สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง


สัตว์มีกระดูกสันหลัง  สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง  การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

            สัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

 สัตว์ มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อของร่างกายเจริญเป็นอวัยวะที่มีการทำงานซับ ซ้อน มีกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายคงรูปที่แน่นอนอยู่ได้ส่วนมากมีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำ และบนบก สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

            นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังตามลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ออกเป็น 5 พวก ได้แก่
 1. พวกปลา 2. พวกครึ่งน้ำครึ่งบก 3. พวกสัตว์เลื้อยคลาน 4. พวกสัตว์ปีก 5. พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ปลา

ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีกระดูกสันหลังต่อกันเป็นข้อๆ ภายในร่างกายลักษณะสำคัญ คือ มีครีบช่วยในการว่ายน้ำ หายใจด้วยเหงือก มีถุงลมอยู่ในตัว ช่วยลดและเพิ่มปริมาณอากาศ และยังช่วยในการลอยตัวของปลา มีขากรรไกรบนและล่าง สามารถอ้าปากเพื่อฮุบน้ำที่มีอาหารปนอยู่ บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มีเกล็ด บางชนิดมีฟันแหลมคม สามารถจับเหยื่อได้เป็นอย่างดี รูปร่างของปลาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน บางชนิดมีลำตัวยาว เช่น ปลาไหลบางชนิดลำตัวทรงกระบอง เช่น ปลาช่อน บางชนิดมีลำตัวแบน เช่น ปลากระเบน ส่วนปลาปักเป้ามีลำตัวค่อนข้างกลม และมีหนามแหลมยื่นออกตามิวหนังเพื่อป้องกันตัว มัาน้ำมีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่นๆ มีหางม้วนงอสำหรับจับยึดกิ่งไม้หรือปะการังใต้น้ำได้ด้วย กระดูกของปลา เราเรียกว่า ก้าง บางชนิดมีเมือกที่ทำให้ลื่นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก 

ครึ่งน้ำครึ่งบก

สัตว์ พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลา อาหารที่กินจะเป็นตัวหนอน และแมลง โดยใช้ลิ้นตวัดเข้าปาก ตอนเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่สามารถยังอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง คางคก เขียด ปาด จงโคร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคางคก
          ลักษณะสำคัญ มีผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด และเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีต่อมสร้างน้ำเมือกคอยขับน้ำเมือกออกมาถ้าผิวหนังแห้งบางพวกอาจต่อม พิษอยู่ตามผิวหนังที่ขรุขระสัตว์พวกนี้ตอนเป็นตัวอ่อนจะมีหางและมีรูปร่าง คล้ายปลา อาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เรียกว่า " ลูกอ๊อด ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเหงือกค่อยๆ หายไป และปอดใช้หายใจแทนเหงือก ขาเริ่มงอก หางหดสั้นลงจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็ก ขึ้นมาอาศัยบนบก และเจริญเติบโต นอกจากหายใจด้วยปอดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนก๊าชผ่านทางผิวหนังที่บางและชุ่มชื้นได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ในฤดูหนาวและฤดูร้อน สัตว์พวกนี้จะหลบความแห้งแล้งและขาดแคลน อาหารไปอยู่ที่ชุ่มชื้น โดยขุดรูหรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า " การจำศีล " ในช่วงนี้จะไม่กินอาหาร โดยจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อรอฤดูฝนจะออกมากินอาหารตามปกติ  

สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์ พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็น อาศัยอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ จะลงไปหาอาหารในน้ำ เวลาพักผ่อนจะขึ้นมาอยู่บนบกหรือริมน้ำ ยังพบว่าสัตว์พวกนี้ มีอุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัยพวก ปลาและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ได้แก่ จระเข้ เต่า ตะพาบ งู กิ้งก่า จิ้งจก

ลักษณะสำคัญ  มีผิวหนังหนาและแห้ง มักมีเกล็ดแข็งปกคลุมร่างกาย หายใจด้วยปอด มีขา 4 ขา ปลายนิ้วมีเล็บช่วยจิกในการเคลื่อนที่ และอาจมีการเปลื่ยนแปลงลักษณะให้เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ เช่น เปลี่ยนไปเป็นใบพายสำหรับว่ายน้ำ เช่น เต่าทะเล ในเต่าและตะพาบน้ำเกล็ด จะเชื่อมติดต่อกันเป็นแผ่นใหญ่เรียกว่า " กระดอง " บางชนิดไม่มีขาจึงเคลื่อนที่ โดยการใช้วิธีการเลื้อย เช่น งู

 สัตว์ปีก

สัตว์ พวกนี้  เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน
แต่เนื่องจากขาหน้าของสัตว์ปีกเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก เพื่อช่วยใน การบิน จึงเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า สัตว์ปีก เราสามารถแบ่งสัตว์กลุ่มนี้ตามลักษณะ
การบินได้ 2 พวก คือ

     1. พวกบินได้ ส่วนใหญ่มีปีกเจริญดี สามารถใช้ในการบินไปมาในอากาศได้อย่างรวดเร็ว แต่มีบางพวกปรับโครงสร้างของร่างกาย ให้เหมาะ
สมกับสถานที่อยู่อาศัย จึงบินได้ต่ำ เช่น ไก่ เป็ด นกยูง นกขุนทอง

2. พวก บินไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีปีกขนาดเล็กมาก จึงไม่สามารถบินได้ การเคลื่อนที่จะอาศัยขาเดิน และวิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น นกกระจกเทศ นกอีมู นกเพนกวิน

ลักษณะ สำคัญ ขนมีลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นขนแบบแผง โดยขนเส้นเล็กๆ แต่ละเส้นจะเรียงชิดติดกันอยู่บนก้านยาว จะมีส่วนโคนฝังอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ปากจะเป็นจงอย จะมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับการกินอาหาร อาหารจะถูกกลืนลงสู่ทางเดินอาหาร โดยไม่การเคี้ยว เพราะในปากไม่มีฟัน อาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะพักเพื่อเก็บสะสม แล้วจึงส่งต่อให้กระเพาะจริง เรียกว่า กระเพาะบดหรือกึ๋น ช่วยบดอาหารให้ละเอียด โดยใช้เม็ดกรวดและทรายที่สัตว์พวกนี้จิกกินเข้าไปจากนั้นส่งต่อให้ลำไส้เล็ก เพื่อย่อยจนสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ จะเหลือกากอาหารจะถูกขับออกทางทวารหนักพร้อมปัสสาวะ เพราะท่อปัสสาวะของสัตว์ปีกจะมาบรรจบที่ปลายลำไส้พอดี มูลจึงมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เท้าของสัตว์ปีกจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ที่บริเวณขาและนิ้วเท้าจะพบว่ามีเกล็ดอยู่ทุกชนิด มีปอดเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซ สัตว์ปีกจะมีถุงลมที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่ฐานของคอ ที่ท้อง ที่ทรวงอก ช่วยเก็บอากาศเพื่อส่งไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด และถุงลมในร่างกายยังช่วยให้ร่างกายมีหนักเบาทำให้ลอยตัวอยู่ในอากาศได้ดี

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์ พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการสูงสุด จึงเรียกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะว่าในเพศเมียจะมีต่อมน้ำนมเพื่อผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน เราสามารถแบ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตามลักษณะของการออกลูกและเลี้ยงลูกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่  พวกนี้จะวางไข่เหมือนสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีเปลือกแข็งหุ้ม พบว่ามีเพียง 2 ชนิด เท่านั้น คือ ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ซึ่งเป็นสัตว์พบเฉพาะออสเตรเลีย และนิวกินีเท่านั้นภายหลังตัวอ่อนออกจากไข่ แล้วกินนมจากแม่เพื่อเจริญเติบโตต่อไป

2. กลุ่ม ที่มีถุงหรือกระเป๋าบริเวณหน้าท้อง พวกนี้จะมีถุงบริเวณ หน้าท้องไว้สำหรับเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งมีขนาดเ ล็กมากเพราะมดลูกของสัตว์กลุ่มยังไม่พัฒนาดีนัก จึงให้ลูกเจริญเติบโต ภายในมดลูกได้เพียงระยะสั้นๆ แล้วต้องให้ตัวอ่อนมาเจริญอยู่ภายในถุงบริเวณหน้าท้อง ได้แก่ จิงโจ้หมีโคอะม่า และวัลลาบี ( คล้ายจิงโจ้แต่มีขนาดเล็กกว่า ) ซึ่งพบเฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น

 3. กลุ่ม ที่มีรก พวกนี้จะมีมดลูกที่พัฒนาดี โดยมีการสร้างรกเชื่อมระหว่างถุงหุ้มตัวอ่อนกับผนังมดลูกของแม่ ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างแม่กับตัวอ่อนรวมทั้งอาหารต่างๆ จากแม่ก็จะถูกส่งไปยังตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในมดลูก โดยผ่านทางรก ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในมดลูกของแม่จนสมบูรณ์เต็มที่ จึงคลอดออกมาและดูดกินนมจากแม่อีกระยะหนึ่งจนโตพอที่จะดำรงชีวิตได้เอง ได้แก่ คน ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว หมู เสือ สิงโต หมี
          ลักษณะที่สำคัญ  มีขนลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ปกคลุมลำตัว ตัวเมียมีต่อมผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 4 ห้อง มีแขน ขา ไม่เกิน 2 คู่ ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นบางชนิดออกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด บางชนิดยังอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬปลาโลมา ปลาพะยูน บางชนิดบินได้ เช่น ค้างคาว

การ สืบพันธุ์  มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยมีการปฏิสนธิภายในร่างกายตัวเมีย ส่วนตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกของแม่จนคลอดออกมาเป็นตัว ยกเว้นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว เพราะสัตว์พวกนี้ไม่มีมดลูก และพวกที่มีมดลูกไม่พัฒนาดีนักพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

https://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-5/no22-25/under_water_world/sec09p03.htm

      Link      https://www.school.net.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นต่ำ ที่ไม่มีกระดูกเป็นแกนภายในร่างกาย บางชนิดอาจมีโครงร่าง  แข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัวเพื่อช่วยค้ำจุนร่างกาย และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ  นักวิทยาศาสตร์พบว่า พวกแมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มใหญ่ที่สุด ซึ่งอาศัยอยู่บนบกมากกว่า   อาศัยอยู่ในน้ำ ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เป็นพวกๆ ดังนี้

พวกฟองน้ำ
 พวกลำตัวกลวง

พวกหนอนตัวแบน

 พวกหนอนตัวกลม

พวกลำตัวเป็นปล้อง

พวกมีขาเป็นข้อ

 พวกหอยและหมึก

 พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

พวกฟองน้ำ

 สัตว์พวกนี้ มีลักษณะลำตัวเป็นโพรง มีรูพรุน ทำให้น้ำและอาหารสามารถไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัว เพื่อดูดซึม ก๊าซออกซิเจนและอาหาร แล้วปล่อยน้ำและกากอาหารออกทางช่องน้ำออก ฟองน้ำทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่จะอยู่  ใน ทะเลมากกว่าน้ำจืด โดยจะเกาะติดกับหินใต้ท้องทะเล ไม่เคลื่อนที่ ดูมีลักษณะคล้ายพืช ไม่มีหัว ไม่มีปาก และไม่มีทางเดินอาหาร ฟองน้ำแต่ละชนิด มีสีและขนาดแตกต่างกัน                          
    การสืบพันธุ์ โดยใช้วิธีการแตกหน่อ ฟองน้ำบางชนิดนำมาใช้ประโยชน์ในการถูตัวเวลาอาบน้ำ จึงเรียกว่า ฟองน้ำถูตัว

พวกลำตัวกลวง

สัตว์ พวกนี้จะมีช่องกลวงภายในลำตัวโดยมีลักษณะเป็นช่องเปิดปลายตันช่องนี้จะทำ หน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนัก คือให้น้ำและอากาศเข้ามาภายในช่อง หลังจากแลกเปลี่ยนก๊าซและกินอาหารแล้วจะดันน้ำและของเสียผ่านทางช่องปิดนี้ ออกสู่ภายนอก สัตว์พวกนี้ทุกชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา บริเวณหนวดของสัตว์ พวกนี้จะมีเข็มพิษไว้ฆ่าเหยื่อก่อนที่จะเหยื่อเข้าช่องปาก บางชนิดมีหนวดจำนวนมาก เช่น แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล บางพวกมีเปลือกแข็งหุ้มเป็นหินปูน เช่น ปะการัง บางพวกมีกิ่งก้านเหมือนต้นไม้ เช่น กัลปังหา เป็นต้น

การสืบพันธุ์  สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน

พวกหนอนตัวแบน

สัตว์ กลุ่มนี้มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน แต่มีลักษณะลำตัวแบน บางชนิดมีปากและทวารหนักเป็นช่องเปิดเดียวกัน เช่น พลานาเรีย บางชนิดดูดกินเลือดสัตว์อื่นที่มันเข้าไปอาศัยอยู่เป็นอาหาร เช่น พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืดจึงเรียกว่าพวกนี้ว่า ปรสิต  

       การ สืบพันธุ์ ของสัตว์พวกนี้มีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ บางชนิดมีสองเพศในตัวเดียวกัน เช่น พยาธิบางชนิด ผสมพันธุ์กันเองในตัว แล้วปล่อยไข่ออกมา เช่น พยาธิตัวตืด บางชนิดใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะแบ่งร่างกายเป็น 2 ส่วน แล้วเจริญกลายเป็นตัวใหม่ เช่น พลานาเรีย  

 

 

พวกหนอนตัวกลม

สัตว์ พวกนี้จะมีลักษระลำตัวกลมยาวเหมือนเชือก หัวท้ายค่อนข้างแหลม ลำตัวไม่เป็นปล้อง เป็นพวกที่เรียกว่า ปรสิตทั้งในพืชและในสัตว์ เช่น ไส้เดือนฝอย พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวจื๊ด ตัวผู้กับตัวเมียแยกกัน ตัวเมียจะโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียหางเหยียด ตัวผู้หางจะงอเล็กน้อย

        การสืบพันธุ์ ของสัตว์กลุ่มจะเป็นแบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กัน ไข่ของตัวเมียที่ถูกผสมแล้วจะถูกปล่อยออก
มาภายนอกร่างกายของสัตว์ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ โดยออกมากับอจุจาระ เมื่อมีอากาศและความชื้นที่เหมาะสมจึงฟักเป็นตัวอ่อน แล้วตัวอ่อนไซ
เข้าสู่ร่างกายสัตว์อื่นทางซอกเท้าไปตามเส้ยโลหิต ได้แก่ พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย

พวกลำตัวเป็นปล้อง

 สัตว์ พวกนี้ จะมีลำตัวกลมยาวเหมือนพยาธิตัวกลม แต่จะมีลักษณะเป็นปล้องๆ เหมือนวงแหวนหลายๆ อันเรียงซ้อนกัน มีผิวหนังเปียกชื้นช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สในการหายใจ ส่วนใหญ่ หากินอิสระ และอาศัยในทะเล เช่น แม่เพรียง บางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ตัวสงกรานต์ (ตัวร้อยขา) บางชนิดเป็น ปรสิต ดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงบก(ทาก) บางชิดอาศัยอยู่ในดิน เช่น ไส้เดือนดิน

        การสืบพันธุ์ สัตว์พวกนี้ มีทั้ง 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน และแยกเพศคนละตัว จะอาศัยเพศในการสืบพันธุ์

 

พวกมีผิวขรุขระเป็นหนาม

สัตว์ พวกนี้ ตามผิวหนังจะมีลักษณะเป็นปุ่มปมขุรขระ บางชนิดเป็นหนาม บางชนิดมีเปลือกหุ้มลำตัวรูปทรงกลม หรือกลมแบน เช่น ปลาดาว หอยเม่น

         การสืบพันธุ์  สัตว์พวกนี้มีการสืบพันธุ์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ โดยการปฏิสนธิภายนอก ตัวเมียจะมีการผลิตไข่คั้รงละมาก เพื่อให้มีโอกาสอยู่รอดได้มาก ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะใช้วิธีการงอกใหม่ ซึ่งจะพบในพวกปลาดาวทะเล

พวกหอยและหมึก

 สัตว์ พวกนี้ จะมีลักษณะลำตัวอ่อนนิ่ม บางชนิดมีเปลือกแข็งซึ่งเป็นสารพวกหินปูนหุ้มลำตัว เช่น หอยต่างๆ ใช้กล้ามเนื้อท้องในการเคลื่อนที่ บางชนิดจะไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว แต่มีเนื้อลำตัวเหนียวมาก เช่นปลาหมึกธรรมดา และปลาหมึกยักษ์ ใช้หนวดโบกพัดเพื่อว่ายน้ำเคลื่อนที่ไป ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือกบางชนิดอาศัย อยู่บนบก หายใจด้วยปอด เช่นหอยทาก

           การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน แต่บางชนิดมีการปฏิสนธิภายนอก โดยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปผสมกันในน้ำ

พวกมีขาเป็นข้อ

สัตว์ พวกนี้ จะมีขาเป็นข้อๆ ต่อกัน ทุกชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวด้านนอกแบ่งเป็นปล้องๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตราย และทำให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ เมื่อร่างกายภายในเจริญเติบโตจะดันเปลือกให้แตกออก แล้วสร้างเปลือกใหม่ เราเรียกว่า ลอกคราบ ระหว่างลอกคราบ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ขนาดจะคงที่ จะพบสัตว์พวกนี้ทั้งบนบก ในน้ำจืด และในน้ำเค็ม เนื่องจากสัตว์พวกนี้ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีจำนวนมากนักวิทยาศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ี

1.      พวกแมลง เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดกว่ากลุ่มอื่น ลำตัว แบ่งออกเป็นส่วนหัว อก และท้อง มีชา 3 คู่ ที่บริเวณอกส่วนใหญ่มีปีกช่วยในการบิน 1-2 คู่ แมลงจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างการเจริญเติบโต โดยการลอกคราบ

2.      พวกแมงมุม สัตว์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก มีขา 4 คู่ เช่นแมงมุม บึ้ง แมงป่อง

3.      พวกตะขาบ สัตว์พวกนี้จะมีลำตัวเรียวยาว และแบนเล็กน้อยลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ เช่น ตะขาบ ซึ่งมีเขี้ยวพิษที่บริเวณปากไว้ป้องกันตัว และฆ่าเหยื่อ

4.      กิ้งกือ สัตว์พวกนี้มีลำตัวเป็นทรงกระบอก และ แบ่งเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีขา 2 คู่ เช่น กิ้งกือ แม้จะมีขามากแต่เดินได้อย่างเชื่องช้าเมื่อมีสิ่งใดมากระทบจะม้วนลำตัวเป็นวงกลม

5.      พวกกุ้งและปู สัตว์พวกนี้จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่ จะพบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปู กุ้ง กั้ง และไรน้ำ

การสืบพันธุ์ แบบอาศัยเพศ มีเพศแยกกันคนละตัว ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายใน มีการวางไข่

       Link     https://www.school.net.th
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              การเคลื่อนที่ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

.การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

 

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

             โลมาและวาฬมีขนาดใหญ่กว่าปลาทั่ว ๆ ไปมากและมีรูปร่างเพรียวเหมือนปลา   มีส่วนกระดูกคอสั้น   ทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว   ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบ ช่วยในการว่ายน้ำ  และขาคู่หลังก็หดหายไป   แต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ขนานกับพื้น  การเคลื่อนที่ใช้การตวัดหาง  และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว  ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี

             สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า  ฟลิปเปอร์   ( flipper )  ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย  ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี   

 

ภาพแมวน้ำและเต่าที่มีขาคู่หน้าลักษณะเป็นพายเรียกว่า "flipper"

2.การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ

 

รูปกบและเป็ดที่บริเวณนิ้วเท้าจะเป็น "web"

             กบและเป็ดขณะที่เคลื่อนไหวในน้ำ จะใช้โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ   ยึดติดอยู่ระหว่างนิ้วเท้าช่วยโบกพัดน้ำทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เรียกว่า web ถ้าเป็นการกระโดดของกบจะใช้ขาหลังทั้งสองในการดีดตัวไปข้างหน้า

3.การเคลื่อนที่ของนก

             นกมีกระดูกที่กลวง   ทำให้ตัวเบา  และอัดตัวกันแน่น  ทำให้นกมีขนาดเล็ก  และรูปร่างเพรียวลมจึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี

             นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่ เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)  คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มากทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)   การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้มีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือ ขณะที่นกกดปีกลง กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะหดตัว  ส่วน เพกทอราลิสไมเนอร์จะคลายตัวขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์จะ หดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป

 

ภาพนกแสดงปีกขนที่ปีกและกล้ามเนื้อกดปีก

 

นกมีถุงลม  (air sac)

             ถุงลมของนกเจริญดีมากและอยู่ติดกับปอด  นอกจากนี้ยังแทรกเข้าไปในโครงกระดูกด้วย  ในขณะที่นกหายใจเข้ากระดูกอกจะลดต่ำลงถุงลมขยายขนาดขึ้น  อากาศจะไหลผ่านเข้าสู่หลอดลม  เข้าสู่ปอดและเข้าสู่ถุงลมตอนท้าย  ส่วนอากาศที่ถูกใช้แล้ว  จะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้า  ในขณะที่หายใจออก  อากาศจากถุงลมตอนท้ายจะเข้าสู่ปอด  ทำให้ปอดพองออกและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกนอกร่างกายต่อไปอย่างนี้เสมอ    การมีถุงลมของนกทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศให้แก่ปอดได้เป็นอย่างดี  แต่ถุงลมทำหน้าที่ช่วยปอดเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส  การที่นกบินนกต้องใช้พลังงานจำนวนมาก จึงทำให้นกมีเมแทบอลิซึมสูงมาก  นกจึงต้องกินมากและใช้ออกซิเจนมากด้วย

นกมีขน (feather)

                ขนของนกบางและเบาช่วยในการอุ้มอากาศ  ขนที่ปีกช่วยในการดันอากาศขณะหุบปีกลง  ทำให้ตัวนกพุ่งไปข้างหน้า    การเคลื่อนที่ของนกในอากาศจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับน้ำหนักของ   ตัวนก   ขนาดของปีก   ความเร็วของการขยับปีกและกระแสลมในขณะที่นกเริ่มบินต้องใช้แรงอย่างมากแต่เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศแล้วก็ไม่ต้องใช้แรงมากนัก  การบินของนกโดยทั่ว ๆ ไป  มีดังนี้

1.  นกกางปีกออกเต็มที่

2.  นกจะโบกปีกลงทำให้ลำตัวนกเชิดขึ้น  เนื่องจากเกิดแรงปะทะกับอากาศ  ตัวนกจึงลอยขึ้นไปในอากาศได้

3.  ปีกที่โบกลงนั้นจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ทำให้เกิดแรงปะทะกับอากาศเพิ่มมากขึ้น

4.  เมื่อโบกปีกลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว  นกจะยกปีกขึ้น  และสะบัดไปข้างหลังอย่างแรง  ทำให้นกพุ่งไปข้าง

     หน้ากระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก  จึงทำให้นกบินได้อย่างรวดเร็ว

4.การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า

 
ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของเสือชีต้า

             เสือชีต้ามีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่ที่แข็งแรงมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการกระโดด  นอกจากนี้กระดูกสันหลังของเสือชีต้าก็ช่วยได้มาก  เนื่องจากมีขนาดยาวและเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ดี  ทำให้ช่วงการก้าวของขาหน้าและขาหลังห่างกันมาก  มันจึงวิ่งได้เร็ว  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยให้ความถี่และความแรงของการก้าวสูง  เสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็วมาก  

             ในกรณีของสัตว์ที่มีขาสั้น  เช่น  จิ้งจก ตุ๊กแก  การเคลื่อนที่อาศัยการก้าวขาที่ไม่พร้อมกัน  ทำให้เกิดการโค้งไปโค้งมาของส่วนร่างกายเป็นรูปตัว S   สำหรับงูไม่มีรยางค์หรือขา  การเคลื่อนที่ก็อาศัยกล้ามเนื้อและโครงกระดูก  หดตัวและเคลื่อนที่กลับไปกลับมา  ที่เรียกว่า  การเลื้อย 

 

ภาพแสดงการเคลื่อนที่รูปตัว S ของสัตว์เลื้อยคลาน
            Link     https://www.thaigoodview.com/
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

อัพเดทล่าสุด