มะเร็งกระเพาะอาหาร อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ


2,671 ผู้ชม


มะเร็งกระเพาะอาหาร อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ

              มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่น่ากลัว

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยเงียบที่น่ากลัว

มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          มะเร็ง กระเพาะอาหาร นับเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยนัก และถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะหลายคนกว่าจะรู้ตัวว่า ตัวเองป่วยเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งก็ลามถึงขั้นระยะสุดท้ายเสียแล้ว เช่น เดียวกับดาราสาวเกาหลี จาง จินยอง ที่เสียชีวิตเพราะโรค  มะเร็งกระเพาะอาหาร  นี้ด้วยวัยเพียงแค่ 35 ปี เท่านั้นเอง เห็นความน่ากลัวของ  มะเร็งกระเพาะอาหาร  กันแล้ว ก็ไปรู้จักโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร กันเลยค่ะ
          มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ Cancer of stomach, Gastric cancer เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร ทั้งนี้มักพบผู้ป่วย มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะสุดท้ายแล้ว เนื่องจากผู้ป่วยจะมาหาหมอเมื่อปรากฎอาการชัดเจน

สาเหตุของ มะเร็งกระเพาะอาหาร

สาเหตุของโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร มาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น
          พันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องป่วยเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าผู้ที่ไม่มีพันธุกรรมของโรคนี้
          เกิดจากการติดเชื้อเฮริโคแบคเตอร์ไพโรไล (Helicobactor Pyroli) ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ แบบโรคกระเพาะ
          ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังบางชนิด หรือเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
          การสูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามาก
          การรับประทานอาหารรสเค็มจัด หรือมีสารผสมบางอย่างในเนื้อสัตว์หมัก อาหารหมักดอง รมควัน หรืออาหารใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง
          รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีน้อย เช่น ผัก ผลไม้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้เช่นกัน

กลุ่มเสี่ยงโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร
          อายุ โดยปกติจะพบ มะเร็งกระเพาะอาหาร ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
          เพศ มักพบโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
          เชื้อชาติ มักพบชาวเอเชียเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มากกว่าชนชาติอื่นๆ
          ผู้ที่มีประวัติเคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า 20 ปี
อาการของ มะเร็งกระเพาะอาหาร

          ในระยะเริ่มแรกของ มะเร็งกระเพาะอาหาร จะยังไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมา ต่อมาถ้าก้อนมะเร็งโตขึ้น ผู้ป่วยจะปวดท้อง รู้สึกหิวง่าย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่นตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือ แบบเดียวกับโรคกระเพาะ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นโรคกระเพาะธรรมดา กินยารักษาโรคกระเพาะอาการก็ทุเลาได้ แต่ต่อมายารักษาโรคกระเพาะทานไม่ได้ผล จะมีอาการรุนแรงอื่นๆ ตามมา เช่น
          คลื่นไส้ อาเจียน
          อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เป็นสีเลือดเก่าที่ตกค้าง)
          คลำพบก้อนแข็งในท้อง ตรงบริเวณเหนือสะดือ แต่กดแล้วไม่เจ็บ
         
          เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
          กลืนอาหารลำบาก
          คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย
          หากพบอาการเหล่านี้ แล้วไปไม่รักษา ปล่อยให้มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น
          มะเร็งลามไปตับ จะมีอาการดีซ่าน หรือตาเหลือง ท้องบวมน้ำ
          มะเร็งลามไปปอด จะมีอาการหายใจ หอบ เหนื่อย หายใจลำบาก
          มะเร็งอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จะมีอาการปัสสาวะไม่ออก หรือออกน้อย ไตวาย
          มะเร็งอุดตันกระเพาะลำไส้ จะเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน กินอาหารไม่ได้
          ภาวะตกเลือด ทำให้อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ หน้าตาซีดเซียวเพราะเสียเลือด เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
          การวินิจฉัยโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร แพทย์จะใช้การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงสุด และผู้ป่วยไมาเจ็บปวด เพียงแต่อาจรู้สึกพะอืดพะอมบ้าง
          บางครั้งแพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะ และลำไส้ ทั้งนี้เมื่อตรวจพบว่าเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร แล้ว แพทย์อาจจะอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประเมินว่า มะเร็งกระจายตัวไปแค่ไหน อยู่ในระยะไหนแล้ว
การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สามารถรักษาได้โดย
          การผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษา มะเร็งกระเพาะอาหาร อาจเป็นการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือทั้งหมด
          เคมีบำบัด หรือ ทำคีโม โดยการให้ยาทางหลอดเลือด เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง จึงอาจมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดแดงลดลง จนมีอาการอ่อนเพลีย เลือดออกง่ายขึ้น อีกทั้งยังเกิดผมร่วงมากขึ้น และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอีกด้วย
          รังสีบำบัด หรือการฉายแสง โดยการให้รังสีที่มีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จะให้รังสีบริเวณช่องท้องส่วนบน อาจมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ถ่ายเหลว และมีอาการแดงบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้
          ทั้ง นี้ในผู้ป่วย มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1-2 แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร และให้เคมีบำบัดต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งกระจายตัว การรักษาในขั้นนี้เป็นไปเพื่อให้โรคทุเลาลง หายขาด และมีอายุยืนยาว
          แต่สำหรับรายที่เป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร มากๆ จะต้องให้เคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับการฉายแสง การผ่าตัดอาจทำได้เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น มีก้อนมะเร็งไปอุดกั้นทางเดินอาหาร การรักษาขั้นนี้ เป็นไปเพื่อบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้มุ่งหวังในโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หายไป
          อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยเป็นโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะสุดท้าย ก็จะทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน และมักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปผู้ป่วย มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 จะมีเสียชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน แต่หากดูแลรักษาร่างกายให้ดี อาจมีชีวิตอยู่ได้นานกว่านี้
วิธีปฏิบัติตัวหากตรวจพบเป็น มะเร็งกระเพาะอาหาร
ผู้ที่ตรวจพบว่า เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตัวดังนี้
          ติดตามรักษากับแพทย์อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
          ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
          สร้างกำลังใจให้แก่ตนเอง ทำใจยอมรับให้ได้ อาจใช้วิธีการนั่งสมาธิ เจริญสติ สวดมนต์ ภาวนา
          กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามกินผัก ผลไม้ ถั่วเหลือง ให้มากๆ
          หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เท่าที่ร่างกายจะรับได้
การป้องกัน มะเร็งกระเพาะอาหาร
          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรค มะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างชัดเจน แต่สามารถป้องกัน มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ
          รักษาการติดเชื้อเฮริโคแบคเตอร์ไพโรไล
          หลีกเลี่ยงการรับประทานของหมักดอง อาหารรสเค็มจัด ของปิ้งย่าง
          รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง
          งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณมาก
          เห็น ได้ว่า มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นเรื่องใกล้ตัวทีเดียว ดังนั้นหากใครมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน นานเกินกว่า 4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม และหากมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลด เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
- medinfo2.psu.ac.th
- stopcancer.igetweb.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
              อาการมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการแสดงของมะเร็งกระเพาะอาหาร

ลักษณะอาการแสดงของมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งในสภาวะโรคอื่นอาจมีอาการเดียวกันนี้ได้ในระยะเริ่มแรกของมะเร็ง

กระเพาะอาหารอาจจะมีอาการแสดง ดังนี้

-  อาหารไม่ย่อยและรู้สึกไม่สบายในช่องท้อง

-  ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร

-  คลื่นไส้เล็กน้อย

-  ไม่อยากอาหาร

-  ปวดแสบร้อนที่บริเวณหน้าอก

ในระยะขั้นต่อมาของมะเร็งกระเพาะอาหารอาจจะมีอาการแสดง ดังนี้

-  มีเลือดปนในอุจจาระ ถ่ายอุจจาระสีดำ

-  อาเจียน

-  น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

-  ปวดท้อง

-  ตัวเหลืองตาเหลือง

-  มีน้ำในช่องท้อง

-  กลืนลำบาก

 ถ้ามีอาการเกิดขึ้นตามนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

Link       https://www.chulacancer.net/newpage/information/stomach_cancer/symptom.html

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


มะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ

มะเร็งกระเพาะอาหาร
ภาพ:มะเร็งกระเพาะอาหาร.gif

        มะเร็งกระเพาะอาหาร หมายถึง มะเร็งที่เกิดขึ้นตรงบริเวณเยื่อบุภายในโพรงกระเพาะอาหาร เป็นมะเร็งที่พบได้พอประมาณ มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ในบ้านเรามักจะตรวจพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งชนิดนี้ในระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาหาหมอเมื่อมีอาการปรากฏชัดเจน ได้แก่ อาการปวดท้องและน้ำหนักลด ซึ่งเป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว จนสุดจะเยียวยารักษาได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ (เช่น มีญาติเป็นโรคนี้) ควรปรึกษาหมอเพื่อตรวจเช็กก่อนมีอาการผิดปกติ หากมีการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็มีทางรักษาให้หายขาดหรือมีชีวิตยืนยาวได้

        ชื่อภาษาไทย มะเร็งกระเพาะอาหาร

        ชื่อภาษาอังกฤษ Cancer of stomach, Gastric cancer

 

มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่สำคัญได้แก่

        1. พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อแม่พี่น้องป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีพันธุกรรมของโรคนี้

        2. การมีประวัติเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังบางชนิดหรือเป็นโรคแผลกระเพาะ อาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) โรคเหล่านี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบโรคกระเพาะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง

        3. การดื่มเหล้าจัด หรือสูบบุหรี่

        4. การกินอาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง รมควัน หรืออาหารใส่ดินประสิว (เช่น ไส้กรอก แหนม กุนเชียง)

        5. การกินผักและผลไม้น้อย

        6. การมีประวัติเคยผ่าตัดกระเพาะอาหารมานานกว่า 20 ปี

        จะเห็นได้ว่าโรคนี้เกิดจากเหตุปัจจัยได้หลายอย่าง คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า แต่ถ้ามีปัจจัยอื่น (เช่น พันธุกรรม เป็นแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว กระเพาะอักเสบเรื้อรัง) ก็อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ จึงไม่ควรประมาทว่าตัวเองมีพฤติกรรมสุขภาพดีแล้วจะไม่เป็นมะเร็ง ทางที่ดีเมื่อมีอาการผิดสังเกต ก็ควรรีบไปหาหมอตรวจกระเพาะแต่เนิ่นๆ หรือถ้ามีปัจจัยเสี่ยง ก็ควรตรวจเช็กกระเพาะตั้งแต่ก่อนมีอาการแสดง

[แก้ไข] อาการ

        ระยะแรกเริ่มจะไม่มีอาการผิดปกติให้สังเกตเห็นต่อมาเมื่อ ก้อนมะเร็งโตขึ้นจะมีอาการปวดท้อง รู้สึกหิวง่าย อาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่นท้องตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือแบบเดียวกับโรคกระเพาะ ซึ่งในช่วงแรกกินยารักษาโรคกระเพาะ อาหารก็ทุเลาได้จนผู้ป่วยคิดว่าเป็นเพียงโรคกระเพาะธรรมดา ปล่อยไว้จนต่อมากินยารักษากระเพาะไม่ได้ผล และอาจมีอาการที่รุนแรงเพิ่มเติมตามมา เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เป็นสีเลือดเก่าที่ตกค้าง)
  • คลำได้ก้อนในท้อง ตรงบริเวณเหนือสะดือเป็นก้อนแข็ง ไม่เจ็บล
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลืองที่แอ่งไหปลาร้าข้างซ้าย

        ถ้าปล่อยจนกระทั่งมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ ก็จะมีอาการของโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ดีซ่านหรือตาเหลือง (ลามไปตับ) ปวดท้อง อาเจียน (ก้อนมะเร็งอุดตันกระเพาะลำไส้) หายใจหอบเหนื่อย (ลามไปปอด) ปัสสาวะไม่ออกหรือออกน้อย (ลามไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ) เป็นต้น

[แก้ไข] การแยกโรค

        ในระยะแรกของการแสดงอาการในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งมีลักษณะปวดหรือแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ จะดูคล้ายโรคกระเพาะ โรคน้ำย่อยไหลกลับ (โรคกรดไหลย้อนหรือโรคเกิร์ด) โรคเหล่านี้หากให้กินยารักษาโรคกระเพาะมักจะทุเลาหรือหายขาดได้ ส่วนมะเร็งกระเพาะอาหารในช่วงแรก หากกินยารักษาโรคกระเพาะ อาจได้ผลชั่วคราว แต่ต่อมาจะไม่ได้ผล

        อาการในระยะต่อมา คือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด จะดูคล้ายมะเร็งหลอดอาหาร (กลืนอาหารลำบาก เริ่มจากกลืนอาหารแข็ง เช่น ข้าวสวยไม่ได้ก่อน) มะเร็งตับ (คลำได้ก้อนแข็ง บริเวณใต้ชายโครงขวา)

[แก้ไข] การวินิจฉัยโรค

        แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ด้วยการตรวจพิเศษ ปัจจุบันนิยมใช้วิธีส่องกล้องลงไปตรวจดูสภาพภายในกระเพาะอาหาร (เป็นวิธีที่ไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด แต่อาจทำให้รู้สึกอึดอัดพะอืดพะอม) จะพบแผลมะเร็ง และไม่ว่าจะพบแผลมะเร็งอย่างชัดแจ้งหรือไม่ แพทย์จะใช้เข็มสะกิดเอาชิ้นเนื้อบนผิวกระเพาะไปพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ

        บางครั้งแพทย์อาจทำการตรวจโดยวิธีให้ผู้ป่วยกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะลำไส้

        เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแน่ชัดแล้ว แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ อีก (เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) เพื่อประเมินว่ามะเร็งกระจายตัวไปมากน้อยเพียงใด หรืออยู่ในระยะใด (มะเร็งแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นเล็กน้อยหรือระยะแรก ซึ่งเซลล์ยังอยู่เฉพาะในผนังกระเพาะอาหารเท่านั้น ส่วนระยะ 4 เป็นระยะสุดท้ายซึ่งมะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว)

[แก้ไข] การดูแลตนเอง

        1. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ (เช่น มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง หรือติดเชื้อเฮลิโคแบกเทอร์ไพโลรี) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กกระเพาะโดยการส่องกล้อง อาจต้องทำการตรวจเช็กปีละครั้ง ถ้าพบว่าเริ่มมีความผิดปกติ จะได้รีบหาทางป้องกันหรือรักษาให้ได้ผล และมีชีวิตยืนยาว

        2. ผู้ที่มีอาการปวดแสบลิ้นปี่เวลาก่อนกินอาหาร หรือจุกแน่นท้องหลังกินอาหาร ถ้าเพิ่งเป็นครั้งแรก โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ และมีอายุต่ำกว่า 40 ปี ให้กินยาต้านกรด ครั้งละ 15-30 มิลลิลิตร หลังอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน

  • ถ้ากินยา 2-3 วันรู้สึกทุเลา ให้กินยาจนครบ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ทุเลาตั้งแต่แรก ควรไปพบแพทย์
  • ในกรณีกินยา 2 สัปดาห์แล้วไม่หายดี ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าหายดี ควรกินยาจนครบ 6-8 สัปดาห์
  • หากกินยาครบ 6-8 สัปดาห์ แล้วต่อมามีอาการกำเริบก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ

        นอกจากนี้ ถ้าผู้ป่วยมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์

        (1) มีอายุเกิน 40 ปี แม้จะมีอาการเป็นครั้งแรกและไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์

        (2) มีอาการปวดรุนแรง ปวดนานเกิน 6 ชั่วโมง กระเทือนถูกเจ็บ อาเจียน ถ่ายอุจจาระดำ ตาเหลือง ตัวเหลือง หรือน้ำหนักลด เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

        3. หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ติดตามรักษากับแพทย์อย่างจริงจังและต่อเนื่องตามนัด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจ ด้วยการยอมรับความจริง ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน หมั่นทำสมาธิ เจริญสติ สวดมนต์ ภาวนา
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินผักผลไม้ เมล็ดถั่วเหลือง เต้าหู้ให้มากๆ ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายไม่ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • หมั่นออกกำลังกายเท่าที่ร่างกายจะรับได้เป็นประจำ

[แก้ไข] การรักษา

        การรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบด้วยการผ่าตัด การให้ยาบำบัด (เคมีบำบัด หรือการให้คีโม) การให้รังสีบำบัด (ฉายแสง)

        ถ้าเป็นระยะแรกๆ แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหาร (อาจตัดบางส่วน หรือทั้งหมดแล้วแต่ความรุนแรงของโรค) และให้เคมีบำบัดเป็นหลัก เคมีบำบัดจะให้ต่อเนื่องระยะหนึ่ง เพื่อควบคุมไม่ให้มะเร็งกระจายตัวหรือยุบตัวลง อาจให้ก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด แล้วแต่แพทย์จะเห็นควร การรักษาในขั้นนี้มุ่งหวังให้โรคทุเลาหรือหายขาด และมีอายุยืนยาว

        ในรายที่เป็นมาก อาจจำเป็นต้องให้เคมีบำบัดเป็นหลัก บางครั้งอาจร่วมกับการฉายแสง ส่วนการผ่าตัดอาจทำเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะ การรักษาในขั้นนี้ ไม่ได้มุ่งหวังให้โรคหาย แต่เพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อน ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย

        ประชาชนมักมีความเชื่อผิดๆ ว่า การผ่าตัดมักจะทำให้โรคทรุดหนัก เนื่องเพราะจะเห็นผู้ป่วยส่วนมากที่อยู่ในระยะสุดท้ายมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดช่วยชีวิตหรือบรรเทาอาการทุกข์ทรมาน (ไม่ได้มุ่งหวังให้โรคหาย) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการทรุดหนักตามมาและอยู่ได้ไม่นาน จึงทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดและกลัวการผ่าตัด

        ส่วนเคมีบำบัด เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ (ติดเชื้อง่าย) จนผู้ป่วยบางคนทนไม่ได้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกกลัว การรักษาโดยวิธีนี้ จริงๆ แล้วปัจจุบันมีการพัฒนายาเคมีบำบัดให้มีผลดีในการรักษามากขึ้น และลดผลข้างเคียงลง ข้อเสียคือราคาแพงจนผู้ป่วยบางคนสู้แบกรับภาระค่ารักษาไม่ไหว อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงมักจะเกิดขึ้นชั่วคราว ผู้ป่วยจะค่อยๆ ทนต่อยาได้มากขึ้น และหลังหยุดยา (เมื่อให้ครบ) ร่างกายก็จะสามารถฟื้นสภาพสู่ปกติได้

[แก้ไข] ภาวะแทรกซ้อน

        เกิดจากมะเร็งลุกลาม และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น

  • ก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินอาหาร (มีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน กินอาหารไม่ได้)
  • มะเร็งอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (ทำให้ปัสสาวะไม่ออก ไตวาย)
  • มะเร็งแพร่ไปที่ปอด (ทำให้หายใจลำบาก)
  • มะเร็งแพร่ไปที่ตับ (ทำให้มีอาการดีซ่าน ท้องบวมน้ำ)
  • ภาวะตกเลือด (อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ หน้าตาซีดเซียว) หรือมีอาการเจ็บปวด เป็นต้น

[แก้ไข] การดำเนินโรค

        ถ้าเป็นมะเร็งระยะแรก ก็มักจะรักษาให้หายขาดหรือมีชีวิตยืนยาวได้แต่ถ้าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย การรักษาเพียงแค่ประคับประคองเพื่อไม่ให้ทุกข์ทรมาน และมักมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เช่น เป็นระยะที่ 4 ซึ่งมะเร็งลุกลามกระจายทั่วร่างกายแล้ว มักจะอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน (บางคนดูแลตนเองได้ดี ก็อาจอยู่ได้นานกว่านี้)

[แก้ไข] การป้องกัน

        1. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น งดบุหรี่ เหล้า หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็ม อาหารหมักดอง รมควัน และอาหารใส่ดินประสิวเป็นประจำ

        2. กินผักและผลไม้ให้มากๆ ทุกวัน

[แก้ไข] ความชุก

        โรคนี้พบได้บ่อยพอควร พบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปี คนอายุน้อยกว่า 40 ปี ก็อาจพบได้แต่น้อย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก


- นพ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ นิตยสารหมอชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด