น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใครเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารบ้าง กระเจี๊ยบแดงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร


น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใครเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารบ้าง กระเจี๊ยบแดงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

            น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร      

ระบบย่อยอาหาร

    การย่อยอาหาร คือ ขบวนการเปลี่ยนแปลงสารประกอบของอาหารในโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารประกอบของ อาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กลง พอที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเซลล์ของร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
    การย่อยอาหารมี 2 วิธีคือ
1. การบดให้ละเอียด โดยใช้ฟันเคี้ยวซึ่งในคนเรามีฟันอยู่ 32 ซี่ ยื่นออกมาจากขากรรไกร ทั้งบนและล่าง ข้างละ 16 ซี่ ได้แก่ ฟันหน้า 4 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ กรามเล้ก 4 ซี่ และกรามใหญ่ 6 ซี่ การย่อยอาหารนั้นต้องใช้ลิ้นเป็นตัวช่วยในการคลุกเคล้าอาหารให้เข้ากัน
2. การใช้น้ำยาหรือเอ็นไซม์ ช่วยทำให้อาหารเป็นโมเลกุลเล็กลงอีก
    

ปาก
 
    ปากเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนแรกของอาหารที่จะทำการย่อยให้โมเลกุลเล็กลง ปากเป็นอวัยวะที่มีช่องเปิดเข้าสู่ภายใน ซึ่งประกอบด้วย น้ำลาย ฟัน ลิ้น แผ่นเพดานอ่อน และลิ้นไก่
    อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับปากมีดังนี้ คือ
1. ริมฝีปากแล้งแก้ม เป็นตวเคลื่อนที่ช่วยในการบดอาหาร
2. ช่องแก้ม อยู่ระหว่างฟันกับแก้ม และฟันกับริมฝีปาก บริเวณที่มีต่อมน้ำลายใต้หู ซึ่งต่อมนี้จะส่งน้ำลายออกมาที่ช่องแก้มบริเวณกราม ดังนั้นเวลาเคี้ยวของเปรี้ยว ๆ จะรู้สึกปวดเนื่องจากน้ำลายออกมา
3. ต่อมน้ำลายภายในปาก มีต่อมน้ำลายอยู่ 3 คู่ คือ
3.1 ต่อมใต้ขากรรไกร อยู่ที่มุมของขากรรไกรล่าง มีท่อน้ำลายเปิดที่ใต้ลิ้น
3.2 ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายที่อยู่ใต้ลิ้นระหว่างด้านในของก้านกระดูกขากรรไกรล่าง มีท่อมาเปิดใต้ลิ้นเช่นกัน
3.3 ต่อมน้ำลายใต้กกหู มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณกกหู มาเปิดที่บริเวณกรามหลังซีกล่าง ถ้าต่อมนี้ติดเชื่อจะเกิดการอักเสบ เราเรียกว่าโรคคางทูม
 
น้ำลาย
    น้ำลายจะมีน้ำเป็นประกอบอยู่ 99% และยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และไนโตรเจนละลายอยู่ และมีของเหลวบางชนิด เช่น ฟอสเฟต เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีน้ำเมือกและน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้ง มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ไทยาลีน ช่วยย่อยแป้งที่สุกแล้วให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อกินอาหารพวกแป้งเช่น ข้าว จะรู้สึกว่า มีรสหวาน เพราะในน้ำลายมีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล น้ำลายของคนเราจะหลั่งวันละ 1-1.5 ลิตรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การนึกถึงอาหาร
    หน้าที่ของน้ำลาย คือ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล ช่วยให้อาหารอ่อนตัวเพื่อความสะดวกและหล่อลื่นอาหารในขณะจะกลืน ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายต่าง ๆ เพื่อการรับรู้รสช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายและช่วยให้ปากเปียกชื้นอยู่เสมอ

ฟัน
    ในปากมีฟันสำหรับทำหน้าที่เคี้ยวอาหารเช่น กัด ฉีก แทะ หรือบดอาหาร ฟันจะเกิดก่อนกระดูกและไม่เกี่ยวข้องกับกระดูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ฟันเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร
    ฟันประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. ตัวฟัน เป็นที่โผล่พ้นเหงือก
2. รากฟัน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในตัวเหงือก
3. คอฟัน เป็นส่วนที่คอดอยู่ระหว่างตัวฟันและรากฟัน
    ฟันคนเรามี 2 ชุด คือ
1. ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และครบเมื่ออายุ 2 ขวบ มีจำนวน 20 ซี่
2. ฟันแท้ เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ขวบ และจะครบ 32 ซี่เมื่ออายุ 18 ปีหรือขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
ชนิดของฟันแท้ครึ่งปากล่างประกอบด้วย
1. ฟันตัด 4 ซี่
2. ฟันเขี้ยว 2 ซี่
3. ฟันกราม 4 ซี่
4. ฟันกรามหลัง 6 ซี่
 
คอหอยและหลอดอาหาร
    คอหอย เป็นท่อซึ่งอยู่หลังหลอดลมและปากเป็นบริเวณที่อาหารและลมมาพบกัน ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของลมหรืออากาศ จากจมูกไปยังกล่องเสียง และเป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหารรวมทั้งเป็นตัวช่วยทำให้เกิด เสียง
    หลอดอาหาร เป็นหลอดต่อจากคอหอย อยู่หลังหลอดลมยาวประมาณ 9-10 นิ้ว ช่วงปลายของหลอดอาหารผ่านกระบังลมไปเปิดสู่กระเพาะอาหาร หลอดอาหารรับอาหารจากคอหอยไปสู่กระเพาะอาหารโดยการบีบรัดอาหารให้ไปทางเดียว โดยการบีดรัดตัวกล้ามเนื้อเรียบที่บีบตัวจะเป็นลูกคลื่นเพื่อไล่อาหารลงสู่ กระเพาะอาหารต่อไป
 
กระเพาะอาหาร
    กระเพาะอาหารเป็นทางเดินอาหารซึ่งมีลักษณะเป็นถุงใหญ่ ภายในไม่เรียบมีลักษณะคล้ายลูกคลื่น กระเพาะอาหารของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. กระเพาะส่วนแรก อยู่ใกล้หัวใจ บริเวณส่วนต้นมีหูรูดอยู่ด้วย เอาไว้คอยกั้นอาหารในกระเพาะไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร
2. กระเพาะส่วนกลาง มีลักษณะเป็นกระพุ้งใหญ่
3. กระเพาะส่วนสุดท้าย ตรงปลายมีหูรูด คอยรูดก้นไม่ให้อาหารไปสู่สำไส้เล็กเร็วเกินไป รูปร่างของกระเพาะอาหารเมื่อมองด้านบนพบว่า มีการงอโค้งอยู่ด้านหนึ่ง เพราะความยาวของกระเพาะอาหารทั้งสองด้านไม่เท่ากัน เมื่องดอาหารไปนาน  ๆ ปริมาตรของกระเพาะอาหารจะลดลงเหลือเพียง  50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารจะมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 10-40 เท่า หรือประมาณ 500-2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
 
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
    ภายในกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างน้ำย่อย เป็นต่อมสำหรับสร้างน้ำย่อย แล้วยังสามารถสร้างกรด น้ำเมือก รวมทั้งน้ำย่อยอีก 2 ชนิดทำหน้าที่ย่อยโปรตีนด้วย น้ำย่อย 2 ชนิดนี้เรียกกว่าเปปซิน และเรนนิน อาหารจะคลุกเคล้ากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารประมาณ 1-6 ชั่วโมง จึงถูกส่งผ่านเข้าลำไส้เล็กนักวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำย่อยที่สร้างขึ้นจากต่อมในกระเพาะอาหารนี้ ครั้งแรกจะอยู่ในสภาพที่ยังไม่พร้อมที่จะทำงานได้ แต่เมื่อรวมกับกรดเกลือแล้ว น้ำย่อยจึงเปลี่ยนสภาพให้พร้อมที่จะย่อยอาหารได้
 
การย่อยในกระเพาะอาหาร
    อาหารที่ถูกบดให้ละเอียดและอ่อนตัวลงแล้วก็จะเคลื่อนย้ายผ่านหลอดอาหารลงมา ในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารจำพวกโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ เอนไซม์ ที่สำคัญในกระเพาะอาหารมีดังนี้ คือ
1. กรดเกลือ    ย่อยโปรตีนได้
2. เปปซิน      จะย่อยโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์ให้มีโมเลกุลเล็กลง
3. ไลเปส       จะย่อยอาหารได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นกรด
4. เรนนิน        จะช่วยทำให้โปรตีนที่อยู่ในนมเกิดการแข็งตัวตกตะกอนภายหลังที่รวมตัวกับแค ลเซี่ยม การย่อยอาหารโปรตีนในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วยฃ

บริเวณที่เกิดการย่อย
 
การบีบตัวของกระเพาะอาหาร
    การย่อยในกระเพาะอาหารนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและการบีบตัวของกระเพาะอาหารด้วย การบีบตัวของกระเพาะอาหารจะทำให้คลุกเคล้า บดอาหารให้เข้ากับน้ำย่อยได้ดีจนกลายสภาพเป็นของเหลวข้นที่มีฤทธิ์เป็นกรด หลังจากนั้นกระเพาะอาหารก็จะบีบตัวเคลื่อนย้ายอาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูด กระเพาะอาหารตอนล่าง เมื่ออาหารผ่านลงไปในลำไส้เล็ก ก็จะปิดทันที เพื่อมิให้น้ำดีไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะอาหารอย่างไรก็ตามกระเพาะอาหารจะ ไม่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วแต่อย่างใด ยกเว้นสารเคมีบางชนิด เช่น แอลกอฮอร์ ยาบางชนิดที่เป็นกรดและน้ำ เป็นต้น
 
เอนไซม์คืออะไร
    เอนไซม์เป็นสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาด้วยความเร็วสูงมาก หรือการแตกตัวของอาหารที่เป็นโมเลกุลใหญ่ ให้เป็นโมเลกุลเล็ก โดยใช้น้ำเป็นตัวทำปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น
 
จาก ข้างบนจะเห็นว่าน้ำตาลมอลโตส ละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาช้า แต่ถ้ามีเอนไซม์เข้ามาช่วยจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นกลายเป็นน้ำตาล กลูโคสจำนวน 2 โมเลกุลจากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า สิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์หลายชนิดเอนไซม์แต่ละชนิดทำงานเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาชนิดหนึ่งจะไม่สามารถไปเร่งปฏิกิริยาอื่น ๆ ได้
    ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ ได้แก่ ความร้อน ความเป็นกรด ด่าง เป็นต้น อาจทำให้โครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงไปได้ จะทำให้ไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ยกตัวอย่างเช่น เอนไซม์ชนิดหนึ่งเร่งปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเอนไซม์จะไม่มีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาเลย
ฮอร์โมนคืออะไร
    ฮอร์โมนเป็นของเหลวประกอบด้วยสารพวกโปรตีนซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกายมี หน้าที่เป็นตัวเร่งหรือช่วยควบคุมการทำงานของต่อมหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง ของร่างกาย ในกรณีเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เมื่อเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กซึ่งมีเซลล์พิเศษบุอยู่ ถูกกระตุ้นด้วยอาหาร ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาแล้วฮอร์โมนเหล่านี้จะไหลเข้าสู่กระแสเลือด ไปออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารผนังลำไส้และตับอ่อนผลิตน้ำย่อยออกมา และกระตุ้นให้ตับอ่อนปล่อยน้ำดีออกมา ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะเป็นตัวการที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อนและตับทำงานหรือหยุดทำงานแล้วแต่ว่ามันจะถูกสร้างขึ้นมาหรือไม่

ต่อมพิทุอิตารี ซึ่งอยู่บริเวณใต้สมอง สร้างฮอร์โมนควบคุมต่อมไทรอยด์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารในร่างกาย

น้ำย่อยจากตับอ่อน
    ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในการย่อยอาหาร ทั้งนี้เพราะว่าตับอ่อนสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ทั้ง 3 กลุ่ม คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมันได้เป็นอย่างดี ตับอ่อนจะสร้างและหลั่งน้ำย่อยอาหารประมาณวันละ 2 ลิตรซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง น้ำย่อยอาหาร จากตับอ่อนประกอบต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. เอนไซม์ เช่น ทริปซิโนเจน
2. เมือก ทำหน้าที่ป้องกันเซลล์บุผิวลำไส้เล็ก
3. เกลือแร่ เช่น โซเดียมคลอไรด์ โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ เป็นต้น
ตับ อ่อนยังทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึมหรือการเผา ผลาญอาหารในร่างกายอีกหลายชนิดดวยกันยกตัวอย่างเช่น ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

 
ตับ
    ตับเป็นอวัยวะขนาดใหญ่ อยู่บริเวณกระบังลม และโดยมากมักยื่นเข้าไปในบริเวณชายโครงข้างขวาและบริเวณลิ้นปี่ ตับแบ่งออกเป็น 2 ซีกได้แก่
1. ซีกขวา เป็นซีกที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งแบ่งเป็นซีกย่อย ๆ อีก 3 ซีก
2. ซีกซ้าย เป็นซีกที่เล็กกว่า
    หลอดเลือดที่เข้าสู่ตับมีจำนวน 3 หลอดและหลอดเลือดที่ออกจากตับมีจำนวน 2 หลอด มีเส้นเลือดเข้าสู่ตับอยู่ 2 ท่อ ตับได้รับออกซิเจนจาก หลอดเลือดเฮปาติด อาร์ทอรี และได้รับเลือดที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีอาหารที่เพิ่งถูกดูดเข้ามาจากลำไส้เล็ก โดยผ่านทางลอดเลือดเฮปาติกพอร์ตัล อาหารเกือบทั้งหมดและสารพิษจะถูกสกัดแยกไว้ในเซลล์ตับ อาหารที่ถูกสกัดกั้นไว้นี้อาจถูกเก็บไว้หรือทำให้พิษสลายไป สารที่เซลล์ตับผลิตขึ้นมาใหม่และอาหารที่ต้องการโดยเซลล์อื่น ๆ ในร่างกายจะถูกส่งกลับเข้ามาในหลอดเลือดใหม่ และเดินทางออกจากตับโดยทางหลอดเลือดเฮปาติกเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของเลือดใน ร่างกาย ตับจะทำหน้าที่หลายอย่างเช่น ควบคุมการสร้างสีแดงของเลือดในผู้ใหญ่ เป็นที่สะสมเหล็กและทองแดง ช่วยสร้างวิตามินดีจากแคโรทีนตับยังทำหน้าที่สร้างน้ำดี น้ำดีจะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน น้ำดีสร้างขึ้นโดยเซลล์ตับ และถูกส่งมาเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี ในแต่ละวัน ตับสร้างน้ำดีประมาณ 800-1,000 มิลลิลิตร น้ำดีมีสีเหลือง น้ำตาลหรือเขียวมะกอก ประกอบด้วยน้ำ เกลือของน้ำดี โคเสสเตอรอล เป็นต้น

ถุงน้ำดี
    ถุงน้ำดีมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณพื้นล่างของตับ หน้าที่ของถุงน้ำดีคือเป็นที่พักของหรือขังน้ำดีไว้ในขณะที่ไม่มีการย่อย อาหาร น้ำดีสร้างขึ้นมาจากเซลล์ตับมีสีเหลืองเขียว ซึ่งมีน้ำอยู่ประมาณ 97% แต่เมื่อเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในถุงน้ำดีแล้วจะมีความเข้มข้นมากขึ้นทำให้ เหลือน้ำอยู่ 85% เกลือแร่ที่สำคัญในน้ำดีคือเกลือไบคาร์บอเนต ในน้ำดีไม่มีเอนไซม์อยู่เลย ส่วนสารที่มีสีเหลืองเขียวนั้นเกิดจากการทำงานฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ด เลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงทำงานมาแล้วประมาณ 120 วัน จะถูกทำลายที่ม้ามต่อมน้ำเหลือง และตับ
 
ลำไส้ใหญ่
    ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนล่างสุดของสำไส้ที่ไม่มีการย่อยอาหาร แต่เป็นที่รับกากอาหารผิวด้านในเรียบมีต่อมเมือกอยู่บ้างเพื่อช่วยให้อาหาร เคลื่อนที่สะดวก บริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่จะมีไส้ติ่ง  สำไส้ใหญ่ของคนเราราวประมาณ 4 ฟุต กว้าง 2.5 นิ้ว
    หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ เก็บสะสมกากอาหารและดูดน้ำ ดูดน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ถ้าผนังลำไส้ถูกรบกวนเช่น เป็นบิด จะทำให้ลำไส้ใหญ่นั้นหมดกำลังที่จะดูดน้ำ จึงทำใหอุจจาระเหลวมาก และลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวมาก ทำให้อุจจาระบ่อยเรียกว่าท้องเดิน แต่ตรงกันข้ามถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกจากอุจจาระมากเกินไปทำให้แห้งผาก การขับถ่ายก็ยากเราเรียกว่าท้องผูก ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียหลายชนิด โดยปกติไม่เป้นอันตรายแก่คน แต่กลับช่วยสร้างวิตามินเคให้อีกด้วย
 
ลำไส้เล็ก
    ลำไส้เล็กเป็นส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีความยามประมาณ 7 เมตรมีความกว้างประมาณ 1.5 นิ้วแล้วขนาดค่อย ๆ เล็กลงเรื่อยๆ จนถึงปลายสุดกว้างประมาณ 1 นิ้วลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ
1. ลำไส้เล็กตอนต้น มีความยาวประมาณ 10-12 นิ้ว มีรูปร่างคล้ายตัว C จะเป็นส่วนของลำไส้ที่สั้นที่สุดและกว้างที่สุดด้วย
2. ลำไส้เล็กตอนกลาง มีความยาวประมาณ 90 นิ้วหรือประมาณ 7.5 ฟุตหรือมีความยาวประมาณหนึ่งในห้าของลำใส้เล็ก
3. ลำไส้เล็กตอนปลาย มีความยาวประมาณ 3 ใน 5 ของลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของลำไส้เล็กและแคบที่สุดด้วย และจะต่อกับลำไส้ใหญ่ จะอยู่บริเวณด้านขวาของช่องท้องในช่องที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ต่อกับเนื้อ มีกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเปิดปิด ป้องกันไม่ให้อาหารผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่แล้วย้อนกลับเข้าลำไส้เล็กอีก
 
ต่อมสร้างน้ำย่อยในลำไส้เล็ก
    ต่อมน้ำย่อยในลำไส้เล็ก 2 ต่อมคือ
1.  ต่อมรูปทรงกระบอก ซึ่งพบทั่วไปในลำไส้เล็ก มีรูกลม ๆ มาเปิดที่พื้นที่ของลำไส้เล็ก มีหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด คือ
     1.1 เอนไซม์ย่อยโปรตีน เป็นน้ำย่อยที่โปรตีนที่มีขนาดเล็กให้เป็นกรดอะมิโนแต่ไม่สามารถย่อยโปรตีน โดยตรงหรือโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ได้
     1.2 เอนไซม์ย่อยคาร์โบโฮเดรท เป็นน้ำย่อยที่ย่อยพวกน้ำตาลสองชั้น เช่น น้ำตาลซูโครส น้ำตาลมอลโตส น้ำตาลแลคโตส เป็นต้น
     1.3 เอนไซม์ย่อยไขมัน จะย่อยไขมันบางชนิด
     1.4 เอนไซม์ที่ช่วยให้น้ำย่อยมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะน้ำย่อยโปรตีน
2. ต่อมจากส่วนลำไส้เล็กตอนต้น ทำหน้าที่ขับสารซึ่งช่วยในการขับน้ำย่อยจากตับอ่อน การขับน้ำย่อยจากลำไส้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งคนจะบังคับให้ทำงานหรือหยุดทำงานไม่ได้
ภาพแสดงต่อมสร้างน้ำย่อยในลำไส้เล็ก
 
ปุ่มซึมในลำไส้เล็ก
    อาหารต่าง ๆ เมื่อถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซิมที่ลำไส้เล็กเกือบทั้งหมดประมาณ 95 % ของอาหารทั้งหมดที่เรารับประทานเข้าไป ทั้งนี้เพราะเยื่อเมือกของผนังลำไส้เล็กนอกจากจะย่นพับไปมาแล้ว ยังมีส่วนที่เรียกว่าปุ่มซึม ซึ่งยื่นออกมาจากผนักลำไส้เล็ก มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ มีอยู่ประมาณ 18-40 ปุ่ม ต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร หรือประมาณ 4-5 ล้านปุ่ม ตลอดผนังลำไส้เล้กทั้งหมด ทำให้เกิดเนื้อที่มากมายที่อาหารจะมาสัมผัสเพื่อดูดซึมได้มากและเร็วขึ้น เซลล์เมือกที่ผนังปุ่มจะเลือกให้สารอาหารที่เหมาะสมบางชนิดเท่านั้นที่ซึม ผ่านได้ ปุ่มแต่ละอันจะมีกล้ามเนื้อสามารถยืดหดได้ ภายในปุ่มมีเส้นเลือดฝอยมากมาย ทั้งหลอดเลือดแดงและดำติดต่อกันเป็นตาข่าย เพื่อรับอาหารที่ถูกย่อยแล้วดูดซิมเข้าส่วนแกนกลางเป็นท่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่ดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายไขมัน
 
การดูดซึมในลำไส้เล็ก
    การดูดซึมในลำไส้เล็กมี 2 ทางด้วยกันคือ
1. ทางเส้นเลือดฝอย ดูดซิมกรดอะมิโน น้ำตาลชั้นเดียว เช่นน้ำตาลกลูโคสและไขมันเพียงส่วนน้อยประมาณ 1 ใน 3 ของไขมันทั้งหมด ผ่านเข้าทางเส้นเลือดฝอยของปุ่มซึมไปยังเส้นเลือดดำเข้าสู่ตับ แล้วผ่านไปเข้าเส้นเลือดใหญ่ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ทางหลอดน้ำเหลือง ดูดซึมไขมัน คือประมาณ 2 ใน 3 ของไขมันทั้งหมดและวิตามินที่ละลายในไขมัน จะผ่านเข้าทางหลอดน้ำเหลืองของปุ่มซึม ไปยังหลอดน้ำเหลืองใหญ่ในสำไส้เล็กนอกจากจะมีการดูดซึมคาร์โบไฮเดรท ไขมัน และโปรตีนแล้วยังมีการดูดซึมเกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ตลอดความยาวของลำไส้เล็ก
 
ลำดับและเวลาที่ใช้ในการย่อยอาหาร
    ตั้งแต่เรารับประทานอาหารเข้าไปในปากจนถึงออกทางทวารหนัก เราเรียกทางที่อาหารผ่านทั้งหมดนี้ว่า “ระบบทางเดินอาหาร” หรือ “ระบบย่อยอาหาร” ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 6 เท่าของความสูงของคน ส่วนระยะเวลานับตั้งแต่อาหารเริ่มเข้าไปทางปาก จนกระทั่งถ่ายออกมานั้นอยู่กับชนิดของอาหาร แต่จะอยู่ระหว่าง 16-28 ชั่วโมง
 

              Link     https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1270

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                        ใครเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารบ้าง

เด็กหญิงอายุแค่ ๑๔ ปี ทะเลาะกับแม่ กินน้ำยาล้างห้องน้ำวิกซอล ถูกส่งเข้ามาในห้องส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

          มีคนไข้ ๒-๓ ประเภทเข้ามาในห้องนี้   กลุ่มแรกคนไข้ที่มีเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้นเข้ามาให้เราส่องเข้าไปหาจุด เลือดออกแล้วทำให้เลือดหยุด  กลุ่มที่สองเป็นคนไข้ที่มีอาการทางกระเพาะอาหารเรื้อรังเข้ามาให้เราส่องหา สาเหตุเพื่อการรักษา

          นานๆ ทีมีคนไข้กลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติด มาให้เราคีบออก

          ทั้งหมดเป็น “โรคเกิดเอง”  หรือ “อุบัติเหตุ”

          แต่มีอีกกลุ่มเป็น  “โรคทำตัวเอง” คือ กินน้ำยาล้างห้องน้ำ ส่วนใหญ่เพื่อประชด  ไม่ตั้งใจให้ตาย โดยไม่รู้ว่าผลเสียที่ตามมานั้นน่ากลัวมากกว่าที่เขารู้

            น้ำยาล้างห้องน้ำยอดนิยมคือ วิกซอล กับ เป็ด แต่ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนไม่ทำให้คุณตาย แต่ทำให้ทรมานจากผลที่ตามมา

          ทีมงานของเราอ่อนไหวกับคนไข้แบบนี้ เพราะเรา “เสียดาย” “ห่วงใย”และ “ลุ้น” ผลการส่องกล้อง

          หมอใส่กล้องเข้าไปเห็นแผลในหลอดอาหาร ในกระเพาะของเด็กหญิงคนนี้แล้ว  พบว่ามีการทำลายผิวหน้าของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารลึกพอสมควร และมี “โอกาส” ที่จะเกิดภาวะหลอดอาหารตีบ

          พ่อกับแม่ที่ตระหนกทุกข์ร้อนแสนสาหัสด้วยความห่วงใยลูกได้รับอนุญาตให้เข้า มาดูอยู่ในห้องส่องกล้องด้วย  หมอปิอธิบายและชี้ให้ดูแผลแดงน่ากลัวในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร  บอกตรงๆ ว่า “แผลลึกมากครับ”

          แล้วบอกพ่อแม่เด็กอย่างตรงไปตรงมาว่า  แผลลึกระดับนี้มี “โอกาส” ที่หลอดอาหารจะตีบได้

 

 

          แทบไม่ต้องบรรยายถึงความรู้สึกของคนเป็นพ่อเป็นแม่ในเวลานั้น  พ่อถามเสียงแผ่วว่า  ผมต้องทำอะไรบ้างครับหมอ”

          หมออธิบายด้วยเมตตาว่า  ให้คนไข้งดอาหารทุกชนิด  หมอจะให้ยารักษาแผล แล้วนัดมาส่องดูใหม่อีก ๑ สัปดาห์ 

         “ตอนนี้ก็ทำอย่างหมอบอก คือ ไม่ให้แกกินอะไรเลย  แผลจะค่อยๆ หาย  แต่หมอรับรองไม่ได้นะครับว่าจะเป็นอะไรมากแค่ไหน  รออีกอาทิตย์หมอส่องกล้องดูใหม่  จึงจะบอกได้ครับ”

          หมอละเว้นที่จะอธิบายสิ่งที่ยังไม่เกิด

          พ่อแม่ “ลุ้น”  เราก็ “ลุ้น”  แล้ววันที่เราส่องกล้องรอบสองก็มาถึง

           ทันทีที่ภาพหลอดอาหารปรากฏขึ้นบอจอภาพ   เสียงฮือฮาอย่างยินดีดังขึ้นพร้อมๆ กัน โชคดีของเด็กหญิง  เพราะผิวหน้าของหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารหายดีเกินคาด เกือบเป็นปกติ  เรียกว่าไม่มีอาการตีบแน่นอน

           หมออธิบายพ่อแม่ไปพร้อมๆ กับค่อยๆ ผ่านกล้องลงไปดูในกระเพาะอาหาร ที่แผลหายเกือบเป็นปกติ

           เอากล้องออกมาแล้ว  หมอเอารูปให้ดูแล้วพูดกับเด็กหญิงว่า  “หนูโชคดีมากนะครับ  แผลหายเกือบปกติดีทุกอย่าง  อย่าทำอย่างนี้อีกนะครับ”

          ไม่ต้องบอกว่าพ่อแม่ของเด็กหญิงจะมีความสุขแค่ไหน พวกเขาพร่ำขอบคุณหมอซ้ำแล้วซ้ำอีก  พวกเราทุกคนในห้องมีความสุขไปกับเรื่องนี้

          เด็กหนุ่มสาวที่ประชดพ่อแม่หรือคนรักไม่ได้โชคดีแบบนี้ทุกราย 

          ปีก่อนเด็กหญิงอายุ ๑๗ ทะเลาะกับแฟนกินน้ำยาล้างห้องน้ำ หลอดอาหารและกระเพาะถูกทำลายมาก  เธอโชคร้ายที่หลอดอาหารตีบ กลับมาอีกทีเพราะกินไม่ได้ อาเจียน ซูบผอม  เพื่อนชายหายไป เหลือแต่พ่อกับแม่ที่ดูแลด้วยความห่วงใย  เราส่งเธอเข้าไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแห่งอื่นตามความประสงค์ของพ่อแม่

          เด็กหนุ่มอายุ ๒๑ ปี มาขยายหลอดอาหารเป็นปีแล้ว ยังกลืนได้ไม่ดีนัก อาการดีขึ้นช้าๆ ร่างกายผ่ายผอม ใบหน้าอมทุกข์

          หลอดอาหารตีบ กลืนอาหารไม่ได้  หมอรักษาโดยใส่ท่อเล็กๆ เข้าไปค่อยๆ ขยายหลอดอาหารที่ตีบนั้นให้ค่อยๆ ขยายออก  ต้องนัดมาทำซ้ำหลายๆ หน  บางคนใช้เวลานานเป็นปี  ระหว่างนั้นคนไข้จะกินอะไรไม่ได้  หรือกินได้น้อย คนไข้จะซูบผอมเพราะขาดอาหาร

           การมาขยายหลอดอาหารนั้นคนไข้จะรู้สึกทรมาน ไม่อยากทำ แต่ต้องทำ เพราะชีวิตต้องเดินต่อไป  ไม่มีทางเลือกอื่น

          ถ้าขยายไม่ได้ ก็ต้องส่งไปให้หมอศัลยกรรมผ่าตัด

          คนไข้พยายามฆ่าตัวตายที่มาโรงพยาบาลทุกรายจะถูกส่งไปพบนักจิตวิทยาเพื่อให้คำปรึกษา  ป้องกันการทำซ้ำ

          ฉันเล่าในบันทึกนี้ เพื่อบอกต่อเป็นบทเรียนแก่ทุกคนว่า  วูบหนึ่งของความผิดหวังอาจทำให้คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทั้งที่จริงๆ แล้วชีวิตคุณมีค่ามากในหัวใจของพ่อแม่ คนที่รักคุณอย่างแท้จริง

            ไม่ใช่เรื่องสนุกเลย  ถ้าจะประชดใครสักคนด้วยการทำร้ายตัวเอง แล้วตัวเองต้องทุกข์ทรมานจากการรักษาโรคที่ทำตัวเอง ด้วยอารมณ์ชั่ววูบ

            ไม่เพียงแต่ทำร้ายตัวเอง  แต่ยังทำร้ายจิตใจของพ่อแม่ คนที่รักคุณมากที่สุดอีกด้วย.

               Link   https://www.gotoknow.org/blogs/posts/359094

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

              กระเจี๊ยบแดงรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

กระเจี๊ยบแดง

 

                  Link     https://www.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/MPRI/Q_Hibiscus.shtm

........................................................................................
 

อัพเดทล่าสุด