โรคพุ่มพวง อาการ โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย โรงพยาบาลที่รักษาโรคพุ่มพวง


19,708 ผู้ชม


โรคพุ่มพวง อาการ โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย โรงพยาบาลที่รักษาโรคพุ่มพวง

             โรคพุ่มพวง อาการ

5 อาการบ่งบอกสัญญาณโรคพุ่มพวง หรือ SLE

5 อาการบ่งบอกสัญญาณโรคพุ่มพวง หรือ SLE


โรค SLE

5 อาการบ่งบอกสัญญาณโรคพุ่มพวง...3 ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นอาการกำเริบ (Be Well)
โดย อ.มงคลศิลป์ บุญเย็น ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์การแพทย์ทางเลือกเพื่อบำบัดมะเร็ง และผู้อำนวยการมูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็ง
          ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง แต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปจะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะ หรือหลายระบบของร่างกาย บางรายจะเกิดอาการขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หากมีไข้ต่ำ ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานาน มีอาการปวดตามข้อ มีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า หรือมีผื่นคันบริเวณที่ถูกแสงแดด ผมร่วงมากผิดปกติ มีอาการบวมตามขา หน้าหรือหนังตา และโดยเฉพาะผู้หญิงที่ประจำเดือนขาด หรือไม่มา เหล่านี้อาจสงสัยได้ว่าจะป่วยเป็นเอสแอลอี
ข้อสังเกตอาการของโรคที่สัมพันธ์กับอวัยวะ
อาการทางผิวหนัง 
          ผู้ป่วยมักมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า บริเวณสันจมูก และโหนกแก้ม 2 ข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ หรือมีผื่นแดงคันบริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด หรือมีผื่นขึ้นเป็นวง เป็นแผลเป็นตามใบหน้า หนังศีรษะ หรือบริเวณใบหู มีแผลในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีผมร่วงมากขึ้น
อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ 
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ มักเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วย
อาการทางไต 
          ผู้ป่วยมักมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้าง ขา หน้า หนังตา เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ไต รายที่มีอาการรุนแรงจะมีความดันเลือดสูงขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไปจนถึงขั้นไตวายได้ในระยะเวลาอันสั้น
อาการทางระบบเลือด 
          ผู้ป่วยอาจมีเลือดจาง มีเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีภาวะติดเชื้อง่าย หรือมีจุดเลือดออกตามตัวได้
อาการทางระบบประสาท 
          ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชัก หรือมีอาการพูดเพ้อเจ้อไม่รู้เรื่อง หรือคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้ เนื่องจากมีการอักเสบของสมอง หรือหลอดเลือดในสมอง
          ปกติแพทย์จะแบ่งความรุนแรงของโรคเอสแอลอี ออกเป็นระดับความรุนแรงน้อย ระดับปานกลาง และมาก ตามระบบของอวัยวะที่เกิดมีอาการ และตามชนิดของอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะนั้น ๆ เช่น อาการทางผิวหนังมีผื่น หรืออาการทางข้อ มีข้ออักเสบ จัดเป็นความรุนแรงน้อยถึงระดับปานกลาง ยกเว้นอาการบางชนิด เช่น เส้นเลือดอักเสบของผิวหนัง ส่วนอาการที่ระบบไต ระบบเลือดและสมอง จัดเป็นอาการขั้นรุนแรง
          อาการ ของโรคเหล่านี้ มักจะแสดงความรุนแรงมาก หรือน้อยภายในระยะเวลา 1-2 ปีแรกจากที่เริ่มมีอาการ หลังจากนั้นมักจะเบาลงเรื่อย ๆ แต่อาจมีอาการกำเริบรุนแรงได้เป็นครั้งคราว
วิธีการรักษาโรค
          ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือแอสไพริน หรือยาลดการอักเสบก็ควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ (ยาเพร็ดนิโซโลน) หรือยากดภูมิคุ้มกันในขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ ยาเหล่านี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นมาใหม่
          แต่การใช้ยาเป็นเพียงการระงับอาการชั่วคราว ผู้ป่วยอาจต้องกินยาตลอดชีวิต ผมเคยเจอคนไข้รายหนึ่งก่อนที่จะมารักษากับผม เขากินยาเป็นเวลานานถึง 28 ปี ส่วนอีกรายกินยามา 22 ปีแล้ว แต่พอมารักษาด้วยสมุนไพรก็หายในระยะเวลา 6 เดือน แพทย์บางท่านอาจใช้ยาคีโมในการรักษาเอสแอลอี ซึ่งก็เป็นการรักษาแบบประคับประคอง แต่อาจไม่หายขาด คนไข้ส่วนใหญ่แทบทุกรายที่มาหาผม ล้วนผ่านการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมาก่อน และมีอาการที่เห็นเด่นชัด ตั้งแต่ผมร่วง ใบหน้ามีรอยช้ำ เป็นรอยเหมือนผีเสื้อ ประจำเดือนขาด มีรอยช้ำจ้ำ ๆ บริเวณแขนขา ซึ่งคนเป็นโรคเอสแอสอีจะเกิดรอยช้ำได้ง่ายที่สุด
รักษาเอสแอลอีแบบแพทย์ทางเลือก
          ผมอยากให้คนไข้หาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า แพทย์แผนอื่นรักษาโรคเอสแอลอีได้หรือไม่ สำหรับคนไข้ที่มาหาผม แทบจะไม่ต้องซักประวัติเพิ่มเติม บางคนขอรักษา 2 ทาง ผมก็จะแนะนำว่า ไปหาหมอแผนปัจจุบันได้ แต่ให้เก็บยาไว้ก่อน จากนั้น จึงกินยาสมุนไพรของผมซึ่งมีตัวหลักคือ เห็ดหลินจือ กับยาปรับธาตุที่ปรับสภาพฮอร์โมนผู้หญิงให้ปกติ หรือ ถ้าเป็นผู้ชาย ก็จะเป็นยาบำรุงร่างกาย
3 ปัจจัยเสี่ยงพึงระวัง เพื่อเลี่ยงอาการกำเริบ
          นอกจากนี้คนไข้ต้องระวังในการรับประทานอาหาร เช่น อาหารต้องห้ามประเภทข้าวเหนียว ที่มีกลูเตน (โปรตีนที่สกัดจากแป้งสาลี ใช้ทำหมี่กึง ขนมปัง หรือส่วนผสมในพิซซ่า) ซึ่งจะไปเร่งให้อาการกำเริบ
          และอีกประการที่คนไข้ต้องระวัง คือ แสงแดด หรือ แม้จะเป็นแสงไฟก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแดง คัน ตามบริเวณมือ และหน้า ได้ จึงควรใส่เสื้อแขนยาวที่ปกปิดแขน ขา และลำตัวได้มิดชิด ใส่หมวกปีกกว้าง ทายาป้องกันแสงแดด และสวมเสื้อสีอ่อนที่ไม่ดูดซับความร้อน
          อีกประการที่อาจคิดไม่ถึง คือ ความร้อนจากการปรุงอาหารที่มีรังสีอินฟาเรดถูกปล่อยออกมา ถ้าได้รับความร้อนมาก ๆ ก็เป็นการกระตุ้นให้โรคเอสแอลอีกำเริบได้เช่นกัน
          การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และต้องไม่ปฏิบัติตัวที่จะเป็นการกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาใหม่ เช่น การโดนแสงแดด ตรากตรำทำงานหนัก และอดนอน ถึงแม้ว่าโรคจะสงบลงแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็อาจยังมีโอกาสกำเริบใหม่อีกได้ ดัง นั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาสุขอนามัยให้ดี ทำจิตใจให้สดชื่น ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายสู่ตัวเรา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร Be Well
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
            โรคพุ่มพวงระยะสุดท้าย

SLE หรือโรคพุ่มพวง

SLE คือ อะไร
โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยในชื่อของ “โรคพุ่มพวง” เป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิต้านที่ผิดปกติ แล้วย้อนกลับมามีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยทำให้เกิดความผิดปกติต่อเส้นผม ผิวหนัง ข้อ ไต หัวใจ สมอง เลือด หลอดเลือด และองค์ประกอบอื่นๆ (ผิดปกติได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย) โดยที่ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการที่เกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ เส้นผมและผิวหนัง จะมีผมร่วง มีผื่นที่ผิวหนัง มีภาวะแพ้แสงแดด (Photosensitivity)

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20-45 ปี โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9-10 เท่า พบได้ในทุกเชื้อชาติ จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว พบมากในบริเวณเอเชียตะวันออก เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน

ในปัจจุบันสาเหตุของโรค เอส แอล อี ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
1. กรรมพันธุ์ 2. ฮอร์โมนเพศหญิง
3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

แนวทางการรักษา
การรักษาโรค SLE ทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นโรคต่าง ๆ และให้ยาจำเพาะสำหรับโรค ยาที่รักษา SLEนั้นมีหลายชนิด ยาที่แพทย์มักจะเลือกใช้คือ

  1. ยาต้านเชื้อมาเลเรีย จำพวก chloroquine ใช้ในรายที่อาการไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ มีผื่นขึ้น
  2. ยาพวก corticosteroid มีทั้งยากินและฉีด ในรายที่รุนแรงให้เป็นยาฉีด สำหรับความรุนแรงปานกลางให้เป็นยากิน
  3. ยาพวกปรับภูมิคุ้มกัน มีหลายชนิด มักใช้ในกรณีที่โรครุนแรง มีพยาธิสภาพกับอวัยวะภายในร่วมด้วย เช่น ที่สมอง ไต ปอด หัวใจ เป็นต้น
  4. ให้สารอิมมูโนโกลบูลินขนาดสูง ใช้ในรายที่ SLE ดื้อต่อยาอื่น ๆ จะได้ผลประมาณ 60% โดยเฉพาะ SLEที่มีพยาธิสภาพที่ไตและสมองได้ผลดี ข้อดีของยานี้ช่วยไม่ให้ติดเชื้อง่าย
  5. การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา เป็นการรักษา SLE ที่มีอาการหนักและรุนแรงมากเป็นกรรมวิธีที่ต้องใช้ร่วมกับยาปรับภูมิคุ้มกัน

จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรค SLE

  1. ในระยะแรกที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
  2. พยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด
  3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด ท้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา
  4. เสริม สร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่าง ๆ ควรการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. เนื่องจากผู้ป่วย SLE มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้ที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สุก สะอาด
  6. ปฏิบัติ ตามคำแนะนำของแพทย์ ไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค ส่งผลให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  7. ไม่ควรเปลี่ยน แพทย์ผู้รักษาบ่อย ๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของ อาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้
  8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา
  9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
  10. หาก พบอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์ท่านอื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาที่รับประทานอยู่เป็น ประจำ
  11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลี่ยงไปใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่าง ใกล้ชิดจากแพทย์

เอกสารอ้างอิง
Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach, Sixth Edition 2005, p.1981-1986.

The American College of Rheumatology revised criteria for the classification of systemic lupus erythematosus 1997.

เอกสาร ประกอบการฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม หลักสูตรการบริบาลเภสัชกรรม (รุ่นที่ 1) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 2550

Link     https://patientcares.blogspot.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                  โรงพยาบาลที่รักษาโรคพุ่มพวง

โรคเอสแอลอี SLE หรือ โรคพุ่มพวง


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          เพราะเคยสร้างความตื่นตะลึงด้วยการคร่าชีวิตราชินีลูกทุ่ง "พุ่มพวง ดวงจันทร์" มาแล้ว จึงทำให้คนไทยรู้จัก " โรคเอสแอลอี " กันในนาม "โรคพุ่มพวง" ซึ่งแม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่ได้ยินชื่อของโรคนี้บ่อยนัก แต่รายงานทางการแพทย์ก็ยังพบผู้ป่วยด้วย โรคเอสแอลอี อยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ได้นำเสนอข่าวของคุณแม่สู้ชีวิตที่ต้องเผชิญกับ โรคเอสแอลอี อีกทั้งลูกชายวัย 3 ขวบเศษก็ต้องเจอโรคทางกระดูกรุมเร้า ทำให้ชีวิตของเธอและลูกชายไม่ได้สุขสบายเช่นคนทั่วไป...

          ขณะเดียวกัน หลายคนที่ได้รับรู้ข่าวนี้ อาจยังไม่รู้จัก โรคเอสแอลดี และอยากรู้ว่าโรคนี้ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่ วันนี้เราจะพาไปค้นคำตอบของโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง กันค่ะ
          โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือ โรคลูปัส จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอีเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีนของภูมิคุ้มกันในเลือดที่เรียกว่า "แอนติบอดี้" ขึ้นมามากเกินปกติ ทำให้เกิดปัญหาในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือจากปกติที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท 

          สำหรับความรุนแรงของ โรคเอสแอลอี จะแตกต่างกันไปในแต่ละคนบางคนเป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรงวันดีคืนร้ายก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมาได้อีก ในปัจจุบัน โรคเอสแอลอี ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที
          ทั้งนี้ ผู้ป่วยด้วย โรคแอสเอลอี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน อายุระหว่าง 20-45 ปี อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9:1 และพบได้ในทุกเชื้อชาติ แต่จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว โดยเฉพาะบริเวณเอเชียตะวันออก  เช่น ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง และจีน 
 สาเหตุของ โรคเอสแอลอี 

          ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ โรคเอสแอลอี แน่ชัด  แต่จากหลักฐานทางการวิจัยพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์, ฮอร์โมน และการติดเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็น โรคเอสแอลอี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น แสงแดด โดยเฉพาะแสงอุลตร้าไวโอเลต การตั้งครรภ์ และยาบางชนิด
          1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 30-50 และร้อยละ 7-12 ของผู้ป่วยเอสแอลอี เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน
          2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้
          3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยนตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด
          4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้ 
 อาการของ โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี
โรคเอสแอลอี SLE หรือ โรคพุ่มพวง


          โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลาย อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ โดยอาการที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิดแผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็นขึ้นมาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้
           อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ
           อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น ผมร่วง มีแผลในปาก
           อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ
           อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง
           อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้
           อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ
           อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อย คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ
           อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการได้รับยาสเตียรอยด์
           อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์
 การรักษา โรคเอสแอลอี
          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ การรักษาด้วยยายากลุ่ม NSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตามในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดต่ำๆ (prednisolone < 10 มิลลิกรัม /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมโรคได้จึงค่อยลดยาลง
          ยาสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากโรคลูปัส แพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ร่วมด้วย
 ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อป่วยเป็น โรคเอสแอลอี 

          1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
          2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด
          3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา
          4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่างๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
          5. เนื่องจากผู้ป่วยเอสแอลอี มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว
          6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค และผลการรักษาแพทย์จะได้พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
          7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อยๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของอาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้
          8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา
          9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
          10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

          11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด เพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น­ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

 

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

 คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- thai-sle.com
- vcharkarn.com
- psu.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด