โรคหัวใจรั่วเกิดจาก ข้อควรระวังในการเป็นโรคหัวใจรั่ว เด็กเป็นโรคหัวใจรั่วเพราะอะไร


โรคหัวใจรั่วเกิดจาก ข้อควรระวังในการเป็นโรคหัวใจรั่ว เด็กเป็นโรคหัวใจรั่วเพราะอะไร

           โรคหัวใจรั่วเกิดจาก

โรคหัวใจโตมีสาเหตุมาจากอะไร

  
            หัวใจปกติของคนเรามีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของหัวใจ แต่หากหัวใจที่โตกว่าปกติ มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ อันเนื่องมาจากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้

            อีกสาเหตุหนึ่งคือ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น หัวใจโตไม่ใช่โรค แต่มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติ  โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม เป็นต้น             

            เมื่อโรคหัวใจในผู้ป่วยกำเริบถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะหัวใจโต ซึ่งจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  หัวใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ภาวะหัวใจโต จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่จะแสดงออกตามอาการของโรคที่เป็นต้นเหตุ  ซึ่งสาเหตุต่างๆ มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง เมื่อหัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในคนปกติการสูบฉีดโลหิต จะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่หากคนที่ใช้กำลังมาก เครียดมาก หรือมีโรคหัวใจแทรกซ้อน ความแรงในการสูบฉีดโลหิตก็จะแรงมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดแดงทำงานหนักจากการที่หัวใจสูบฉีดด้วยความแรงตลอดเวลา จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงยืดขยายตัวมาก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในสภาวะปกติ หัวใจก็จะขยายมากขึ้นเป็นลำดับ
  • โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคนี้มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ค่อนข้างจะยากจน มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อก็ลามลงไปที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  • โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด
  • โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคหัวใจแทรกซ้อน จะพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกายมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องด้วย
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม จะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติไม่เท่ากันในแต่ละส่วนระหว่างห้องหัวใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  • โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องเรื้อรัง

            ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจโต  ควรได้รับการตรวจความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติ จะได้รีบรักษาได้ทันท่วงที

        Link    https://www.sukapapdeedee.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

           ข้อควรระวังในการเป็นโรคหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจเป็นส่วนหนึ่งของหัวใจที่ทำหน้าที่คล้ายประต ูกั้นไม่ให้เลือดที่อยู่ในแต่ละห้องหัวใจ่ไหลย้อนกลับขณะที่ห้องหัวใจบีบตัว ลิ้นหัวใจจึงทำหน้าที่คล้ายประตู ปิด-เปิด ระหว่างห้องหัวใจตลอดเวลาตั้งแต่เกิด   หัวใจคนเรามีลิ้นหัวใจอยู่ 4 ตำแหน่ง คือ 


ไตรคัสปิด (Tricuspid) อยู่ระหว่าหัวใจห้องขวาบนและล่าง
พูลโมนารี่ (Pulmonary) อยู่ระหว่างหัวใจห้องขวาล่างกับหลอดเลือดแดงที่ไปปอด
ไมตรัล (Mitral) อยู่ระหว่างหัวใจห้องซ้ายบนและล่าง
เอออร์ติค (Aortic) อยู่ระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างกับหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงร่างกาย

ลักษณะของลิ้นหัวใจประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเป็นแผ่น บางหรือหนา และจำนวนแผ่นเนื้อเยื่อจะขึ้นกับตำแหน่งของลิ้นหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่มีความสำคัญมากลิ้นหนึ่งประกอบไปด้วยแผ่น (leaflet) 2 แผ่น เป็นรูปคล้ายอานม้า หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนของลิ้นเอออร์ติค เป็นจะแผ่นรูปเสี้ยงวงกลมบางๆ   จำนวน 3 แผ่น เป็นต้น แผ่นเหล่านี้ดูเหมือนอ่อนแอ ขาดง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วมีความแข็งแรงมาก

ลิ้นหัวใจรั่ว

หัวใจห้องบน (ซ้ายหรือขวา) จะบีบตัวหลังจากลิ้นหัวใจเปิดออก เลือดจะไหลจากหัวใจห้องบนมายังห้องล่าง เมื่อเลือดไหลหมด แล้วหัวใจห้องล่าง (ซ้ายหรือขวา) จะบีบตัว แรงดันที่เกิดขึ้นจะดันให้ลิ้นหัวใจเคลื่อนมาชนกัน อยู่ในตำแหน่งที่ปิดสนิท ไม่มีเลือด ไหลย้อนกลับไปหัวใจห้องบนอีก ปรากฏการณ์นี้ก็เกิดเช่นเดียวกันกับลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก สาเหตุใดๆก็ตาม ทำให้เลือดไหลผ่านไม่สะดวก เราเรียกว่า "ลิ้นหัวใจตีบ" ซึ่งไม่ใช่ "หัวใจตีบ" หรือ "หลอดเลือดตีบ" และเมื่อถึงคราวต้องปิด แต่ปิดไม่สนิท มีรู หรือ ช่อง ให้เลือดไหลย้อนกลับได้ เราเรียกว่า"ลิ้นหัวใจรั่ว" ในหลายๆครั้งที่ลิ้นหัวใจอยู่ในสภาพที่แข็ง ปิดก็ปิดไม่สนิท เปิดก็ไม่ได้เต็มที่ นั่นคือ ทั้งตีบและรั่วในลิ้นเดียวกัน

สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว

1     มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยอาจไม่มีอาการใดๆในวัยเด็กก็ได้
2    ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอาย เนื่องจากเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงจากเลือดตลอดเวลา ดังนั้นจึงเกิดการเสื่อมขึ้น ลิ้นหัวใจ จะหนาตัวขึ้นและเริ่มมีหินปูน (calcium) เข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ ทำให้ปิดไม่สนิท
3    
โรคหัวใจรูห์มาติค ซึ่งเริ่มต้นจากการติดเชื้อ Streptococus ในคอ ซึ่งพบบ่อยในเด็ก ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ต่อต้านหัวใจตนเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผลตามมาคือลิ้นหัวใจหนาตัวขึ้นมาก เกิดลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคนี้ยังจัดเป็นปัญหา สาธารณสุขของประเทศอยู่ พบบ่อยๆ ในผู้ป่วยเศรษฐานะต่ำ หรือ อยู่ในชุมชนแออัด
4    เกิดจากการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นรู เชื้อโรคอาจมาจากช่องปาก เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด  (ในผู้ติดยา เสพติด) การเจาะตามร่างกาย(เช่น เจาะลิ้น เจาะอวัยวะเพศ) เป็นต้น

ตรวจอย่างไร

การตรวจร่างกายจะให้การวินิจฉัยโรคได้ดี โดยจะได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติ เรียกว่า "เสียงฟู่" หรือ murmur ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจาก ลิ้นหัวใจตีบก็ได้ รั่วก็ได้ แล้วแต่ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตามเสียงฟู่ไม่ได้พบเฉพาะในโรคลิ้นหัวใจเท่านั้น ยังพบในหลายกรณี เช่น คนปกติบางราย คนตั้งครรภ์ ผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว ฯลฯ

การตรวจพิเศษที่ช่วยในการวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่ว รวมทั้งสามารถบอกความรุนแรงและลักษณะของลิ้นหัวใจได้ดีที่สุด คือ การตรวจ ด้วยคลื่นสะท้อน หรืออัลตราซาวน์ เราเรียกการตรวจชนิดนี้ว่า เอคโค่ (echocardiogram) ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือ และ ความชำนาญของแพทย์ในการทำ และแปลผลด้วย บ่อยครั้งที่การใช้เครื่องมือ hi-tech นี้ก็มีผลเสีย เนื่องจากเครื่องมือมี "ความไว" เกินไป สามารถตรวจจับการ "รั่ว" เพียงเล็กน้อยได้ ซึ่งการรั่วเล็กน้อยเหล่านี้ไม่ได้มีความสำคัญเลย   แต่เมื่อแพทย์บอกผู้ป่วยไป ก็ทำให้เกิดความกังวลแก่ผู้ป่วยและญาติ (แต่ไม่บอกก็ไม่ได้เช่นกัน)

การตรวจเอกซ์เรย์ทรวงอก แม้จะไม่สามารถวินิจฉัยลิ้นหัวใจได้โดยตรง แต่ก็สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการบอกความรุนแรง ของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในสมัยก่อนเอกซ์เรย์ทรวงอกมีความสำคัญอย่างมาก และต้องถ่ายหลายๆท่าประกอบกัน แต่ในปัจจุบัน จำเป็นที่ต้องถ่ายหลายท่าลดลง เพราะ "เอคโค่" ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลิ้นหัวใจโดยตรง

อาการเป็นอย่างไร

ลิ้นหัวใจรั่วเพียงเล็กน้อยจะไม่แสดงอาการใดๆ หรือแม้แต่รั่วมากในหลายๆรายก็ไม่แสดงอาการ อาการต่างๆ จะปรากฏเมื่อหัวใจ ไม่สามารถทนรับกับ ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นได้ต่อไปอีก อาการที่เกิดจึงเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เช่น หอบเหนื่อย ขาบวม ใจเต้นเร็ว เป็นต้น ดังนั้นการตรวจร่างกาย หรือ ตรวจสุขภาพประจำปีเท่านั้นจึงสามารถบอกได้

รักษาอย่างไร

แม้ว่าลิ้นหัวใจทำหน้าที่คล้ายประตู แต่หากเปิด-ปิดไม่สะดวกก็ไม่สามารถรักษาด้วยการหยอดน้ำมันเหมือนประตูได้ ต้องเปลี่ยน อย่างเดียว หมายความว่า ต้องแก้ไขที่ตัวลิ้นหัวใจ จะด้วยการผ่าตัดซ่อมแซม หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็ตาม แพทย์จะทำการผ่าตัด เฉพาะในรายที่ลิ้นหัวใจเสีย มากเท่านั้น ดังนั้น หากลิ้นหัวใจรั่วเพียงเล็กน้อยหรือปานกลาง แพทย์จะแนะนำให้ติดตามดูอาการ ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัดแก้ไข ซึ่งหลายๆราย เสียชีวิตด้วยโรคอื่นก่อนที่จะเสียชีวิตจากหัวใจ

การปฏิบัติตัว

หากลิ้นหัวใจรั่วไม่มากก็สามารถมีกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ ส่วนถ้ารั่วมาก มักจะมีอาการหอบเหนื่อย ซึ่งก็ถูกจำกัดกิจกรรมต่างๆ ไปโดยปริยาย หัวใจท่านอ่อนแออยู่แล้ว ดังนั้นท่านต้องทะนุถนอมหัวใจท่านให้มากๆ ไม่ทำร้ายหัวใจด้วย อาหารเค็ม บุหรี่ อาหาร ไขมันสูง เหล้า-เบียร์-ไวน์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแย่ลง

สิ่งสำคัญประการหนึ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ คือ ต้องระวังการติดเชื้อ ดังนั้นหากจะทำฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน หรือ ทำผ่าตัดใดๆ ก็ต้องบอกแพทย์ให้ทราบด้วย เพื่อให้ยาป้องกันการติดเชื้อก่อน

        Link   https://www.thaiheartweb.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

               เด็กเป็นโรคหัวใจรั่วเพราะอะไร

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา

โรคลิ้นหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจรั่ว อย่ามัวเฉยชา
 (กรุงเทพธุรกิจ) 
โดย : กานต์ดา บุญเถื่อน

          โรคหัวใจ อื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพก็ลดเสี่ยงได้ ต่างจากโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่สาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด

          เรียนกันมาตั้งแต่ประถม รู้กันดีว่าหัวใจมีสี่ห้อง แต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจคล้ายกลีบดอกทิวลิปคอยหุบคอยบาน ทำหน้าที่เหมือนวาล์วน้ำอัตโนมัติ เปิดปิดให้เลือดไหลผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง ส่งไปให้ปอดฟอกออกซิเจนกลับมาไหลเวียนสู่ระบบโลหิตอีกครั้ง
          ลิ้นหัวใจ บางคนโชคร้าย ใช้งานไปนานวันเกิดอาการลักปิดลักเปิดทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ รบกวนชีวิตประจำวันทำอะไรนิดหน่อยก็เหนื่อย อาบน้ำยังเหนื่อยเลย ทางที่ดีควรไปให้แพทย์ตรวจอย่างละเอียด เล่าอาการให้หมดเปลือก พบเร็วรักษาเร็วไม่ต้องเสียเงินทองมากมาย 
           โรคหัวใจอื่นเราเฝ้าระวังดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่บริโภคอาหารเสี่ยงได้ ต่างจากโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่มักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่พบบ่อยในคนไทยคือ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย
          " โรค ลิ้นหัวใจรั่ว ที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด มักไม่แสดงอาการในวัยเด็ก แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจสั่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีผลให้การออกกำลังกายได้น้อย หรือบางคนเดินขึ้นบันได 1-2 ชั้น ก็เหนื่อย นอนราบไม่ได้หายใจไม่ออก เป็นต้น" นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  อธิบาย
          การดำเนินอาการของโรค ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรง แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจยาวนานจนกระทั่ง 40 ปีผ่านไป จึงเริ่มแสดงอาการรุนแรง จากการที่ลิ้นหัวใจเสื่อมมากขึ้น จนทำให้ร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลียง่ายกับทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหว บางรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

           ปัจจัยที่ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวที่อายุประมาณ 40-50 คือ การติดเชื้อที่ผิวของเนื้อเยื่อจากกระแสโลหิตนั่นเอง เช่น จากการทำฟัน ในขณะที่ช่องปากมีแผลอักเสบอยู่ ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายที่ต่ำ จะทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่แผลและกระแสเลือด และทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อได้ด้วย
           ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ บอกว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีการทำสถิติว่า มีคนไข้ที่ป่วยเป็น โรคลิ้นหัวใจรั่ว มากน้อยแค่ไหน แต่จากสถิติการวิจัยของต่างประเทศพบว่า 5-10% ของประชากร สามารถเกิดโรคลิ้นหัวใจผิดปกติได้ เพราะเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจมีความผิดปกติแต่กำเนิดเป็นหลัก หรือเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ โดยลักษณะความเสื่อมจะแสดงในรูปของสภาพหย่อน ยาว หรือลิ้นหัวใจหนากว่าคนปกติ 
           มาตรฐานการวินิจฉัยโรค ลิ้นหัวใจรั่ว คือ การใช้คลื่นเสียงสะท้อน หรือเครื่องอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีก็สามารถรู้ผลการวินิจฉัยได้แล้วว่า หัวใจมีความผิดปกติอย่างที่สงสัยหรือไม่ และสภาพการทำงานของหัวใจปัจจุบันเป็นอย่างไร ด้วยค่าบริการตรวจประมาณ 2,500-4,000 บาทต่อคน
           การวินิจฉัย แพทย์จะดูการทำงานของหัวใจทุกอย่าง เช่น ทิศทางการไหลเวียนของเลือด จังหวะการสูบฉีดเลือดของหัวใจเมื่อมีการหายใจเข้าออก การปิดเปิดของลิ้นหัวใจเมื่อเลือดสูบฉีดว่ามีการรั่ว หย่อนยาน หรือปูดขึ้นหรือไม่ เพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
           การรักษาในช่วงที่ ลิ้นหัวใจรั่ว ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เช่น การหลีกเลี่ยงทำฟันเมื่อมีแผลอักเสบในช่องปาก หรือควรบอกแพทย์ก่อนที่จะรับการรักษาหากจำเป็นจริง เป็นต้น
          สำหรับผู้ป่วยรายที่ ลิ้นหัวใจรั่ว มาก จนกระทั่งกล้ามเนื้อที่พยุงการปิดเปิดลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนา ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแพทย์ ว่าสมควรได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่เกิดการชำรุดหรือไม่
          "การผ่าตัดซ่อมแซม ลิ้นหัวใจรั่ว สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาสูงประมาณ 4-5 แสนบาทต่อครั้ง โดยรวมทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการหลังการผ่าตัดเบ็ดเสร็จ โดยผลการรักษาในบางรายอาจดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติได้ตลอดชีวิต และบางรายก็อาจมีการซ่อมแซมซ้ำก็ได้" ผู้อำนวยการอายุรศาสตร์โรคหัวใจ กล่าว
          ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดซ่อมแซมบางราย หากเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัว หรือไตวายซึ่งพบได้น้อย แพทย์ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจทันที การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจเสื่อม หรือเสียมาก แพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบจากธรรมชาติที่ได้จากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว หรือเนื้อเยื่อหัวใจหมู และลิ้นหัวใจเทียมจากสารสังเคราะห์

          วิธีการรักษาดังกล่าวจะมีราคาค่ารักษาอยู่ที่ 5-6 แสนเป็นอย่างต่ำ และสามารถรักษาให้กับผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย และผลการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายคนไข้ต่อลิ้นหัวใจใหม่ด้วย การรักษาด้วยวิธีนี้ คนไข้จะต้องกินยาป้องกัน ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะกับเนื้อเยื่อลิ้นเทียมไปตลอด
          นพ.วิสุทธิ์ บอกอีกว่า แม้โรค ลิ้นหัวใจรั่ว จะพบในผู้ใหญ่วัย 40-50 ได้มาก แต่เด็กแรกเกิดบางรายก็เป็น ลิ้นหัวใจรั่ว ได้เหมือนกัน และมักมีสาเหตุจากความผิดปกติตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เช่น พัฒนาเด็กที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการพยากรณ์โรคทำได้ยาก เพราะเนื้อเยื่อของเด็กยังไม่แข็งแรง ทำให้การรักษายาก และโอกาสในการรอดชีวิตน้อยไปด้วย
       Link   https://health.kapook.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด