เมื่อร่ายกายขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะมีโอกาสขาดวิตามินใด รูปภาพคนขาดสารอาหาร นางแบบที่เป็นโรคขาดสารอาหาร


10,140 ผู้ชม


เมื่อร่ายกายขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะมีโอกาสขาดวิตามินใด  รูปภาพคนขาดสารอาหาร  นางแบบที่เป็นโรคขาดสารอาหาร

          เมื่อร่ายกายขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะมีโอกาสขาดวิตามินใด,  รูปภาพคนขาดสารอาหาร

วิตามิน (Vitamin)เป็นสารอาหารสำคัญ


วิตามิน (Vitamin) วิตามินเป็นสารอาหารสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้สารอาหารต่างๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และเกลือแร่ ทำงานได้อย่างราบรื่น วิตามินแบ่งตามคุณสมบัติได้เป็น 2 ชนิด คือ

วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่

 วิตามินเอ (Vitamin A)
วิตามินดี (Vitamin D)
วิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินเค (Vitamin K)

มี คุณสมบัติทนต่อความร้อนจากการหุงต้ม จะถูกดูดซึมร่วมกับอาหารไขมันอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย สะสมที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะพิษจากวิตามินใด้
วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่
วิตามินกลุ่มบี (Vitamin B complex)
วิตามินซี (Vitamin C)
มี คุณสมบัติละลายน้ำได้ดี ทำให้สูญเสียออกไปในน้ำได้ง่าย ผักและผลไม้จึงควรล้างน้ำเร็วๆ มักจะสลายตัวด้วยความร้อน ถูกขับออกทางปัสสาวะ
จะเกิดอะไรขึ้นหากขาดวิตามิน ! ?
ร่าง กายจำต้องได้วิตามินจากอาหารเพราะไม่สามารถสร้างขึ้นได้ หรือสร้างขึ้นได้เพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน หากอาหารมีวิตามินน้อย หรือความสามารถในการดูดซึมวิตามินของร่างกายลดลง เช่นท้องเสีย หรือในภาวะที่ร่างกายต้องการวิตามินเพิ่มขึ้น เช่น หญิงมีครรภ์ และให้นมบุตร ร่างกายจะขาดวิตามิน ทำให้สุขภาพเสื่อมลง ก่อให้เกิดอาการเฉพาะโรคขึ้นได้

เมื่อร่างกายได้วิตามินมากเกินไป ผลก็คือ ! ?
วิตามิน ชนิดที่ละลายในไขมัน เมื่อได้รับมากเกินไป จะทำอันตรายต่อตับเป็นอันดับแรก หากได้รับมากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ ส่วนวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ หากได้รับมากเกินไป จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย


หน้าที่ของวิตามิน เอ
วิตามิน เอ ได้ชื่อว่า วิตามินสำหรับดวงตา เพราะมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น
ช่วยให้มองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อย และช่วยให้มองเห็นสีสันต่างๆ
ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน มีความสำคัญสำหรับการสร้างเคลือบฟัน (enamel) ของฟัน
ควบคุมการผลิตและการทำงานของเซลผิวหนัง และเซลเยื่อบุทั่วร่างกาย ให้เป็นไปตามปกติ
จำเป็นสำหรับกระบวนการสืบพันธุ์ และการหลั่งน้ำนม
ช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็งในปอด
เมื่อขาดวิตามิน เอ
ไม่สามารถมองเห็นในแสงสลัว(หรือที่เรียกว่า ตาบอดกลางคืน) จนถึงขั้นตาบอดได้
เยื่อบุตาขาวแห้ง ถ้าเป็นมากจะเห็นเป็นจุดหรือบริเวณสีขาวเทา พบมากทางด้านหางตาเรียกว่า เกล็ดกระดี่
ผิวหนังแห้ง เยื่อบุอวัยวะต่างๆติดเชื้อง่าย
การเจริญเติบโตของกระดูกช้าลง
มีความผิดปกติของการสร้างเคลือบฟัน ทำให้ฟันไม่แข็งแรง


พิษจากวิตามิน เอ พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มี 2 แบบคือ

1. แบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับวิตามิน เอ ปริมาณสูงมากครั้งเดียว จะมีอาการซึม ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากความดันในกระโหลกศีรษะสูง ผิวหนังแดง บวม และลอก
2. แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับวิตามิน เอ เกินความต้องการของร่างกาย ในปริมาณที่ไม่สูงมากนัก เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดกระดูกและข้อ ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด ปากแห้งแตกเป็นแผล ผมร่วง ท้องเสีย ตับม้ามโต
การหยุดรับประทานวิตามิน เอ จะทำให้อาการต่างๆ หายไปภายใน 72 ชั่วโมง


หน้าที่ของวิตามิน ดี

ช่วยให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
ช่วยลำเลียงแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดเข้าสู่กระดูก
มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของกระดูกทารก
เพิ่มการดูดซึมกลับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่หลอดไต

เมื่อขาดวิตามิน ดี

การขาดวิตามิน ดี ทำให้แคลเซียมจับตัวกับกระดูกยาก โครงสร้างของกระดูกผิดปกติ กระดูกจึงโก่งงอหรือเปราะง่าย เกิดโรคกระดูกอ่อน

ในเด็ก
ซึม ร้องกวน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
กระโหลกศีรษะไม่แข็ง เมื่อกดจะยุบได้ กระหม่อมปิดช้าหรือไม่ปิด
ขาและกระดูกสันหลังโก่งงอ
ฟันขึ้นช้าและผุง่าย
ในผู้ใหญ่
จะมีอาการปวดตามกระดูก โดยเฉพาะที่สะโพก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกหักง่าย

พิษจากวิตามิน ดี

มี อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ท้องเดิน ปัสสาวะมาก และดื่มน้ำมาก ในรายเรื้อรัง แคลเซียมที่สูงขึ้นในเลือดจะไปเกาะตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นที่ไตทำให้เกิดนิ่วในไต หรือที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

แหล่งวิตามิน ดี

มีมากในตับ, ปลาไหล, ไข่แดง, เนย, มาการีน, แครอท, ฟักทอง และผักเขียวเหลืองต่างๆ


หน้าที่ของวิตามิน อี
ช่วยขัดขวางการทำปฏิกริยากันของออกซิเจนกับไขมัน (oxidation) จึงเชื่อว่ามีสรรพคุณยับยั้งความชรา เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจน แต่ออกซิเจนสามารถจับตัวกับไขมัน เหมือนสนิมชนิดหนึ่งที่ติดอยู่ตามส่วนต่างๆ ทำให้เจ็บป่วยง่าย สมรรถภาพร่างกายถดถอย ความชราจึงเพิ่มขึ้น
เมื่อออกซิเจนรวมตัวกับกรดไลโนเลอิก(กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง) กลายเป็นคอเลสเตอรอลติดอยู่ตามหลอดเลือด จนเส้นเลือดแข็งตัว แต่วิตามินอีขัดขวางการรวมตัวของออกซิเจนกับกรดไลโนเลอิก ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจึงน้อยลงทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก
ช่วยให้ร่างกายปรับตัวต่ออุณหภูมิภายนอกได้เร็วขึ้น

เมื่อขาดวิตามิน อี

ผนังของเม็ดเลือดแดงจะเปราะและแตกง่าย เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นลง มักทำให้เกิดโลหิตจางในทารก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความต้านทานความหนาวลดลง ผิวจึงแตก เกิดฝ้าง่าย เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
พิษจากวิตามิน อี
วิตามินอีมีพิษน้อยที่สุดในบรรดาไวตามินที่ละลายในไขมันทั้งหมด อาจทำให้เกิดอาการ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง เลือดแข็งตัวช้า
แหล่งวิตามิน อี
น้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันจากข้าวสาลี น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันรำข้าว และยังพบได้ใน เนื้อสัตว์ เนย นม ไข่ น้ำมันตับปลา ผักเขียวปนเหลือง ส่วนผลไม้มีวิตามินอีน้อย


หน้าที่ของวิตามิน เค
ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีเลือดออกตามบาดแผล โดยมีหน้าที่สำคัญในการสังเคราะห์ factor ที่ใช้ในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ในทางกลับกัน ยามปกติวิตามินเค ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว
มีส่วนช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมแคลเซียม การดูดซึมแคลเซียม นอกจากต้องใช้วิตามินดีแล้ว ยังต้อวอาศัยวิตามินเคด้วยเช่นกัน
เมื่อขาดวิตามิน เค
พบได้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาการที่พบคือ มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะที่ลำไส้ เรียกว่าโรค Hemorrhagic Disease of the New Born พบในทารกอายุ 2-4 วัน
ในเด็กอายุประมาณ 1-2 เดือนที่ขาดวิตามินเค จะเกิดโรค Idiopathic vitamin K deficience in infancy มักเกิดเลือดออกมากที่สมอง
ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ยาจะไปทำลายแบคทีเรียในลำไส้ รวมทั้งผู้ที่ได้รับยาต้านวิตามินเค จะทำให้กเดภาวะขาดวิตามินเค อาการที่พบคือ เลือดออกง่าย เลือดแข็งตัวช้า

แหล่งวิตามิน เค

สร้างขึ้นจากแบคทีเรียในลำไส้
พบในผักใบเขียวทุกชนิด หัวผักกาดขาว แครอท น้ำมันตับปลา ตับ เนยแข็ง ไข่ขาว ถั่วหมัก



วิตามิน บี1
หน้าที่ของวิตามิน บี1

วิตามินบี1 ต้องใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแป้งหรือน้ำตาลเป็นพลังงาน หากร่างกายได้น้ำตาลมาก แต่ได้บี1น้อย ร่างกายก็จะย่อยสลายน้ำตาลไม่ได้ จึงไม่เกิดพลังงานขึ้น นอกจากนี้ยังรักษาระบบการทำงานของระบบประสาทให้เป็นปกติ โดยวิตามินบี1 ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหารต่อระบบประสาท
ภาวะขาดวิตามิน บี1
ในผู้ที่ติดสุราหรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง มักจะมีอาการของการขาดวิตามินบี1 ร่วมด้วย ทั้งนี้เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลทำให้การดูดซึมวิตามินบี1 ในลำไส้ลดน้อยลง ในเด็กวัยเจริญเติบโตหญิงตั้งครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตรจะต้องการวิตามินบี1 มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี1ขึ้นได้
เมื่อขาดวิตามินบี1ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ทำงานไม่ค่อยได้ มึนศีรษะ อาจทำให้เกิดโรคเหน็บชา หรือ Beri-beri ซึ่งทำให้ปลายเส้นประสาทผิดปกติ มือเท้าเป็นเหน็บ เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หากเป็นมากขึ้นประสิทธิภาพของหัวใจจะลดลง ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แบ่งได้เป็น 2 พวกคือ

1. Infantile Beri-beri
พบในเด็กอายุ 2-6 เดือน ที่กินนมแม่ซึ่งมีภาวะทุโภชนาการ เด็กจะกระวนกระวาย จู้จี้ ร้องกวน อาเจียน ปัสสาวะน้อยลง และบวม
2. Adult Beri-beri แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
     - Dry Beri-beri จะมีอาการชาที่มือและเท้าทั้งสองข้าง เจ็บกล้ามเนื้อที่น่อง และไม่มีแรง
     - Wet Beri-beri ผู้ป่วยชา เช่นเดียวกับใน Dry Beri-beri ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก บวม หัวใจโต
ผู้ ที่ชอบดื่มเหล้าและมีภาวะขาดวิตามินบี1 อาจทำให้เกิดอาการเวอร์นิเก้ โดยจะมีอาการผิดปกติตามระบบประสาทต่างๆ เช่น อารมณ์ไม่ปกติ พูดติดอ่าง หายใจขัด สายตาเสื่อม และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
แหล่งวิตามิน บี1
มีมากในธัญพืช ข้าวกล้อง และข้าวที่ยังไม่ถูกขัดสี ตับและเนื้อของวัวหรือหมู ปลา ไข่ นม เต้าหู้ หรือถั่วหมัก ถั่วต่างๆ รำข้าว ข้าวซ้อมมือ งา กระเทียม
วิตามินบี1ในอาหาร เมื่อผ่านการหุงต้ม จะถูกทำลายได้ 25-40% ของปริมาณทั้งหมดที่มีอยู่ในอาหาร
วิตามิน บี2
หน้าที่ของวิตามิน บี2

ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระแกรน จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมตาบอลิสมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตูให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา
ภาวะขาดวิตามิน บี2
จะทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก ลิ้น มุมปาก และริมฝีปากอักเสบ ผิวเป็นตุ่มหนอง ตาแดง สายตาผิดปกติ เคืองตาเมื่อถูกแสง เหนื่อยง่าย
แหล่งวิตามิน บี2
นม ไข่แดง ไข่ปลา เนยแข็ง ตับ ผักใบเขียว
วิตามิน บี6
หน้าที่ของวิตามิน บี6

ใช้ในกระบวนการเมตาบอลิสมโปรตีน ทำหน้าที่สร้างกรดอะมิโน และเป็นเอนไซม์แยกกรดอะมิโน ช่วนรักษาสมรรถภาพสมอง, ตับ ป้องกันตะคริว หรือโรคลมบ้าหมูในเด็กเล็ก ช่วยต่อต้านอาการภูมิแพ้
ภาวะขาดวิตามิน บี6
ความต้องการวิตามินบี6 จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนโปรตีนที่บริโภค การขาดวิตามินบี6 เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการภูมิแพ้ ทำให้เกิดผื่นคันบริเวณผิวหนัง ในบางรายการขาดวิตามินบี6 จะทำให้ซีด หรือโลหิตจาง ในเด็กอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น ชักง่าย
แหล่งวิตามิน บี6
ข้าวสาลี ข้าวโพด ตับ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา
วิตามิน บี7 (ไบโอติน)
ไบโอตินมีหน้าที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิสมของกรดไขมัน และกรดอะมิโน ช่วยถนอมผิวพรรณให้ปกติ รักษาโรคทางระบบประสาท เช่นโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า ไบโอตินพบได้ใน ตับ ถั่วต่างๆ ผลไม้ ยีสต์ มะเขือเทศ ไข่แดง
ภาวะขาดไบโอติน
อาหารธรรมดามีไบโอตินเพียงพอ แต่ผู้ชอบทานไข่ดิบเป็นประจำ ไข่ขาวดิบจะรวมตัวกับไบโอติน ขัดขวางการย่อยและดูดซึมโปรตีนในกระเพาะ และลำไส้ ผู้ทานไข่ดิบคราวละหลายฟองอยู่เสมอ มีโอกาสขาดไบโอตินสูงกว่าคนอื่น ควรต้มไข่ให้สุกเพื่อขจัดปัญหา แบคทีเรียในลำไส้สร้างไบโอตินขึ้นเองได้ แต่ผู้ทานยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ยาจะทำลายแบคทีเรียชนิดนี้ เป็นผลให้ร่างกายมีไบโอตินลดลง ภาวะขาดไบโอติน ผิวหนังจะเกิดผดผื่น ขนร่วง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
กรดโฟลิค
กรดโฟลิคเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อขาดกรดโฟลิค การแลกเปลี่ยนเม็ดเลือดแดงหยุดลง เกิดโรคโลหิตจางขึ้น มีชื่อเฉพาะว่า Megaloblastic Anemia พบมากในเด็กถ้าเป็นผู้ใหญ่มักเป็นเพราะขาดวิตามินบี12 เด็กในครรภ์และเด็กทารกจำเป็นต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะมีผลให้สมองไม่เจริญเติบโต ศีรษะลีบ แหล่งอาหารที่มีกรอโฟลิค จะมีมากในผักใบเขียว เช่น ผักบุ้งฝรั่ง ผักโขม ในผลไม้ เช่นกล้วย
สตอรเบอรี่ แคนตาลูป มะนาว และในตับ
วิตามิน บี12
พบได้ในอาหารจากสัตว์ต่างๆเช่นตับ เนื้อวัว ไก่ หมูปลา นม เนยแข็ง และไข่ พืชไม่มีวิตามินบี12 เนื่องจากสังเคราะห์ไม่ได้ แต่แบคทีเรียในลำไส้สามารถสังเคราะห์ได้ วิตามินบี12 ใช้สร้างเม็ดเลือดแดง หากมีน้อยจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิด Megaloblastic Anemia พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก การดูดซึมวิตามินบี12 ต้องอาศัยโปรตีน บางตัวในกระเพาะ ดังนั้นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะ มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางชนิดนี้ได้ง่าย ภาวะขาดวิตามินบี12 ยังอาจทำให้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ลิ้นเป็นฝ้า กระเพาะหรือ ลำไส้อักเสบ หมดแรง หงุดหงิดง่าย หลงลืม อ่อนเพลีย เนื่องจากวิตามินบี12 มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทส่วนปลาย อาจใช้วิตามินบี12 ช่วยป้องกันอาการหลงๆลืมๆได้

หน้าที่ของวิตามิน ซี
ช่วยให้โคลาเจนรวมตัวกันได้ดี ซึ่งโปรตีนในร่างกายประมาณ 30 % เกิดจากการรวมตัวของโคลาเจน กระดูกของมนุษย์ก็สร้างจากโคลาเจน เช่นกัน
ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กในอาหาร
ป้องกันและรักษาโรคหวัด ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสในร่างกาย ฟื้นฟูเซลที่ถูกไวรัสหวัดทำลาย
ป้องกันการเกิดสาร Nitrosamine ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งบริเวณกระเพาะและตับ ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็ง
เมื่อขาดวิตามิน ซี
ทำให้เกิดโรค ลักปิดลักเปิด หรือ Scurvy
ในเด็กจะมีอาการกระวนกระวาย เบื่ออาหาร ปวดแขนขา เนื่องจากบวมและเลือดออก โดยเฉพาะบริเวณเข่า ข้อศอก เหงือกบวมแดง เลือดออก ฟันหลุด ผิวหนังและร่างกายมีจุดเลือดออก ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงตายได้
ในผู้ใหญ่พบจุดเลือดออกตามผิวหนัง ผิวหยาบแห้ง ขนร่วง เหงือกบวมแดง เลือดออก ฟันหลุด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เศร้าซึม
อาการซีดจะพบได้ซึ่งมีลักษณะแบบการซีดเนื่องจากขาดเหล็ก
แหล่งวิตามิน ซี
ส้ม และผลไม้ที่ออกรสเปรี้ยวทุกชนิด มะนาว ผักเขียวเหลืองอย่าง พริกหยวก หรือ บอร์กเคอรี ผักใบเขียว มะเขือเทศ เนื้อดิบ ตับดิบ

          Link    https://www.oknation.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

             รูปภาพคนขาดสารอาหาร

 

อัพเดทล่าสุด