โรคปัสสาวะขัด วิธีรักษาโรคปัสสาวะขัด สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะขัดเบา


73,933 ผู้ชม


โรคปัสสาวะขัด วิธีรักษาโรคปัสสาวะขัด สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะขัดเบา

           โรคปัสสาวะขัด

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ   สุขภาพผู้หญิง ปัสสาวะขัด แสบ
         ปัญหาเรื่องสุขภาพของผู้หญิงเวลาปัสสาวะบ่อย จะมีอาการฉี่ขัด แสบ อย่าได้ปล่อยเฉยเพราะเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก มีโอกาศเสี่ยง
คุณผู้หญิงที่มีอาการฉี่แสบ ขัด อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะเป็นเรื่องไม่เล็กของผู้หญิง อาการเจ็บปวดทรมานที่มาพร้อมกับเวลาปัสสาวะก็แสนที่จะเจ็บ นอกจากนั้นยังเป็นภาวะของโรคร้ายแรงต่างๆมากมาย เราควรมาทำความรู้จักกับ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพื่อหาวิธีการดูแลรักษาให้ถูกวิธี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบบ่อยในสตรี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-50 ปี ทั้งนี้เพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายและอยู่ใกล้กับทวารหนัก เชื้อแบคทีเรียบริเวณทวารหนัก (ซึ่งปกติมีอยู่จำนวนมาก)จึงมีโอกาสสูงที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการฟักตัวและอักเสบได้ในสตรีเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะในระยะแต่งงานกันใหม่ๆ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปใน
กระเพาะปัสสาวะ ได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า Honey Moon Cystitis กระเพาะปัสสาวะอักเสบมีผลร้ายแรงหรือไม่? การ รักษาให้หายขาดจะไม่มีผลร้ายแรง ส่วยรายที่ไม่หายขาดนั้น เชื้อแบคทีเรียบางชนิดอาจมีผลทำให้การอักเสบลุกลามไปถึงส่วนใดก็จะทำให้เกิด การอักเสบได้ ดังนั้นหลังรับประทานยาครบแล้ว จึงควรตรวจปัสสาวะซ้ำสักครั้ง
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการดังนี้
1.ปัสสาวะบ่อย แต่ละครั้งจำนวนน้อย และกลั้นไม่ได้ ต้องรีบเข้าห้องน้ำ
2.แสบในท่อปัสสาวะ ปวดเสียดตอยถ่ายสุด
3.ตึง ปวดถ่วง บริเวณท้องน้อย
4.ปัสสาวะมีกลิ่นผิดปกติ
5.ปัสสาวะมีเลือดปน
การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
วินิจฉัยได้ง่ายๆ โดยมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับการตรวจปัสสาวะ โดยให้ถ่ายปัสสาวะในช่วงแรกทิ้งไปก่อนแล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงถัดมาเพื่อ ทำการตรวจจะพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ในบางรายที่เป็นเรื้อรังอาจจำเป็นต้องเก็บปัสสาวะไปเพาะเชื้อเพื่อให้ทราบ ถึงแบคทีเรียนั้นด้วย
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.รับประทานยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมาก ต้องรับประทานยาในระยะเวลาที่นานขึ้น คือประมาณ 7-10 วัน
2.ผู้ที่มีอาการอักเสบได้ง่าย เช่น หลังมีเพศสัมพันธ์ อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการอักเสบ
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
1.หมั่นรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด ท่อปัสสาวะและทวารหนัก
2.บางครั้งแบคทีเรียเมื่อหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ต้องใช้เวลาในการฟักตัวของเชื้อ ซึ่งการดื่มน้ำมากขึ้นจะสามารถขับแบคทีเรียออกมาได้
3.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้เป็ยระยะเวลานานๆ เพราะการกลั้นปัสสาวะนานเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้เชื้อแบคทีเรียมีระยะฟัก ตัวในกระเพาะปัสสาวะนานขึ้นยิ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
4.ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบบ่อยๆ เรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแอบแฝงอื่นๆ เช่น นิ่ว กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจากระบบประสาทควบคุม หรือมีอาการอุดตันในกระเพาะปัสสาวะ

                        Link   https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=1587&sub_id=59&ref_main_id=15

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


               วิธีรักษาโรคปัสสาวะขัด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ-Cystitis

          กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเราโดยเข้าไป ทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือน แรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆอาจพบเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรคฮันนีมูน (Honeymoon's cystitis) สาเหตุ เกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ

 

          อาการ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออก ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปนอาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน

 

การรักษา 

 

          1. ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น โคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง, อะม็อกซีซิลลิน  500 มก.ทุก 8 ชั่วโมง หรือนอร์ฟล็อกซาซิน 400 มก. วันละ 2 ครั้ง  นาน 3 วัน

 

          2. ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจปัสสาวะ (พบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก) นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

 

ข้อแนะนำ 

 

          1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก

 

          2. ใน เด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย หรือมีไข้ และอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอ การตรวจปัสสาวะจะช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้

 

         3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกและช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ

 

          4. การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดย

           4.1 พยายาม ดื่มน้ำมาก ๆ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้าน หรือ ระหว่างเดินทางได้ทุกที่ การอั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญแพร่ พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่มีกระเพาะปัสสาวะยืดตัวความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของ เยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

 

           4.2 หลัง ถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้อง กันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ

 

           4.3 สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (โรคฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ

 

 

ที่มา https://www.thailabonline.com/sec6stone.htm

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                 สมุนไพรรักษาโรคปัสสาวะขัดเบา

พืชสมุนไพรรักษาอาการขัดเบา-ปัสสาวะไม่ค่อยออก (Urinary System)

พืชสมุนไพรรักษาอาการขัดเบา-ปัสสาวะไม่ค่อยออก (Urinary System)

กระเจี๊ยบแดง


สรรพคุณ
สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะได้หลายโรคเช่น โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคนิ่วในไตและช่วยละลายไขมันในเส้นเลือดด้วย

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
        ส่วนของพืชสมุนไพรกระเจี๊ยบ แดงที่นำมาใช้ทำเป็นยารักษาอาการขัดเบาคือ ส่วนที่เป็นดอก(ได้ทั้งสดและแห้ง)โดยเอากลีบเลี้ยงมาตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นก็บดให้ละเอียดจนเป็นผงเก็บไว้ในขวดโหลแก้วที่แห้ง เวลาจะนำมาใช้ให้แบ่งผงกระเจี๊ยบแดงออกมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนที่เดือด 1 ถ้วย(25 ซีซี) ดื่มวันละ 3 ครั้งติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป

        ดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นพืชสมุนไพรที่มี ฤทธิ์เป็นยาระบาย อาจทำให้คนที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบท้องเสียได้เล็กน้อย คุณค่าและประโยชน์ด้านโภชนาการของพืชสมุนไพรกระเจี๊ยบแดงคือ ส่วนใบของกระเจี๊ยบแดงมีวิตามินเอ จะช่วยบำรุงทางด้านสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอกของพืชสมุนไพรกระเจี๊ยบแดงจะมีสารแคลเซียมที่เป็น ประโยชน์ในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

https://img.kapook.com/image/health/pee.jpg

              นอกจากนี้พืชสมุนไพรกระเจี๊ยบแดงในส่วนที่เป็นดอก ยังสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้ร้อนในและบรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยละลายไขมันในเส้นเลือดไม่ให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน พืชสมุนไพรกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณที่สำคัญคือช่วยขับปัสสาวะให้ออกมาในปริมาณ ที่มากกว่าปกติ อาการขัดเบาหรือโรคระบบทางเดินปัสสาวะ หากรู้ตัวว่าเริ่มเป็น แล้วรีบหาทางรักษาแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสมากที่จะรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะให้หายได้โดยใช้พืชสมุนไพรไทย.

https://www.herblpg.com/thai/images/plants/krajiabdang1_rs400x517.jpg

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


อัพเดทล่าสุด