อาหารสําหรับโรคโลหิตจาง เป็นเมนู อาหารสําหรับคนเป็นโรคโลหิตจาง โดยเฉพาะ


1,406 ผู้ชม





โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก...ป้องกันได้ด้วยอาหาร... 

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตต่ำกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็กที่จะใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง1 �ซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก2 ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะวัยเด็กต่ำกว่า2 ปี หญิงระหว่างวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ3 จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย โดยกองโภชนาการ และ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในครั้งที่4 ในปี พ.ศ. 2538 และครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2546 พบอัตราความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มอายุ4 โดยกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ กลุ่มทารก 6-11 เดือน คิดเป็นร้อยละ50 รองลงมาคือ กลุ่มผู้สูงอายุ� เด็กวัยเรียน เด็กวัยก่อนเรียน และหญิงตั้งครรภ์ โดยพบอัตราความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่ง เป็นอัตราที่สูงและควรรีบทำการแก้ไขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและมีมาตรการควบคุมและ ป้องกันโดยการให้ยาเหล็กเฟอรัสซัลเฟตเสริมในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน เพื่อให้บริการแก่หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ หญิงวัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตามการบริโภคยาเม็ดเหล็กมักเกิดผลข้างเคียงตามมา อันได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง ถ่ายบ่อย เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเพื่อให้ได้ผลดีและยืนยาว ควรใช้อาหารเป็นตัวป้องกัน เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนและไม่มีผลข้างเคียงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กลงในอาหารบางชนิด ได้แก่ ซองเครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป �น้ำปลา เป็นต้น5�� เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของธาตุเหล็กแก่อาหารให้มากขึ้น

ผลเสียของ
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย� ดังนั้นผลจากการขาดธาตุเหล็กทำให้ร่างกายมีภาวะซีด� อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศรีษะ เหนื่อยง่าย ทำงานหรือเล่นกีฬาได้ไม่อึดเหมือนปกติ นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร อันได้แก่ ลิ้นอักเสบ ภาวะกลืนลำบาก� น้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร เป็นต้น ถ้ามีภาวะขาดเหล็กอย่างเรื้อรังอาจพบเล็บงอขึ้นเป็นแอ่งคล้ายช้อนเรียกว่า เล็บรูปช้อนได้ ดังแสดงในภาพที่ 1


ในเด็กวัยก่อนเรียนถ้าร่างกายมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ขณะที่วัยเรียนจะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือเพิ่มอัตราเสี่ยงการตายของมารดาในขณะคลอดได้ นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วและมีภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงอาจทำให้โรคหัวใจมีอาการรุนแรงขึ้นและเกิดภาวะหัวใจวายได้7,8 เนื่องจากพัฒนาการของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเกิดขึ้นอย่างช้าๆและ ไม่ปรากฎอาการจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่าง รุนแรงทำให้สมรรถภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักและป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิด ขึ้น

สาเหตุ
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
1.�� ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากอาหารไม่เพียงพอ� เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย หรือรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี� ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพืชผักที่รับประทานส่วนใหญ่มีสารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก� หรืออาจเนื่องมาจากความผิดปกติของร่างกายในการดูดซึมธาตุเหล็กโดยตรง ได้แก่ หลังผ่าตัดลำไส้� โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น

2.�� ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น� ซึ่งพบในวัยเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ปี� วัยรุ่น� หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
3.�� ร่างกายเสียเลือดอย่างเรื้อรัง� ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องมาจาก �มีประจำเดือนมาก (หญิงวัยเจริญพันธ์) โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร� กระเพาะอาหารอักเสบจากการรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ โรคริดสีดวงทวารหนัก เนื้องอกในทางเดินอาหารฯ นอกจากนี้อาจเนื่องมาจากโรคพยาธิปากขอซึ่งพบได้บ่อยในภาคใต้ของประเทศไทย
��
การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมักไม่แสดงอาการปรากฏให้เห็นชัดเจน ดั้งนั้นต้องอาศัยการซักประวัติโดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุของภาวะโลหิตจางร่วมกับการตรวจร่างกายโดยผู้เชี่ยวชาญในรายที่มีภาวะซีด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยใช้ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit) เพื่อวัดปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่น หรือค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เพื่อวัดปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (ดังแสดงในภาพที่ 2) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยขนาดใหญ่ หรือในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามปัญหาการเกิดภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลต แต่จะเป็นโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (Megaloblastic Anemia) ทำให้การตรวจวัดด้วยค่าฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบินมีความผิดพลาดและคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ภาวะธาลัสซีเมียทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นกัน ดังนั้นจะต้องดูอาการของโรคประกอบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคด้วย

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
แหล่งอาหารที่สำคัญของธาตุเหล็กแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

(1) ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปของฮีม (Heme iron) พบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลา เป็ด ไก่ ฯ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ได้แก่ �ตับหมู ตับวัว เลือดหมู เครื่องใน ไข่ เป็นต้น (ดังแสดงในตารางที่ 1) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของธาตุเหล็ก เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ดี ถึงร้อยละ 10-3010 โดยไม่ต้องอาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหารและวิตามินซีช่วยในการดูดซึม
(2) ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปที่ไม่ใช่ฮีม (Non-heme iron) พบในพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะผักใบเขียวเข้ม ได้แก่ ผักกูด ผักแว่น ดอกโสน โหระพา มะเขือพวง ผักกะเฉด ฯ รวมทั้ง ธัญพืชได้แก่ ข้าว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ (ดังแสดงในตารางที่ 2) ซึ่งประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทยบริโภคธาตุเหล็กจากพืชเป็นสำคัญ11,12 อย่างไรก็ตามปริมาณที่ร่างกายเราสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชไปใช้ประโยชน์ได้นั้นมีเพียงร้อยละ 2-1010
นอกจากนี้การดูดซึมของธาตุเหล็กที่ได้จากพืชยังขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับสารอื่นที่มีในอาหารที่รับประทานในมื้อนั้น สารที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารที่สำคัญได้แก่ แทนนิน(Tannin)ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ชา� กาแฟ� และผักรสฝาดต่างๆ ได้แก่ ผักกระถิน ขี้เหล็ก ใบเมี่ยง ฯ ไฟเตต (Phytate) ซึ่งพบในอาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืช และ ถั่วเมล็ดแห้งได้แก่ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ข้าวโพด นมถั่วเหลือง ฯ โดยทั้งแทนนินกับไฟเตตจะรวมตัวกันธาตุเหล็กให้อยู่ในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนที่ทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม และ ผลิตภัณฑ์จากนม ยังส่งผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก7,13 ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มนมพร้อมกับอาหารที่มีธาตุเหล็ก

ตารางที่ 1: แหล่งอาหารจากสัตว์ที่มีธาตุเหล็กสูง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

อาหาร
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม)
ตับหมู
65.5
หอยแมลงภู่ (แห้ง)
57.5
�ปอดหมู
47.6
เลือดวัว�
44.1
หอยนางรม (แห้ง)
33.2
กุ้งฝอยสด
28.0
เลือดหมู�
25.9
หอยขม
25.2
เลือดไก่ (ดิบ)
23.9
ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนสะโพก)
16.9
ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนปีก)
15.8
หอยแมลงภู่
15.6
กุ้งทะเล กุ้งเปลือกขาว
14.8
ซี่โครงหมู (เนื้อไม่มีมัน)
14.0
ปลาทูสด
11.9
เลือดเป็ด
10.2
ตับไก่
9.7
ม้ามวัว�
9.7
ตับวัว�
8.7
เนื้อวัว (แห้ง อบ)
8.1
ปลาดุก
8.1
ไก่บ้าน (เนื้อและหนังส่วนน่อง)
7.8
กึ๋นไก่�
6.5
หอยแครง
6.4
ไข่ไก่ (ไข่แดง)
6.3
ไข่ไก่ (ทั้งฟอง สุก)
3.2

ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย14

ตารางที่ 2: แหล่งอาหารจากพืชที่มีธาตุเหล็กสูง ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

อาหาร
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัม)
ถั่วแดง (ดิบ)
44.6
ผักกูด
36.3
หัวมันเทศ �
31.2
ผักแว่น
25.2
เห็ดฟาง
22.2
งาดำคั่ว
22.0
หัวเผือก
22.0
ใบแมงลัก
17.2
ถั่วดำ (ดิบ)
16.5
เต้าหู้เหลือง/ขาวอ่อน
14.0
ถั่วลิสง (ดิบ)
13.8
ถั่วเหลือง (ดิบ)
10.0
ฟองเต้าหู้
9.5
ยอดกะถิน อ่อน
9.2
ดอกโสน
8.2
ใบชะพลู
7.6
มะเขือพวง
7.1
ใบย่านาง
7.0
ถั่วแขก ถั่วแดงหลวง
6.9
เห็ดหูหนู
6.1
ใบขี้เหล็ก
5.8
ผักกะเฉด
5.3
ถั่วเขียว (ดิบ)
5.2
ฟักทองเนื้อและเปลือก
4.9
มะเขือเทศ
4.9
ผักกาดหอม
4.9
ยอดสะเดา
4.6
ตำลึง
4.6

ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย14
ในขณะที่วิตามินซี (Ascorbic acid)15 ซึ่งพบมากในผักและผลไม้สด ช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กในอาหารจากพืชผักได้สูงถึงร้อยละ 50 และเปปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนซีสทีน (cysteine)16 ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ ยังช่วยกระตุ้นการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่นเดียวกัน
จากการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่คนไทยบริโภคมีสารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กสูง17 ดังนั้นควรแนะนำประชาชนกลุ่มนี้ ให้มีการเพิ่มปริมาณวิตามินซีในอาหารที่บริโภคเพื่อเพิ่มความสามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ บุญเรือน พูลเดช18 (2545) และนภาพร กุลคำธร19 (2544) พบว่าการเติมน้ำส้มคั้นสด 100% ลงในเมนูต้มเลือดหมูที่มีข้าวกล้องเป็นส่วนประกอบ ทำให้เปอร์เซ็นต์การดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดังกล่าวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รุจิรา โชคชัย20 (2542) รายงานว่าการเลือกชนิดของเครื่องดื่มหรืออาหารเสริม ที่จะรับประทานร่วมกับอาหารเช้าแบบต่าง ๆ มีผลต่อปริมาณธาตุเหล็กในอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้� ดังนั้นจึงควรแนะนำให้บริโภค เครื่องดื่มที่ยับยั้งการดูดซึมของธาตุเหล็ก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชา� กาแฟ� นมถั่วเหลือง ฯ ในระหว่างมื้ออาหาร
นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่มีการบริโภคธาตุเหล็กต่ำกว่าความต้องการของร่างกาย21 ซึ่งปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (Recommended Dietary Allowance for Thai; RDA)22 ของธาตุเหล็กจะแตกต่างกันในแต่ละวัย ได้แก่ ทารกเป็นวัยที่มีความต้องการธาตุเหล็กสูง และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก (5.8-8.1มก./วัน) และวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยวัยรุ่นหญิง(19.1-26.4 มก./วัน) จะมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าวัยรุ่นชาย(11.8-16.6 มก./วัน) เนื่องจากมีการสูญเสียเหล็กทางเลือดประจำเดือน และมีความต้องการสูงสุดในระยะตั้งครรภ์ (ควรได้รับยาเม็ดธาตุเหล็กเสริมวันละ60 มก.) เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น� การเจริญเติบโตของรกและการเสียเลือดระหว่างการคลอด หลังหมดประจำเดือนความต้องการธาตุเหล็กของร่างกายจะลดลงเท่ากับเพศชาย
การป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็ก
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวอย่างเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ แกงจืดเลือดหมู ผัดถั่วงอกกับเลือดหมูและตับหมู ตับผัดขิง ผัดเปรี้ยวหวานตับ แกงคั่วสับปะรดกับหอยแมลงภู่แห้ง แกงเผ็ดฟักทองกับเลือดหมู เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่ให้วิตามินซีสูงพร้อมอาหารมื้อหลักเพื่อช่วยเพิ่มความ สามารถของทางเดินอาหารในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ประโยชน์แก่ร่างกาย อาหารที่ให้วิตามินซีสูงได้แก่ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม มะม่วง มะละกอ สับปะรด ฯ และผักสด เช่น ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักหวาน ผักกระโดน เป็นต้น
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กพร้อมมื้ออาหารหลัก อันได้แก่ ชา กาแฟ นมถั่วเหลือง เป็นต้น โดยเปลี่ยนมารับประทานระหว่างมื้อแทน
4. เสริมธาตุเหล็กในประชาการที่มีความเสี่ยงสูง� ซึ่งปัจจุบันกรมอนามัยได้มีมาตรการการเสริมธาตุเหล็กให้แก่เด็กวัยเรียน� หญิงตั้งครรภ์� และหญิงวัยเจริญพันธ์ ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ� และโครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานฯ�
สรุป
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสำคัญที่ควรป้องกันในคนทุกวัย เพราะคนที่ขาดธาตุเหล็กจะทำให้ความความสามารถในการเรียนรู้ สมรรถภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง การรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายจะช่วยให้ร่างกายเราสามารถสร้างเม็ดเลือด แดงให้อยู่ในระดับปกติและป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ โดยอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์จะเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดของธาตุเหล็ก

 

อัพเดทล่าสุด