อาหารชีวจิตคืออะไรและประโยชน์ของชีวจิตมีอะไรบ้าง


การกิน ไม่ใช่กินอย่างไรให้อร่อย แต่เน้นเรื่อง “ กินดี ” เพื่อต้านโรค เพราะเล็งเห็นว่าคนยุคนี้มีโรคภัยมากมายเกาะกุมรุมเร้าอันมีสาเหตุมาจาก อาหารการกิน...
อาหารชีวจิต
ผู้ใหญ่และวัยรุ่นยุคนี้คุ้นเคยกับอาหารจานด่วนมากกว่าน้ำพริกผักจิ้ม ส่วนเด็กยุคใหม่เรียกได้ว่าโตมาจากนมผงและอาหารจานด่วน แถมดูอ้วนท้วนสมบูรณ์แก้มกลมแสนน่ารัก แต่อนาคตทำนายได้ยากว่าจะรอดพ้นจากภัย โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดตีบ โรคมะเร็งได้แค่ไหน
สำหรับจุดประสงค์หลักของชีวจิตก็คือ ความสุขสมบูรณ์ทั้งกายและใจ โดยยึดเอาวิธีปฏิบัติและความคิดในแนวธรรมชาติเป็นหลัก ในด้านร่างกายและจิตใจนั้น ชีวจิตถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ร่างกายมีผลต่อจิตใจ และจิตใจก็มีผลต่อร่างกายด้วยความสุขสมบูรณ์ (Wholeness as Perfection)
การปฏิบัติตามชีวจิตจะมุ่งไปในด้านการสร้างสุขภาพกายและใจก่อน โดยการใช้ อาหารสุขภาพ การใช้เครื่องมืออุปโภคที่มาจากธรรมชาติหรือใกล้กับธรรมชาติมากที่สุด ในขณะเดียวกันชีวิตความเป็นอยู่ก็ต้องไปตามธรรมชาติ คือใช้ชีวิตที่บริสุทธิ์และเรียบง่าย ชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติจะเป็นชีวิตที่มีอายุยืน แข็งแรง มีความสุขสดชื่นตลอดเวลา เมื่อมีการปฏิบัติทางกายแล้วก็ต้องมีการปฏิบัติทางใจด้วย ในด้านจิตใจเป้าหมาย ที่สำคัญที่สุดคือความสงบทางกายซึ่งอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยจะทำให้เกิดความ สงบทางใจ เกิดปัญญา มองเห็นสัจธรรมของโลกและชีวิต จุดสูงสุดของสัจธรรมนี้คือ ความหลุดพ้น ซึ่งแต่ละคนย่อมมีหนทางและแนวทางเป็นของตนเอง
ชีวจิต คืออะไร
ชีวจิต คือ ร่างกายและจิตใจ เป็นวิถีการดำรงชีวิตและการบริโภคที่เน้นความเป็นธรรมชาติ มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตแบบแมคโครไบโอติค ซึ่งมีการดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่แบบไทย ๆ อาหารชีวจิต เป็นการบริโภคพืชผัก ธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้สดตามฤดูกาลไม่ผ่านการปรุงแต่งพืชหัวไม่ปอกเปลือก ดื่มน้ำสะอาดและชาสมุนไพรหรือน้ำผลไม้ งดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นปลาและอาหารทะเลบริโภคได้เป็นครั้งคราว งดน้ำตาลฟอกขาว กะทิ นม และไข่ การดำรงชีวิต อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ไม่แออัด มีชีวิตเรียบง่าย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีชีวิตที่ยัดธรรมชาติเป็นหลัก มีการฝึกสมาธิเป็นประจำ โดยภาพรวมแล้ว การปฏิบัติตามแนวชีวจิตจะมุ่งเน้นความมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ และเข้าใกล้ธรรมชาติมากที่สุด
ชีวจิต เป็นแนวความคิดต่อเรื่องสุขภาพแบบองค์วม(Holistic) คือผนวกรวมเอา "ชีว" ที่หมายถึง "กาย" รวมเข้ากับ "จิต" ที่หมายถึง "ใจ" ให้เป็นสองภาคของชีวิตที่มีผลต่อกันและกันโดยตรง ไม่อาจแยกกายออกจากจิต และจิตย่อมกระทบถึงกายเช่นเดียวกัน ความหมายและการปฏิบัติตัวตามแนวทางของชีวจิต จึงอาจอธิบายได้ว่า คนเราจะมีความสุขความแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อกายและใจทำงานเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน (Wholeness as Perfection)
การใช้ชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติ บริสุทธิ์ละเรียบง่าย เป็นแก่นความคิดสำคัญอีกประการหนึ่งของชีวจิต ใช้ชีวิตในที่นี้หมายรวมถึง การบริโภคอาหารสุขภาพที่มาจากธรรมชาติและมีการดัดแปลงน้อยที่สุด รวมถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์ใดๆที่มาจากธรรมชาติหรือใกล้
เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้ชีวิตหลุดพ้นจากความยุ่งเหยิงวุ่นวายของสังคมแบบวัตถุนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมัย
ใหม่นานัปการ
แนบเนื่องกับแนวปฎิบัติทางร่างกาย ต้องมีการปฏิบัติทางใจควบคู่ไปด้วย เป้าหมายของการฝึกจิตใจ เป็นไปเพื่อความสงบ เกิด
ปัญญา มองเห็นสัจธรรมของโลกและชีวิต ทั้งนี้การใช้ชีวิตและจิตใจให้เป็นไปตามแนวทางของชีวจิตไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อน ตรงข้าม
กลับเป็นความพยายามทำชีวิตให้เรีบบง่ายที่สุด แจ่มใสและมีความกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สุขภาพเกิดความสมดุลและกระตุ้นให้ ภูมิชีวิต (Immune System) ที่เป็นเกราะคุ้มกันสุขภาพตามธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน
ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การจะตรวจสอบว่าตัวเองดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับแนวชีวจิตเพียงใด หรือบกพร่องไปเพียงใดนั้น อาจทดสอบได้จากหลักการของ FASJAMM ซึ่งว่าด้วยรูปแบบและอาการต่างๆทางกายและจิต ที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีสุขภาพกายและจิตแตกต่างกันไป
จึงอาจพูดได้ว่า เมื่อระวังรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอตามแนวคิดของชีวจิต ภูมิชีวิตซึ่งเป็นหมอภายในร่างกายของมนุษย์ก็
ย่อมทำงานได้เต็มหน้าที่ เป็นเครื่องป้องกันด่านแรกที่คุ้มกันเราจากโรคทั้งปวง แต่เมื่อใดก็ตามหากเกิดเหตุสุดวิสัย มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดกับร่างกาย การรักษาตามแนวทางของชีวจิต ยังคงยึดหลักของการเยียวยาแบบองค์รวม เช่นเดียวกับการป้องกันในเบื้องต้น วิธีบำบัดหลักๆของชีวจิต ได้ผสมผสานองค์ความรู้และวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ใช้ธรรมชาติเป็นยา
2. ใช้อาหารเป็นยา
3. ใช้แนวทางการแพทย์แบบผสมผสาน
o แผนปัจจุบัน Conventional , Orthodox , Allopathic
o Wholistic (Holistic)
o Macrobiotics
o แบบจีนและการฝังเข็ม
o อายุรเวทและโยคะ
o สมุนไพร
o การนวดกดจุด การนวดฝ่าเท้า และบริหารโดอิน
o แบบอื่นๆ
4. การบริหารและการออกกำลัง (ใช้แบบผสมผสาน)
o โดอิน / โยคะ / นวดกดจุด
o การยืด ส่ง และดัน
o Chiropractic
o การรำตะบอง
ที่มา www.108health.com

อัพเดทล่าสุด