สูตรอาหารไทย4ภาค สูตรอาหารไทย pantip รวมสูตรอาหารไทยแจกฟรี


3,571 ผู้ชม


สูตรอาหารไทย4ภาค สูตรอาหารไทย pantip รวมสูตรอาหารไทยแจกฟรี

ภาคกลาง

          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิด
          ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร

          อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วมรับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น

          จุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม

ห่อหมกปลา

ส่วนผสมหลัก
- เนื้อปลาช่อน 400 กรัม
- มะพร้าวขูด 200 กรัม
- แป้งข้าวเจ้า 5 กรัม
- ไข่ 1 ฟอง
- ใบยออ่อน 20 ใบ
- ใบมะกรูดหั่นฝอย 30 กรัม
- ผักชีซอย 16 กรัม
- พริกชี้ฟ้าแดงซอย 1 เม็ด
- น้ำปลา 15 กรัม
- ใบตองสำหรับทำกระทง 
ส่วนผสมเครื่องแกง
- พริกแห้ง 5 เม็ด
- 3 หัว
- ข่าซอย 16 กรัม
- กระชาย 8 กรัม
- 16 กรัม
- ผิวมะกรูด 8 กรัม
- รากผักชีซอย 8 กรัม
- พริกไทย 5 เม็ด
- เกลือป่น 3 กรัม
- กะปิ 5 กรัม

วิธีทำ 
วิธีทำเครื่องแกง
- โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
- แล่เนื้อปลาเป็นชิ้นบางๆ
- มะพร้าวให้ได้กะทิ 2 ถ้วย แบ่งกะทิไว้ 1 ถ้วย ใส่แป้งข้าวเจ้าลงในหัวกะทิคนให้ละลาย นำไปต้มจนเดือด ใช้ราดหน้าห่อหมก
- กะทิ 1 ถ้วย คนกับเครื่องแกงให้เข้ากัน ใส่ปลา ไข่ น้ำปลา คนให้เข้ากัน
- ใส่ใบโหระพา ผักชี คนให้เข้ากัน
- เย็บกระทงใบตองรองด้วยใบยอ ตักส่วนผสมห่อหมกปลาใส่กระทง นำไปนึ่งจนสุก ราดหน้าด้วยหัวกะทิ โรยด้วยหั่นฝอย และพริกชี้ฟ้าแดง นึ่งต่ออีก 3 นาที
ภาคใต้

         พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง

          ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง เป็นต้น

          อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น

เนื้อคั่วกลิ้ง

ส่วนผสมหลัก
- เนื้อวัว 500 กรัม
- ใบมะกรูดอ่อนหั่นฝอย 5 ใบ
- น้ำมัน 30 กรัม
- ส่วนผสมเครื่องแกง
- ตะไคร้หั่นฝอย 3 ต้น
- กระเทียม 2 หัว
- หอมแดง 5 หัว
- ข่าหั่น 30 กรัม
- ขมิ้นหั่น 15 กรัม
- ใบมะกรูดหั่นฝอย 30 กรัม
- เกลือป่น 7 กรัม
- พริกขี้หนูแห้ง 50 เม็ด
- พริกไทยอ่อน 50 กรัม

วิธีทำ 
วิธีทำเครื่องแกง
- โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
- ล้างเนื้อวัวให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กบาง
- กระทะตั้งไฟอ่อน ใส่เนื้อลงผัดจนแห้ง ใส่เครื่องแกงลงผัดต่อจนเนื้อเข้าเครื่องดี โรยใบมะกรูด รับประทานพร้อมผักสด เช่น แตงกวา

ภาคเหนือ

         เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ

         การรับประทานอาหารของทางภาคเหนือจะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่า ขันโตก แทน โต๊ะอาหาร โดยจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน

         คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของทางภาคเหนือจะเป็นอาหารที่สุกมากๆ และเป็นอาหารประเภทที่ผัดกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่

ข้าวซอยไก่

ส่วนผสมหลัก
- ไก่ส่วนสะโพก 1 กิโลกรัม
- บะหมี่ 25 ก้อน
- ซีอิ๊วขาว 50 กรัม
- เกลือป่น 7 กรัม
- ซีอิ๊วดำ 60 กรัม
- มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม
- น้ำ 2 ลิตร
ส่วนผสมเครื่องแกง
- ชะโกแกะเปลือกคั่ว 3 ลูกใหญ่
- ขิงซอยคั่ว 15 กรัม
- พริกแห้งคั่ว 2 เม็ด
- เกลือป่น 10 กรัม
- ผักชีคั่ว 30 กรัม
- หอมแดงคั่ว 9 หัว
- ขมิ้น 15 กรัม
- ส่วนผสมเครื่องเคียง
- ผักกาดดอง 500 กรัม
- หอมแดง 500 กรัม
- พริกป่นผัดน้ำมัน 60 กรัม
- มะนาว 6 ลูก

วิธีทำ 
- ล้างไก่ให้สะอาดสับเป็นชิ้น ขนาดประมาณ 1 นิ้ว คั้นมะพร้าว ใส่น้ำ 2 ลิตร คั้นให้ได้หัวกะทิ ให้ได้ประมาณ 3 ถ้วย ที่เหลือคั้นให้ได้ประมาณ 7 ถ้วย
- เอากะทิ 7 ถ้วยใส่หม้อช้อนกะทิลอยหน้าออก นำขึ้นตั้งไฟ ใส่เกลือ ไก่
- เอากะทิ ครึ่งถ้วยใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกงลงผัดให้หอม ตักใส่หม้อต้มไก่ ต้มจนเปื่อย ใส่หัวกะทิ
- ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำและเกลือ
- ลวกเส้นบะหมี่ 23 ก้อนให้นุ่ม อีก 2 ก้อนทอดในน้ำมันที่ร้อน จนเหลืองกรอบ ตักออกให้สะเด็ดน้ำมัน
- ล้างผักกาดดอง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปอกเปลือกหอมแดง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ มะนาวหั่นเป็นซีก ใส่ถ้วยไว้พร้อมสำหรับรับประทาน
- จัดบะหมี่ลวกใส่จาน ตักเนื้อไก่และน้ำราดโรยหน้าด้วยบะหมี่กรอบ รับประทานกับผักกาดดอง หอมแดง มะนาว และพริกป่นผัดน้ำมัน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

         เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้

         อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่

         อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด

ลาบหมู

ส่วนผสมหลัก
- หมูเนื้อแดงสับ 200 กรัม
- และตับ 200 กรัม
- หนังหมู 100 กรัม
- ข้าวคั่ว 25 กรัม
- พริกป่น 5 กรัม
- ผักชี 2 ต้น
- ต้นหอมซอย 2 ต้น
- ใบสะระแหน่ 8 กรัม
- หอมแดงซอย 8 กรัม
- น้ำปลา 25 กรัม
- น้ำมะนาว 30 กรัม
ผักสด : กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม 

วิธีทำ 
- เครื่องในหมู และหนังหมูจนสุก หั่นเป็นชิ้นบางๆ
- หม้อตั้งไฟใส่หมูสับลวกจนสุก
- เคล้าหมูสับ เครื่องในหมู หนังหมู พริกป่น หอมแดงซอย ต้นหอม ผักชีซอย และข้าวคั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว โรยด้วยใบสะระแหน่ รับประทานกับผักสด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม

ข้อมูล : thaifoodtoworld.com

อัพเดทล่าสุด