โรคเกี่ยวกับคอ สาเหตุต่อมไทรอยด์เป็นพิษกับโรคคอพอกเหทือนกันไหม คำจำกัดความโรคคอพอกในหญิงตั้งครรภ์


โรคเกี่ยวกับคอ สาเหตุต่อมไทรอยด์เป็นพิษกับโรคคอพอกเหทือนกันไหม คำจำกัดความโรคคอพอกในหญิงตั้งครรภ์

โรคเกี่ยวกับคอ

ความรู้เกี่ยวกับโรคต่อมทอนซิลอักเสบ
             
                     
 

ต่อมทอนซิลเป็น กลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง

มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิ คุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด บางชนิดสามารถดักจับเชื้อโรค ด้วยตัวของมันเองได้โดยตรง และบางชนิดต้องเสริมภูมิคุ้นกันก่อนจึงส่ง ออกไปกำจัดเชื้อโรคอีกที ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่งต่อมที่เราเห็นจะอยู่ด้านข้างของช่องปาก มีชื่อเรียกว่า "พาลาทีนทอนซิล" นอกจากนี้ ต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้นและช่องหลังโพรงจมูกอีกด้วย ในผู้ป่วยที่ต้องตัดต่อมทอนซิลจะไม่มีผลกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะมีอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่
ทำหน้าที่แทนได้

ทอนซิลอักเสบ (tonsillitis) เป็นภาวะอักเสบของต่อม ทอนซิล ส่วนคออักเสบ (pharyngitis) หมายถึง ภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดขึ้น พร้อมกันได้ บางครั้งอาจเกิดเพียงทอนซิลอักเสบหรือคออักเสบอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเมื่อพูดว่าต่อมทอนซิลอักเสบ จะหมายความถึงการอักเสบของต่อมทอนซิลซึ่งโดยมากเป็นทั้งสองข้าง และมักมีอาการอักเสบของหลอดคอหอยร่วมด้วย ต่อมทอนซิลอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง

สาเหตุ

  1. imageต่อมทอนซิล อักเสบเฉียบพลัน อาจเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เด็กก่อนวัยเรียนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จักวิธีป้องกันการติดต่อของโรค สำหรับในเด็กโตและผู้ใหญ่ มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เป็นเชื้อกลุ่มเดียวกันกับที่ทำให้เป็นโรคหวัด หรือเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบหายใจตอนบน
  2. เชื้อไวรัสที่พบบ่อยที่สุด คือ rhinovirus และ coronavirus ซึ่งอาการมักไม่รุนแรง ส่วนเชื้อ adenovirus และ herpes simplex virus พบว่าเป็นสาเหตุได้ไม่บ่อย แต่มีความสำคัญเพราะมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกอาจมีอาการคออักเสบและทอนซิลอักเสบได้
  3. เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ โรคพบได้หลายชนิด ร้อยละ 15 เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส S. pyogenes ส่วน group C และ G อาจเกิดการระบาดโดยปนเปื้อนในอาหารได้

อาการ

ผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบ พลัน จะมี อาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ โดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร หรือน้ำลาย จะเจ็บมาก พยาธิสภาพของโรคนี้ พบการบวมแดงของต่อมทอนซิลและเยื่อบุคอหอย อาจพบหนองได้
ในกรณที่เกิดจาก การติดเชื้อสเต็ปโตค็อคคัส จะพบการอักเสบรุนแรงกระจายทั่วไป ลิ้นไก่แดงมาก และพบหนอง
สีเทาเหลืองที่บริเวณทอนซิลได้บ่อย

การวินิจฉัย

imageโรคนี้ สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกายโดยละเอียด การแยกให้ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสหรือจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่
การ ตรวจร่างกายอย่างเดียวมักไม่สามารถบอกสาเหตุได้ การตรวจพบหนองที่
ต่อม ทอนซิล หรือคอหอย มักเกิดจากการติดเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส group A, C, G เชื้อแบคทีเรียชนิดไม่พึ่งออกซิเจน adenovirus และ herpes simplex virus ถ้าพบว่ามีผื่นแดงที่ผิวหนัง ควรนึกถึงการติดเชื้อ S. pyogenes และ Epstein Barr virus ส่วนในรายที่มีอาการตาอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อ adenovirus และ enterovirus บางชนิด

การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อสเตร็ปโต ค็อคคัส จาก ตัวอย่างที่ป้ายจากคอหอยและทอนซิล เป็นวิธีที่ให้ผลอย่างรวดเร็ว มีความจำเพาะสูงถึงร้อยละ 90 แต่มีความไวอยู่ระหว่าง 60-95 การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ
สเตร็ปโตค็อคคัส ถ้าให้ผลบวกสามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นจากเชื้อสเตร็ปโตค็อคคัส แต่ถ้าให้ผลลบ ควรเพาะเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีเลือดแกะเพื่อยืนยัน การเพาะเชื้อจากคอหอยและทอนซิลมีประโยชน์ ช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพโดยไม่จำเป็นลงได้มาก

ผลแทรกซ้อน

imageผลแทรกซ้อน ของต่อมทอนซิลอักเสบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  1. ฝีรอบต่อมทอนซิล ข้างคอหอย ผนังคอหอย ต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  2. หินปูนในทอนซิล
  3. ไข้รูห์มาติก
  4. เยื่อบุหัวใจอักเสบ
  5. ไตอักเสบ

การรักษา

ในส่วนของการรักษาโรคต่อมทอนซิล อักเสบเฉียบพลันนั้น ปกติแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น
ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือลดไข้ และให้การรักษาเฉพาะ เช่น การให้ยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดเชื้อต้นเหตุ ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม หากแพทย์พิจารณาว่าสาเหตุมาจากไวรัส ก็จะให้ยาตามอาการเท่านั้น เพราะยาต้านจุลชีพไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ในรายที่มีอาการมากๆ เช่น เจ็บคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ และมีไข้สูงแพทย์จะแนะนำให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือและ
ยา ต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้อาการทุเลาดีขึ้นเร็วกว่าการให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน

imageถ้าผู้ป่วย ไม่ได้รับการรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบของ
ต่อมทอนซิลอาจจะ กระจายกว้างออกไปจนเกิดเป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล แล้วอาจลุกลามผ่านช่องคอเข้าสู่ช่องปอดและหัวใจได้ นอกจากนั้น เชื้อแบคทีเรียอาจเข้ากระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งนับเป็นภาวะที่เป็นอันตรายอย่างมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หากเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันบ่อยๆ ต่อมทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันได้ การที่ต่อมทอนซิลโตจะทำให้เกิดร่องหรือซอกซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปตกค้างอยู่ ได้ อาจทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป


การผ่าตัด

  1. โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาตัดต่อม ทอนซิลก็ต่อเมื่อ
    • เป็นภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษา ด้วยยาไม่ ได้ผล หรือเกิดการอักเสบ ปีละหลาย ครั้ง หลายปีติดต่อกัน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เช่นต้องขาดงาน หรือขาดเรียนบ่อย
    • เมื่อต่อมทอนซิลโตมากๆ ทำให้เกิดอาการนอนกรน และ/ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    • ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลโต และแพทย์สงสัยว่า อาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิลโดยตรง หรือมีมะเร็ง ที่ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แล้วหาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ แต่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมทอนซิล
  2. การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของ ร่างกาย หรือของช่องปากลดลงแต่อย่างใด
  3. ผลแทรกซ้อนของการตัดทอนซิลที่อาจ เกิดขึ้น ได้แก่
    • เลือดออกมาก
    • ทางเดินหายใจอุดตัน
    • เสียงเปลี่ยน กลืนลำบาก
    • โรคแทรกซ้อนของยาสลบหรือยาชา
    • อาจเสียชีวิตได้
imageที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูล สุขภาพกรุงเทพ

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก bangkokhealth.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สาเหตุต่อมไทรอยด์เป็นพิษกับโรคคอพอกเหมือนกันไหม

คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter / Hyperthyroidism / Graves’disease)

                คอพอกเป็นพิษ (ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินก็เรียก)

หมาย ถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า

                โรคนี้มักมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ๆ บางรายอาจหายได้เอง แต่ก็อาจกำเริบได้อีก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้

                บางรายอาจพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย

สาเหตุ 

                ปกติ ต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง(สู่ระดับปกติ)

                ใน คนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ

                ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั่น ยังไม่ทราบแน่นชัด

                เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต้านตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) กล่าวคือมีการสร้างแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า โรคเกรฟส์ (Graves’disease)

                โรค นี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้องเป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ

รูปกลไกถ่วงดุลระหว่างต่อมใต้สมองและต่อมไทรอยด์

เพื่อให้มีปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ไม่มากไม่น้อยเกินความต้องการของร่างกาย

 

ต่อมใต้สมอง

              ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์                                                               ฮอร์โมนไทรอยด์


 

ต่อมไทรอยด์

อาการ

                ผู้ ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น

                มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา)

                น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก

                ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย

                บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเดิน หรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

                บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตครั้งคราว จากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

                ผู้หญิงบางรายอาจมีประจำเดือนน้อย หรือไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือน

 

 

สิ่งตรวจพบ

                ผู้ป่วยมักจะมีอาการคอพอก คลำดูมีลักษณะหยุ่น ๆ เมื่อใช้เครื่องฟังตรวจที่ต่อมไทรอยด์ อาจได้ยินเสียฟู่ (bruit) แต่บางรายอาจไม่เห็นอาการคอโตชัดเจนก็ได้

ชีพจรมักจะเต้นเร็ว ประมาณ 100-130 ครั้งต่อนาที และอาจไม่สม่ำเสมอ

ความดันช่วงบน มักจะสูงกว่าปกติ

อาจ มีอาการมือสั่น (ตรวจโดยบอกให้ผู้ป่วยเหยียดแขนไปข้างหน้า ให้ขนานกับพื้น และกางนิ้วมือออก ถ้าเห็นไม่ชัด ให้ใช้แผ่นกระดาษบาง ๆ วางไว้บนมือ ดูว่ากระดาษสั่นหรือไม่)

ผิวหนังมักมีลักษณะตาโปน หรือหนังตาบนหดรั้งขึ้นไป ทำให้เห็นตาขาวข้างบนชัด (ดูคล้ายกับกำลังจ้องตาดูอะไร หรือตาดุ)

บางรายอาจมีอาการฝ่ามือแดง

อาการแทรกซ้อน

                ถ้า ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งอยู่ก่อน

                บางรายอาจมีอาการของอัมพาตครั้งคราว

                ในรายที่ตาโปนมาก ๆ อาจทำให้กระจกตาเป็นแผลและสายตาพิการได้

                ในรายที่เป็นรุนแรง อาจเกิดภาวะวิกฤตจากต่อมไทรอยด์ (Thyroid crisis) มีอาการไข้สูง หัวใจเต้นเร็วมาก อาเจียน ท้องเดิน มีภาวะขาดน้ำ และอาจเกิดภาวะช็อก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะเป็นอันตรายถึงตายได้ มักเกิดเมื่อมีภาวะเครียด เป็นโรคติเชื้อ หรือขณะผ่าตัดฉุกเฉิน

ข้อแนะนำ

  1. โรคนี้อาจมีอาการแสดงได้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางครั้งอาจมีอาการคล้ายโรคกังวล ดังนั้น

ถ้า พบผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ใจสั่น มือสั่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ควรตรวจดูให้แน่ใจเสียก่อนว่า มีสาเหตุจากโรคนี้หรือไม่

                2. โรคนี้รักษาได้ แต่อาจต้องกินยาเป็นปี ๆ ผู้ป่วยจึงควรติดต่อรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด

                3. ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือมีความไม่สะดวกแพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดต่อม ไทรอยด์ หรือให้กินน้ำแร่ (ซึ่งมีสารกัมมันตรังสีทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์บางส่วน)

                4. ผู้ป่วยไม่ว่าจะรักษาด้วยยา น้ำแร่ หรือการผ่าตัด อาจมีโอกาสกลายเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเหมือน ๆ กัน ดังนั้นถ้ามีอาการสงสัยว่าจะกลายเป็นโรคดังกล่าว ก็ควรจะกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม

                5. ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัด นอกจากอาจมีโอกาสกลายเป็นโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย แล้วยังอาจตัดถูกเส้นแระสาทกล่องเสียง (laryngeal nerve) ทำให้เสียงแหบได้ ถ้าสงสัยควรกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม

                6. ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปุ่มเนื้องอกไทรอยด์เป็นพิษ (toxic multinodular goiter) ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ต่อมไทรอด์อักเสบ ครรภ์ไข่ปลาอุก ที่มีการสร้างฮอร์โมนเอชซีจี ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมไทรอยด์อย่างอ่อน มะเร็งต่อมไทรอยด์ การกินฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน เป็นต้น จึงควรหาสาเหตุเหล่านี้ด้วย (โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป แต่อย่างใด)

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ hyperthyroid หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือน
ผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของ
ต่อมไทรอยด์ เกิดจากฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต ออกฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น โรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าบางครอบครัวเป็นโรคนี้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วคน และพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-8 เท่า
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือผีเสื้อ ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีขนาดยาว 4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ต่อมไทรอยด์สร้างเองโดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่กินเข้าไปเป็น วัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจกับประสาท ไทรอยด์ฮอร์โมนยังทำหน้าที่ควบคุมการ
เผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ T4 และ T3 โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียกว่า hypothyroid ร่างกายจะเกิด
การเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมนหลั่งมากร่างการจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดเรียกว่า hyperthyroid
ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์มีมากมายหลายชนิด มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์มากกว่าผู้ชายหลายเท่า โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยได้แก่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไป
เรียกว่าโรคคอพอก ซึ่งจำแนกออกได้เป็นคอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจากนั้นยังมีโรคมะเร็งของ
ต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีสต์ของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ทำงานน้อยไปเรียก hypothyroid ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียกว่า hyperthyroid
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรค hyperthyroid เท่านั้น ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคคอพอกเป็นพิษคือ โรค Grave"s disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม บางคนเป็นโรค multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และสาเหตุที่พบน้อยกว่าโรคอื่นคือ thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ
ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะมีอาการอารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี อาการเป็นพิษของ
ต่อมไทรอยด์ ก็เพราะฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ถูกสร้างเพิ่มมากขึ้นนั้น จะหลั่งไปในกระแสโลหิต มีฤทธิ์กระตุ้นอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้น หัวใจจะถูกกระตุ้นมากที่สุด ทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง บางครั้งก็ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เหนื่อยง่าย กระตุ้นเซลล์ของร่างกาย ให้สร้างพลังงานิดมามากเกินพอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีพลังงานเหลือเฟือ จึงมักอยู่ไม่สุข ต้องทำโน่นทำนี่ ดูลุกรี้ลุกรน พูดเร็ว รวมแล้วดูเป็นคนหลุกหลิก ลอกแลก มักเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงมักชอบอากาศเย็นๆ แต่มือจะอุ่น และมักมีเหงื่อออกชุ่ม หิวบ่อย กินจุ แต่ไม่อ้วน น้ำหนักลด อุจจาระบ่อย ประสาทถูกกระตุ้นทำให้มีอาการคล้ายโรคประสาท มีอาการทางกล้ามเนื้อคือกล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา มักอ่อนแรง ถ้าเป็นมากๆ จะก้าวขึ้นบันได หรือรถเมล์ไม่ไหว ประจำเดือนบางทีมาน้อยหรือxxxงออกไป ลูกตาอาจโปนถลนออกมา อาจมองเห็นภาพซ้อนกันอยู่เสมอ
การวินิจฉัยโดยตรวจเลือดพบว่าระดับ T3 หรือ T4 ในเลือดสูง และระดับ TSH ในเลือดต่ำ เรียกว่าเป็นการตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนTSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมน T3 และ T4 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง การตรวจไทรอยด์สแกนเพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือมีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากการตรวจไทรอยด์สแกนเป็นการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับ ประทานเกลือไอโอดีนที่อาบสารรังสี หลังจากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโยชน์ของการสแกนเพื่อบอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ ตรวจว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มหรือไม่ และช่วยแยกก้อนที่ไทรอยด์ว่าเป็นชนิดใด สำหรับวิธี needle aspiration เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์โดยการใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเพื่อนำส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ หรือเป็นถุงน้ำชนิดธรรมดา การตรวจอุลตราซาวน์ก็เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์ที่โตเป็นก้อนเนื้อหรือเป็น ถุงน้ำชนิดธรรมดา
การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษาโดยกินยาที่มีฤทธิ์ไประงับการสร้างฮอร์โมน การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกินสารไอโอดีนชนิดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเพื่อไปทำลายต่อมไทรอยด์ หรือเรียกว่าการดื่มน้ำแร่นั่นเอง แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยแต่ละรายได้
การรักษาโดยการกินยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole ส่วนการใช้ยาอื่นๆ beta-blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรค ยารับประทานสำหรับโรคไทรอยด์เป็นพิษที่มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมี เพียงสองชนิดเท่านั้น หากแพ้ยาชนิดแรกอาจลองใช้ยาอีกชนิดหนึ่ง หากลักษณะของการแพ้ยาเป็นแบบคัน,ผื่นคัน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อลดจำนวนเม็ดยาลง แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ควบคู่ไปกับยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ
การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodine เมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับไอโอดีนที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยาไทรอยด์ ฮอร์โมนไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่ รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง โดยทั่วไปการรักษาไทรอยด์เป็นพิษคือ การกินยารักษาไทรอยด์ ซึ่งจะให้กินประมาณ 2 ปี ถ้ากินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หาย หรือไม่สามารถหยุดยาได้ จึงแนะนำรักษาด้วยการกลืนแร่รังสี การกลืนแร่รังสีทำได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การกลืนน้ำแร่ (ไม่ใช่กลืนก้อนแร่) เป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง "น้ำแร่" คือ ไอโอดีนพิเศษที่มีคุณสมบัติปลดปล่อยรังสีได้ ให้ผู้ป่วยดื่มเพียงครั้งเดียว ไอโอดีนจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นใด ต่อมไทรอยด์จะค่อยๆ ฝ่อจากฤทธิ์ของรังสี เมื่อต่อมไทรอยด์ฝ่อแล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหาย ปริมาณรังสีจากน้ำแร่ไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
สำหรับการผ่าตัด ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคชนิดใดของต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์, คอพอก เป็นต้น สามารถตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น และมียาที่จะใช้ในช่วงการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย แต่ว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องตรวจถี่ขึ้น เจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์บ่อยขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าโรคประจำตัวจะเป็นสาเหตุของความพิการในเด็ก การทำแท้งไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้นกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษเมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้ง ครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU, metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้ การให้ฮอร์โมนไทรอกซินระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็น
ต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์
ระหว่างที่ให้นมบุตร ไม่ควรตรวจไทรอยด์สแกน หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษา เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน และ PTU สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย ในแง่ของการเป็นหมัน ทั้งคอพอกเป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคน ปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประจำเดือนมากกว่าคนปกติ
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คำจำกัดความโรคคอพอกในหญิงตั้งครรภ์

อมธัยรอยด์กับสตรี

จะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมธัยรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ

การตั้งครรภ์

พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษหรือเป็นโรค Graves'disease เมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษา Graves'disease ด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือน

การรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ Graves'disease ขณะตั้งครรภ์

มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU Metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้

การให้ฮอร์โมนธัยรอคซิน Thyroxin ระหว่างการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนนี้ใช้รักษาภาวะที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยหรือเป็นต่อมธัยรอยด์อักเสบ เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้ผ่านรกได้น้อยมากจึงไม่มีผลต่อเด็กในครรภ์

การให้นมบุตร

ไม่ควรตรวจทาง thyroid scan หรือรับน้ำแร่เพื่อรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับยาที่ใช้รักษาเช่นฮอร์โมน Thyroxinและ  PTU  สามารถให้ระหว่างการให้นมเพราะผ่านสู่เด็กได้เพียงเล็กน้อย

การเป็นหมัน

ทั้งคอพอกเป็นพิษหรือต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลง

การมีประจำเดือน

คอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติ ส่วนคนที่ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจะมีประจำเดือนมากกว่าคนปกติ

             Link   https://www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด