบได้ประมาณร้อยละ 5-10 สำหรับโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้น ในกลุ่มประชากรทั่วไปพบโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังประมาณร้อยละ 1.2-6

สาเหตุของไซนัสอักเสบ

    1. การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน
    2. การติดเชื้อของฟันกรามแถวบน มักทำให้เป็นไซนัสอักเสบข้างเดียว
    3. การว่ายน้ำ – ดำน้ำ โดยเฉพาะขณะมีการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน
    4. สิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูก มักทำให้เป็นไซนัสอักเสบข้างเดียว โดยเฉพาะในเด็ก
    5. การเปลี่ยนแปลงความดันของบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว
    6.อุบัติเหตุของกระดูกบริเวณใบหน้า
    7. ปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นบริเวณที่ ฝุ่น ควัน หรือสิ่งระคายเคืองมาก
    8. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและภูมิต้านทานของร่างกาย เช่นภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีภูมิต้านทานต่ำ
    9. ปัจจัยที่เกี่ยวกับการถ่ายเทและการระบายสารคัดหลั่งและอากาศของไซนัส ได้แก่ โรคหรือภาวะใดก็ตามที่ทำให้มีการอุดตันหรือรบกวนการทำงานของรูเปิดของไซนัส เช่น

                    9.1) มีการบวมของเยื่อบุจมูกบ่อยๆ หรือเป็นเรื้อรังเนื่องจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และชนิดไม่แพ้, การสูบบุหรี่ หรือสูดควันบุหรี่, การสัมผัสกับมลพิษเป็นประจำ
                    9.2) มีผนังกั้นช่องจมูกคดงอ
                    9.3) กระดูกที่ผนังด้านข้างโพรงจมูกมีขนาดใหญ่มาก จนไปอุดตันรูเปิดของไซนัส
                    9.4) มีก้อนเนื้อในโพรงจมูกหรือไซนัส เช่น ริดสีดวงจมูก เนื้องอกในโพรงจมูกหรือไซนัส
                    9.5) ในเด็กเล็ก อาจมีต่อมแอดีนอยด์โต หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูกเป็นเวลานาน
                    9.6) ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก หรือต้องคาสายให้อาหารในโพรงจมูกเป็นระยะเวลานาน
                    9.7) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของขนกวัดที่ทำหน้าที่กำจัดสารคัดหลั่งและสิ่งแปลกปลอม
ในโพรงจมูกและโรคไซนัสเช่น มีการทำงานที่ผิดปกติไป

ไซนัสอักเสบเกิดได้อย่างไร

ไซนัสจะมีช่องทางติดต่อกับโพรงจมูก โดยผ่านทางรูเปิดธรรมชาติ โรคไซนัสอักเสบเกิดจาก การอุดกั้นของรูเปิดระหว่างจมูกและไซนัสดังกล่าว ทำให้มีการคั่งของสารคัดหลั่งภายในไซนัส ทำให้กลไกการพัดโบกของขนกวัดที่เยื่อบุไซนัสผิดปกติไป และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หรือร่างกายไม่สามารถสร้างสารคัดหลั่งของไซนัสที่ดีและมีคุณภาพในการต่อต้าน การติดเชื้อได้ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุไซนัสตามมา

โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันหมายถึงมีการอักเสบของเยื่อบุไซนัสที่เป ? นมาน? อยกว? า 4 สัปดาห? และอาการหายไปอย? างสมบูรณ? ส่วนไซนัสอักเสบเรื้อรังคือ การที่มีเยื่อบุของไซนัสอักเสบเป็นระยะเวลามากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไปทั้งๆ ที่ให้การรักษาโดยการให้ยาเต็มที่แล้ว พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเยื่อบุไซนัสของผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้น พบว่ามีการอักเสบและการทำลายของเยื่อบุไซนัส และสูญเสียขนกวัดที่ทำหน้าที่กำจัดสารคัดหลั่งและสิ่งแปลกปลอม

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ อาศัยประวัติ , การตรวจร่างกาย และ การสืบค้นเพิ่มเติม

ประวัติที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ เป็นหวัดมานานมากกว่า 7-10 วัน, เป็นหวัดที่มีอาการรุนแรงมาก, ไข้สูง, คัดจมูก , มีน้ำมูกเหลืองข้น , ได้กลิ่นลดลง, ปวดหรือ ตื้อทึบ บริเวณโหนกแก้มคล้ายปวดฟันบน , ปวดรอบๆจมูก หัวคิ้ว หรือหน้าผาก, เจ็บคอ, เสมหะไหลลงคอ, ไอ, ปวดศีรษะ , อาการทางจมูกที่ไม่ดีขึ้นหลังให้ยาหดหลอดเลือด โดยมีอาการดังกล่าวภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังมักมีอาการไม่เฉพาะเจาะจงเช่น คัดจมูก, การรับกลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่น, มีน้ำมูกสีเขียวเหลืองในจมูกหรือไหลลงคอ, ปวดศีรษะ, มีกลิ่นปาก, ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น, ลิ้นเป็นฝ้า, คอแห้ง, มีเสมหะในคอ, เจ็บคอ ระคายคอเรื้อรัง, ไอ, ปวดหูหรือ หูอื้อ

ลักษณะที่พบจากการตรวจร่างกายที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ เฉียบพลัน ได้แก่ มีการกดเจ็บบริเวณไซนัสที่อักเสบ , เห็นน้ำมูกเหลืองข้นไหลลงคอ, เยื่อบุจมูกที่อักเสบบวมแดงมาก หรือมีหนองคลุม ส่วนโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้นมักจะไม่มีอาการกดเจ็บบริเวณไซนัส การตรวจในช่องจมูกอาจพบน้ำมูกเหลืองในจมูกหรือโพรงหลังจมูก และเยื่อบุจมูกที่อักเสบบวมได้

การสืบค้นเพิ่มเติมที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ ได้แก่ การส่งถ่ายภาพรังสีไซนัส การส่งทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ( CT scan ) บริเวณจมูกและไซนัส ซึ่งมีประโยชน์ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคไซนัสอักเสบ , ผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นๆ หายๆหรือ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง และก่อนทำการผ่าตัดรักษาไซนัสอักเสบด้วยกล้องเอ็นโดสโคป การใช้กล้องเอ็นโดสโคปส่องตรวจในโพรงจมูก ดูรูเปิดของไซนัสว่ามีหนองไหลออกมาหรือไม่ ก็มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค นอกจากนั้นการส่องกล้องยังช่วย เก็บสารคัดหลั่ง หรือหนอง เพื่อส่งตรวจหาเชื้อและความไวต่อยาต้านจุลชีพ, หาความผิดปกติทางกายวิภาคที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ และช่วยในการผ่าตัดโดยทำให้เห็นบริเวณที่ผ่าตัดชัดขึ้น และช่วยในการติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยด้วย

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ

จุดมุ่งหมายของการรักษาไซนัสอักเสบคือ บรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือการกลับเป็นซ้ำของโรค

หลักในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วย
1. กำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ โดยการให้ยาต้านจุลชีพ เพื่อทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว การเลือกชนิดของยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ , การดำเนินโรค, ความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อนั้นๆ และ อุบัติการของการดื้อยา ระยะเวลาของการให้ยาต้านจุลชีพนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันควรให้ยาต้านจุล ชีพ อย่างน้อย 10-14 วัน หรือให้จนผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแล้วให้ต่ออีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ใน รายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังควรให้ยาต้านจุลชีพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์
2. ทำให้การไหลเวียนของสารคัดหลั่งและอากาศภายในไซนัสดีขึ้น

    2.1  ยาหดหลอดเลือด ทำให้การบวมของเยื่อบุจมูกลดลง , บรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น อาจให้ในรูปยาพ่นหรือยาหยอดจมูก หรือ ยารับประทาน หรือให้ร่วมกันทั้งสองชนิดก็ได้ สำหรับยาหดหลอดเลือดที่พ่นหรือหยอดจมูก ไม่ควรใช้นานกว่า 7 วัน เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกเสียได้ ส่วนยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทาน ควรระวังผลข้างเคียง เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายด้วย
    2.2  ยาสตีรอยด์พ่นจมูก อาจมีประโยชน์ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือ ไซนัสอักเสบเป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะถ้ามีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือชนิดที่ไม่แพ้ร่วมด้วย ยาพ่นจมูกดังกล่าวจะช่วยลดการอักเสบในจมูก ทำให้รูเปิดของไซนัส ที่มาเปิดในโพรงจมูกโล่งขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศ การระบายของสารคัดหลั่งหรือ หนองที่อยู่ภายในไซนัสดีขึ้น
    2.3  ยาต้านฮิสตะมีน ไม่แนะนำให้ใช้ ยาต้านฮิสตะมีนรุ่นเก่าในผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ที่ไม่ได้มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้น้ำมูกและสารคัดหลั่งแห้งและเหนียวได้ ในรายที่มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย ควรเลือกใช้ยาต้านฮิสตะมีนรุ่นใหม่ เนื่องจากมีผลข้างเคียงดังกล่าวค่อนข้างน้อย
    2.4  ยาละลายมูกหรือเสมหะ ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของยาละลายมูกในการรักษาโรค ไซนัสอักเสบชัดเจน
    2.5 การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออก เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้การพัดโบกของขนกวัดที่เยื่อบุจมูกดีขึ้น อาการต่างๆ ของผู้ป่วยจะดีขึ้นเร็ว
    2.6  การสูดดมไอน้ำเดือด จะช่วยทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม โล่ง อาการคัดจมูกน้อยลง อาการปวดตื้อๆ ที่ศีรษะดีขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้การพ่นยาเข้าไปในจมูก มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    2.7  การผ่าตัด ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบ มักจะหายได้โดยการใช้ยาอย่างเต็มที่ ส่วนน้อยที่ต้องรับการผ่าตัด ดังนั้นในการรักษาจึงพยายามใช้ยาอย่างเต็มที่ก่อน การผ่าตัดเป็นการแก้ไขพยาธิสภาพที่ทำให้รูเปิดระหว่างโพรงจมูกและไซนัสอุด ตัน

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

  •  
    • ผู้ป่วยที่ต้องการเชื้อไปส่งตรวจหาชนิดและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ
    • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ป่วยไม่ดีขึ้น(ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่ หาย ภายใน 3 – 4 สัปดาห์ หรือ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล ภายใน 4 – 6 สัปดาห์) หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
    • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก มีไข้ขึ้นสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
    • ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
    • ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา
    • ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกายวิภาคภายในโพรงจมูก ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัส

3.รักษาโรคหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่

3.1) ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี จะได้มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ความต้านทานโรคดีขึ้น โอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อน้อยลง

3.2) เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เป็นหวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือฟันผุ ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อไม่ให้การอักเสบนั้นลุกลามไปถึงไซนัสได้

3.3) ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดไม่แพ้ ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีปฏิบัติตัวและดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

3.4) ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นๆในจมูก หรือมีริดสีดวงจมูก ควรให้การรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากไซนัสอักเสบ มีดังนี้

1. โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการที่โรคไซนัสอักเสบมีผลต่อเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง

  •  

      1.1.1 ท่อยูสเตเชียนไม่ทำงาน

      1.1.2 หูชั้นกลางอักเสบแบบมีน้ำขัง

      1.1.3 หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

  • 1.1 ภาวะผิดปกติของหูชั้นกลาง เช่น

    1.2 การอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุลำคอ

    1.3 กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง

    1.4 ไอเรื้อรัง

    1.5 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

    1.6 โรคหืด

2. โรคแทรกซ้อนทางตา เช่นฝีในเบ้าตา

3. โรคแทรกซ้อนทางสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ฝีในสมอง

4. โรคแทรกซ้อนทางกระดูก เช่น กระดูกและไขกระดูกบริเวณไซนัสอักเสบ

โดยสรุป ไซนัสอักเสบเป็นปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกอายุทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การให้การวินิจฉัยในระยะแรกที่เริ่มเป็น และให้การรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่ จะช่วยให้ไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลันหายได้เป็นส่วนใหญ่ และป้องกันการกลายเป็นไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง ในรายที่เป็นแบบเรื้อรังมักจะต้องให้การรักษาด้วยยาร่วมกับการเจาะล้างหรือ การผ่าตัดไซนัสจึงจะได้ผล

ในการรักษาไซนัสอักเสบ นอกเหนือจากการรักษาการติดเชื้อในไซนัสแล้ว จะต้องรักษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ หรือเป็นตัวส่งเสริมการเกิดไซนัสอักเสบด้วย จึงจะสามารถรักษาไซนัสอักเสบให้หายขาด และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งก็จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากไซนัสอักเสบด้วย นอกจากนี้ยังต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคที่ตนเองเป็นอยู่ ตลอดจนการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้การรักษาไซนัสอักเสบ
ได้ผลอย่างเต็มที่

            Link      https://www.rcot.org

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              ยารักษาโรคไซนัส


มองได้แต่อย่าชอบ
เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2009, 03:08:54 pm »
 


ไซนัสอักเสบและภูมิแพ้อากาศ

ไซนัสคืออะไร

    ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกระโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้ว ขอบจมูก และโหนกแก้ม หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อาจทำให้
    - กระโหลกเบา
    - เสียงก้อง
    - สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก
    โดยปกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูกผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูก เพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอม จากจมูกลงสู่ลำคอหรืออกทางจมูก
ไซนัสอักเสบคืออะไร
ไซนัสอักเสบ คือการอักเสบของโพรงอากาศไซนัส โดยมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา
ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
    เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูกดังกล่าวอุดตันและเกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงจมูก และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ก็จะแบ่งตัวและ ทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกยิ่งบวมมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค "ไซนัสอักเสบ"



อาการของไซนัสอักเสบ
•    อาการปวดตามตำแหน่งของโพรงอากาศไซนัส มักเป็นอาการปวดหนักๆ ตื้อๆ
•    คัดจมูก
•    น้ำมูกมีสีเขียวเหลืองไหลออกทางจมูก
•    เสมหะไหลลงคอมีสีเขียวสีเหลือง
•    จมุกได้กลิ่นน้อยลงหรือไม่ได้กลิ่น
•    ปวดศีรษะ
•    อ่อนเพลีย
ชนิดของไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ อาจเริ่มมาจากการเป็นหวัดธรรมดา หรือการเป็นโรคภูมิแพ้ หรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากการได้รับ
สารระคายเคืองจากมลพิษ ต่อมาเมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิด ไซนัสอักเสบ
เฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะเกิดอาการอักเสบซ้ำๆ หรือมีการอักเสบเป็นระยะเวลานาน หากมี
การอักเสบเกินกว่า 3 เอือน ก็จะกลายเป็น ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ได้
การรักษาโรคไซนัสอักเสบ ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ
    1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ)

         การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ)
         1. เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae, Hemophilus influenzae และ Branhamella catarrhalis เป็นส่วนใหญ่ ยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ ได้แก่ Amoxicillin, Amoxicillin/clavulanic acid, Cefprozil, Ceftibuten, Cefuroxime axetil, Cefaclor, Clarithromycin, Clindamycin, Erythromycin, Trimethoprim.Sulfamethoxazole
         แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเสุนัขะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
         2. ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ (ทั้งนี้เพราะจะต้องรักษาจนหนองหมดไป จากโพรงไซนัส)
    2. การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด


        การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย
        1. หาซื้อน้ำเกลือหรืออาจผสมขึ้นเองง่าย ๆ โดยใช้น้ำสะอาด 750 cc ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา หรืออาจใช้ 0.9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
        2. เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
        3. ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe)
        4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยางหรือหลอฉีดยาเข้าในจมูกในท่าก้มหน้า, กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก
        5. ทำซ้ำจนน้ำมูกหมด ปฏิบัติวันละ 2-3 ครั้งตามคำแนะนำของแพทย์
        6. บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาพ่นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

    3. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
        1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจำนวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจจะมีอาการของโรคไซนัสอักเสบ ที่เนื่องมาจากโรคภูมิแพ้ ของจมูก ซึ่งจะทำให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงสารแพ้จากไรฝุ่นตามคำแนะนำของแพทย์
        2. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
           - ควันบุหรี่
           - การติดเชื้อจากคนรอบข้าง
           - การอยู่ในที่แออัด
           - การว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ
การรักษาไซนัสอักเสบ  สงสัย
1.    ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน การรักษาเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งจำเป็นต้องใช้ยา 7-14 วัน แพทย์อาจพิจารณายาเพื่อช่วยลอดารอักเสบ และช่วยการระบายของเยื่อเมือกจากโพรงอากาศไซนัส ซึ่งอาจเป็นยารับประทาน หรือเป็นการใช้ยาพ่นเฉพาะที่
2.    ไซนัสอักเสบเรื้อรัง การรักษาเป็นการรักษาด้ายการใช้ยา ร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งอาจใช้
การผ่าตัดด้วยวิธีผ่าตัดธรรมดา หรือการใช้บอลลูนในการรักษา
วิดีโอเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ : ช่วงที่ 1
                    ช่วงที่ 2
คำแนะนำที่เป็นประโยชน์  E012
     นอกจากจะทานยาหมอแล้วควรกำจัดต้นเหตุของอากาศแพ้ด้วย ( จากการที่ได้สอบถาม ส่วนใหญ่ทานยาหมอได้แค่บรรเทาและอาจต้องผ่าตัดกรณีเป็นมาก )
ต้นเหตุของภูมิแพ้ก็มาจากหลายอย่าง เช่น
ฝุ่นในอากาศ : ถ้าบ้านอยู่ใกล้ถนน
ไรฝุ่น : ที่นอน ม่าน พรม(เป็นสวรรค์ของไรฝุ่นและเชื้อรา) ที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด

เชื้อรา : ห้องนอนที่ไม่ค่อยได้โดนแสงแดดจะมีสปอร์ราอยู่ แอร์ หนังสือเก่า ตู้ไม้เก่า ผนังห้องน้ำ

ละอองเกสรดอกไม้ : บ้านที่อยู่ใกล้สอนดอกไม้

โปรตีนบางชนิดจากสัตว์ : น้ำลายแมว ขนแมว

ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงการที่จะสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้  สงสัย
อิ อิ เป็นอย่างไรครับฟังแล้วดูดีไหมครับ ทำอยากเปล่าครับ แน่นอนทำยากสุด ๆ เช่นถ้าบอกว่าแพ้อากาศจะทำอย่างไร จะหยุดหายใจเหรอหรือว่าให้เปลี่ยนที่ยืนดี อิ อิ
คำตอบคือมาใช้วิธีธรรมชาติร่วมด้วยดีกว่าครับ เน้นว่าร่วมด้วยนะ  กระซิบ
วิธี การคือรักษาด้วยยาตามที่หมอสั่ง เช่น ยา วัคซีน ยาพ่น ยาขยายหลอดลม ( ราคาอาจจะแพงและอาจกลับมาเป็นใหม่ ) แต่ถ้าต้องผ่าตัด ช้าก่อนลองวิธีนี้ก่อนดีไหม..
หลักการคือ  หึหึ
1. ทำร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. อยู่ในที่ที่อากาศปลอดมลภาวะ โดยเฉพาะช่วงเวลานอน
3. ใช้ยาหมอ
4. ตัดภาวะเสี่ยงทั้งหลายออกให้หมด เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ดอกไม้ สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะแมว
ถ้าข้อ 1,2 และ 4 ท่านทำไม่ได้หรือยากเกินไป เรามีตัวช่วย ง่าย ๆ และได้ผล และจากที่ได้ทดลองใช้ส่วนใหญ่ที่มีอาการไซนัสอักเสบและแพ้อากาศดีขึ้นภายใน 1 - 3 เดือน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 086-6102009  E014

 เม้าท์กันมัน

ที่มา : https://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/know/zynus.html
      https://blog.spu.ac.th/malee/2007/12/14/entry-27
      
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                  ลักษณะสิวจากโรคไซนัส

โรคไซนัส ริดสีดวงจมูก เนื้องอก แผล Sinus inflammatory,Rhinitis,Tumor

โรคไซนัส
คำว่าไซนัสไม่ใช่ชื่อโรค แต่เป็นชื่อของช่องว่างหรือโพรงอากาศ ของกระดูกใบหน้าบริเวณโหนกแก้มรอบโพรงจมูก, รอบตาและฐานของกระโหลก ศีรษะ ถึงแม้ว่าโพรงอากาศนี้จะเป็นที่ว่างเปล่า แต่ภายในโพรงนี้จะบุด้วยเยื่อเมือกบาง ๆ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเยื่อบุโพรงจมูก และเจ้าตัวไซนัสนี้ไม่ใช่ช่องว่างที่ไม่มีประโยชน์ เรายังเชื่อกันว่าโพรงไซนัส มีประโยชน์คือ เป็นตัวทำให้เสียงพูดของคนเรามีความก้องกังวาน ไพเราะมากขึ้น และเป็นตัวช่วยปรับสภาพของอากาศที่หายใจเข้าไป ให้มีสภาพความชื้น, อุณหภูมิ และความบริสุทธิ์ ที่เหมาะสมกับร่างกายของเราและเนื่องจากโพรงไซนัสเป็นช่องว่าง ดังนั้น มันจึงเปรียบเหมือนกับโช๊คอัพช่วยลดแรงกระแทกต่าง ๆ ที่จะเข้าไปทำความกระทบกระเทือนกับสมองส่วนในได้อีกด้วย แต่ในปัจจุบัน มีนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์บางท่านไม่เชื่อในความจริงเหล่านี้ กลับให้ความเห็นว่าโพรงไซนัสนี้ไม่มีประโยชน์กับร่างกายของมนุษย์เลย แล้วตัวท่านจะเลือกเชื่ออย่างไรดี
โรคไซนัสเป็นอย่างไร
ไซนัสที่ผิดปกติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในโพรงไซนัสซึ่งกลุ่มนี้จะพบได้น้อย ส่วนกลุ่มใหญ่ที่พบได้บ่อยในคนทั่ว ๆ ไป คือ โรคไซนัสอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ในโพรงไซนัส
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า โพรงไซนัส คือช่องว่างที่มีเยื่อเมือกบาง ๆ บุอยู่ ช่องเหล่านี้จะมีรูเปิดเล็ก ๆ เชื่อมต่อกับโพรงจมูก ทำให้อากาศภายนอกสามารถไหลเวียนกันระหว่างโพรงจมูกและโพรงไซนัสได้ เนื่องจากว่ารูเปิดของไซนัสมีขนาดเล็กมาก ถ้ามีอะไรมาทำให้รูเปิดนี้แคบลงหรืออุดตัน เช่นในภาวะที่เป็นหวัด ก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทันที เพราะเมื่อรูเปิดนี้อุดตัน ก็จะทำให้อากาศที่เคยไหลเวียนอยู่เกิดการหยุดนิ่ง อ๊อกซิเจนในอากาศจะถูกดูดซึมไป ทำให้ความดันอากาศในโพรงไซนัสเกิดเป็นลบ มีผลทำให้เยื่อบุไซนัสเกิดการบวม และมีการคั่งของน้ำเมือกในโพรงไซนัล ทำให้เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด เกิดการเจริญเติบโตขึ้นในโพรงไซนัส ซึ่งก็จะทำให้เกิดการอักเสบ และมีหนองคั่งในโพรงไซนัสขึ้น แต่ภาวะไซนัสอักเสบนี้ไม่ได้เกิดกับคนที่เป็นหวัดทุกคนไป ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวว่าถ้าเป็นหวัดแล้ว จะเกิดความรุนแรงจนถึงขั้นเป็นไซนัสอักเสบตามมาเสมอ
สาเหตุของไซนัสอักเสบที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีก คือเกิดจากการอักเสบของรากฟันบนแล้วลุกลามเข้าไปในไซนัส เพราะรากฟันบนจะอยู่ชิดกับฐานของไซนัสบริเวณโหนกแก้ม
การเป็นโรคหวัดจะมีโอกาสเกิดไซนัสอักเสบอย่างไร
ในเรื่องนี้ยังไม่มีสถิติที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย เคยมีผู้รายงานว่า พบโรคไซนัสอักเสบได้ร้อยละ 3-5 ของผู้ป่วยที่มาตรวจที่คลีนิกหู คอ จมูก แต่ไม่ได้ระบุว่าโรคไมีหนองคั่งในโพรงไซนัสหรือไม่ แต่ในรายงานของต่างประเทศพบว่าจะเกิดภาวะไซนัสอักเสบได้ประมาณร้อยละ 0.5 ของการเป็นหวัด นั่นคือ ถ้าเราเป็นหวัด 200 ครั้ง ก็อาจเกิดไซนัสอักเสบได้ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าพบภาวะไซนัสอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และโรค หืด ถ้าดูตามสถิติแล้วจะพบว่าโอกาสเกิดไซนัสอักเสบจะมีค่อนข้างน้อยแต่ยังมี ปัจจัยด้านอื่นที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดไซนัสอักเสบได้ง่ายขึ้น คือ โรคภูมิแพ้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ จะมีอาการคันในจมูก, น้ำมูกไหล, คัดจมูก ทำให้ต้องขยี้จมูกและสั่งน้ำมูกบ่อย จึงทำให้เกิดการอุดตันบริเวณเปิดไซนัสได้ง่าย จึงเกิดไซนัสอักเสบง่ายขึ้น โรคหวัดเรื้อรัง ในผู้ป่วยที่เป็นหวัดตลอดทั้งปี ก็จะมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ จึงทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้ง่าย ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโพรงจมูก เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด, เป็นริดสีดวงจมูก, เป็นเนื้องอกในจมูก หรือมีสิ่งแปลกปลอมในจมูก ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็ก ในผู้ป่วยเหล่านี้ ก็จะมีการอุดตันของรูเปิดไซนัสได้ง่ายเช่นกัน ในคนที่ชอบใช้ยาพ่นจมูกโดยมิได้ปรึกษาแพทย์ เพราะยาพ่นจมูกบางตัวจะทำให้เกิดภาวะติดยา และเยื่อจมูกบวมเรื้อรังได้ และยังทำให้ความสามารถในการดมกลิ่นลดลง
การสูบบุหรี่จัด, การว่ายน้ำบ่อย ๆ หรือดำน้ำลึก ๆ และมีฟันด้านบนผุ ก็จะทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้ง่ายขึ้น
การเดินทางโดยเครื่องบินในขณะที่เป็นโรคหวัด เพราะขณะที่เครื่องบินขึ้น-ลง จะมีการเปลี่ยนแปลงความกดดันอากาศอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดภาวะไซนัสอักเสบได้
การสังเกตุเป็นไซนัสอักเสบ
โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบ มักจะมีอาการของโรคหวัด หรือโรคภูมิแพ้นำมาก่อน กล่าวคือ จะมีน้ำมูก, คัดจมูก และอาการไอ อาการตามมาที่บ่งชี้ว่าจะเป็นไซนัสอักเสบจะมีดังนี้ คือ
1. ปวดศีรษะ หลังจากผู้ป่วยมีอาการของโรคหวัดแล้ว จะมีอาการ ปวดบริเวณโพรงอากาศที่อักเสบ เช่น ปวดแก้ม, ปวดบริเวณหัวตาทั้งสองข้าง, ปวดบริเวณหน้าผาก หรืออาการปวดในกระบอกตาทั้งสองข้างอาการปวดเหล่านี้ จะเป็นอาการปวดแบบตื้อ ๆ บางครั้งจะมีอาการ มึนศีรษะร่วมกับอาการปวด และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มศีรษะลง
2. คัดจมูกแน่นจมูก ผู้ป่วยจะเป็นตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะทานยารักษาโรคหวัดแล้วก็ตามอาการนี้จะยัง ไม่หายไป บางครั้งคัดจมูกมาก จนต้องหายใจทางปาก
มีน้ำมูกและเสมหะสีเหลืองเขียว ถึงแม้ว่าผู้ป่วยทานยาแก้อักเสบรักษาโรคหวัด อาการน้ำมูกสีเหลืองเขียวก็ยังไม่หายไป บางครั้ง น้ำมูกจะไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว บางครั้งก็จะมีความรู้สึก เหมือนมีน้ำมูกไหลลงคออยู่เรื่อย ๆ และในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีกลิ่นเหม็นในจมูกซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยตัวเอง
3. มีไข้ ผู้ป่วยบางรายจะมีไข้สูงจนหนาวสั่น ในขณะที่มีไขสูง ก็จะมีอาการปวดศีรษะและปวดหน้าร่วมด้วย
4. อาการไอ มีผู้ป่วยบางส่วนมักมีอาการที่กล่าวมาไม่มากนัก แต่จะมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งอาการหวัดหายไปแต่ยังมีอาการไออยู่ และเป็นอาการไอแบบมีเสมหะขันร่วมด้วย
5. ในผู้ป่วยเด็ก มักมีอาการไม่ชัดเจนเท่าในผู้ใหญ่ แต่อาการที่น่าคิดถึงไซนัสอักเสบในเด็ก คืออาการหวัดเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆ, อาการไออย่างรุนแรง และลมหายใจมีกลิ่นเหม็น นอกจากนี้เด็กที่มีอาการของหูอักเสบเรื้อรังและหอบหืด ก็ควรนึกถึงโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

หมอมานิตย์ คลินิกหมอมานิตย์เวชกรรมไทย

โทร 0813879721 , 0823877288

email: [email protected]

Of the sinus.
The sinus is a disease. The name of the hollow air spaces. Faces of the bones around the nose and cheekbones, round eyes and the base of the skull cavity, even if it is empty. The internal cavity is lined with a thin mucosal lining of the nose the same type. News sinus and this is not a gap of no use. We also believe that the cavernous sinus. Is useful. Is the voice of the people we have the echo More melodic. And as a condition of the air inhaled. The humidity, temperature and purity. Suitable for our body and the cavernous sinus is a gap, so it’s lot like shock absorbers to reduce the impact that will affect the brain involved in getting it. But in the present. Some medical scientists do not believe in these facts. Back to the cavernous sinus that are useless to the human body at all. I believe you will do well.
What is sinusitis.
Sinus disorders are divided into two groups, is a tumor or cancer in the cavernous sinus, which is rare in this group. The most common group of people to the sinusitis. This has caused. Bacterial or fungal infection in the sinus cavity.
It is known that the cavernous sinus is a space with a thin mucous membrane lining the cavity through a small opening will be connected to the nasal cavity. The outside air can flow between the sinus and the cavernous sinus. Since the opening of the sinus is very small. If anything is going to make these openings narrow or clogged. For example, in a cold environment. It will cause problems immediately. When opening the blockage. Will allow air to flow at a standstill. Oxygen in the air to be absorbed. The air pressure in the cavernous sinus were negative. As a result the lining of the sinus swelling. And congestion of the slime in the cavernous terminal site. The virus or bacteria that cause colds. Growth in the cavernous sinus. This will cause inflammation. Pus in the cavity, sinus congestion, and more. Sinusitis, but patients are not born with a cold at all, so do not worry if you have a cold. Until the violence is always followed by sinusitis.
Causes of sinusitis are listed above. The most common cause. There are also other reasons. Is caused by inflammation of the upper teeth, then spread into the sinus. The implants are placed close to the base of the sinus on the cheekbone.
I will have the chance of disease is sinusitis.
The statistics are clear in this regard. In Thailand Has been reported. Sinusitis was found in 3-5 percent of patients who come to the Clinic Ear, Nose, but did not specify that the terms of the cavernous sinus congestion, or pus. But foreign reports showed that the occurrence of sinusitis is about 0.5 percent of colds, that is, if we have a cold, 200 times, it may cause sinusitis are: 1 There are also reports that the state of sinusitis often. In patients with allergies and asthma. If the statistics you will find that sinusitis is relatively little chance of there. Other factors that contribute to sinusitis, the easier it is.
Allergy in patients with allergies. The itching in the nose, runny nose, stuffy nose, rubbing his nose and blow, making it often. Thereby causing a blockage of the sinus is easy. Sinusitis can occur more easily.
Chronic catarrh. In patients with a cold all year round. I have a patient who is allergic. It is easy to cause sinusitis.
In patients with disorders of the nose, such as the wall of the nasopharynx, as rhinitis, a nasal tumor. Or foreign bodies in the nose. Which is common in young children. In these patients. I have a blockage of the sinus openings are easy as well.
People who use nasal spray without consulting a doctor. Nasal spray, because some drugs cause addiction. Swollen nasal membranes and chronic. And the ability to smell decreases.
Smoking and, swimming or diving, and often has a dental decay. It can cause sinus infections more easily.
Air travel in the cold. While the plane is – down. The air pressure changes rapidly. Can cause sinus inflammation.
Observed, as sinusitis.
In general, patients with sinusitis. Often the symptoms of colds. Or allergies to it, that is, the nose, nasal congestion and cough symptoms as an indication that the sinusitis is as follows.
1. Headache after the patient has symptoms of colds and the pain and inflammation of the air cavity, cheek pain, pain on both eyes, pain in the forehead. Or eye pain in both of these symptoms. It is a dull pain, sometimes with a fever. Head numb with pain. And there will be more pain when the patient bends his head down.
2. Stuffy nose, tight nose. The patient is well, even if you already have a cold medicines will not disappear. Sometimes a stuffy nose. I have to breathe through the mouth.
With mucus and phlegm, yellow, green. Although patients with resistance to antibiotics treat colds. Yellow-green nasal symptoms did not disappear for some time to flow out of their nose unconsciously. Sometimes it will feel. I have a runny nose, throat, and it is in a very bad smell in the nose that can recognize themselves.
3. Fever, some patients have high fever and chills. While there is high fever. I have a headache and pain associated with the page.
4. Cough are symptoms that some people have said, not much. I have a chronic cough for a long time. Sometimes the cold is gone but the cough. And cough with phlegm compete with.
5. In children. The symptoms are not obvious, as in adults. But I do think of sinusitis in children. A chronic cold symptoms for a long time, coughing violently. And breath smell. In addition, children with symptoms of chronic ear infections and asthma. Sinusitis should be considered together.

          Link    https://www.doctorforyou.biz

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด