โรคเกี่ยวกับตา เป็นโรคเกี่ยวกับตาเป็นเพราะกรรมอะไร โรคตาแดงเกิดจากอะไร


3,089 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับตา เป็นโรคเกี่ยวกับตาเป็นเพราะกรรมอะไร  โรคตาแดงเกิดจากอะไร

โรคเกี่ยวกับตา

    โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อหิน    


ภาพจากตาปกติ


ภาพจากอาการโรคต้อหิน


 โรคต้อหิน
ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตาซึ่งเชื่อมระหว่างดวงตาและสมอง หากความดันภายในตาสูงกว่าระดับที่เส้นประสาทตาสามารถรับได้จะทำให้ขอบเขตใน การมองเห็นค่อยๆ แคบลง และมองไม่เห็นในที่สุดซึ่งเป็นผลให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีอาการ และ ไม่มีอาการ สำหรับต้อหินประเภทมีอาการ ความดันภายในตาจะ สูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง หรือการมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต้อหินจะมีอาการเจ็บปวด แต่ต้อหินประเภทที่สองพบได้มากกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าจะมีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินประเภทที่สองนี้ในช่วงแรกจะไม่มีปัญหาในการมองเห็น เลย แต่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจสุขภาพตา

     ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหิน

บาง ท่านอาจมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินมากกว่าคนปกติ เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหิน ก่อนใช้ยาใดๆ จึงควรอ่านฉลากก่อน เพื่อให้ทราบผลข้างเคียงของการใช้ยา ปัจจัยการเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีสายตาสั้นปานกลางถึงสั้นมาก หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ

      การรักษาโรคต้อหิน

จุด มุ่งหมายของการรักษาโรคต้อหิน คือ การยับยั้งไม่ให้มีอาการมากขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยลดระดับความดันตาให้อยู่ในระดับที่เส้นประสาทตาสามารถทนได้ มีตัวยาหลายชนิดที่สามารถลดความดันตาได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดความดันตาให้อยู่ในระดับ ที่ต้องการได้ จึงต้องมีการผ่าตัดด้วย
การ ผ่าตัดรักษาโรคต้อหิน มีขั้นตอนซึ่งแตกต่างกันหลายวิธี รวมทั้งการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการลดความดันตา อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคต้อหิน คือ การตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติในดวงตาหรือการมองเห็น

    โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคจอประสาทตาหลุดลอก    


โรคจอประสาทตาหลุดลอก

  โรคจอประสาทตาหลุดลอก

โรคจอประสาทตาหลุดลอก เป็นอาการที่รุนแรงและส่งผลต่อการมองเห็น โดยเกิดขึ้นเมื่อจอประสาทตาแยกออกจากเนื้อเยื่อที่ยึดอยู่ภายใต้จอประสาทตา เมื่อเนื้อเยื่อเหล่านี้แยกออกจากจอประสาทตา จะทำให้จอประสาทตาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
โรค จอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่พบได้มากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อมีรอยแยกในเนื้อเยื่อชั้นที่รับความรู้สึกของจอประสาทตา และของเหลวจึงไหลซึมออกมา ส่งผลให้ชั้นเนื้อเยื่อของจอประสาทตาหลุดออกจากกัน สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก และเคยได้รับการผ่าตัดตาหรือเคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอก ผู้ที่มีสายตาสั้นมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้มากกว่า เนื่องจากผู้ที่มีสายตาสั้นจะมีความยาวของลูกตามากกว่าปกติ ทำให้จอประสาทตาบางและ เปราะกว่าปกติ โรคจอประสาทตาหลุดลอกอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อเส้นของวุ้นในตาหรือเนื้อเยื่อแผลเป็นทำให้เกิดการดึงรั้งบนจอ ประสาทตา ทำให้เกิดการหลุดลอก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาชนิดนี้ได้

       อาการของโรคจอประสาทตาหลุดลอก
- มองเห็นแสงฟ้าแลบคล้ายไฟแฟลชกล้องถ่ายรูป
- มีสิ่งบดบังในการมองเห็น
- มองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมามีลักษณะเป็นจุดหรือใยแมงมุม
- การมองเห็นเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
การ ตรวจพบในระยะเริ่มต้น เป็นวิธีการรักษาการหลุดลอก และการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ดีที่สุด การทราบถึงคุณภาพของการมองเห็นของท่านเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะหากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เช่น มีสายตาสั้น หรือเป็นโรคเบาหวาน หากท่านสังเกตพบอาการเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันที

    โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคกระจกตาย้วย    


โรคกระจกตาย้วย

 โรคกระจกตาย้วย (Keratoconus)

โรคกระจกตาย้วย เป็นความผิดปกติของดวงตาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างภายในกระจกตา ซึ่งทำให้กระจกตาบาง และมีรูปร่างผิดปกติ โรคกระจกตาย้วยส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ และความสามารถในการมองเห็นลดลง ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในช่วงวัยรุ่น และจะมีอาการรุนแรงที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ในบางรายอาจใช้เวลาหลายสิบปีจึงจะมีอาการรุนแรง แต่สำหรับรายอื่นๆ อาจมีอาการรุนแรงถึงระดับและหยุด
โรค กระจกตาย้วยสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี วิธีแรก คือ การใส่คอนแทคเลนส์ชนิด RGP และเมื่อการมองเห็นมีความผิดปกติจนถึงขั้นที่คอนแทคเลนส์ไม่สามารถช่วยให้ การมองเห็นดีขึ้นได้แล้ว อาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา การวัดความโค้งและความหนาของกระจกตาทำให้แพทย์สามารถเห็นรูปร่างของกระจกตา และใช้ในการตรวจหาโรคกระจกตาย้วย และระดับอาการของโรคอีกด้วย

    โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อกระจก    

โรคต้อกระจก
ลักษณะของโรคต้อกระจก

อาการต้อกระจก
ภาพจากอาการโรคต้อระจก

โรคต้อกระจก

ต้อกระจก เกิดจากเลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ต้อกระจก ทำให้การมองเห็นแย่ลง ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกมักจะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนปกติ บางครั้งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าในที่มีแสงน้อย เนื่องจากอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ ต้อกระจกสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกเช่น ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ไฟดูด หรือการติดเชื้อเรื้อรังที่ดวงตา และการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน

      การรักษาโรคต้อกระจก
ต้อกระจก สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มียาใดๆ ที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต้อกระจกได้ ในการผ่าตัดรักษาต้อกระจก จะมีการเปิดแผลเล็กๆ บริเวณกระจกตา และสอดเครื่องมือผ่านเข้าไปเพื่อสลายต้อกระจกด้วยอัลตราซาวด์แล้วดูดออก ถุงหุ้มเลนส์ตามธรรมชาติจะถูกปล่อยทิ้งไว้เพื่อรองรับเลนส์แก้วตาเทียมซึ่งใส่เข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาธรรมชาติ

การผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีที่ได้ผลดีและมีความปลอดภัยสูง มีโอกาสในการติดเชื้อน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ผ่าตัดรักษาต้อกระจกไปแล้ว สามารถมองเห็นได้ดีขึ้นมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทันทีหลังจากตรวจพบ ต้อกระจกสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้หลายปีหากยังไม่มีปัญหาการมองเห็นในชีวิต ประจำวัน

รายละเอียดเพิ่มเติมการรักษาต้อกระจก

    โรคทางตาที่พบบ่อย - โรคต้อเนื้อ    


โรคต้อเนื้อ


โรคต้อลม

 โรคต้อเนื้อ

หากท่านสังเกตเห็นส่วนเล็กๆ ที่งอกบริเวณส่วนตาขาวซึ่งอยู่ติดกับตาดำ นั่นอาจเป็นอาการของ โรคต้อเนื้อ ซึ่งอาจมีสีเหลืองและมีสีแดงบ้างเล็กน้อย และมีเส้นเลือดอยู่รอบๆ ต้อเนื้อ เป็นโรคตาที่เกิดจาก การระคายเคืองอันเนื่องมาจากรังสีอัลตราไวโอเลท ฝุ่นและลม

โดยทางการแพทย์ หากเนื้องอกอยู่เฉพาะในส่วนที่เป็นตาขาว เรียกว่า “ต้อลม” หากเนื้องอกจากตาขาวลามเข้าไปในตาดำ เรียกว่า “ต้อเนื้อ” เนื้อ งอกดังกล่าวไม่ใช่มะเร็ง และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดกับดวงตา เนื้องอกนี้ทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองกับฝุ่น ลมได้มากขึ้นละทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และ น้ำตาไหลบ้างบางครั้ง การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการของโรคต้อเนื้อให้หายขาดได้

    การรักษาโรคต้อเนื้อ

การรักษาต้อเนื้อ ต้องทำการผ่าตัดเช่นเดียวกับ ต้อกระจก แต่เนื่องจากส่วนใหญ่ต้อเนื้อไม่เป็นอันตราย จึงสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ โดยใช้ยาหยอดตาหยอดเมื่อมีอาการระคายเคือง อย่างไรก็ตาม บางครั้งต้อเนื้ออาจลามเข้าไปถึงตาดำ และทำให้การมองเห็นพร่ามัวได้ ต้อเนื้ออาจมองเห็นได้ชัดและไม่สามารถใช้เครื่องสำอางปกปิดได้ ในกรณีนี้จึงแนะนำให้ผ่าตัดออก

 ใน ระหว่างการผ่าตัด ต้อเนื้อจะได้รับการผ่าตัดออกจากกระจกตา หรือตาดำ และส่วนฐานของต้อเนื้อจะปล่อยทิ้งไว้ หรือปิดทับด้วยเนื้อเยื่อซึ่งนำมาจากส่วนอื่นๆ ของดวงตา การปิดทับด้วยเนื้อเยื่อนี้ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดต้อเนื้อซ้ำอีกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปหลังผ่าตัดจะปิดตาไว้ 2-3 วันหลังจากนั้นคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

Link      https://www.lasikthai.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เป็นโรคเกี่ยวกับตาเป็นเพราะกรรมอะไร

 

ทำร้ายคน/สัตว์ที่ตา


ขังสัตว์ในที่มืด
ทำร้ายคน/สัตว์ที่ตา
ใช้ตาทำบาปอกุศล
โรคเกี่ยวกับตาและการเห็น
ขังสัตว์ในที่มืด
ล้อเลียน
ใช้ตาทำบาปอกุศล

โรคเกี่ยวกับตาและการเห็น
ล้อเลียน
 

แผนผังแสดงกรรมที่ส่งผลให้เป็นโรคเกี่ยวกับตาและการเห็น

โรคเกี่ยวกับตาและการเห็น
 
วิบาก
รายละเอียด
1. ตาบอด
1.    อดีตชาติ ชกคนจนตาบอด
2.    อดีตชาติ ขังทหารเชลยในคุกมืด
3.    อดีตชาติ เอาปลายร่มแทงตาเมียน้อยจนบอด
4.    อดีตชาติ เอายาพิษหยอดตาคนอื่น
5.    อดีตชาติ ขังสัตว์ไว้ในที่มืด
6.    อดีตชาติ เอาไม้ทิ่มถูกตาสุนัข
7.    อดีตชาติ หยิบยาผิดไปหยอดตาแม่เฒ่า
8.    อดีตชาติ เอาสูตรยาผิดมารักษาตาพ่อโดยไม่เจตนา
9.    อดีตชาติ หยิบยาผิดมาหยอดตาให้ป้า 
 
 
 
 1.    อดีตชาติ เอาทรายปาใส่หน้าเพื่อนจนเข้าตา
2.    อดีตชาติขังนักโทษไว้ในคุกมืด
3.    อดีตชาติ มองดูคนอื่นด้วยความปรารถนาไม่ดี ทำตาดุ
4.    อดีตชาติ มองสัตว์ด้วยจิตคิดร้าย
5.    อดีตชาติ ซ่อนไพ่หลอกพวกนักพนัน
 
1.    อดีตชาติ ดูถูก ดูแคลน มองคนด้วยหางตา
2.    อดีตชาติ ชอบค้อนใส่พ่อแม่เวลาที่ท่านสอน
1.    อดีตชาติ ล้อเลียน เพื่อนที่ใส่แว่นตาหนา
2.    อดีตชาติ น้อยใจทำตาค้อน มองเอียงจ้องด้วยความขัดเคือง
  
5. ตาบอดสี
1.   อดีตชาติ โกหกย้อมแมวขาย
6. จอประสาทตาเสื่อม
 
1. อดีตชาติผลักเด็กตกบันไดจนจอประสาทตาเสื่อม
2. อดีตชาติ ขังนักโทษ
3. อดีตชาติ จับปลามาขังในตุ่มที่ปิดฝา 
7. ไอจนเส้นเลือดฝอยในตาแตก
1 .  อดีตชาติ ใช้คำหยาบพูดกับข้าศึก  
8. ท่อน้ำตาอุดตัน
1 . อดีตชาติ  พูดให้คนที่มาขอความช่วยเหลือเสียใจ
9. หยอดยาตลอดชีวิต
1 . อดีตชาติ อดีตชาติขังปลาไว้ในที่มืด
10.ตากุ้งยิงบ่อยๆ
1. อดีตชาติ แอบดูสาวๆอาบน้ำ
2. อดีตชาติ ชอบมองจับผิดคนอื่น
3. อดีตชาติ เล็งธนูล่าสัตว์
11. คันลูกนัยน์ตาบ่อยๆ
1. อดีตชาติจ้องตาผู้ใหญ่เวลาสั่งสอนด้วยความขัดเคือง
12. ลูกตาโตไม่เท่ากันมอร์
1 . อดีตชาติ ทำตาค้อนมองคนด้วนความหมั่นไส้
13. ไฝดำที่ดวงตา
1 . อดีตชาติ มองดูจับผิดผู้อื่น
14. เป็นฝีใต้ดวงตา
1 . อดีตชาติ มองคนอื่นด้วยจิตริษยา
15. มีปานใต้ตา
1 . อดีตชาติ เอาโคลนปาประตูบ้านคนอื่นอย่างต่อเนื่อง
16. มีตาชั้นเดียวคล้ายคนง่วง
1. อดีตชาติ ล้อเลียนเพื่อนที่มีตาชั้นเดียว
17. เกี่ยวตาค้างกับ
1. อดีตชาติ บังคับให้แฟนทำแท้ง
 
โรคเกี่ยวกับตาและการเห็น
ประกอบด้วย ตาบอด ต้อหิน ต้อกระจก ต้อลม ตาเข ตาเอียง สายตาสั้น / ยาว สายตาเอียง ตาบอดสี จอประสาทตาเสื่อม ไอจนเส้นเลือดฝอยในตาแตก ท่อน้ำตาอุดตัน หยอดยาตลอดชีวิต ตากุ้งยิงบ่อยๆ คันลูกนัยน์ตาบ่อยๆ ลูกตาโตไม่เท่ากัน ไฝดำที่ดวงตา เป็นฝีใต้ดวงตา มีปานใต้ตา หนังตาตก มีตาชั้นเดียวคล้ายคนง่วง และตาค้าง
สรุปกรรมที่ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับตาและการเห็น

1.  มานทำร้าย/สัตว์ที่ตา
2.  ทรขังคน/สัตว์ในที่มืดมาน รังแก ทำร้าย ทุบตีคน / สัตว์ที่หัว
3.  ใช้ตาทำบาปอกุศลมสุรา
4.  พูดล้อเลียน พูดคนหยาบ พูดเท็จ พูดให้เสียใจ

 การแก้ไข
 
1. ทำบุญถวายโคมประทีป
2. ถวายยารักษาโรคแจุดประทีปบูชาพระรัตนตรัย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โรคตาแดง เกิดจากอะไร อาการแบบไหน และ การรักษา ได้อย่างไร

โรคตาแดง

หยอดตาแดง

โรคตาแดงเกิด จากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วย ที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือทางรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน

การติดต่อ จะติดต่อกันง่ายมากโดย
1. การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง
2. ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
3. ปล่อยให้ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
4. ปล่อยให้แมลงวี่ หรือแมลงวันตอมตา
5. ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า

อาการ

          ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว

ฤดูกาล

          มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น

โรคแทรกซ้อน

          มีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3 สัปดาห์ หรือบางรายเป็น 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน

การรักษา

          รักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากก็หยอดยาปฏิชีวนะสาร มีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด พยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้มาก ๆ โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้

การป้องกัน

1. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
2. ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
3. ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
4. อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
5. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

      ผู้ป่วยโรคตาแดงควรหยุดเรียนหรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลาม หรือติดต่อสู่คนอื่น

ข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Link    https://www.zoneza.com/

   

โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส (Hemorrhagic Conjunctivitis)

   
โรคตาแดง ในความหมายโดยทั่วไปคือ อาการที่เยื่อบุตาขาวเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเส้นเลือดใต้เยื่อบุตา (conjunctiva) เนื่องจากการอักเสบ โรคตาแดงอาจจะเป็น แบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง 
โรค ตาแดงนี้ สามารถพบได้ตลอดปี และจะระบาดได้เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ด้วยเหตุที่ ฝนตกก่อให้เกิดความชื้นแฉะทั่วๆ ไป ทำให้เชื้อไวรัสบางตัว เจริญงอกงามก่อโรคแก่พวกเราขึ้น
ส่วนใหญ่โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เพราะ เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย เพศชายและเพศหญิงพบได้เท่าๆกัน เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับหวัด ใครจะเป็นก็ได้ แต่เนื่องจากในเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ร่วมกับการดูแลตนเอง หรือการป้องกันการติดเชื้อไม่ดีพอ จึงทำให้เป็นโรคตาแดง ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
ตาแดงเป็นอาการแสดงออกของโรคตาและโรคอื่นๆหลายชนิด ส่วนจะเป็นโรคอะไรนั้น คงต้องอาศัยคุณหมอช่วยวินิจฉัยกันอีกทีค่ะ
สาเหตุของตาแดง
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่มีชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus) และส่วนน้อยเกิดจากเชื้อ พิโคร์นาไวรัส (Picornavirus)  เป็นต้น 
มี การตรวจพบเชื้อไวรัสหลายตัวด้วยกันประมาณกันว่า 2-4 ตัว ทั้งหมดให้อาการของโรคคล้ายคลึงกัน อาศัยอาการจึงไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสตัวไหน ดังนั้นในคนหนึ่งคนจึงเป็นโรคตาแดงชนิดนี้แล้วเป็นได้อีก หรือทำไมจึงไม่มีภูมิคุ้มกันดังเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ตัวอย่างเช่นเป็นโรคหัด หรืออีสุกอีใส ในตอนเด็ก คนนั้นจะไม่เป็นโรคอีกเลยตลอดชีวิต แต่โรคตาแดงระบาด คนเป็นทุกครั้งที่มีการระบาด อาจจะเนื่องจากภูมิต้านทานหลังเป็นโรคนี้ จะไม่อยู่นานหรือ เป็นจากเชื้อไวรัสคนละตัวกัน  
เชื้อไวรัสบางชนิด อาจทำให้เกิดระบาดตามหมู่บ้าน โรงเรียน โรงงาน เป็นต้น เรียกว่า โรคตาแดงระบาด (epideminc keratoconjunctivitis) มักเกิดจากไวรัส เอนเทอโร ชนิด 70 (enterovirus type 70) , ไวรัสค็อกแซกกีเอ ชนิด 24 (coxsackie virus A type 24)    
ส่วนใหญ่มักติดต่อโดยการสัมผัสโดย ตรงหรือสัมผัสถูกข้าวของเครื่องใช้ (แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว สบู่ ขันน้ำ โทรศัพท์ ฯลฯ) ที่เปื้อนเชื้อจากมือของผู้ป่วย (ที่ติดจากการขยี้ตา) หรือการใช้คอนเท็กซ์เลนส์ น้ำยาล้างตา เป็นต้น 
บางชนิดอาจปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำ เมื่อคนมาเล่นน้ำ ก็จะติดเชื้ออักเสบได้  
ระยะฟักตัว 1-2 วัน ระยะเวลาในการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน 
อาการและอาการแสดง
สามารถ มีอาการได้ตั้งแต่น้อยถึงมาก โดยมีอาการตาแดง หนังตาบวมเล็กน้อย เคืองตาน้ำตาไหล มีขี้ตาเล็กน้อย เจ็บคอ บางรายอาจมีไข้  มีต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโตกดเจ็บ อ่อนเพลียร่วมด้วย บางรายอาจมีเลือดออกที่ตาขาว 
มักจะเริ่มเป็นที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงติดต่อมาอีกข้างหนึ่ง 
มักพบว่าเป็นพร้อมกันหลายคน หรือมีการระบาดของโรคนี้   
อาการแทรกซ้อน
ส่วน มากมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์  มีเพียงส่วนน้อยมากที่อาจทำให้กระจกตาอักเสบ (ทำให้ตามัว)  ซึ่งอาจเป็นอยู่นานเป็นเดือนๆ แต่ในที่สุดจะหายได้เอง 
บางชนิดอาจทำ ให้ไขสันหลังอักเสบได้แต่พบได้น้อยมาก มักเกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ชนิด 70 พบในวัยหนุ่มสาว หลังตาอักเสบ 5 วัน ถึง 6 สัปดาห์
การรักษา
เนื่องจากมีหลายสาเหตุที่ทำให้มีอาการตาแดง จึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จะได้ให้การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ถ้า สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ยังไม่มียาที่ฆ่าเชื้อโดยตรง สามารถหายเองได้โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ การรักษาจะเป็นไปตามลักษณะอาการของโรค 
แพทย์จะพิจารณาใช้ยาหยอดตา หรือป้ายตากลุ่มยาปฏิชีวนะ (ย25.9-ย25.10) ทุก 2-4  ชั่วโมง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ห้ามใช้ยาหยอดตา กลุ่มสเตอรอยด์ (ย25.11) เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 
บาง ครั้งถ้าอาการไม่ชัดเจน คุณหมอจำเป็นต้องใช้วิธีพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการใช้ก้านสำลีที่ผ่านการฆ่าเชื้อขูดที่เยื่อบุตาที่มีการอักเสบนำไป ย้อมสีพิเศษและทำการเพาะเชื้อ หลังจากนั้นจึงให้การรักษาตามผลการทดสอบเบื้องต้น
คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใช้สำลีที่สะอาดชุบน้ำต้มสุก เช็ดเปลือกตาด้านนอกเพื่อเอาขี้ตาที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคออก
ถ้า มีน้ำตาไหลบ่อยๆ ให้ใช้ผ้าสะอาดซับออกแล้วนำผ้าไปซักล้างให้สะอาด ถ้าใช้กระดาษชำระ ควรทิ้งในถังขยะที่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 
ถ้าไม่ดีขึ้น ใน 1 สัปดาห์ แต่กลับมีอาการลุกลามมากขึ้น มีอาการแทรกซ้อนจนทำให้กระจกตาเป็นแผล ตามัว ถ้าปล่อยไว้นานๆก็อาจทำให้ตาบอดได้ บางรายที่เริ่มมีอาการข้างเดียวแต่ดูแลไม่ดีก็อาจจะลุกลามจนเป็นทั้งสองข้าง หรือในบางรายที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องอยู่ แล้ว ก็อาจทำให้โรคลุกลามมากขึ้นจนทำให้มีการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
คำแนะนำการปฏิบัติตน
1.  ผู้ที่เป็นโรคนี้ ควรหยุดโรงเรียน หรือหยุดงานจนกว่าจะหาย โดยพักผ่อนให้ มากๆ โดยเฉพาะการใช้สายตา ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอดเวลา ยกเว้นถ้ากระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว 
2.  ระหว่างที่มีระบาด ควรหาทางป้องกันโดยแนะนำให้คนทั่วไประวังการสัมผัสกับผู้ ป่วย ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่  ห้ามใช้มือขยี้ตา อย่าคลุกคลีหรือนอนร่วมกับคนที่เป็นโรคนี้ และห้ามใช้ของใช้ (เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หมอน แก้วน้ำ จานชาม สบู่ ขันน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น) ร่วมกับผู้ป่วย 
3.   ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้
การป้องกัน
เนื่องจากตาแดงจากการติดเชื้อพบได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตา แดงจากการติดเชื้อติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรง จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสขี้ตา น้ำตาของผู้ป่วย ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหมอนใบเดียวกันกับผู้ป่วยซึ่งอาจมีคราบน้ำตาหรือขี้ตา เปื้อนอยู่ ไม่ใช้ภาชนะหรือของใช้ร่วมกับเพื่อนที่ป่วยเป็นตาแดง  การพูดคุยกันไม่ได้ทำให้เกิดการติดต่อ แต่ถ้าคนที่เป็นตาแดงและมีอาการหวัดร่วมด้วย ไอหรือจามใส่หน้าเรา อาจทำให้เราติดหวัดซึ่งอาจมีอาการตาแดงร่วมด้วยได้
ตาแดงจากการติด เชื้อ สามารถติดต่อกันได้ในระยะตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยเฉลี่ยประมาณ 1-2 สัปดาห์ เด็กๆมักจะหายเร็วกว่าผู้ใหญ่ หากลูกเป็นตาแดงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเด็กเล็กๆควรให้หยุดเรียน เนื่องจากยังระวังเรื่องการสัมผัสได้ไม่ดีนัก
ดังนั้นจะเห็นว่า อาการตาแดงไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด เรามีวิธีรักษาให้หายได้ ควรเอาใจใส่ หมั่นสังเกตอาการ ถ้าลูกๆมีอาการตาแดง คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อ ไป  

หมายเหตุวิธีการอ้างอิงบทความนี้:
  1. บรรณานุกรม 1. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป (หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค/280 โรคและการดูแลรักษา),พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน, 2544 : 594-595.

ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท
แหล่งที่มา : https://www.phyathai.com

อัพเดทล่าสุด