อาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนท้อง อาการของคนตั้งครรภ์ 3 เดือน อาการของคนตั้งครรภ์ 6 เดือน อาการของคนตั้งครรภ์ 9 เดือน


อาการของคนตั้งครรภ์

วิธีการสังเกตว่าตนเองตั้งครรภ์
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ด้วยตนเองเป็นเรื่องไม่ยาก   เนื่องจากการตั้งครรภ์จะส่งผลให้สตรีนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ   ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นคนที่เอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ  ก็สามารถที่จะสังเกตตนเองได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่  จากอาการและอาการแสดงดังนี้
อาการและอาการแสดงที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์
1. การขาดประจำเดือน  สำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือนแต่อยู่ๆประจำเดือนขาดหายไป  เมื่อถึงกำหนดควร
    มาก็ไม่มาเหมือนที่เคยเป็น  จุดนี้ให้สงสัยเอาไว้ก่อน   แต่ก็ไม่ใช่ว่าประจำเดือนขาดแล้วจะตั้งครรภ์ทุกรายเสมอไปอาจเกิด
    จากสาเหตุอื่นก็ได้
2. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน  วิงเวียนศีรษะ  ส่วนใหญ่อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ1-3เดือนและจะเกิดขึ้นใน
    ตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่ๆที่เรียกกันว่า "แพ้ท้อง"หรือ"Morning  sickness" แต่สตรีตั้งครรภ์บางคนก็อาจไม่มีอาการนี้
3. มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม  เต้านมขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ  ลานนมกว้าง  หัวนมมีสีคล้ำและรู้สึกเจ็บที่หัวนม  สตรีบางคน
    อาจมีน้ำนมสีเหลืองๆซึมออกมาจากหัวนมเล็กน้อยได้    ไม่ถือว่าผิดปกติ
4. มีอาการปัสสาวะบ่อย   เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นและไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะโดยตรง เป็นเหตุให้ปัสสาวะบ่อย
    โดยไม่มีอาการแสบขัดแต่อย่างใด   เป็นเรื่องปกติของคนท้องเช่นกัน
5. มีอาการอ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  เนื่องจากร่างการมีการเผาผลาญมากขึ้น  น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเอาแต่นอนเหมือนคนขี้เกียจ
6. มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง  โดยเพิ่มการสร้างPigmentation ของผิวหนังมากขึ้น  ทำให้ใบหน้า  คอ  รักแร้  อวัยวะเพศ
     มีสีคล้ำไม่ขาวผ่องเหมือนเคย  นอกจากนี้เส้นที่กลางท้องจะมีสีคล้ำ เรียกว่า Striae
7. อาจมีความรู้สึกเหมือนมีเด็กดิ้นตุ๊บๆอยู่ในท้องเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ4-5 เดือน เป็นต้นไป
8. สตรีตั้งครรภ์มักมีอารมณ์หงุดหงิด  โกรธง่าย  ใจน้อย อยู่เป็นประจำเมื่อสตรีสังเกตตนเองแล้วว่ามีอาการเหล่านี้คงจะเกิด
    ความสงสัยมากยิ่งขึ้นว่าตั้งครรภ์หรือไม่
อาการและอาการแสดงดังต่อไปนี้จะช่วยตอกย้ำความสงสัยได้ว่า "น่าจะตั้งครรภ์แล้ว" ได้แก่
1. หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น   เมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนไปแล้วมดลูกจะค่อยๆโตขึ้นพ้นกระดูกหัวหน่าวจะคลำพบก้อนนูนๆเหนือหัวหน่าวในตอนเช้า
2. อาจมีการหดรัดตัวของมดลูกเป็นบางครั้ง  มักสังเกตได้เมื่อตั้งครรภ์ 4 เดือนไปแล้ว
3. ใช้แถบตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์  จะได้ผลเป็นบวก
4. คลำทางหน้าท้องจะพบมดลูกโตเป็นก้อน  มีขอบเขตของทารกชัดเจนมากขึ้น  ใช้มือจับมดลูกโยกเบาๆจะรู้สึกได้ว่าทารกลอยอยู่ในถุงน้ำคร่ำ   โดยเฉพาะในสตรีครรภ์แรก  หรือสตรีที่มีผนังหน้าท้องบาง
อาการทั้งหมดเหล่านี้ค่อนข้างเชื่อถือได้ว่า  น่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว  ควรเตรียมตัวไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์โดยไม่รอช้า  เมื่อไปพบแพทย์ตรวจ  จะพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแน่นนอน  เมื่อตรวจพบดังต่อไปนี้
1. ตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก   ซึ่งปกติจะฟังเสียงหัวใจทารกทางหน้าท้องมารดาได้  เมื่อตั้งครรภ์ได้  4 เดือนเป็นต้นไป 
    ในอัตรา 120-160 ครั้ง/นาที
2. ตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์   เมื่อเอามือสัมผัสบริเวณหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์จะพบทารกดิ้นตุ๊บๆ เมื่อตั้งครรภ์
    ได้4-5 เดือนเป็นต้นไป   ลักษณะนี้เรียกว่า"ลูกดิ้น"
3. ถ้าตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  หรือ  อัลตร้าซาวน์   ก็จะพบตัวทารกชัดเจนแล้วส่วนใหญ่สตรีที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุก
    เดือน  และผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหน้านี้  ก็จะสังเกตตนเองได้ไม่ยาก  จากอาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น
    และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้วควรมาพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ   เพราะการฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
    เพื่อจะได้ตั้งครรภ์อย่างมีความสุข และมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งมารดาและทารก

อาการของคนตั้งครรภ์ 3 เดือน

อาการของคนตั้งครรภ์ 3 เดือน

        ในเดือนที่ 3 นี้ คุณแม่จะเริ่มปรับตัวให้เข้ากับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น คุณแม่หลายท่านตั้งตารอคอยกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้การตั้ง ครรภ์ดำเนินไปด้วยดีมากยิ่งขึ้น ตอนนี้เสื้อผ้าอาจเริ่มคับเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ใครๆจะยังดูไม่ออกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ และยังต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์เลยทีเดียวกว่าคุณจะต้องการเสื้อผ้าสำหรับ การตั้งครรภ์อย่างจริงจัง
        หากคุณแม่มีความรู้สึกอ่อนล้าจากผลของการแพ้ท้อง ข่าวดีก็คือจากสัปดาห์ที่ 12 นี้เป็นต้นไป อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง แต่อย่าคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบ มันอาจไม่ได้ดีขึ้นภายในวันสองวันนี้ แต่อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ก็ได้
        ในระยะนี้คุณแม่อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากการตั้งครรภ์ (ประมาณ 1.2 kg / 4 ? lb) แม้ว่าบางทีน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้เนื่องจากผลของการแพ้ท้อง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป และเริ่มรับประทานอาหารที่มีคุณค่าให้มากขึ้นก็พอ

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

        ระวังเรื่องการใช้ยา

        การใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อน ทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรไปซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด หากคุณแม่มีโรคประจำตัวใดๆควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย และหากไม่สามารถมาพบคุณหมอได้ในกรณีเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาจากหมอท่าน อื่น ควรบอกคุณหมอด้วยว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

อาการของคนตั้งครรภ์ 6 เดือน

      ร่างกายคุณแม่จะมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการ คลอดด้วย มดลูกจะมีการซ้อมหดรัดตัว ซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่า Braxton Hicks contractions ซึ่งกล้ามเนื้อมดลูกจะมีการหดรัดตัวแข็งขึ้นประมาณ 2 -3 วินาที แต่อาจจะเป็นได้บ่อยๆ และคุณแม่สามารถรับรู้ได้ถึงการทำงานของกล้ามเนื้อนั้นด้วย

      ตอนนี้ตำแหน่งของยอดมดลูกจะอยู่เหนือสะดือคุณแม่ขึ้นมาเล็กน้อย เมื่อ ทารกมีการเคลื่อนไหวร่างกายบางครั้งคุณแม่พอจะเดาได้ว่าส่วนที่นูนขึ้นมาที่ หน้าท้องนั้นเป็นเท้าหรือขา คุณแม่อาจรู้สึกคัดตึงเต้านมมากขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เพื่อเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรภายหลังการคลอดทำให้เต้านมยัง ขยายโตขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ที่ 24 นี้คุณแม่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเสื้อยกทรงอีกครั้ง ในระยะนี้จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว เนื่องจากร่างกายมีการสะสมน้ำไว้มาก และคุณแม่อาจรู้สึกร้อนได้บ่อยๆในช่วงนี้

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

       อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กนั้น จำเป็นสำหรับระบบไหลเวียนเลือดของทารกและของคุณแม่ด้วย คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ โดยรับประทานเนื้อแดง เป็ด ไก่ ผักใบเขียวต่างๆ และธัญพืชที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ควรรับประทานผลไม้ซึ่งมีวิตามิน C สูงด้วย เนื่องจาก Vitamin C นั้นช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก

       อยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องอาจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผิวหนังมีการขยายออกอย่างรวดเร็วและถูกดึงให้ตึงมากขึ้นโดยขนาดของ มดลูกที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรทาครีมบำรุงผิวบ่อยๆจะช่วยลดการแตกของผิวหนังและลดอาการคันได้

       รองเท้าของคุณแม่ตอนนี้อาจจะไม่พอดีกับเท้าอีก ต่อไป คุณแม่อาจไม่เชื่อว่าคุณต้องใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเบอร์เลยทีเดียว เท้าของคุณแม่จะบวมขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้มีน้ำอยู่ใน เซลล์มากขึ้น ดังนั้นควรมองหารองเท้าคู่ใหม่ที่ใส่สบายกว่า และลืมรองเท้าส้นสูงไปเลย หารองเท้าที่คุณแม่เดินได้สะดวก และไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายๆก็จะปลอดภัยมากขึ้น

อาการของคนตั้งครรภ์ 9 เดือน 

      บริเวณท้องส่วนล่างจะรู้สึกหน่วงมากขึ้น เนื่องมาจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนลงต่ำเพื่อเตรียมพร้อมต่อการคลอด จะมีน้ำหนักไปถ่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากยิ่งขึ้น

      ตอนนี้คุณแม่เลิกกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นได้แล้ว เพราะว่ามันกำลังจะหายไปในไม่ช้า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก ปากมดลูกจะอ่อนนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมที่จะขยายออก หรือเปิดออกให้ทารกเคลื่อนผ่านออกมาได้ ช่องคลอดจะมีการขยายความยาวออกด้วยเช่นกัน เส้นเลือดดำจะมีเลือดมาคั่งอยู่ทำให้บริเวณช่องคลอดมีสีออกม่วงๆ และคุณแม่ก็จะมีตกขาวออกมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากปากมดลูกมีการผลิตเยื่อเมือกออกมามากขึ้น คุณ แม่ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากยิ่งขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้เสียสมดุลย์ของการทรงตัว เป็นสาเหตุให้ปวดหลัง

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

       คุณแม่อาจจะเหนื่อยกับการตั้งครรภ์ ในเดือนสุดท้ายนี้คุณจะอุ้ยอ้ายมากขึ้น จะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกเหมือนอย่างแปดเดือนแรก แต่อาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น หายใจไม่พอ อาหารไม่ย่อย Heartburn จะลดลงเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวลงสู้ช่องเชิงกราน แต่ก็จะทำให้คุณเคลื่อนไหวหรือเดินได้ลำบากมากขึ้น

       ทาครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยแตกของผิวหนังบริเวณหน้าท้องเต้านม สะโพกและต้นขา รอยแตกนี้อาจจางลงได้บ้าง

       พักให้มากขึ้น ลดกิจกรรมต่างๆลง ผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะมีทฤษฎีที่พบว่าฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในขณะที่มีความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัวทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

       ในหญิงตั้งครรภ์ที่ใกล้จะคลอดจะมีของเหลว สะสมอยู่ตามเข่า เท้า ขาส่วนล่าง ทำให้อวัยวะเหล่านั้นบวมขึ้น การยกขาสูง หรือการแช่ขาในอ่างน้ำเย็น จะช่วยให้อาการบวมดีขึ้น

       คุณแม่บางท่านอาจมักจะหงุดหงิดรำคาญ ในช่วงนี้สิ่งที่มากระทบเล็กๆน้อยๆมักทำให้คุณแม่หงุดหงิดอยู่เสมอ ความอดทนของคุณแม่จะลดลง คุณแม่อาจจะหงุดหงิดกับการที่ต้องเดินเข้าห้องน้ำบ่อยมากนับครั้งไม่ถ้วนใน ตอนกลางคืน หรืออารมณ์เสียที่ไม่สามารถก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าของตัวเองได้

       ความกลัวจะทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจ อย่าเก็บความกลัวความกังวลเอาไว้กับตัว ลองพูดคุยกับคนอื่นจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และจะทำให้คุณแม่หายกลัวได้หากถามถูกคน

       เมื่อมาถึงขั้นที่ทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาดูโลกแล้ว บาง ทีคุณแม่จะย้อนกับไปคิดถึงเรื่องราวในแปดเดือนที่ผ่านมา เรื่องราวบางอย่างที่เป็นสาเหตุให้คุณกังวลใจในอดีตอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ขบ ขันได้ในตอนนี้

       และเหมือนเป็นสัญชาติญาณของการทำรัง คุณแม่จะลุกขึ้นมาทำความสะอาดและตระเตรียมพื้นที่สำหรับต้อนรับสมาชิกใหม่ แต่ขอให้มีคนช่วยทำ และอย่าหักโหมเกินไปเพราะมันอาจทำให้คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลก่อนกำหนด

อาการแสดงว่าจะคลอด

        การเริ่มการคลอดหมายถึงการที่มดลูกมีการบีบรัด ตัวเพื่อที่จะขับเคลื่อนทารกในครรภ์ให้ออกสู่โลกภายนอก โดยปกติธรรมชาติของมดลูกขณะตั้งครรภ์จะมีการบีบตัวเป็นพัก ๆ เสมือนกับการเตรียมตัว ฝึกซ้อมการหดรัดตัวมาตลอดช่วงการตั้งครรภ์ แต่เป็นการหดรัดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ก่อความเจ็บให้แก่คุณแม่ เมื่อเข้าสู่กระบวนการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกก็จะเข้าสู่ระบบ คือการบีบรัดตัวจะรุนแรงขึ้น ๆ ระยะเวลาจะสั้นลงและสั้นลงจนเข้าสู่ความคงที่ 3 รอบการบีบตัวใน 10 นาที ใน ช่วงเวลานี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเริ่มกระบวนการคลอดแต่อาจจะแตกต่างกัน ไป อาการปวดท้องเป็นพัก ๆ จะเป็นอาการนำ แต่ในคุณแม่บางท่านจะรู้สึกถึงอาการปวดหลังนำมาก่อน และจะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด แต่ก่อนปวดก็อาจพบมูกเลือดได้ เนื่องจากปากมดลูกเปิดขยายและเมือกที่อุดอยู่จะหลุดออกมา นอกจากนี้ภาวะน้ำเดินเป็นอาการสำคัญที่จะบอกว่า ภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้าการคลอดต้องสิ้นสุดลง ถ้ามีน้ำเดินมาก่อนเริ่มมีการคลอด ถือเป็นสภาวะผิดปกติที่จะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็ว

การเตรียมตัวสำหรับการคลอด

        การเริ่มต้นเตรียมตัวแต่เนิ่นๆจะทำให้คุณแม่ มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวไปคลอด สิ่งของที่ต้องนำไปด้วย หรือการเตรียมพร้อมเมื่อจะนำทารกกลับบ้าน เป็นต้น

        สิ่งที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลสำหรับการคลอด

  1. ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แชมพู แป้งโรยตัว เครื่องสำอางต่างๆ ชุดชั้นในแบบที่คุณซื้อเตรียมไว้สำหรับการให้นมทารก เสื้อผ้าสำหรับใส่กลับบ้าน ถุงเท้า แผ่นซับน้ำนม สลิปสำหรับใส่พยุงหน้าท้องจะช่วยให้คุณเดินได้สะดวกขึ้นหลังคลอด ของใช้ส่วนใหญ่โรงพยาบาลมักจะมีเตรียมไว้ให้อยู่แล้วเช่น ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ผ้าอนามัย เสื้อผ้าทารก ผ้าอ้อม นมกระป๋องและขวดนมของทารกทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมไว้ให้เสมอ แต่ถ้าคุณอยากจะนำไปเองก็สามารถทำได้
  2. ขนมหรือผลไม้ที่คุณชอบ
  3. กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ สำหรับถ่ายตอนคลอด 
  4. เทปหรือซีดีเพลงที่คุณชอบ อาจต้องนำเครื่องเล่นไปด้วยเพราะโรงพยาบาลมักจะมีแค่ทีวีเท่านั้น
  5. หนังสืออ่านเล่นหลายๆเล่ม เพราะหลังคลอดคุณแม่อาจต้องนอนบนเตียงหลายวัน
  6. สมุดโทรศัพท์ เอาไว้โทรบอกข่าวดี
  7. โทรศัพท์มือถือและเครื่องชาร์ทแบตเตอรี่
  8. คอมพิวเตอร์ LAP TOP เอาไว้หาข้อมูลทางอินเตอร์เนตหรือตอบ e-mail  ขอบคุณสำหรับ e-card ที่เพื่อนๆ ส่งมาแสดงความยินดี

อัพเดทล่าสุด